การผลักดันการยกเว้นอากรของการใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน Returnable Box ของสภาผู้ส่งออก

TNSC’s Talk

Driving Exemption Rate for Returnable Box

การผลักดันการยกเว้นอากรของการใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน Returnable Box ของสภาผู้ส่งออก

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ย้อนไปเมื่อปี 2549 สภาผู้ส่งออกได้รับทราบปัญหาจากสมาชิกใน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน, กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ , กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ฯลฯ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้พัฒนาและเปลี่ยนการบรรจุสินค้าจากการใช้กล่องกระดาษ มาใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์ภาชนะหมุนเวียน (Returnable Box) แทน ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ของการรักษาป่าไม้เพื่อประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์วิทยา โดยในระยะยาวการใช้กล่องกระดาษในการบรรจุสินค้าเพื่อส่งออกย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ การใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมีความสะดวกคล่องตัวเนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกเพราะสามารถจัดหาได้สะดวก และเวียนใช้ซ้ำได้ ซึ่งพบว่าขณะนี้ในหลายๆ ประเทศได้นำบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนมาใช้ในเชิงการค้ามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้นการนำบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการส่งออก นำเข้ายังมีความไม่สะดวกเนื่องจากกฎระเบียบในการนำเข้า ส่งออกด้วยบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนดังกล่าวยังมีอุปสรรค และปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะกฎระเบียบของศุลกากร ซึ่งผู้ประกอบการส่งออก นำเข้าจะต้องใช้ใบสุทธินำกลับ ประกอบการส่งออก และนำเข้าด้วยบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน โดยต้องมีการเสียภาษีในการนำเข้าครั้งแรก และจากนั้นก็ใช้ใบสุทธินำ เพื่อยืนยันกับกรมศุลกากรว่าบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจะมีการนำกลับมาใช้อีก ซึ่งจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าในครั้งต่อๆ ไป แต่ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบการส่งออกนำเข้า จะต้องนำใบสุทธินำกลับ ไปยืนยันและแสดงที่ท่าเรือนั้นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ทำให้ที่ผ่านมาการนำเข้าส่งออกโดยใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก

ทั้งนี้ เมื่อสภาผู้ส่งออก ได้รับทราบปัญหาดังกล่าว ได้รวบรวมข้อเท็จจริง และมีการประชุมหารือกับภาคเอกชนพร้อมทั้งรวบรวมประเด็นปัญหาสำหรับใช้ประกอบการเข้าพบหารือกับศุลกากร เพื่อขอให้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้หารือร่วมกับศุลกากรฯ ทางศุลกากรเข้าใจถึงบริบทของการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดันให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนสำหรับการส่งออก นำเข้า เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย จึงได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ภาค 4 ซึ่งเป็นภาคที่ว่าด้วยการยกเว้นอากร ของที่นำเข้ามาในประเทศไทย หรือส่งออกออกจากประเทศไทย โดยกำหนดเพิ่มเติมให้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน จะได้รับการยกเว้นอาการ ตามภาค 4 ประเภท 19 (เดิมมี 18 ประเภท) เพื่อยกเว้นอากรให้แก่ภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องชนิดที่ใช้หมุนเวียนได้ เป็นของได้รับยกเว้นอากร

แต่ทั้งนี้เนื่องจากการแก้ไข/เพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัด อัตราศุลกากร จึงต้องมีการนำเสนอเพื่อผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งในกระบวนการดำเนินงานดังกล่าวได้นำเสนอจาก ส่วนกฏหมายศุลกากร ผ่านไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณา ก่อนที่จะเสนอเข้าไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านความเห็นชอบ โดยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งครม. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายศุลกากร เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเกียวโต และจะต้องนำเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฏร เพื่อผ่านความเห็นชอบ ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา คณะรัฐบาลของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ทำให้การพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากร ดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป อย่างไรก็ตาม สภาผู้ส่งออกฯ ก็ยังคงติดตาม และกระตุ้นให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องผลักดันประเด็นดังกล่าวให้เข้าสู่การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง

และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พศ. 2530 (ฉบับที่ 8) ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมประเภท 19 ของที่ได้รับการยกเว้นอาการ ตามภาค 4 โดยมีเนื้อหาระบุดังนี้ “ภาชนะสำหรับบรรจุของ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุ ยึด รัด กันกระแทก ไม่ว่าจะทำด้วยวัตถุใดๆ ก็ตาม ที่นำเข้ามา และจะส่งกลับออกไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด” ซึ่งจะมีผลบังคับ 30 วันนับแต่จากวันประกาศ  ดังนั้นในลำดับต่อไป กรมศุลกากร จะออกระเบียบปฏิบัติเพื่อแจ้งให้ผู้ประกอบการรับทราบว่า มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร

จะเห็นได้ว่า 8 ปีของการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวของสภาผู้ส่งออก เพื่อผลักดันการยกเว้นอากรสำหรับการส่งออกนำเข้าด้วยบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน สัมฤทธิ์ผลได้ในปี 2557 ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2557 เป็นของขวัญชิ้นส่งท้ายปี 2557 ที่กรมศุลกากรมอบให้แก่ผู้ประกอบการ ภายใต้ความร่วมมือ และการผลักดันอย่างต่อเนื่องของสภาผู้ส่งออก. ซึ่งสภาผู้ส่งออกหวังเป็นอย่างยิ่งว่าของขวัญดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสนับสนุน และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในเวทีสากล ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักที่สภาผู้ส่งออกได้ดำเนินการมาอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

อนึ่ง นอกเหนือจากการประกาศเพิ่มเติมภาค 4 ประเภท 19 แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการแก้ไขรายการของที่ได้รับการยกเว้นในภาค 4 จำนวนสามประเภท ได้แก่ ประเภท 2 ประเภท 10 และประเภท 12 โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภท เดิม แก้ไขใหม่
2 ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไป

ซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี หลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว ได้รับยกเว้นอากร

หมายเหตุ

ของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทนี้ให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิม ที่ส่งออกไปเท่านั้น สำหรับราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการซ่อมให้เสียอากรตามพิกัดอัตราอากรของของเดิม ที่ส่งออกไปซ่อม โดยคำนวณจากราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย

อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจที่จะสั่งให้ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติที่ว่าด้วยใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาหรืออาจอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้

ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปีจากที่ไดร้บใบสุทธินำกลับเข้ามา ซึ่งได้ออกให้ในขณะที่งออกแล้ว หรือของที่ได้รับอนุญาตให้นำออกไปผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้นำออกไป

หมายเหตุ

ของที่ได้รับการยกเว้นอาการตามประเภทนี้ ให้ได้รับการยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิมที่ส่งออกไปเท่านั้น

ในการคำนวณเงินอากรสำหรับของที่ส่งออกไปซ่อม ให้ถือตามพิกัดอัตราอากรของของเดิมทีส่งออกไปซ่อม โดยคำนวณจากราคา หรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และการประกันภัย ส่วนการคำนวณเงินอากรสำรหบของที่ผ่านกระบวนการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ให้ถือตามสภาพของราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในขณะนำกลับเข้ามา โดยไม่ต้อง นำของเดิมที่ส่งออกไปมาคำนวณภาษี

อธิบดีกรมศุลกากร มีอำนาจที่จะสั่งให้ได้รับการยกเว้น จากบทบัญญัติทีว่าด้วยใบสุทธินำกลับเข้ามาหรืออาจอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีก ตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้

สำหรับการส่งของออกไปเพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด หรือการกำหนดรายละเอียด หรือากรพิสูจน์ความถูกต้องแห่งของใดๆ รวมทั้งการอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีก ตามความจำเป็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

10 ของที่ได้รับเอกสิทธิ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูตซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรี ยกเว้นอากร ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่กับองค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูต ซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรี หรือตามความตกลงที่ประเทศไทยมีกับองค์การต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
12 ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทาง

สนามบินศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท

ของทีนำเข้าซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินที่อธิบดีกรมศุลกากร ประกาศ กำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
19 ภาชนะสำหรับบรรจุของ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุ ยึด รัด กันกระแทก ไม่ว่าจะทำด้วยวัตถุใดๆ ก็ตาม ที่นำเข้ามา และจะส่งกลับออกไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด

**********************

You can leave a response, or trackback from your own site.

One Response to “การผลักดันการยกเว้นอากรของการใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน Returnable Box ของสภาผู้ส่งออก”

  1. การผลักดันการยกเว้นอากรของการใช้บรรจุภัณภsays:

    Buy Usa Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply