ทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อย

Logistics Knowledge 1

Survival for small entrepreneur

ทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อย

ดร.อัศวิน วงศ์วิวัฒน์

ในฉบับที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงผลกระทบของการเข้ามาของทุนต่างชาติ ที่เข้ามากอบโกย และทำลายระบบการค้าของผู้ค้ารายย่อย ทำให้ ร้านค้าปลีกในประเทศได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ลองสังเกตจากร้านขายของชำหน้าปากซอย ร้านค้าในหมู่บ้าน หายไปไหน เนื่องจากลูกค้าไปเข้าร้านที่ติดแอร์ มีการต้อนรับ มีที่จอดรถ และราคาถูกกว่า ทำให้ร้านค้าขนาดเล็กเหล่านั้นไม่สามารถแข่งขันได้ ปรากฏการนี้เกิดขึ้นในแทบทุกธุรกิจ ตั้งแต่ ภาคการผลิต การขนส่ง การท่องเที่ยว การค้าส่ง การค้าปลีก การเงินการธนาคาร แม้การทั่งภาคการเกษตร

ยกตัวอย่างในภาคการท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประสบอยู่คือ บริษัททัวร์ต่างชาติ ไกด์ ก็ต่างชาติ โรงแรมก็อยู่ในเครือของต่างชาติ เหมือนผึ้งที่มาดูดน้ำหวานจากดอกไม้เมื่อน้ำหวานหมดก็ไปหาดอกไม้ ดอกใหม่ เหมือนกับเขามาใช้ทรัพยากรของเราเพื่อหาผลประโยชน์ โดยเจ้าของประเทศ ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้เงินรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าประเทศน้อยลงทุกที ยังไม่รวมถึงทุนต่างชาติที่ เข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกสินค้าทางการเกษตร และส่งกลับประเทศของเขา เพราะประเทศของเขาเพาะปลูกได้ไม่ดี แต่มีเงินมีอำนาจ

ในภาคการขนส่งก็ไม่พ้นชะตากรรมเดียวกัน คือบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดทำให้ผู้ประกอบการขนส่งรายเล็ก เริ่มทยอยหายไปจากตลาด ในตอนนี้ ผมจะขอนำเสนอถึงแนวทางที่ผู้ประกอบการรายย่อยใช้ในการต่อกรกับผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศ เวทีในการต่อสู้ในปัจจุบันเหมือนไม่ยุติธรรม เหมือนการนำคนตัวใหญ่มาสู้กับคนตัวเล็ก และเมื่อนำปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จมาเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อยจะพบว่า ผู้ประกอบการรายย่อย นั้นเสียเปรียบเป็นอย่างมาก ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย

รายใหญ่ รายย่อย
มีเงินทุนจำนวนมาก มีเงินทุนจำกัด
มีการทำงานที่เป็นระบบ ส่วนใหญ่ไม่มีระบบ
มีบุคลากรพร้อมในแต่ละหน้าที่ บุคลากรทำหลายหน้าที่
งบประมาณในการประชาสัมพันธ์มาก แทบไม่มีงบประชาสัมพันธ์
ช่องทางในการจัดจำหน่ายมีมาก ช่องทางในการจัดจำหน่ายมีจำกัด

ตั้งแต่ที่ประเทศไทยเริ่มมีการใช้ 4 G พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด มีการซื้อสินค้าผ่านทาง online มากขึ้น (รวมไปถึงการค้าขายผ่านมือถือ) เนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินมีการเปิดกว้างมากขึ้นทำให้การจับจ่ายใช้สอยทำได้สะดวกขึ้น โดยที่รัฐบาลสนับสนุน Digital Economy เป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้ารายใหญ่ ผู้บริโภค ผู้ผลิต เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ ล้วนได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเศรษฐกิจแบบ Digital Economy

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ระบบการค้าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไประบบการแข่งขันจะเปลี่ยนจาก ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นปลาเร็วกินปลาช้า ทำไมถึงเป็นเช่น นั้น เนื่องจาก Product life cycle มีอายุที่สั้นลงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ยกตัวอย่าง บริษัท Nokia ที่เป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์มือถือในต้นยุคปี ค.ศ.2000 ในหนึ่งปี Nokia ผลิตโทรศัพท์มือถือออกมามากมายหลายรุ่น และได้รับความนิยมจากลูกค้า แต่จากการหลงติดกับความสำเร็จในอดีต ทำให้บริษัท Apple ที่ผลิต iPhone ออกมาในปี ค.ศ. 2007 ในรูปแบบจอสัมผัส ไม่มีปุ่ม และออกมาเพียงปีละ 1 รุ่นเท่านั้น

การเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของการค้าออนไลด์ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ผู้ที่ไม่ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ายิ่งใหญ่แค่ไหนก็ไม่อาจทานต่อการเปลี่ยนแปลงได้ รูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการล่มสลายของรูปแบบการค้าแบบเดิมๆ  สัญญาณ นี้ดูได้จากการที่บริษัท Tesco ประเทศอังกฤษขาดทุนไป สามแสนกว่าล้านบาทในปีที่แล้ว (ข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2558) อีกตัวอย่างของการไม่ปรับตัว คือบริษัทโกดัก ที่เคยครองส่วนแบ่งการตลาดฟิล์มส่วนใหญ่ของโลก และเป็นบริษัทที่ผลิตกล้อง Digital เป็นบริษัทแรกของโลก แต่บริษัทต้องปิดตัวลงเพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นผู้สร้างขึ้นมาทดแทน คือ กล้อง Digital

ผู้เล่นรายใหญ่เริ่มหัดมาเล่นในตลาดการค้าออนไลด์ กันมากขึ้น ตั้งแต่ Tesco Lotus, Big C, HomePro, Central online เป็นต้น เมื่อหลายปีก่อนผู้ค้ารายใหญ่ ไม่ได้ทำการตลาดออนไลด์อย่างจริงจังเท่าที่ควร จึงทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่จากต่างชาติเข้ามาเจาะช่องว่างที่ผู้เล่นรายใหญ่ไม่ได้สนใจ เช่น LAZADA, Shopee  แต่ในการเข้ามาของต่างชาติไม่ได้กำจัดร้านค้าปลีกรายย่อยไปหมดเสียทุกร้าน ปัจจัยอะไรที่ทำให้ร้านค้าเหล่านี้อยู่รอด ผู้ประกอบการรายย่อยจะสู้กับทุนข้ามชาติได้อย่างไร เมื่อผู้ประกอบการรายย่อย เสียเปรียบในแทบทุกด้านในการแข่งขัน หนึ่งในกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาพิจารณาคือ การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla Marketing (บางส่วน) เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีทุนน้อย โดยมีหลายกลยุทธ์สามารถนำมาปรับใช้ ได้แก่

  1. Viral marketing เป็นการตลาดคล้ายกับการบอกต่อแบบปากต่อปาก แต่ viral เป็นเหมือนการติดเชื้อโรคจากแพร่เชื้อ เป็นแบบทวีคูณ ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะทำให้ประหยัดค่าโฆษาณาได้เป็นอย่างมาก  กรณีการปล่อยคลิปหลุดอย่างตั้งใจ มีการปล่อยรูปสินค้าที่กำลังจะออกสู่ตลาด เช่น Spec ของ ซัมซุง S7 ก่อนโทรศัพท์จะออกวางจำหน่าย รวมไปถึงมีการ Review
  1. Street marketing เป็นรูปแบบการตลาดที่เจาะกลุ่มเป้าหมายโดยนำสินค้าไปหาลูกค้า เช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว มักตั้งร้านใกล้ ร้าน 7eleven หรือ ชาเขียวที่เปิดแผงขายชั่วคราวในตลาดนัดสวนจตุจักร เป็นต้น
  1. Online marketing ในยุคที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ทำให้เวทีในการแข่งขันเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยเนื่องจากช่องทาง ทางการตลาดสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แบบ One to One Marketing คือการตลาดที่สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าแต่ละราย สมัยก่อนการทำการตลาดแบบนี้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่การเกิดขึ้นของการสื่อสารทางสังคม เช่น Facebook, Line, Twitter, Instagram ทำให้มีการทำ Segmentation หรือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามความสนใจ (โดยดูจากการใช้งาน internet ของผู้ใช้) สังเกตได้จากการที่เราดูสินค้าใน website ขายของสักอย่างหนึ่ง เวลาเราใช้งาน Facebook สินค้านั้นๆ จะเข้ามาปรากฏอยู่ในหน้าที่เราใช้งาน ในรูปแบบ โฆษณาโดยตรง หรือ เป็น การแนะนำโดย Facebook ซึ่งก็คือการโฆษณาแฝงนั่นเองแต่เราอาจจะไม่รู้สึกเนื่องจากเป็นการบอกว่าเป็นการแนะนำ

ผู้ที่เหลืออยู่เป็นผู้ที่สามารถปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับตัวเอง ผู้ประกอบการรายย่อยต้องมีความพร้อมที่จะปรับตัว การออกจาก Comfort Zone เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเมื่อเราหยุดพัฒนาตัวเอง คู่แข่งก็สามารถช่วงชิงความได้เปรียบ การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น การคิดออกนอกกรอบ โดย ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าเสี่ยงที่จะทำในสิ่งที่แตกต่าง ต้องแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดครับ…..

You can leave a response, or trackback from your own site.

One Response to “ทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อย”

  1. ทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อย | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Squid Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply