3 ขั้นตอนในพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ Implement ระบบ WMS

TLAP’s Talk

Warehouse Management System (WMS)

3 ขั้นตอนในพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ Implement

กันติชา บุญพิไล

ผม ศราวุธ ที่อบรม Order Management กับอาจารย์ ที่จัดโดยสถาบันขนส่งจุฬาฯ ครับ

ปัจจุบันผมดูแลงานคลังสินค้าและจัดส่ง ของบริษัทซื้อมาขายไปสินค้าจำพวกอุปกรณ์นิรภัยและความปลอดภัย ยอดขายประมาณ 700-1,000 ล้านบาท/ปี มีสินค้าประมาณ 20,000 SKUs แต่สินค้าที่เป็น Stock และเคลื่อนไหวจริงๆ มีประมาณ 3,000 SKUs และคลังสินค้าเป็นแบบ Selective ครับ

ผมจะรบกวนอาจารย์แนะนำ Software ด้าน Warehouse Management, Inventory Management และ Transportation Management ครับ เพราะผมไม่มีความรู้มากนักว่าบริษัท อื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจแบบนี้ใช้โปรแกรมอะไรครับ

ปัจจุบันบริษัทฯ ใช้โปรแกรมบัญชี ชื่อ Accpac ซึ่งไม่รองรับด้าน WMS อดีตบริษัทเลยซื้อโปรแกรมด้าน WMS ชื่อ YYY จากบริษัท ZZZ มาใช้คู่กัน (ใช้ 2 ระบบมาเป็น 6-7 ปีแล้วครับ) แต่ปัญหาที่เกิดคือ บางครั้งต้องทำงาน Double เพราะ 2 โปรแกรมไม่ Link กัน และ XXX มีทีท่าว่าจะไม่พัฒนาต่อ แต่มีค่าใช้จ่ายรายปีที่เรียกเก็บ เฉพาะ WMS เองประมาณ 1 แสนต่อปี (ซึ่งเสียไปแต่ไม่ได้สนับสนุนอะไรมากนัก) ซึ่งผมกำลังศึกษาโปรแกรมใหม่ครับ

รบกวนอาจารย์แนะนำด้วยครับ และขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ

ด้วยความเคารพและนับถือ

ศราวุธ

ANSWER

เรียน คุณศราวุธ

อาจารย์ขอให้คำตอบเพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินใจ Implement ระบบ Warehouse Management System เป็น Step ดังนั้นค่ะ

1) อันดับแรกต้อง วางแผนกระบวนการธุรกิจ

ทบทวนกระบวนการซัพพลายเชนปัจจุบันไปสู่อนาคต (ประมาณ 5 ปี เพราะค่าเสื่อมของการลงทุนต่างๆ ในด้านระบบอยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี) ดูจำนวนและความซับซ้อนของกระบวนการ ได้แก่ Projection ของจำนวน SKUs ของการรับ การเก็บ (Stock) และ การจ่ายสินค้า ลักษณะช่องทางการขาย จำนวน Vendor จำนวนลูกค้า และ Unit การขายเช่นเป็น ชิ้น หีบ Pallet รวมถึงนโยบายการควบคุม Stock (Inventory) ได้แก่ การควบคุม การหยิบจ่ายแบบ FIFO, Expiry Date, วันผลิต, Batch, Lot

2) แยกแยะระบบงาน บทบาทและความเหมาะสมในการเลือก ติดตั้ง หรือ Implement ระบบ

Inventory Management จะเป็น Module หลัก (Host) ในด้าน การทำธุรกรรมของบริษัท แสดงถึง stock โดยเฉพาะมูลค่าทรัพย์สินของการจัดเก็บ ในภาพกว้าง โดยจะไปเชื่อมกับระบบ Account/Finance ระบบจัดซื้อ ระบบขาย (AR/AP, PO, Invoice) ปัจจุบัน ERP บางตัวก็พยายามขยายความสามารถของ Module นี้ให้ถึงระดับ Operation เพื่อช่วยในเรื่องระบบการจัดเก็บแบบ location ได้ด้วย แต่ก็ต้องไม่ซับซ้อนนัก เช่น มี SKUs ไม่มาก การรับ เก็บหยิบ จ่ายซับซ้อน ลูกค้าไม่มากนัก รวมถึงนโยบายในการควบคุมและการหยิบจ่ายไม่มีรายละเอียดซับซ้อน

Warehouse/Transport Management เป็น application ที่จะมาเสริมช่วยงานด้าน Operation โดยเฉพาะ WMS ส่วนมากจะมา plug in กับ Module Inventory (จะมีหรือไม่มีก็ได้) ช่วยในการวางแผนและดำเนินงานในระดับ Operation หากจะพิจารณามีระบบ WMS ให้พิจารณาว่าเรามีความซับซ้อนและมีจำนวนของสินค้า ของลูกค้ามาก การหยิบจ่ายหลายรูปแบบ เช่น มีการหยิบขายในระดับชิ้นหีบ มีลูกค้าหลากหลาย และหลายหลายช่องทาง มีการเลือก ควบคุม FIFO, Expiry/Manufacturing Date, Batch, Lot ก็สมควรพิจารณา เนื่องจาก WMS มีระบบ Slot Locator ในการบริหารจัดการพื้นที่และ Stock ในระดับหน่วยย่อยได้ และที่สำคัญระบบข้อมูล Stock ใน WMS จะต้องถูกส่งผ่านกลับมาที่ Module Inventory Management ที่ระบบ Host เพื่อ update Stock ในภาพรวม จากการรับเข้า การจ่าย และ สินค้าคงคลัง (Inventory) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และการส่งข้อมูลไปที่ Host เพื่อ Update สถานะของการสั่งซื้อ (Purchase Order) จากการรับสินค้า การ Update สถานะของการขาย (Sales Order) จากการจ่ายสินค้า (Ship Confirm) เพื่อไปเชื่อมกับระบบ Invoice และระบบลูกหนี้

ส่วนการหยิบสินค้าจาก Slot Location (pick confirm) ในระบบ WMS อาจจะมี/ไม่มีผลต่อ Stock ในระบบ Inventory ในระบบ Host/ ERP ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการออกแบบระบบ เช่น เปลี่ยนสถานะของ Stock ว่าอยู่ในสถานขายได้/ไม่ได้ เพื่อให้ Module Order Management ใน Host/ERP ทำการจอง Stock (Reserve) เพื่อหยิบจ่าย/ขายหรือโอนให้ลูกค้าอื่น (Allocate/non-allocate) ดังนั้น Step ต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ

3) ความสามารถในการเชื่อมโยงระบบและการส่งผ่านข้อมูล (interfacing)

ในระบบ Host /ERP จำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลและUpdate ข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ ข้อมูล Item (Stock) ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลซัพพลายเออร์ และข้อมูลอื่นๆ มาสู่ระบบ Operation  ในขณะที่ระบบ Operation ก็ต้อง update ส่งผ่านข้อมูลกลับไปยัง Host/ERP ดังที่ได้กล่าวไปในข้อ 2) ดังนั้น ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อูลจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาในกรณีที Platform ของระบบไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้โดยตรง (ถ้าเชื่อมได้โดยตรงเช่น กรณีใช้ ERP ของ SAP และใช้ EWM (WMS ตัวใหม่ล่าสุดของ SAP ที่อาจารย์ ได้ทำ Business Process Redesign และจัดทำ Requested for Proposal เพื่อ Implement ระบบให้กับบริษัทเครื่องมืออุปกรณ์และอะไหล่บริษัทหนึ่ง) จำเป็นต้องมี Middleware เพื่อทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ 2 ระบบนี้อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็มีโอกาสที่เป็นประเด็นปัญหาในการ Implement และการใช้งานระบบ อย่างไรก็ดีหากจำเป็นต้องมี Middleware อาจให้บริษัทฯ ผู้นำเสนอระบบ WMS เป็นผู้นำเสนอและดูแล Middleware เป็น Package ไปพร้อมๆ กันก็จะลดปัญหาหลาย Party หลายหน้างานได้

อีกกรณีหนึ่งนอกเหนือจากเรื่องความเชื่อมโยงในเรื่องข้อมูลแล้ว ยังมีเรื่องการเชื่อมโยงของโครงสร้างของระบบ Stock (หรือ Inventory Structure/Inventory tree) ระหว่างระบบ Host/ERP และ ระบบ WMS ซึ่งจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงกันในระดับ Company, Plant, Warehouse, Location และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งหลายบริษัทมีการออกแบบในระบบ Host/ERP ในเริ่มแรกอาจไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องเหมาะสมกับการ Implement ระบบ WMS

อ. ตอบค่อนข้างยาวรบกวนคุณศราวุธลองไป ทบทวนเบื้องต้นจากคำแนะนำในแต่ละ Step นะคะถ้าผ่านทั้ง 3 ข้อแล้ว ลองมาพิจารณาว่าจะ Sourcing ระบบ WMS โปรแกรมอะไร และของตัวแทนใดดี อ จะได้แนะนำถึงหัวข้อ…..หลักในการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อทำการคัดสรรตัวแทน (Vendor & Implementer Selection Criteria) ที่เหมาะสมต่อไป

อ. กันติชา บุญพิไล

You can leave a response, or trackback from your own site.

One Response to “3 ขั้นตอนในพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ Implement ระบบ WMS”

  1. 3 ขั้นตอนในพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ Implement à says:

    Fast Speed Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply