ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเก็บ PCS

TNSC’s Talk

Crowded-Traffic Port Problem and Port Congestion Surcharges (PCS)

ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเก็บ Port Congestion Surcharges (PCS)

ปัญหาความหนาแน่นในท่าเรือหรือ Port Congestion เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ท่าเรือทั่วโลก หากท่าเรือดังกล่าวต้องรับปริมาณตู้สินค้ามากเกินกว่าขีดความสามารถและปริมาณเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการยกตู้สินค้า ก็จะเกิดความล่าช้าในกระบวนการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงเรือ นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าว ยังอาจเกิดขึ้นได้ หากท่าเรือนั้นเป็นท่าเรือแม่น้ำ (River Port) ที่เรือสินค้าต้องเสียเวลารอคอยเข้าเทียบท่า จากข้อจำกัดของระดับน้ำในแม่น้ำที่มีการขึ้น-ลงในแต่ละวัน เมื่อเกิดปัญหาความแออัดหนาแน่นภายในท่าเรือ ทางท่าเรือก็จะมีการคิดค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ที่ล่าช้านั้น ที่มีชื่อเรียกว่า Port Congestion Surcharge: PCS

จากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจท่าเรือและการขนส่งทางทะเลของโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเรือสินค้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อแสวงหาความประหยัดต่อขนาด (Economy to Scale) ของการขนส่งสินค้า เรือแม่ที่ใช้กันในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ระดับ Super Post-panamax เน้นเข้ามาแวะรับสินค้าเฉพาะจุดจอดเรือที่สำคัญเพียงไม่กี่แห่ง แล้วเปลี่ยนเรือสินค้าขนาด Panamax ไปวิ่งรวบรวมและลำเลียงตู้สินค้าในลักษณะเป็นเรือ Feeder แทน ดังนั้นระยะเวลาที่เรือสินค้าจะจอดเทียบท่า เพื่อขนถ่ายตู้สินค้าขึ้น-ลงจากเรือ ก็จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณตู้สินค้าที่บรรทุกมาในเรือแต่ละลำมีมากขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความแออัดหนาแน่นภายในท่าเรือต่างๆ ทั่วโลก หากท่าเรือนั้นๆ ไม่มีการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือ ได้แก่ การ Strike ของแรงงานภายในท่าเรือ ที่มักพบเป็นประจำในท่าเรือทางฝั่งตะวันตก (West Coast) ของสหรัฐอเมริกา เช่น Los Angeles, Long Beach เป็นต้น

ปัจจุบันสายเดินเรือในประเทศไทยประมาณ 7 สาย เรียกเก็บค่า Port Congestion Surcharges: PCS นี้ ในอัตรา 50 USD / 20 FT และ 100 USD / 40 FT โดยเริ่มเรียกเก็บเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ที่ผ่านมา และเรียกเก็บเฉพาะการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าจากท่าเรือต้นทางในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นมายังท่าเรือกรุงเทพเท่านั้น

ท่าเรือกรุงเทพชี้แจงว่าสถานการณ์ความหนาแน่นภายในท่าเรือกรุงเทพในปัจจุบัน อยู่ในภาวะปกติตามลักษณะของท่าเรือแม่น้ำทั่วไป ที่จะต้องมีระยะเวลาการรอคอยบ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้มากจนผิดไปจากสถานการณ์ปกติ อีกทั้งทางการท่าเรือฯ ก็ไม่ได้เรียกเก็บค่าภาระความหนาแน่นดังกล่าวกับสายเดินเรือ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุให้ต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากผู้นำเข้า ถึงแม้ที่ผ่านมาทางท่าเรือกรุงเทพจะมีการซ่อมบำรุงปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าหมายเลข 18 บริเวณท่าเทียบเรือ 20 F ในช่วงระหว่าง 1 กันยายน – 15 ตุลาคม 2558 ที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการยกขนตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ปัจจุบันก็ดำเนินการซ่อมเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตัวแทนสายเดินเรือชี้แจงว่า ปัจจุบันทางท่าเรือกรุงเทพจัดระบบการเข้าเทียบท่าด้วยระบบ First Come First Serve คือการให้สายเดินเรือต่อคิวเพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า ซึ่งแตกต่างจากท่าเรือสากลอื่นๆ ที่ใช้ระบบ Priority Birth หรือ Fixed Window คือการระบุวันที่แน่นอนว่าสายเดินเรือสายใดบ้างที่จะมีสิทธิ์เข้าเทียบท่านั้นๆ ได้ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลารอคอยการเข้าเทียบท่า เหมือนระบบ First Come First Serve ดังนั้นสายเดินเรือต้องเสียเวลาการรอคอยการนำเรือเข้าเทียบท่าในท่าเรือกรุงเทพเฉลี่ย 3 วัน ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเช่าเรือ และค่า Operation ต่างๆ ระหว่างที่เรือจอดรอคอยอยู่ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบที่เป็นค่าใช้จ่ายและความเสียหายอื่นๆ แฝงอยู่ อาทิ นำเรือไปเข้าเทียบที่ท่าเรืออื่นต่อไปไม่ทันตามเวลาที่กำหนด, ต้อง Omit การนำเรือเข้าเทียบท่าในบางท่า, นำเรือลูก (Feeder) ไปต่อเรือแม่ (Vessel) ไม่ทันตามเวลาส่งผลให้เรือแม่ลำนั้นมี Space ว่าง และ Over space ในลำต่อไป เป็นต้น

เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากคู่สัญญาขนส่งสินค้า คือผู้ส่งออก (Shipper) ต้นทาง ก็เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ส่งออกมักทำสัญญาการขนส่งสินค้าในรูปแบบ Long Term Contract ที่กำหนดค่าระวางในอัตราคงที่ จึงไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายรายการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ในภายหลัง และต้องมาทำการเรียกเก็บจากผู้นำเข้าปลายทาง

หากจะให้ผู้นำเข้าเลือกใช้สายเดินเรืออื่นๆ ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว หรือเจรจาต่อรองขอไปรับสินค้าที่ท่าเรือเอกชนอื่นๆ เพื่อลดความแออัดและการเสียค่าใช้จ่ายจากการรับสินค้าภายในท่าเรือกรุงเทพ หรือซื้อสินค้าในเทอม FOB เพื่อที่จะทำ Long Term Contract และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ยิบย่อยอื่นๆ เพิ่มเติม ก็มีความเป็นไปได้ยากเช่นกัน เนื่องจากผู้นำเข้าในประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นรายกลางและรายย่อย ที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากพอ ที่จะไปต่อรองกับผู้ส่งออกต้นทางหรือสายเดินเรือได้ นอกจากนี้หากไปใช้บริการท่าเรือเอกชน สิ่งอำนวยความสะดวก ทำเลที่ตั้ง หรือการให้บริการของศุลกากร ก็ยังไม่สะดวกและครบวงจรเท่าการใช้บริการจากท่าเรือกรุงเทพ

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของท่าเรือกรุงเทพที่จะกลับไปพิจารณาว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่หากจะเปลี่ยนรูปแบบการรับเรือเข้าเทียบท่าจากระบบ First Come First Serve มาเป็นระบบ Priority Birth หรือ Fixed Window เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บค่า Port Congestion Surcharge: PCS ของสายเดินเรือในปัจจุบัน อันจะช่วยลดต้นทุนการประกอบการของผู้นำเข้าสินค้าของไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในที่สุด

จิรารัตน์ รัตนคุปต์

นักวิเคราะห์อาวุโส

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

You can leave a response, or trackback from your own site.

7 Responses to “ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเก็บ PCS”

  1. Visit Now says:

    Visit Now…

    Get Services From the fantastic google chatbots that’s currently available and at the best price today!…

  2. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Tillie Vandaele…

    I found a great……

  3. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Cheap Private Proxy Service…

    I found a great……

  4. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Buy Best Proxy…

    I found a great……

  5. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Bulk Private Proxies…

    I found a great……

  6. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Cheapest Proxy…

    I found a great……

  7. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือและการเรียกเภsays:

    Scrapebox Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply