การลดความผันผวนของสินค้าคงคลังและข้อมูลสารสนเทศในซัพพลายเชน

Reduce stock fluctuation and supply chain data: problem and challenge in supply chain management

การลดความผันผวนของสินค้าคงคลังและข้อมูลสารสนเทศในซัพพลายเชน: ปัญหาและความท้าทายในการบริหารซัพพลายเชน

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์

ศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา

Taweesak99@hotmail.com

1. บทนำ

ในช่วงนี้ ผมไม่ค่อยได้มีเวลาเขียนบทความมากนัก เนื่องจากมีทั้งงานสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการที่ต้องเคลียร์เป็นจำนวนมาก ช่วงนี้ ต้องเรียนว่าไม่ได้เป็นการหาเช้ากินค่ำ แต่เป็นการหาเช้า กินเช้าเลยนะครับ สำหรับในบทนี้ผมจะเขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) หรือบางท่านอาจจะเรียกว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ก็สุดแล้วแต่นะครับ ผมว่าทิศทางของการบริหารธุรกิจในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยจะพูดถึงเรื่องการจัดการโลจิสติกส์กันซักเท่าไร อาจจะเนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีการพูดถึงกันมากแล้ว อีกทั้งมีหลายมหาวิทยาลัยหรือหลายสถาบันเปิดการเรียนการสอนกันเป็นจำนวนมาก อย่างที่หลายมหาวิทยาลัยชั้นนำในเขตปกครองพิเศษของฮ่องกง ก็มีการพูดถึงเรื่องการจัดการซัพพลายเชนกันมาก เมื่อถามถึงว่าทำไมไม่เน้นเรื่องโลจิสติกส์ ศาสตราจารย์เหล่านั้นบอกว่า โลจิสติกส์เป็นเรื่องที่เก่ามากสำหรับฮ่องกง คุยกันมากว่า 20 ปีแล้ว ตอนนี้เรื่องซัพพลายเชนถือว่าเป็นเรื่องฮอทฮิตของที่นี่เป็นอย่างมาก

ผมได้เคยเล่าเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการจัดการซัพพลายเชนไปแล้ว ดังนั้นในบทนี้ผมจะกับปรากฎการณ์สะบัดแส้ (ม้า) หรือที่เรียกว่า Bullwhip Effect  หลายท่านที่มิได้ศึกษาเกี่ยวกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยเฉพาะหลายท่านที่ไม่เคยเล่นเบียร์เกมส์อาจจะงงเล็กน้อยถึงปานกลางครับ ลองจินตนาการดูนะครับ ยกตัวอย่างเช่น นายสมชายทานนมประมาณ 4-7 ขวดต่อสัปดาห์ ถ้าไม่คิดมากถ้าผมเป็นร้านค้าปลีกผมก็อาจจะสต็อกนมไว้ขายให้นายสมชายอาทิตย์ละมากกว่า 7 ขวด (สมมุติว่าเตรียมไว้สัก 10 ขวดเผื่อของขาด) ส่วนร้านค้าส่งก็จะเตรียมไว้ 20 ขวดต่อสัปดาห์ (เตรียมการและสำรองเผื่อของขาด) ส่วนโรงงานต้องเตรียมไว้ 40 ขวดต่อสัปดาห์ (เผื่อของขาดและเตรียมสำหรับของเสียที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต) จากซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทานการขายนมพบว่า ข้อเท็จจริงลูกค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคหรือมีอำนาจตัดสินใจตัวจริงจะกินนมสัปดาห์ละ 4-7 ขวด แต่ปลายน้ำ คือโรงงานสต็อกของไว้ถึง 40 ขวด

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความไว้วางใจกันและการไม่แชร์หรือแบ่งปันข้อมูลอันเดียวกันระหว่างผู้เล่น (คือ โรงงาน ค้าส่ง ค้าปลีก) ในซัพพลายเชน ต่างคนต่างถือข้อมูลคนละชุดหรือ บางรายใช้การพยากรณ์ซึ่งผู้เล่นแต่ละรายมีประสบการณ์หรือความแม่นยำในการพยากรณ์ไม่เหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเราจะเห็นการกระเพื่อมของสต็อกอันเป็นผลมาจากการที่ผู้แล่นแต่ละรายมีการพยากรณ์ตามประสบการณ์ของแต่ละบริษัท ผลที่ตามมาคือทุกคนต้องเตรียมการสต็อกหรือมีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ซึ่งเป็นต้นทุนอันใหญ่ของผู้ประกอบการหรือซัพพลายเชนโดยรวม ยกตัวอย่างของหนังสือยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่ง ของไม่เอ่ยยี่ห้อนะครับ หัวสีเขียวชื่อดังในแต่ละปีจะมีการเชิญตัวแทนขายระดับภาค จังหวัดและอำเภอหรือท้องถิ่นมาประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดหรือของลูกค้าร่วมกัน เพื่อร่วมกันคิดและประเมินอุปสงค์หรือความต้องการของตลาดสำหรับครึ่งปีหลัง โดยหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้ตัวแทนของตนพยากรณ์ให้แม่นที่สุดเท่าที่จะแม่นได้ โดยให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน 2% หรือสั่งร้อยเล่มอนุญาตให้เหลือได้ไม่เกิน 2 เล่ม เพราะถ้าหลายจำนวนมากหรือขายไม่ออกหนังสือฉบับวันนั้นจะกลายเป็นประวัติศาสตร์คือจะขายไม่ออกและกรอบบ่ายจะดันออกมาใหม่

สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว ผมขออธิบายต่อเลยแล้วกันนะครับเกี่ยวกับสาเหตุหลัก 5 ประการของการเกิด Bullwhip Effect เพื่อความเข้าใจสาเหตุเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ เพื่อจัดการกับ Bullwhip Effect กล่าวคือ

  • การพยากรณ์อุปสงค์ให้เป็นปัจจุบัน (Demand Forecast updating)

ปกติทุกบริษัทในโซ่อุปทานจะทำการพยากรณ์ตารางการผลิต การวางแผนกำลังการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลังและการวางแผนความต้องการผลิตภัณฑ์ การพยากรณ์จะอยู่บนพื้นฐานของคำสั่งซื้อที่ผ่านมาจากบริษัทไปจนถึงลูกค้าของผู้เล่น ปัจจัยสำคัญที่แต่ละผู้เล่นจะต้องทำในกระบวนการคือ มองรูปแบบของอุปสงค์ไปข้างหน้าในสิ่งที่พวกเขาสังเกตได้ เมื่อปลายทางสั่งซื้อ ผู้บริหารส่วนต้นทางจะต้องใช้ข้อมูลข่าวสารดำเนินการส่งสัญญาณเกี่ยวกับอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ในอนาคต แล้วพยากรณ์อุปสงค์ของตนแล้วสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ของตนอยู่ต้นทาง

ตัวอย่าง  หากผู้บริหารต้องกำหนดว่าจะต้องสั่งซื้อจำนวนมากเท่าใดจากซัพพลายเออร์ เราอาจใช้วิธีการง่าย ๆ ในการพยากรณ์  เช่น  ใช้การปรับเรียบเชิงเอ็กโพเนนเชียล (Exponential Smoothing) ด้วยวิธีการนี้ อุปสงค์ในอนาคตจะได้รับการทำให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลอุปสงค์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน คำสั่งซื้อที่ส่งให้ซัพพลายเออร์จะสะท้อนจำนวนที่ต้องการจะเติมสต๊อกให้เต็มตามอุปสงค์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีสต็อกในระดับที่ปลอดภัย (Safety Stock) ซึ่งได้ปรับให้เป็นปัจจุบันด้วยวิธีปรับเรียบเชิงเอ็กโพเนนเชียล ถ้าเราเป็นผู้บริหารของซัพพลายเออร์ คำสั่งซื้อแต่ละวันจากปลายทางก่อนหน้าเรา ถ้าใช้การปรับเรียบเชิงเอ็กโพเนนเชียลเพื่อปรับให้การพยากรณ์และสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับปลอดภัยให้ทันต่อเหตุการณ์ คำสั่งซื้อที่สั่งกับซัพพลายเออร์ก็จะยิ่งมากขึ้น การแกว่งตัวจะเป็นดังรูป

รูปที่ 1 ความแปรปรวนของคำสั่งซื้อของสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน

คำสั่งซื้อจากตัวแทนขายไปยังผู้ผลิตจะผันผวนมากกว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคเพราะจำนวนของสินค้าคงคลังเพิ่มความปลอดภัยมีส่วนช่วยให้เกิดเป็น Bullwhip Effect และมองเห็นภาพได้เลยว่า ถ้าโซ่อุปทานยิ่งยาว ความผันผวนก็ยิ่งมีนัยสำคัญ

  • การสั่งซื้อเป็นชุด ( Order Batching)

ในโซ่อุปทานที่แต่ละบริษัทสั่งซื้อไปยังต้นทางโดยใช้การเฝ้าดูหรือควบคุมสินค้าคงคลัง เมื่อมีอุปสงค์เข้ามา สินค้าคงคลังก็จะเหลือน้อยลง แต่บริษัทจะยังไม่สั่งซื้อกับซัพพลายเออร์ทันที แต่จะรอรวบรวมให้ได้จำนวนพอสมควรก่อนแล้วจึงสั่งซื้อเป็นชุด มีรูปแบบการสั่งซื้อเป็นชุดอยู่ 2 แบบคือ การสั่งซื้อตามช่วงเวลา (Periodic Ordering) และการสั่งซื้อตามจำนวนที่กำหนดไว้ (Push Ordering)แทนที่จะสั่งซื้อบ่อย ๆ บริษัทอาจสั่งซื้อเป็นรายสัปดาห์ รายครึ่งเดือนหรือรายเดือน มีเหตุผลง่าย ๆ สำหรับระบบสินค้าคงคลังที่ใช้ระบบการสั่งซื้อตามรอบระยะเวลาก็คือ ไม่สามารถสั่งซื้อได้บ่อย ๆ เพราะเวลาและต้นทุนของกระบวนการสั่งซื้อสูง  หากพิจารณาบริษัทซึ่งสั่งซื้อเดือนละครั้งนั้นทำให้ซัพพลายเออร์ได้รับคำสั่งซื้อที่จำนวนไม่แน่นอน ซึ่งอาจมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นพรวดในช่วงเวลาภ

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.