แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย

Logistics Knowledge

Truck Station project initiated to smoothen the logistics in the South of Thailand

แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย

นางสาวณัฐชา เอื้อรักสกุล

นายพีรวิชญ์ รัตนภิภพ

นางสาวศรัณย์รัตน์ ตั้งกีรติชัย

ประธานที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ

ในปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นที่นิยมมากกว่าการขนส่งสินค้าในโหมดการขนส่งอื่นๆ รวมถึงสามารถส่งสินค้าให้ผู้รับสินค้าได้แบบ Door-to-Door แตกต่างกับโหมดการขนส่งอื่นๆ การขนส่งสินค้าทางถนนจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ทว่าการขนส่งสินค้าทางถนน ก็เป็นโหมดการขนส่งที่ประสบกับปัญหาอุบัติเหตุมากมาย พบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกขนส่งนั้นมีมากถึงร้อยละ 38 จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางหลวงทั้งหมดส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด

นอกจากนี้การขนส่งสินค้าทางถนนยังเป็นโหมดการขนส่งที่มีความเสี่ยงในการสูญหายมาก เพราะมูลค่าในการบรรทุกแต่ละเที่ยวนั้นค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตในเรื่องของอัตราการว่างงาน อัตราการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้นตลอดมา

จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงค้นคว้างานวิจัยต่างๆ และพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มี Public Truck Station ของบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ จากัด ซึ่งจะเปิดรับเฉพาะรถของบริษัทในเครือ และจะอนุญาตให้รถบรรทุกอื่นเข้าได้เมื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางบริษัทเท่านั้น ในส่วนของสถานีบริการน้ำมัน มุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวมากกว่าให้บริการรถบรรทุกในเชิงพาณิชย์ ทำให้ภายในสถานีบริการน้ำมันส่วนใหญ่ เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน แต่พนักงานขับรถบรรทุกกลับไม่กล้าเข้าไปจอดพักนาน เพราะรู้สึกเหมือนถูกแบ่งแยกจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่า ถึงแม้การที่สินค้าสูญหายจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด แต่ก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน ทำให้เกิดแนวคิดในการศึกษา Truck Station เพื่อเป็นจุดพักรถให้แก่รถบรรทุกโดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว และเป็นเสมือน One Stop Service ของพนักงานขับรถทุกคน นอกจากนี้ในปัจจุบัน Truck Station ก็ได้มีการเปิดให้บริการอย่างแพร่หลายทั้งในฝั่งยุโรป อเมริกา หรือแม้กระทั่งมาเลเซียที่เป็นเพื่อนบ้านของประเทศไทยเอง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากแนวความคิดของสถานีพักรถบรรทุก (Truck station) เป็นแนวความคิดที่ยังค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย องค์กรที่จะรู้จักและนำมาใช้ ณ ตอนนี้ มีเพียงแห่งเดียว คือ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ จำกัด ผู้วิจัยได้มีโอกาสรับฟังบรรยายจากผู้บรรยายที่มาจาก บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ จำกัด จึงพอมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสถานีพักรถบรรทุกมาพอสังเขป ดังนี้

จุดประสงค์หลักของการจัดตั้งสถานีพักรถบรรทุกของ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ คือ สร้างขึ้นเพื่อให้พนักงานขับรถใช้หลับนอนพักผ่อน เพื่อลดอาการง่วงนอน เมื่อยล้าระหว่างขับรถ โดย SCG Logistics กำหนดไว้มี 4 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สระบุรี และนครสวรรค์ แยกตามภูมิภาคและระยะทาง เนื่องด้วยการที่คนขับรถบรรทุกในปัจจุบันมันจะจอดรถไว้ตามริมทางเพื่อพักผ่อน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ จากการศึกษาเรื่องความง่วงและหลับใน ในผู้ขับรถอาชีพ 4,331 คน พบว่า คนขับรถยอมรับว่าหนึ่งในสามของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากความง่วง (ธัชนันท์ รัตนศิริวิไล 2555)

ระเบียบวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ผู้วิจัยเข้าไปทำการศึกษา คือ พนักงานขับรถในสถานีขนส่งสินค้าทางบกของ บริษัท ไดนามิค ลอจิสติคส์ จากัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 59 คน

เนื่องจากจำนวนประชากรมีไม่สูงมากนัก ดังนั้น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจึงเท่ากับจำนวนประชากรทั้งหมด คือ พนักงานขับรถจำนวน 59 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 1 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

ผู้วิจัยเลือกใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากพนักงานขับรถ โดยจะมีตัวเลือกทั้งบังคับเลือกและปลายเปิด เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีพักรถบรรทุกรวมถึงการใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร เกี่ยวกับมุมมองด้านประโยชน์ในการสร้างสถานีพักรถบรรทุกและค่าบริการในการใช้บริการสถานีพักรถบรรทุกที่ยอมรับได้ (ต่อการเข้าพัก 1 ครั้ง) เมื่อเทียบกับค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ซึ่งจากคำถามในแบบสอบถาม จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

  • เวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้าเป็นข้อมูลประกอบสมมติฐานว่าการทำงานมากกว่า 4 ชั่วโมง จะทำให้มีอัตราการอุบัติเหตุมากกว่าการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมง
  • ขับรถติดต่อกันมาเป็นเวลานานเท่าใดจึงจะเกิดความเมื่อยล้าเป็นข้อมูลสนับสนุนการวิจัยว่าควรให้พนักงานขับรถหยุดพักเมื่อขับรถติดต่อกันนาน 4 ชั่วโมง
  • วิธีขจัดความอ่อนล้า การจอดพักรถข้างทาง และปัญหาซ่อมแซมรถบรรทุก เป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัยว่าควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกใดบ้างภายในสถานีพักรถบรรทุก เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่งมากที่สุดของพนักงานขับรถบรรทุก เป็นข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนข้อสมมติฐานที่ว่าปัญหาจากการหลับในเพราะเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถบรรทุกเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • บริการที่พนักงานขับรถใช้ในปั๊มน้ำมันมากที่สุดเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ ร่วมกับบริการที่พนักงานขับรถอยากให้มีภายใน Truck Station

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  • ระยะเวลาส่งสินค้าในแต่ละรอบการส่งสินค้า

ระยะเวลาส่งสินค้าในแต่ละรอบมักจะเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป คิดเป็น 65.46% ของพนักงานขับรถบรรทุกที่ได้ตอบแบบสอบถามมาทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 8-12 ชั่วโมง ดังนั้น ระยะเวลาส่งสินค้าในแต่ละรอบจึงควรมีการหยุดพักเป็นระยะ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานขับรถ

  • ระยะเวลาที่จะทำให้รู้สึกเมื่อยล้า

พนักงานขับรถส่วนใหญ่จะรู้สึกเมื่อยล้าเมื่อขับได้ 4 -5 ชั่วโมง คิดเป็น 71.19% ของพนักงานขับรถบรรทุกที่ได้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ซึ่งหากวิเคราะห์ร่วมกับระยะเวลาส่งสินค้าในแต่ละรอบ จะเห็นได้ว่าในการส่งสินค้า 1 รอบ ควรให้พนักงานขับรถพักอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเหนื่อยล้า

  • วิธีขจัดความอ่อนล้าจากการขับรถ

เมื่อพนักงานขับรถรู้สึกมีอาการอ่อนล้า 42.70% จะแก้ไขโดยการแวะเข้าปั๊มน้ำมัน 28.09% จะแก้ไขโดยการซื้อเครื่องดื่ม และ 24.72% จะแก้ไขโดยการพักจอดรถข้างทาง

  • ความถี่ในการจอดพักไหล่ทาง

พนักงานขับรถบรรทุก 37.93% มักจะจอดพักรถบนไหล่ทางเป็นประจำที่มีการขนส่งสินค้า ซึ่งการจอดพักไหล่ทางเป็นสาเหตุอันอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการปล้นชิงทรัพย์ได้ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการช่วยลดอัตราการจอดพักบริเวณไหล่ทาง

  • จำนวนครั้งที่พนักงานเคยได้รับอุบัติเหตุ

พนักงานขับรถของบริษัทกว่าครึ่งหนึ่ง (53.45%) ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุเลย และพนักงานขับรถที่เหลือ (46.55%) แต่ละคนไม่เคยได้รับอุบัติเหตุเกินกว่า 4 ครั้งเลย

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

สาเหตุหลัก 32.35% คือ การหลับใน รองลงมา 23.53% คือ การขับรถเร็ว ตัวรถมีปัญหา 14.71% รวมทั้งสาเหตุอื่นๆ อีก 14.71% เช่นเดียวกัน จะเกี่ยวกับความประมาทหรือปัจจัยภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวกับตัวคนขับรถ เช่น รถคันอื่นเข้ามาชน

  • การใช้เวลาในปั๊มน้ำมันโดยเฉลี่ย

เวลาเฉลี่ยที่พนักงานขับรถมักใช้ในปั๊มน้ำมัน คือ ไม่เกิน 30 นาที คิดเป็น 64.41% สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่าพนักงานขับรถส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้เวลาอยู่ในปั๊มน้ำมันนาน

  • บริการที่ใช้ภายในปั๊มน้ำมัน

เมื่อพนักงานขับรถเข้าปั๊มน้ำมัน มักจะใช้บริการห้องน้ำมากที่สุด คิดเป็น 42.86% รองลงมา คือ เติมน้ำมัน 26.89% ใช้บริการร้านค้า 20.17% และนั่งพัก 10.08%

  • ความต้องการให้มีจุดพักรถบรรทุก

จุดพักรถบรรทุกเป็นสิ่งที่พนักงานขับรถส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด ถึง 48.21% จากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย 2.23 ประกอบกับระดับความต้องการที่ถูกกาหนดไว้ในระเบียบวิธีวิจัย ให้ผลว่าพนักงานขับรถบรรทุกต้องการให้มีจุดพักรถบรรทุกมากที่สุด และข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ไม่กระจายมาก เนื่องจากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่น้อยและมีค่าไม่ถึง 1 ผลจึงมีความน่าเชื่อถือ

  • สิ่งที่อยากให้ภายในจุดพักรถบรรทุก

สิ่งที่พนักงานขับรถอยากให้มีภายในจุดพักรถบรรทุกมากที่สุด คือ ห้องอาบน้ำ 27.48% รองลงมา คือ บริการเติมน้ำมัน 18.32% สถานที่นอนพักชั่วคราว 16.79% รวมทั้งอู่ซ่อมรถ 16.03% ซึ่งจากการวิเคราะห์ร่วมกับบริการที่มีความต้องการภายในปั๊ม ทำให้พบว่าห้องอาบน้ำเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่พนักงานขับรถต้องการใช้บริการ รองลงมาคือบริการเติมน้ำมัน

  • บริเวณที่อยากให้มีบริการจุดพักรถบรรทุก

พนักงานขับรถส่วนใหญ่ต้องการให้มีบริการจุดพักรถบรรทุกหลายจุดตลอดเส้นทาง คิดเป็น 31.11% ตั้งห่างกัน 100-200 กิโลเมตร 8.89% หรือทุกอำเภอ 20% โดยเฉพาะในจุดเสี่ยงที่ค่อนข้างเปลี่ยว ซึ่งมีการกล่าวถึงอำเภอปราณบุรีมากที่สุด

ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร

การบริการที่คาดหวังจะให้มีภายในสถานีพักรถบรรทุกสำหรับมุมมองของผู้บริหาร คือ ห้องอาบน้ำ ร้านอาหารราคาถูก ที่จอดพักรถบรรทุก และระบบรักษาความปลอดภัยรถบรรทุกและสินค้า เพราะ กลัวการปล้นอะไหล่รถหรือสินค้าภายในรถบรรทุก

ในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกของพนักงานขับรถนั้น ผู้บริหารให้ข้อมูลว่าห้องอาบน้ำคือสิ่งสำคัญที่ควรมีภายในสถานีพักรถบรรทุกในส่วนของค่าใช้จ่ายการใช้บริการสถานีพักรถบรรทุกหนึ่งครั้ง ผู้บริหารให้ความเห็นว่าควรมีการคิดราคาตามบริการที่ใช้ เช่น ค่าเข้าจอดอาจจะอยู่ที่ 5-10 บาทต่อชั่วโมง ค่าใช้บริการห้องอาบน้ำ 20 บาท/ครั้ง เป็นต้น และไม่ควรมีค่าบริการโดยรวมเกิน 100 บาทต่อการเข้าใช้บริการ 1 ครั้ง

สรุปผลการวิจัย

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากพนักงานขับรถของ บริษัท ไดนามิค ลอจิสติคส์ จากัด สามารถสรุปประเด็นต่างๆ ของการขับรถส่งสินค้าในเส้นทางมุ่งหน้าลงสู่ภาคใต้ได้ ดังนี้

ประสบการณ์ในการทำงานของพนักงานขับรถของบริษัทส่วนมากจะมีระยะเวลาประมาณตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป โดยที่ในแต่ละรอบการขนส่งนั้นใช้เวลาในการเดินทาง 8-12 ชั่วโมง ซึ่งช่วงระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนานนี้เองทำให้พนักงานขับรถเกิดความเมื่อยล้าจากการขับรถอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ชั่วโมงแรกของการเดินทาง ซึ่งพนักงานขับรถก็ได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการแวะเข้าจอดพักในปั๊มน้ำมัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง และมีการใช้บริการห้องอาบน้ำมากที่สุด

ตามปกติพนักงานขับรถจะมีการซ่อมบำรุงรถอย่างสม่ำเสมอเดือนละครั้ง ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดการบำรุงรักษา แต่ก็ยังคงมีการจอดพักรถตามไหล่ทางของถนนเป็นประจำทุกวันของการวิ่งรถขนส่งสินค้า โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการหลับใน แต่ในทางกลับกันพบว่าพนักงานขับรถจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งไม่ประสบอุบัติเหตุเลยและจากผลการวิจัยพบว่าพนักงานขับรถต้องการให้มีสถานีพักรถบรรทุกหลายจุดตลอดเส้นทาง ตั้งห่างกัน 100-200 กิโลเมตรหรือทุกอำเภอ โดยเฉพาะในจุดเสี่ยงที่ค่อนข้างเปลี่ยว ซึ่งมีการกล่าวถึงอำเภอปราณบุรีมากที่สุด

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานที่วางไว้มีดังนี้

จากข้อมูลคาตอบของแบบสอบถามพบว่า พนักงานที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 1 ปี ต้องการให้มีสถานีพักรถบรรทุกมากกว่าพนักงานที่มีอายุการทำงานมากกว่า 3 ปี จึงสนับสนุนข้อสมมติฐานที่ว่าผู้ที่มีอายุการทำงานมากกว่าจะมีประสบการณ์ในด้านเส้นทางและจุดพักรถมากกว่าคนอายุงานน้อย จึงอาจมีความต้องการสถานีพักรถบรรทุกน้อยกว่า อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของพนักงานที่มีอายุการทำงานมากกว่า 3 ปี ก็ยังคงแปลผลได้ว่าต้องการให้มีสถานีพักรถบรรทุกอยู่ในระดับมากที่สุดอยู่ดี

จากข้อมูลคำตอบของแบบสอบถามพบว่า

จากข้อมูลคำตอบของแบบสอบถามพบว่าพนักงานขับรถส่วนใหญ่จะเกิดอาการเมื่อยล้าเมื่อขับรถติดต่อกันนานเป็นเวลา 4-5 ชั่วโมง สนับสนุนข้อสมมติฐานที่ว่าควรให้พนักงานขับรถหยุดพักเมื่อขับรถติดต่อกันนาน 4 ชั่วโมง

จากข้อมูลคำตอบของแบบสอบถามพบว่าพนักงานขับรถส่วนใหญ่จะแวะเข้าปั๊มน้ำมันและซื้อเครื่องดื่ม หรือจอดพักบริเวณไหล่ทางเพื่อหยุดพักส่วนการซ่อมแซมยานพาหนะส่วนใหญ่จะมีการซ่อมบำรุงเป็นประจำทุกเดือน ดังนั้น ภายในสถานีพักรถบรรทุกจึงควรมีให้บริการจอดพักและร้านค้าให้แก่พนักงานขับรถบรรทุก

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าการหลับในเป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง สนับสนุนข้อสมมติฐานที่ว่าปัญหาจากการหลับในเพราะเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถบรรทุกเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าพนักงานขับรถบรรทุกส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในปั๊มน้ำมันไม่เกิน 30 นาที หรือไม่เกิน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้บริหารยังให้สัมภาษณ์ว่าภายในปั๊มน้ำมันไม่ต้องการให้รถบรรทุกจอดนานมาก หากจอดนานเกินไปก็จะมีพนักงานปั๊มมาคอยกดดันให้ออกจากปั๊มน้ำมัน จึงสนับสนุนข้อสมมติฐานที่ว่าพนักงานขับรถบรรทุกไม่กล้าจอดพักรถภายในปั๊มน้ำมันนาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของปั๊มน้ำมันมุ่งเน้นให้บริการรถยนต์ส่วนบุคคล

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานที่วางไว้ รวมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ จึงสรุปได้ว่าการจัดตั้งสถานีพักรถบรรทุกมีความจำเป็นต่อพนักงานขับรถ เพราะระหว่างเที่ยวการเดินรถสินค้าในเส้นทางการขนส่งมีระยะทางที่ค่อนข้างไกล กล่าวคือมีการใช้เวลาในการเดินทางที่ยาวนาน

ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ห้องอาบน้ำเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญที่สุดซึ่งสถานีพักรถบรรทุกต้องมี รองลงมา คือ การให้บริการเติมน้ำมัน และสถานที่นอนพักชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตาม ทางสถานีพักรถบรรทุกที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะต้องมีมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดต่อรถบรรทุกสินค้า สินค้าที่อยู่ระหว่างการบรรทุก และพนักงานขับรถ

นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ในเรื่องของการจอดรถบรรทุกสินค้าบริเวณไหล่ทางก่อให้เกิดความเสียหายและสูญหายต่อสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งและอะไหล่ยนต์ ดังนั้น การจัดตั้งสถานีพักรถบรรทุกจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการจอดพักรถบรรทุกระหว่างเส้นทางวิ่งลงสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณของอาเภอปราณบุรี โดยค่าตอบแทนที่ยอมรับได้ คือ 100 บาทต่อคันต่อการเข้ารับบริการ

ข้อเสนอแนะ

1. ในการสร้างสถานีพักรถบรรทุกนอกจากจะมุ่งประเด็นไปด้านการลดอุบัติเหตุอย่างเดียวแล้ว ควรมองปัญหาให้รอบด้าน เช่น ช่วยลดปัญหาจากการปล้นชิงทรัพย์ทั้งเป็นการปล้นสินค้าและอะไหล่รถบรรทุกในขณะที่พนักงานขับรถจอดพัก เป็นต้น

2. จากการสอบถามผู้บริหารเกี่ยวกับค่าบริการเพื่อใช้บริการสถานีพักรถบรรทุก ได้ผลว่าผู้บริหารและพนักงานขับรถบรรทุกพอใจที่จะจ่ายเงินในราคาไม่สูงมาก ทว่าการลงทุนสร้างสถานีพักรถบรรทุกจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง ดังนั้น จึงควรให้รัฐบาลลงทุนและให้เอกชนช่วยดูแล เพื่อสร้างสถานีพักรถบรรทุกที่มีคุณภาพมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยโดยจุดที่เหมาะสมในการริเริ่มสร้างสถานีพักรถบรรทุกอยู่ที่อาเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

3. เนื่องจากห้องอาบน้ำเป็นสิ่งที่พนักงานขับรถต้องการใช้บริการมากที่สุด ดังนั้น จึงควรมีการรักษาความสะอาดของห้องอาบน้ำ และมีบริการที่ครอบคลุมความต้องการ เช่น มีการขายหรือเช่าอุปกรณ์อาบน้ำสำหรับพนักงานขับรถบางคนที่ไม่มีอุปกรณ์อาบน้ำติดรถมาด้วย เป็นต้น

4. จากความต้องการรับประทานอาหารราคาถูกของพนักงานขับรถ ผู้สร้างสถานีพักรถบรรทุกอาจมีการร่วมมือกับคนในพื้นที่ให้สามารถเข้ามาขายอาหารราคาถูกภายในสถานีพักรถบรรทุกได้ เป็นการส่งเสริมให้คนในพื้นที่สามารถสร้างรายได้ภายในชุมชน

5. ควรมีการประชาสัมพันธ์กับบริษัทที่ให้บริการขนส่งทางรถบรรทุกว่าจุดใดบ้างที่มีสถานีพักรถบรรทุกตั้งอยู่ และสร้างเครือข่ายดึงดูดให้มีพนักงานขับรถเข้ามาใช้บริการมากขึ้น เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การปล้นชิงทรัพย์ และสร้างความสะดวกสบายให้แก่พนักงานขับรถ

You can leave a response, or trackback from your own site.

4 Responses to “แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย”

  1. แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า says:

    Proxies Cheap…

    I found a great……

  2. แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า says:

    Buy Socks5 Proxy With Credit Card…

    I found a great……

  3. แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า says:

    Fb Proxy…

    I found a great……

  4. แนวคิดการสร้าง Truck Station ในเส้นทางการขนส่งสินค้า says:

    Buy Private Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply