กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาคการส่งออกและการขนส่งของไทย

TNSC’s Talk

Competition law and how to solve import, export  and Thai logistics problems

กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาคการส่งออกและการขนส่งของไทย

จิรารัตน์ รัตนคุปต์ฃ

นักวิเคราะห์ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม คือระบบเศรษฐกิจที่ปล่อยให้กลไกตลาดทำงานจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยปราศจากการแทรกแซง อีกทั้งผู้ประกอบการในตลาดจะต้องมีการแข่งขันอย่างอิสระและเท่าเทียม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งมีอำนาจผูกขาดหรือมีอำนาจเหนือตลาด โดยทั่วไปภาครัฐจะไม่เข้าไปทำการแทรกแซงการประกอบการของภาคธุรกิจ แต่บางกรณีรัฐก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวมได้ เช่น เป็นเรื่องที่ต้องมีการห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ ได้บัญญัติรับรองว่าแม้จะประชาชนจะมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ แต่อาจมีการจำกัดสิทธิได้ หากจำเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของส่วนรวม เช่น การคุ้มครองผู้บริโภค หรือป้องกันการผูกขาด เป็นต้น

หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือกฎหมายแข่งขันทางการค้า เพื่อให้ตลาดเกิดความเป็นเสรี มีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 นับจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี แต่ยังคงมีปัญหาหลักเกณฑ์บางประการที่มีความไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาต่อการบังคับใช้และการตีความ ตลอดจนความเป็นอิสระและความมีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย จึงก่อให้เกิดสภาพการแข่งขันที่ไม่เสรีอย่างแท้จริงในตลาด

การส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย หากผู้ประกอบการมีศักยภาพในการส่งออกสินค้า โดยมีต้นทุนที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จะส่งผลช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ส่งออกและประเทศชาติได้ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันผู้ประกอบการส่งออกของไทยจำนวนมากต่างประสบปัญหาต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น อันมีสาเหตุหลักมาจากค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ค่าเอกสารใบตราส่งสินค้า (B/L Fee) ค่าตัวล็อกตู้คอนเทนเนอร์ (Seal Container Fee), ค่าภาระหน้าท่า (Terminal Handling Charge: THC) เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ก จำเป็นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดยมิอาจสามารถต่อรองได้

การเรียกเก็บค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดังกล่าว มีความไม่ชัดเจนในองค์ประกอบของแต่ละรายการ และอัตราที่เหมาะสมในการเรียกเก็บ อาจมีความซ้ำซ้อนของค่าใช้จ่ายรายการต่างๆ ที่มิอาจตรวจสอบได้ อีกทั้งลักษณะของการเรียกเก็บมักเป็นไปในทิศทางและอัตราเดียวกัน ซึ่งอาจเข้าข่ายการ”ฮั้วราคา” อันเป็นการผูกขาดและลดการแข่งขันในตลาด

นอกจากนี้ ในปัจจุบันพบว่าสายเดินเรือหันมาดำเนินกลยุทธ์รวมกลุ่มกันในรูปแบบ Alliance มากขึ้น เช่น กลุ่ม 2M, G6, CKYHE, CCU เป็นต้น โดยอ้างว่าจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการบริหารจัดการ และเกิดการประหยัดต้นทุนต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการรวมกลุ่มกันดังกล่าว ผู้ส่งออกทั่วโลกมีความกังวลว่าจะส่งผลต่อการลดการแข่งขันของสายเรือ นำมาสู่การผูกขาด สายเรือขนาดเล็กต้องออกจากตลาดเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ ความถี่ตารางเรือสำหรับให้บริการมีลดลง ค่าบริการส่วนเพิ่มต่างๆ และค่าระวางอาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย และลดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ที่มักส่งออกสินค้าในเทอมการค้า FOB และจำเป็นต้องเลือกใช้สายเดินเรือที่กำหนดจากคู่ค้าในต่างประเทศ

การนำกฎหมายแข่งขันทางการค้ามาใช้จัดการแก้ไขปัญหาค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และการรวมตัวของสายเดินเรือ ที่เข้าข่ายการผูกขาดและเป็นการลดอำนาจการแข่งขันในตลาด สำหรับในประเทศไทย นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย และจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2542 ขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ให้บริการที่ถูกกำหนดนโยบายและราคาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ เช่นเดียวกับในต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการตีความและการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดรายละเอียด และแนวปฏิบัติ (Guideline) เช่น นิยามการกระทำที่มิใช่การแช่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม พฤติกรรมการจำกัดหรือกีดกันการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หลักเกณฑ์การควบรวมกิจการอันทำให้เกิดผู้มีอำนาจเหนือตลาด หลักเกณฑ์การร่วมกันกระทำการกีดกันการแข่งขัน/ลดการแข่งขัน/จำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น เพื่อเอาผิดกับผู้ให้บริการที่มิได้ทำการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาดต่อไป

******************************************************************************************************

You can leave a response, or trackback from your own site.

4 Responses to “กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาคการส่งออกและการขนส่งของไทย”

  1. กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาà says:

    Best Usa Proxies…

    I found a great……

  2. กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาà says:

    Anonymous Proxy…

    I found a great……

  3. กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาà says:

    Buy Proxies…

    I found a great……

  4. กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการแก้ไขปัญหาภาà says:

    Cheap Usa Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply