ดีเอชแอล ยกระดับการขนส่งสินค้าทางบกในเอเชียแปซิฟิก

ดีเอชแอล ยกระดับการขนส่งสินค้าทางบกในเอเชียแปซิฟิก


ด้วยการเชื่อมต่อเส้นทาง 5 ประเทศในทวีปเอเชีย


ดีเอชแอล เอเชียคอนเน็ค เชื่อมประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และจีนด้วยเครือข่ายขนส่งทางบกสำหรับบริการบรรทุกสินค้าแบบไม่เต็มคันรถ
ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ผู้นำด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางทะเลและทางบกในทวีปยุโรปและเอเชีย เปิดเครือข่ายเส้นทางการขนส่งทางบก เชื่อมต่อ 5 เมืองสำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง กรุงเทพฯ ฮานอย และเซินเจิ้น นับเป็นการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าการขนส่งทางบกในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ระหว่างปี 2557-2562 และจะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจดังกล่าวนี้ให้มีมูลค่าถึง 822 พันล้านเหรียญสหรัฐ (757 พันล้านยูโร) ภายในปี 2562
การบริการขนส่งทางบกประเภทบรรทุกไม่เต็มคันรถของดีเอชแอล เอเชียคอนเน็คนี้ เป็นการบริการขนส่งที่เชื่อมต่อเมืองสำคัญทั้งห้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการบริการขนส่งระหว่างประเทศที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา และสร้างความเชื่อมั่นในการมอบการบริการที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทั้งนี้ ดีเอชแอล เอเชียคอนเน็คเปิดตัวเมื่อปี 2554 โดยเชื่อมต่อระหว่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ปัจจุบันได้เพิ่มเครือข่ายของเราที่มีระหว่างประเทศเวียดนามและจีนไว้อีกด้วย
การขนส่งทางบกจึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการขนส่งทางอากาศ และประหยัดเวลาได้ดีกว่าการขนส่งทางทะเล ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งระหว่างเซินเจิ้นถึงกรุงเทพฯทางทะเลใช้เวลาประมาณ 13 วัน ขณะที่การขนส่งทางบกใช้เวลาเพียง 5 วัน และการขนส่งทางอากาศใช้เวลาสั้นกว่า 4 วันแต่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศจะสูงมากกว่า ทั้งนี้ การบริการขนส่งสินค้าจากทั้ง 5 ประเทศเปิดบริการทุกวัน ตามตารางขนถ่ายสินค้าดังนี้
• สิงคโปร์ ไปยัง ปีนัง 1 วัน
• กรุงเทพฯ ไปยัง ฮานอย 3 วัน
• เซินเจิ้น ไปยัง ฮานอย 2 วัน
• เซินเจิ้น ไปยัง กรุงเทพฯ 5 วัน
• ปีนัง ไปยัง เซินเจิ้น 6 วัน
ดร. เคลวิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เครือข่ายการขนส่งทางบกของดีเอชแอล เชื่อมโยงตลาดธุรกิจทั้ง 5 ประเทศสำคัญในเอเชียเข้าด้วยกัน ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และจีน ซึ่งแสดงบทบาทสำคัญต่อนโยบายทางเศรษฐกิจ “One Belt One Road” ของประเทศจีน และมาตรการสำคัญในภูมิภาค อาทิ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (AEC) เป็นต้น ในปี 2556 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศทั้ง 10 ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2.2 ล้านล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศจีนมีมูลค่าถึง 10.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (9.5 ล้านล้านยูโร) ในปี 2557 ส่วนการค้าระหว่างประเทศของอาเซียนอยู่ที่ 2.51 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2.31 ล้านล้านยูโร) ในปี 2556 และประเทศจีนติดใน 5 อันดับคู่ค้าสำคัญของประเทศทั้งหลายในกลุ่มอาเซียน เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย (intra-Asia trade) จะยังคงเติบโตรุดหน้าต่อไป และเครือข่ายการขนส่งทางบกของเราจะสามารถรองรับ และสนับสนุนการขยายการค้าที่สำคัญจากมาตรการทางธุรกิจต่าง ๆ ได้”
เครือข่ายการขนส่งทางบกที่เชื่อมต่อทั้ง 5 ประเทศ มาพร้อมกับนโยบาย “One Belt, One Road” ของจีน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจระหว่างพรมแดน ของตลาดการค้าในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายเศรษฐกิจบนเส้นทางสายไหมทางบก มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ด้วยโครงสร้างขั้นพื้นฐานและการประสานทางการค้าที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ระหว่างตลาดการค้าทั้งหลายในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ในขณะที่เส้นทางสายใหม่แห่งยุคศตวรรษที่ 21 จะเน้นไปที่ภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการวางตำแหน่งเครือข่ายการขนส่งทางบกระหว่าง 5 ประเทศ ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเสริมสร้างนโยบาย “One Belt, One Road” ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
เครือข่ายเชื่อมโยงการขนส่งทางบกของดีเอชแอลนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าและการร่วมมือกัน นับเป็นการวางรากฐานที่จะเชื่อมโยงตลาดการค้าที่สำคัญในทวีปเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ประชาคมอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการตอนปลายปี 2558 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างตลาดการค้าของอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว และฐานการผลิตที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีและนโยบายทางการเงิน ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างพรมแดน ในแง่มุมทางธุรกิจที่สำคัญ อาทิ การเสริมสร้างขีดความสามารถ การเชื่อมต่อการสื่อสารและโครงสร้างขั้นพื้นฐานอย่างเข้มแข็ง และการพัฒนาการติดต่อค้าขายทางอิเล็คทรอนิคส์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากประสบความสำเร็จ ประชาคมอาเซียนจะเป็นหัวหอก ในการสร้างความก้าวหน้าให้กับภูมิภาคอาเซียนให้พัฒนายิ่งขึ้นไป ท่ามกลางสภาวะการเคลื่อนตัวอย่างเป็นอิสระของสินค้า การบริการ การลงทุนและการดำเนินงานที่มีความสามารถทั้งหลาย
โทมัส ทีเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง กล่าวว่า “การค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในอันดับสูงสุดในอาเซียน ในขณะที่ไทยติดอยู่ใน 20 อันดับสูงสุด ของดัชนีการค้าระหว่างประเทศ (DHL Global Connectedness Index) ล่าสุดของเรา ประเทศไทยยังนับว่ามีโอกาสพิเศษ ที่จะขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งผู้นำศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ในอาเซียน โชคดีที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าเครือข่ายการขนส่งทางบกที่เชื่อมประเทศเข้าหากันนี้ จะมีบทบาทที่สำคัญต่อภาพรวมทางลอจิสติกส์ของไทย”
เครือข่ายการขนส่งทางบกของดีเอชแอลนี้ คือขบวนรถบรรทุกที่ติดตั้งสัญญาณติดตามระบบจีพีเอส เพื่อมั่นใจว่าสินค้าทั้งหลายของลูกค้าได้รับการดูแลและสามารถแจ้งสถานะได้ตลอดเวลา นับเป็นการเสริมทัศนวิสัยด้านซัพพลายเชนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ นอกจากนี้รถบรรทุกสินค้ายังติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องมือในการรับมือและป้องกันโจรกรรม ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง กับทางศูนย์ควบคุมของดีเอชแอล ซึ่งจะมีการเตือนภัยล่วงหน้า ในกรณีที่จำเป็น
เครือข่ายการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบของดีเอชแอลนี้ ครอบคลุมการขนส่งทางอากาศ ทางบกและทะเล ซึ่งได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการขยายตัวทางการค้าระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ และสร้างความเชื่อมั่นในระบบการขนส่งที่มีความแน่นอนและปลอดภัย ทั้งนี้ ด้วยเครือข่ายการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีขอบเขตครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะสามารถเลือกการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายให้เหมาะสม และถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ไม่ว่าปลายทางจะเป็นสถานที่ใดและเวลาใด

ดีเอชแอล เอเชียคอนเน็ค เชื่อมประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และจีนด้วยเครือข่ายขนส่งทางบกสำหรับบริการบรรทุกสินค้าแบบไม่เต็มคันรถ กรุงเทพ 14 สิงหาคม 2558: ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ผู้นำด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางทะเลและทางบกในทวีปยุโรปและเอเชีย เปิดเครือข่ายเส้นทางการขนส่งทางบก เชื่อมต่อ 5 เมืองสำคัญในทวีปเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง กรุงเทพฯ ฮานอย และเซินเจิ้น นับเป็นการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าการขนส่งทางบกในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ระหว่างปี 2557-2562 และจะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจดังกล่าวนี้ให้มีมูลค่าถึง 822 พันล้านเหรียญสหรัฐ (757 พันล้านยูโร) ภายในปี 2562 การบริการขนส่งทางบกประเภทบรรทุกไม่เต็มคันรถของดีเอชแอล เอเชียคอนเน็คนี้ เป็นการบริการขนส่งที่เชื่อมต่อเมืองสำคัญทั้งห้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการบริการขนส่งระหว่างประเทศที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา และสร้างความเชื่อมั่นในการมอบการบริการที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทั้งนี้ ดีเอชแอล เอเชียคอนเน็คเปิดตัวเมื่อปี 2554 โดยเชื่อมต่อระหว่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ปัจจุบันได้เพิ่มเครือข่ายของเราที่มีระหว่างประเทศเวียดนามและจีนไว้อีกด้วย การขนส่งทางบกจึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการขนส่งทางอากาศ และประหยัดเวลาได้ดีกว่าการขนส่งทางทะเล ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งระหว่างเซินเจิ้นถึงกรุงเทพฯทางทะเลใช้เวลาประมาณ 13 วัน ขณะที่การขนส่งทางบกใช้เวลาเพียง 5 วัน และการขนส่งทางอากาศใช้เวลาสั้นกว่า 4 วันแต่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศจะสูงมากกว่า ทั้งนี้ การบริการขนส่งสินค้าจากทั้ง 5 ประเทศเปิดบริการทุกวัน ตามตารางขนถ่ายสินค้าดังนี้ • สิงคโปร์ ไปยัง ปีนัง 1 วัน• กรุงเทพฯ ไปยัง ฮานอย 3 วัน• เซินเจิ้น ไปยัง ฮานอย 2 วัน• เซินเจิ้น ไปยัง กรุงเทพฯ 5 วัน• ปีนัง ไปยัง เซินเจิ้น 6 วัน

ดร. เคลวิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เครือข่ายการขนส่งทางบกของดีเอชแอล เชื่อมโยงตลาดธุรกิจทั้ง 5 ประเทศสำคัญในเอเชียเข้าด้วยกัน ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และจีน ซึ่งแสดงบทบาทสำคัญต่อนโยบายทางเศรษฐกิจ “One Belt One Road” ของประเทศจีน และมาตรการสำคัญในภูมิภาค อาทิ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (AEC) เป็นต้น ในปี 2556 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศทั้ง 10 ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2.2 ล้านล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศจีนมีมูลค่าถึง 10.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (9.5 ล้านล้านยูโร) ในปี 2557 ส่วนการค้าระหว่างประเทศของอาเซียนอยู่ที่ 2.51 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2.31 ล้านล้านยูโร) ในปี 2556 และประเทศจีนติดใน 5 อันดับคู่ค้าสำคัญของประเทศทั้งหลายในกลุ่มอาเซียน เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย (intra-Asia trade) จะยังคงเติบโตรุดหน้าต่อไป และเครือข่ายการขนส่งทางบกของเราจะสามารถรองรับ และสนับสนุนการขยายการค้าที่สำคัญจากมาตรการทางธุรกิจต่าง ๆ ได้” เครือข่ายการขนส่งทางบกที่เชื่อมต่อทั้ง 5 ประเทศ มาพร้อมกับนโยบาย “One Belt, One Road” ของจีน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจระหว่างพรมแดน ของตลาดการค้าในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายเศรษฐกิจบนเส้นทางสายไหมทางบก มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ด้วยโครงสร้างขั้นพื้นฐานและการประสานทางการค้าที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ระหว่างตลาดการค้าทั้งหลายในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ในขณะที่เส้นทางสายใหม่แห่งยุคศตวรรษที่ 21 จะเน้นไปที่ภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการวางตำแหน่งเครือข่ายการขนส่งทางบกระหว่าง 5 ประเทศ ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเสริมสร้างนโยบาย “One Belt, One Road” ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เครือข่ายเชื่อมโยงการขนส่งทางบกของดีเอชแอลนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าและการร่วมมือกัน นับเป็นการวางรากฐานที่จะเชื่อมโยงตลาดการค้าที่สำคัญในทวีปเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ประชาคมอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการตอนปลายปี 2558 นี้ โดยมี

วัตถุประสงค์ในการสร้างตลาดการค้าของอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว และฐานการผลิตที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีและนโยบายทางการเงิน ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างพรมแดน ในแง่มุมทางธุรกิจที่สำคัญ อาทิ การเสริมสร้างขีดความสามารถ การเชื่อมต่อการสื่อสารและโครงสร้างขั้นพื้นฐานอย่างเข้มแข็ง และการพัฒนาการติดต่อค้าขายทางอิเล็คทรอนิคส์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากประสบความสำเร็จ ประชาคมอาเซียนจะเป็นหัวหอก ในการสร้างความก้าวหน้าให้กับภูมิภาคอาเซียนให้พัฒนายิ่งขึ้นไป ท่ามกลางสภาวะการเคลื่อนตัวอย่างเป็นอิสระของสินค้า การบริการ การลงทุนและการดำเนินงานที่มีความสามารถทั้งหลาย โทมัส ทีเบอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคอาเซียนและเอเชียใต้ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง กล่าวว่า “การค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในอันดับสูงสุดในอาเซียน ในขณะที่ไทยติดอยู่ใน 20 อันดับสูงสุด ของดัชนีการค้าระหว่างประเทศ (DHL Global Connectedness Index) ล่าสุดของเรา ประเทศไทยยังนับว่ามีโอกาสพิเศษ ที่จะขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งผู้นำศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ในอาเซียน โชคดีที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าเครือข่ายการขนส่งทางบกที่เชื่อมประเทศเข้าหากันนี้ จะมีบทบาทที่สำคัญต่อภาพรวมทางลอจิสติกส์ของไทย” เครือข่ายการขนส่งทางบกของดีเอชแอลนี้ คือขบวนรถบรรทุกที่ติดตั้งสัญญาณติดตามระบบจีพีเอส เพื่อมั่นใจว่าสินค้าทั้งหลายของลูกค้าได้รับการดูแลและสามารถแจ้งสถานะได้ตลอดเวลา นับเป็นการเสริมทัศนวิสัยด้านซัพพลายเชนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ นอกจากนี้รถบรรทุกสินค้ายังติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องมือในการรับมือและป้องกันโจรกรรม ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง กับทางศูนย์ควบคุมของดีเอชแอล ซึ่งจะมีการเตือนภัยล่วงหน้า ในกรณีที่จำเป็น เครือข่ายการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบของดีเอชแอลนี้ ครอบคลุมการขนส่งทางอากาศ ทางบกและทะเล ซึ่งได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการขยายตัวทางการค้าระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ และสร้างความเชื่อมั่นในระบบการขนส่งที่มีความแน่นอนและปลอดภัย ทั้งนี้ ด้วยเครือข่ายการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีขอบเขตครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะสามารถเลือกการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายให้เหมาะสม และถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ไม่ว่าปลายทางจะเป็นสถานที่ใดและเวลาใด

You can leave a response, or trackback from your own site.

One Response to “ดีเอชแอล ยกระดับการขนส่งสินค้าทางบกในเอเชียแปซิฟิก”

  1. ดีเอชแอล ยกระดับการขนส่งสินค้าทางบกในเอเช says:

    Best Shared Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply