ก้าวสู่ปีที่ 7 Freight Max เตรียมปรับโฉมใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น “Logistics Max”

Stepping into its 7th year

New look of Freight Max and change its name to ‘Logistics Max’


“ก้าวสู่ปีที่ 7 Freight Max เตรียมปรับโฉมใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น Logistics Max เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เตรียมพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีการค้า การขนส่งและโลจิสติกส์ AEC อย่างเต็มรูปแบบ”

นิตยสาร Freight Max นิตยสารของวงการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของไทย ในวันนี้นิตยสาร Freight Max ยังคงยืนหยัด-มุ่งมั่นผลิตนิตยสารคุณภาพ เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว พร้อมทั้งนำเสนอสาระข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวงการโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง โดยทางทีมงานกองบรรณาธิการได้พัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อเป็นกระบอกเสียง และเป็นสื่อการให้วงการโลจิสติกส์ไทยมีการพัฒนาเทียบเท่าต่างประเทศ

ทั้งนี้ นิตยสาร Freight Max ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2551 จากวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของผู้บริหารและทีมงานกองบรรณาธิการ ที่ต้องการให้ Freight Max เป็นฟันเฟืองหลัก ที่ช่วยผลักดันส่งเสริมและยกระดับความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อให้มีศักยภาพ-มีขีดความสามารถ พร้อมรับการแข่งขันทางการค้า ที่มีทีท่าว่าจะเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ และวันนี้ Freight Max ได้ก้าวสู่ปีที่ 7 อย่างมั่นคง และยังคงตั้งมั่นที่จะพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้ดียิ่งๆ ขึ้น

ที่ผ่านมา Freight Max ได้พัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาสาระให้มีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง และพัฒนารูปแบบการจัดวางให้มีความสวยงาม มีความทันสมัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และผู้คร่ำหวอดในวงการ รวมถึงนักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของวงการโลจิสติกส์ไทย ให้ช่วยถ่ายทอดความรู้และเสนอแนะข้อคิดเห็น เพื่อเปิดมุมมองทางความคิด ให้ผู้ที่สนใจ-ผู้ประกอบการไทย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำแง่คิดต่างๆ ไปปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และในปีที่ 7 นี้ Freight Max เตรียมปรับโฉมใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น Logistics Max เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เตรียมพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีการค้า การขนส่งและโลจิสติกส์ AEC อย่างเต็มรูปแบบ”

ผ่านมุมมองของผู้อ่านที่เป็นผู้บริหาร คุณฐิติมา ตันติกุลสุนทร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุน “นิตยสาร Freight Max ได้กลายเป็นแหล่งความรู้และข้อมูลประจำวงการโลจิสติกส์ไทยมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ทำหน้าที่เชื่อมโยงข่าวสารจากหลายส่วนงานเข้าด้วยกัน ทั้งผู้ประกอบการเอกชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ ภาคการศึกษา  ช่วยเปิดมุมมองโลจิสติกส์ให้กว้างขึ้นและจุดประเด็นได้อย่างน่าสนใจ ขอชื่นชมเล่มนิตยสารและ website ที่มีการพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น และเนื้อหาเป็นประโยชน์กับผู้อ่านอย่างแท้จริง และในโอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับทีมงานทุกคนที่ทุ่มเทในการสานต่อ Freight Max มาจนถึงปีที่ 7 ในปี 2558 นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นนิตยสารดีๆ ฉบับนี้เจริญเติบโต และนำเสนอคุณค่า อยู่เคียงข้างวงการโลจิสติกส์อย่างยาวนาน”

ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง “ขอแสดงความยินดี เนื่องในวาระครบรอบ 7 ปี นิตยสาร freight max ขอขอบคุณ freight max ที่นำเสนอสิ่งดีๆ ให้กับวงการ Logistics ไทยเสมอมา และหวังว่าเราคงจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทันสมัย ส่งเสริม Logistics ไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำ AEC ในอนาคตอันใกล้”

คุณอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ “ขอแสดงความยินดีกับนิตยสาร Freight Max ในโอกาสการก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งพิสูจน์ได้ถึงความสำเร็จที่น่าชื่นชม จากผลงานที่ประจักษ์ในวงการโลจิสติกส์ ด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์และอัดแน่นด้วยสาระจากหน่วยงานและบุคลากรมีประสบการณ์โดยตรง ในฐานะผู้อ่านคนหนึ่งขอเป็นกำลังใจให้ Freight Max พัฒนาเนื้อหาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”

ทั้งนี้ โดยอาจเพิ่มข้อมูลความรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มากขึ้น เพื่อผู้อ่านจะได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ในยุคการค้าเสรี สุดท้ายนี้ ขออำนวยพรให้นิตยสาร Freight Max มีความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ และเป็นที่นิยมของผู้อ่านยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า “ขอแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 7 ของนิตยสาร Freight Max ขอชื่นชมกับความสำเร็จของนิตยสาร ที่ถือได้ว่าเป็นสื่อด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของไทย ที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายของข้อมูล และความชัดเจนของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านในแวดวงการขนส่งและโลจิสติกส์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทีมงานจะพัฒนาเนื้อหาสาระให้น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

คุณกิตติ พัวถาวรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (NCL) “ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์อย่างครบวงจร และมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่กับนิตยสาร Freight Max มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของนิตยสาร Freight Max ในทิศทางที่ดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาสาระที่มีความครอบคลุม เจาะลึก ตรงประเด็น ที่สำคัญเป็นประโยชน์และสามารถตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

และเนื่องในโอกาสที่นิตยสาร Freight Max ดำเนินธุรกิจครบรอบ 7 ปี และก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ผมขอแสดงความยินดีกับก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของ Freight Max ที่ได้พัฒนาศักยภาพให้เติบโตและนำเสนอข่าวสารอันเป็นประโยชน์ส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม ซึ่งขอให้ตั้งมั่นที่จะพัฒนาข่าวสารให้เข้มข้นยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นนิตยสารที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยในการก้าวสู่ผู้นำ AEC ต่อไปในอนาคต”

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ ศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาไม่ว่าจะปริญญาตรี ปริญญาโทหรือปริญญาเอกนั้น ผู้เรียนไม่เพียงแต่ต้องเรียนในสิ่งที่อาจารย์สอนเท่านั้น แต่ยังต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆ การวิจัยหรือจากการลงมือปฏิบัติงานจริงอย่างต่อเนื่อง หนังสือหรือสื่อเสริมการสอนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่เป็นที่รู้กันดีว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและอยู่รอดยาก ถ้าไม่มีเอกลักษณ์และจุดเด่นของตนเอง”

อย่างไรก็ตาม สำหรับวารสาร Freight Max ได้มีการเติบโตและก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ผมในฐานะที่ได้ติดตามพัฒนาการของหนังสือวารสารฉบับนี้มาโดยตลอด พบว่าเป็นสื่อเสริมการสอนให้กับนิสิต นักศึกษารวมทั้งผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นหนังสือด้านขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีความทันสมัย จัดรูปแบบได้น่าอ่าน มีประโยชน์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะในงานด้านโลจิสติกส์นั้น สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งวารสาร Freight Max นี้ ผมขอให้หนังสือฉบับนี้เป็นสื่อกลางที่เป็นคลังสมองและขุมปัญญาเพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทยต่อไป

คุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท JWD InfoLogistics Co.,Ltd. ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับการก้าวสู่ปีที่ 7ของนิตยสาร Freight Max ซึ่งตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เห็นว่า Freight Max เป็นสื่อกลางที่ดี มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของวงการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เป็นข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ และครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นในประเทศและข่าวสารจากต่างประเทศ สำหรับ Freight Max นั้น จากการติดตามอ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นเห็นว่า นิตยสารมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นหนังสือที่ดีฉบับหนึ่งในวงการโลจิสติกส์”

คุณทัศนันท์ ปิยะอักษรศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและการตลาด บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด “ในนามของบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด ขอร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่นิตยสาร Freight max ก้าวสู่ปีที่ 7 ในฐานะผู้ติดตามอ่านผ่านนิตยสารและเว็ปไซด์ เห็นว่า Freight Max เป็นสื่อกลางที่มุ่งเน้นให้ผู้อ่านได้รับทราบข้อมูล และตามทันข่าวสาร สถานการณ์ของวงการโลจิสติกส์ในไทย รวมถึงเปิดมุมมองทางความคิดให้กับผู้อ่านได้เตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่ AEC และเป็นนิตยสารที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ประกอบการขนส่ง และผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์ และสุดท้ายนี้ขออวยพรให้ทีมงานผู้จัดทำวารสารทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เพื่อนำเอาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในวงการมาประชาสัมพันธ์ต่อๆ ไป” บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด

คุณสุวัฒน์ จรรยาพูน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม “การก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ของ Freight Max Magazine แม้ว่าจะดูอายุน้อยในวงการนิตยสารทั่วไป แต่ก็เรียกได้ว่าเป็น “พี่ใหญ่ของวงการสื่อด้านโลจิสติกส์” ที่ยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านผู้อ่าน มอบมุมมอง แนวคิด แง่คิด ความรู้ เนื้อหา สาระ ด้านโลจิสติกส์ คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด และคาดหวังว่าจะมอบองค์ความรู้ และข้อมูลที่ทันสมัยให้กับท่านผู้อ่านแบบนี้ต่อไปในอนาคตอีกนานๆ ครับ”

สำหรับมุมมองที่ควรปรับปรุงและพัฒนานั้น รูปเล่ม ภาพประกอบ สวยงามน่าอ่านมากขึ้น เชื่อว่าทีมงานคุณภาพสามารถพัฒนารูปแบบได้ดีขึ้นเองอย่างมืออาชีพ การจัดวางเนื้อหาด้านวิชาการที่เข้มข้นจะเป็นโจทย์ที่ทีมงานต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง มุมมองที่อยากฝากให้พิจารณาความเป็นไปได้ก็คือ การเพิ่มคอลัมน์ถาม-ตอบจากผู้อ่าน ผ่านมุมมองผู้ประกอบการ และนักวิชาการ หรือ คอลัมน์โลจิสติกส์ทิปส์ ก็จะเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็งขึ้นครับ

ด้านผู้คร่ำหวอดในวงการโลจิสติกส์ คุณสมชาย รุ่งบวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ Handle Inter Group กล่าวว่า สำหรับนิตยสารเฟรทแม็กซ์ กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ก็ขอแสดงความยินดีด้วย ถือว่าเฟรทแม็กซ์ก็อยู่คู่กับวงการโลจิสติกส์มานานทีเดียว และที่สำคัญทราบมาว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อเป็น โลจิสติกส์แม็กซ์ ก็จะยิ่งทำให้หนังสือน่าสนใจมากขึ้น เพราระเนื้อหาเท่าที่ผ่านมาก็ถือว่าครอบคลุมวงการขนส่งอย่างมาก ยิ่งเพิ่มมุมมองจากเฟรท เป็น โลจิสติกส์ ผมมองว่าก็จะยิ่งขยายกลุ่มตลาดกว้างมากขึ้น และก็จะได้มุมมอง เนื้อหา ข่าวสาร สาระ ที่เพิ่มมากตามไปด้วย สุดท้ายก็ขอให้นิตยสารเฟรทแม็กซ์ยงคงความอัดแน่น เนื้อหาสาระ เป็นแหลงความรู้ให้กับวงการขนส่ง แบบนี้ในปีต่อๆ ไปครับ

คุณพจมาน ภาษวัธน์ สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “Freight max เป็นนิตยสารที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมามีการพัฒนาเนื้อหาสาะมาโดยตลอด และล่าสุดจะมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “Logistics Max” เห็นด้วยมากๆ เลย เพราะจะกว้างขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมมากขึ้น แนะว่าควรจะเพิ่มบทความจากบุคคลในแวดวงให้มากขึ้น เชื่อว่าจะเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

คุณสุวัฒน์ นวลขาว นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) “หนังสือ เป็นแหล่งข้อมูลจุดประกายความคิด ความรู้แก่ผู้อ่าน Freight Max มีจุดยืนเพื่อให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้อ่าน ด้าน Logistics และ Supply Chain โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการขนส่ง ดังนั้น คุณภาพ คุณค่า และความทันสมัยของเนื้อหาจึงมีความสำคัญมาก และเป็นจุดที่ให้ความสนใจแก่ผู้อ่านเป็นอย่างมาก

เนื่องจากปัจจุบันองค์ความรู้และกระบวนการของโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมีการพัฒนาทั้งแนวกว้างและแนวลึก เช่น การเชื่อมโยง เช่น การเชื่อมโยงในการขนส่งทั้งระดับประเทศและระดับโลก และมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนความก้าวหน้าในแนวลึกคือระดับองค์กรที่ต้องพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบไอทีและการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลังถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติมากขึ้น และสุดท้ายที่มีความสำคัญที่ต้องติดตามคือนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนและกำกับผู้รับและผู้ให้บริการ ประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมา Freight Max ต้องเข้าไปติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง แล้วนำไปสื่อสารให้ผู้อ่านทราบ เพื่อนำไปวางแผนหรือนำไปปฎิบัติในองค์กรของตนเองได้ต่อไป

“การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในทุกมิติ ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรอาจไม่เพียงพอ ต้องมีความร่วมมือกันตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาให้เกิด Value Chain การนำเสนอแนวคิด กรณีศึกษา และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และทันสมัยจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” คุณกฤชทัต วัฒนาสุนทรชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งออก

You can leave a response, or trackback from your own site.

Leave a Reply