เปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน กทท.จับมือ NCL ยกระดับขนส่งสินค้าทางน้ำ

Interview

To be prepared for trading along the Andaman coast, Port Authority of Thailand and NCL are planning to upgrade sea logistics

เปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน กทท.จับมือ NCL ยกระดับขนส่งสินค้าทางน้ำ

ปูพรมทางเดินเรือแห่งใหม่ ระนอง-ย่างกุ้ง

ท่าเรือระนอง “ประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน” กทท. มุ่งเปิดประตูเศรษฐกิจสู่เมียนมาร์ ด้วยท่าเรือระนอง             เปิดเส้นทางเดินเรือตู้สินค้าแห่งแรกอย่างเป็นทางการ “ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง ” หวังเป็นเส้นทางขนส่งหลักฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่ม BIMSTEC พร้อมรองรับเศรษฐกิจประเทศเมียนมาร์ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

จากการที่เศรษฐกิจประเทศเมียนมาร์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีโอกาสทางการค้าสูงมาก ด้วยเหตุนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จึงได้จับมือกับ บริษัท เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เปิดบริการเส้นทางเดินเรือประจำระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือย่างกุ้ง สำหรับการเชื่อมโยงธุรกิจการค้า การลงทุนระหว่างกัน ซึ่งขนส่งสินค้าทางน้ำแห่งใหม่นี้จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าเหลือเพียง 3 – 4 วัน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาในการขนส่ง 14 – 21 วัน เชื่อว่าท่าเรือระนองจะเป็นท่าเรือที่มีศักยภาพ เป็นประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามันได้อย่างแน่นอน

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ แสดงทรรศนะในการบริหารงานว่า ท่าเรือระนองมีศักยภาพและมีความพร้อมรองรับสินค้า ได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้การค้าระหว่างไทยและพม่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งการขนส่งผ่านท่าเรือระนองจะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และลดต้นทุนการขนส่ง จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาในการขนส่ง 14-21 วัน ลดเหลือเพียง 3 – 4 วันเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งมีความพร้อมมากขึ้น ส่งผลให้มีลูกค้าสนใจเข้ามาใช้บริการ นับว่าท่าเรือระนองเป็นท่าเรือที่มีโอกาสและพร้อมที่จะเป็นประตูการค้าฝั่งทะเล               อันดามัน

การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัท เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล               โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้มีการเปิดบริการเส้นทางเดินเรือประจำระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือ           ย่างกุ้ง สำหรับการเชื่อมโยงธุรกิจการค้า การลงทุนระหว่างกันในการใช้ท่าเรือ บริการ และสิ่งอำนวย           ความสะดวกต่างๆ ผ่านท่าเรือระนอง เพื่อขนส่งตู้สินค้าไปยังท่าเรือ AIPT1 (Ahlone International Port Terminal 1) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้ง ยังเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าทางฝั่งทะเลอันดามันอีกด้วย จากที่เปิดให้บริการพบว่ามีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับว่าท่าเรือระนองเป็นท่าเรือที่น่าจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

สำหรับการเปิดให้บริการเส้นทางการขนส่งทางน้ำนั้น บริษัท เอ็นซีแอลฯ จะนำเรือตู้สินค้าชื่อ Munich Trader ซึ่งเป็นเรือที่เช่ามาจากประเทศสิงคโปร์ มีขีดความสามารถในการบรรทุกตู้สินค้าได้ไม่เกิน 12,000 DWT. มีความยาว 147 เมตร กินน้ำลึก 7.5 เมตร เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือระนอง โดย กทท. ได้ให้สิทธิในการนำเรือตู้สินค้าเข้าเทียบท่าในลักษณะ Priority Berth ประมาณ 4 เที่ยวต่อเดือน และคาดว่าจะมีปริมาณ ตู้สินค้าผ่านท่าเรือระนองไม่น้อยกว่า 6,000 ทีอียู.ต่อปี ซึ่งประเภทของสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นวัสดุก่อสร้าง ใช้เวลาในการเดินทางจาก ICD ลาดกระบังมาท่าเรือระนอง และจากท่าเรือระนองไปยังท่าเรือ AIPT1           เพียง 3 – 4 วันเท่านั้น

เรือโท กมลศักดิ์ฯ กล่าวเสริมว่า ท่าเรือระนองได้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ได้แก่ ปั้นจั่นหน้าท่าล้อยางขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Mobile Harbor Crane) 1 คัน รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า 6 คัน รถยกตู้สินค้าหนัก 2 คัน รถยกตู้เปล่า 1 คัน รถยกขนาดต่างๆ โรงพักสินค้า ลานวางตู้สินค้า 11,000 ตารางเมตร เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่อง X-RAY เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการขนส่งระบบตู้สินค้าอย่างปลอดภัย                  และมีประสิทธิภาพ และในอนาคตหากมีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น ท่าเรือระนองก็จะเพิ่มศักยภาพในการขนส่ง ขนถ่ายตู้สินค้า โดยการจัดหาปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า รถยกตู้สินค้าหนักมาให้บริการเพิ่ม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าต่อไป ซึ่งในอนาคตหากปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น การท่าเรือฯ จะมีแผนการสร้างลานวางตู้สินค้าบนพื้นที่ประมาณ 29,000 ตารางเมตร สามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 3,000 ตู้ รวมทั้งสร้างอาคาร           One Stop Service เป็นศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียวอีกด้วย

“การบริการในเส้นทางดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นและเพิ่มการค้า การลงทุน             มากขึ้น เนื่องจากสามารถให้บริการแบบ Regular Service เป็นครั้งแรก คือมีการกำหนดตารางเดินเรือประจำ สัปดาห์ละ 1 เที่ยว มีคุณภาพบริการระดับ Premium ช่วยลดเวลาในการขนส่ง (Transit Time) และต้นทุนในการขนส่งโดยรวม” รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ กล่าว

ท่าเรือระนองท่าเรือหลักขนส่งสินค้าฝั่งอันดามัน

ประตูเศรษฐกิจของภาคใต้-โอกาสธุรกิจผู้ประกอบการ

จุดแข็งสำคัญสำหรับท่าเรือระนอง นอกจากจะตั้งอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถลดระยะเวลาในการขนส่ง (Transit time) และต้นทุนในการขนส่งโดยรวม ส่งผลให้ท่าเรือระนองเป็นท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามันของไทยและประตูเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสทางการค้าสูงมาก ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอีกด้วย

“ท่าเรือระนอง” ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง เป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางทะเลฝั่งอันดามันของไทย และมีท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือตู้สินค้าขนาดไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน ซึ่งจะกลายเป็นประตูเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยเป็นฐานการขนส่งหลัก และกระจายตู้สินค้าทางทะเลฝั่งอันดามันผ่านท่าเรือระนอง ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเปิดเส้นทางเดินเรือแบบ Direct Service ไปที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์  ในระยะแรก และกลุ่มประเทศ BIMSTEC ในโอกาสต่อไป

ผลการดำเนินงานท่าเรือระนอง ในปีงบประมาณ 2557 ท่าเรือระนองมีรายได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 34.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.42 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.58 เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2546 (23.93 ล้านบาท) เนื่องจากมีผู้ประกอบการบริษัทสำรวจขุดเจาะและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีข้อตกลงการใช้บริการท่าเรือระนองเป็นฐานสนับสนุนหลักให้บริการ บริษัทสำรวจขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียม โดยชำระค่าบริการล่วงหน้ากับท่าเรือระนองเป็นรายปี (ระยะเวลา 3 ปี) และมีเรือสนับสนุนที่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะมาใช้บริการเพิ่มขึ้น

จากการที่บริษัท เอ็น ซี แอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการโลจิสติกส์แบบครบวงจรด้านคอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ ได้มีข้อตกลงการใช้บริการท่าเรือระนองในการขนส่งตู้สินค้าไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าจะมีเรือให้บริการขนส่งตู้สินค้าผ่านท่าเรือระนองได้ประมาณ 4 เที่ยวต่อเดือน สามารถขนส่งตู้สินค้าได้ประมาณ 350-400 ตู้ต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 6,000 ตู้ต่อปี โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคและวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะส่งผลให้ในปีงบประมาณ 2558 ท่าเรือระนองจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกกว่า 10 ล้านบาท

——————————————————–

NCL ยกระดับขนส่งสินค้าทางน้ำ

เปิดประตูสู่เศรษฐกิจเมียนมาร์-กลุ่มประเทศ BIMSTEC

เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ ลงนามข้อตกลงการใช้ท่าเรือ บริการ และความสะดวกต่างๆ ของท่าเรือระนอง จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเส้นทางเดินเรือตู้สินค้าแห่งแรกอย่างเป็นทางการ “ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง” หวังเชื่อมจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจสู่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และกลุ่มประเทศ BIMSTEC ด้วยจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่ง 400 ตู้ต่อสัปดาห์ บรรทุกสินค้าได้ถึง 1 หมื่นตันต่อเที่ยว

จากการที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจับมือกับ บมจ. เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ เปิดเส้นทางใหม่ “ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง” นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการเพิ่มจุดขนส่งสินค้า เพื่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดยจุดแข็งสำคัญของท่าเรือระนองนั้น นอกจากจะตั้งอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจที่จะช่วยย่นทั้งระยะเวลาการขนส่ง และระยะทาง ค่าธรรมเนียมที่ไม่สูงแล้ว ยังเป็นท่าเรือที่มีศักยภาพในการรองรับระบบตู้สินค้าฝั่งทะเลอันดามันของไทย

คุณกิตติ พัวถาวรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (NCL) กล่าวว่า นับเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทฯ ที่ได้ลงนามข้อตกลงฯ เพื่อใช้ท่าเรือระนองโดยตรงกับการท่าเรือฯ เนื่องจากท่าเรือระนองเป็นท่าเรือที่มีศักยภาพ และเป็นท่าเรือรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้จำนวนมาก ประกอบกับปัจจุบันท่าเรือมีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบครัน ซึ่งการเปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของบริษัทฯ ในครั้งนี้ จะช่วยประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเมียนมาร์ และประเทศในแถบฝั่งอันดามัน หรือมหาสมุทรอินเดียลงประมาณ 3 เท่า โดยเหลือเพียง 3 วัน เมื่อเทียบกับเส้นทางที่ผู้ประกอบการใช้ในปัจจุบัน ที่ต้องผ่านท่าเรือกรุงเทพ  หรือท่าเรือแหลมฉบัง ก่อนจะอ้อมผ่านสิงคโปร์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน ที่จะช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการขนส่งอันรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ

“เศรษฐกิจประเทศเมียนมาร์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสทางการค้าสูงมาก จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ เพราะเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำแห่งใหม่นี้จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์และการลงทุนที่ NCL ต้องการยกระดับมาตรฐานการให้บริการ เพื่อขานรับต่อประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบเครือข่ายขนส่งของบริษัทให้เพิ่มมากขึ้น” คุณกิตติกล่าว

ทั้งนี้ ท่าเรือระนอง ตั้งอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจ ในการเชื่อมโยงทั้งประเทศเมียนมาร์ จีน อินเดีย และกลุ่มประเทศ BIMSTEC ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางในการเดินเรือสินค้าไปยังประเทศเมียนมาร์ และทำให้การขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศเมียนมาร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ถือเป็นการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีโอกาสทางการค้าที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์

You can leave a response, or trackback from your own site.

2 Responses to “เปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน กทท.จับมือ NCL ยกระดับขนส่งสินค้าทางน้ำ”

  1. เปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน กทท.จับมืภsays:

    Proxies For Scrapebox…

    I found a great……

  2. เปิดประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน กทท.จับมืภsays:

    Buy Usa Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply