“ถ่านหิน” เพื่อพลังงานที่สมดุลและการขนส่งทางน้ำในฐานะยุทธศาสตร์หลัก

Coastal Corner

Coal for balanced energy and sea transportation as a main strategy

“ถ่านหินเพื่อพลังงานที่สมดุลและการขนส่งทางน้ำในฐานะยุทธศาสตร์หลัก

สุริยพงศ์ ทับทิมแท้ ผู้จัดการทั่วไป

บริษัท ลัคกี้ รีซอสเซส แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด

เมื่อเดือนที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เริ่มโครงการประชาสัมพันธ์ชื่อ “ชุดพลังงานที่สมดุล” ทางสื่อโทรทัศน์ โดยผู้อ่านสามารถดูข้อมูลอ้างอิงได้ที่ www.youtube.com และค้นหา โฆษณา กฟผ. ชุดพลังงานที่สมดุล ทำให้ได้ข้อมูลที่มีการแสดง ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 เกี่ยวกับสัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อบริโภคในประเทศจากแหล่งวัตถุดิบต่างๆ ดังนี้

  • ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 66, ต้นทุน 3.32 บาทต่อหน่วย
  • ถ่านหิน ร้อยละ18, ต้นทุน 1.67 บาทต่อหน่วย
  • ซื้อจากต่างประเทศ ร้อยละ 6, ต้นทุนไม่แสดง
  • พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 6
    • “แสงอาทิตย์” ต้นทุน 10.93 บาทต่อหน่วย
    • “ลม” ต้นทุน 6.43 บาทต่อหน่วย
    • “ชีวมวล” ต้นทุนไม่แสดง
    • น้ำ ร้อยละ 3, ต้นทุน 1.24 บาทต่อหน่วย
    • น้ำมันร้อยละ 1, ต้นทุนไม่แสดง

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น พบว่าสัดส่วนพลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นปริมาณที่สูงที่สุด ในขณะที่การใช้พลังงานจากถ่านหินมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดแต่มีสัดส่วนไม่ถึงหนึ่งในสี่ของก๊าซธรรมชาติ และเมื่อสืบค้นลงไปเกี่ยวกับแหล่งที่มาของถ่านหินโดยไม่นับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางแล้ว ก็พบว่าแหล่งที่มาของถ่านหินล้วนแล้วมาจากต่างประเทศ ทั้งสิ้นโดยส่วนใหญ่นำมาจากประเทศอินโดนีเซียบรรทุกเรือเดินทะเลเข้ามาในประเทศไทย

ปัจจัยที่สำคัญในการที่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของถ่านหินต่ำที่สุด แสดงได้โดยตัวอย่างการจัดส่งถ่านหินเข้าสู่โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่านระบบการใช้เรือลำเลียงที่รับสินค้าจากเรือเดินทะเลที่บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และเข้ามาขนถ่ายที่ท่าเทียบเรือ บริเวณอำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจัดส่งด้วยรถบรรทุกสู่ปลายทางที่กำหนด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการขนส่งโดยใช้รถบบรทุกขนส่งจากอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เข้าสู่ปลายทางโดยตรง จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเกือบสองร้อยบาทต่อตัน หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ สองพันล้านบาทต่อปี

จากแนวทางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการแสดงเจตนารมณ์ในตอนท้ายอย่างชัดเจนว่า ต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานจากถ่านหินจากระดับร้อยละ 18 ในช่วงปัจจุบัน ไปสู่ร้อยละ 34 ในอนาคต และกำลังหลักที่สำคัญยังคงเป็นระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เชื่อมต่อกับการขนส่งทางน้ำที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการสร้างพลังงานที่สมดุลสำหรับประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

You can leave a response, or trackback from your own site.

One Response to ““ถ่านหิน” เพื่อพลังงานที่สมดุลและการขนส่งทางน้ำในฐานะยุทธศาสตร์หลัก”

  1. “ถ่านหิน” เพื่อพลังงานที่สมดุลและการขนส่ง says:

    Buy Elite Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply