เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้

Need to Know 1

Thailand-Lao-Yunnan road connectivity on NSEC

เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

มหาวิทยาลัยนเรศวร

จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กำหนดดำเนินการ”โครงการเสริมสร้างคุณภาพสินค้าเศรษฐกิจหลักและพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าและบริการ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”ขึ้น และได้มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนายชัยยันต์ ยอดคำ พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบการ ผมและบุคลากรของวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าเป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวเพื่อผลักดันและสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ หนึ่งในกิจกรรมของโครงการคือการนำผู้ประกอบการเดินทางสำรวจเส้นทางโลจิสติกส์ทางถนนเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย ประเทศลาว และมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ผู้ประกอบการของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ได้นำสินค้าไปนำเสนอต่อผู้ประกอบการเขตปกครองตนเองสิบสองบันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว ประกอบด้วย สินค้ามะขามหวาน สินค้ามะม่วง สินค้าข้าว สินค้าปุ๋ยอินทรีย์ และสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

คณะเดินทางดังกล่าวประกอบด้วยผู้บริหารจังหวัดเพชรบูรณ์ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และนักวิชาการ ได้เดินทางสำรวจเส้นทางโลจิสติกส์ทางถนนเชื่อมต่อระหว่างประเทศบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ดังกล่าว พร้อมทั้งนำสินค้าตัวอย่างไปนำเสนอ ณ เขตปกครองตนเองสิบสองบันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาวด้วย การเดินทางครั้งนี้นำคณะเดินทางโดย นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีนายวุฒิชัย  โรจน์ทิพย์รัก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ตัวแทนภาคธุรกิจได้ร่วมเดินทางกับคณะในครั้งนี้ด้วย

คณะเดินทางสำรวจเส้นทางโลจิสติกส์ครั้งนี้ ได้สำรวจเมืองต่างๆ ตามเส้นทาง ได้แก่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว และเขตปกครองตนเองสิบสองบันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยเดินทางระหว่างวันที่ 17-20 เมษายน 2557 โดยเป็นการเดินทางไป-กลับโดยรถบัสบนเส้นทาง R3A เชียงของ-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน-สิบสองบันนา รวมระยะเวลาเดินทางทั้งสิ้น 4 วัน

การเดินทางครั้งนี้เริ่มจาก อ.เชียงของ จ.เชียงของ ช่วงเช้าคณะได้ใช้รถบัสทะเบียนประเทศลาวในการเดินทาง (ใช้รถบัสคันนี้เดินทางตลอดทริป เนื่องจากรถบัสคันนี้ได้รับอนุญาตให้วิ่งเข้า-ออกเขตปกครองตนเองสิบสองบันนาได้) คณะเดินทางได้ใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย (เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา) ได้รับการต้อนรับจากนายด่านศุลกากรเชียงของ (นายศรชัย สร้อยหงษ์พราย) เป็นอย่างดี โดยนำท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เยี่ยมชมกิจกรรมของด่านและสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ด้วยตนเอง พร้อมทั้งได้จัดทำเอกสารการดำเนินงานที่ผ่านมาของด่านศุลกากรให้กับคณะเดินทางด้วย สะพานดังกล่าวนั้นประเทศไทยโดยกรมการทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่ บ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายกับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.7 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร

นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านพรมแดน (ตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เป็นต้น) ด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง ปัจจุบันทั้งคนและสินค้าได้ใช้ช่องทางนี้ในการผ่านเข้า-ออกระหว่างไทย-ลาว แทนท่าเรือบั๊ก (ส่งผลให้ท่าเรือบั๊กไม่มีคนและสินค้าผ่านเข้า-ออกเหมือนในช่วงก่อนที่สะพานแห่งนี้จะเปิดใช้อย่างเป็นทางการ) มีรถบัสบริการข้ามสะพานระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย ณ บริเวณอาคารที่ทำการด่านพรมแดนของทั้งสองแห่ง โดยเป็นรถบัสของทั้งไทยและลาวร่วมกันดำเนินการ ได้รับทราบข้อมูลมีนักลงทุนจีนได้เริ่มเข้ามาหาพื้นที่ใกล้ๆ กับด่านพรมแดนเชียงของ (สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4) เพื่อทำเป็นศูนย์โลจิสติกส์รองรับสินค้าเข้า-ออกบนเส้นทางนี้แล้ว ด่านพรมแดนห้วยทราย ประเทศลาว มีอาคารที่ทำการที่มีลักษณะคล้ายๆ กันกับของด่านพรมแดนเชียงของ เพียงแต่รูปปั้นหน้าอาคารของด่านพรมแดนห้วยทรายเป็นรูปเพชร แต่ของด่านพรมแดนเชียงของเป็นรูปดอกบัว บริเวณพื้นที่ใกล้ๆ กับด่านพรมแดนห้วยทรายมีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ตลาดการค้า และสถานที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า

หลังจากดำเนินการพิธีการเอกสารเดินทาง ณ ด่านเชียงของ(ไทย) และด่านห้วยทราย(ลาว) แล้ว ได้เดินทางบนเส้นทางห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ระยะทางประมาณ 240 กม. สภาพถนนเป็นถนนแอสฟัลติกคอนกรีต(ถนนราดยางมะตอย) ขนาด 2 ช่องจราจร เป็นถนนที่มีความกว้างเพียงพอสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่สามารถใช้ได้ แต่สภาพเส้นทางจะมีความคดเคี้ยวและเป็นเส้นทางขึ้น-ลงเขาระยะทางกว่า 100 กม. บางช่วงถนนมีความชันและคดเคี้ยวมาก (ถึงขนาดบางคนในคณะเดินทางเกิดอาการวิงเวียนศรีษะถึงอาเจียรออกมา) สภาพเส้นทางได้รับการซ่อมแซมจากการเสียหายเมื่อ3-4 ปีก่อนจนสามารถกลับมาใช้งานได้ คณะเราใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 200 กม.(ห้วยทราย-หลวงน้ำทา) 4-5 ชั่วโมง (เนื่องจากคณะเราใช้รถบัสในการเดินทาง) เราได้รับประทานอาหารกลางวันบ่ายโมงกว่าๆ โดยได้รับเกียรติจากเจ้าแขวงหลวงน้ำทาพร้อมผู้บริหารแขวงหลวงน้ำทา มาร่วมรับประทานอาหารด้วย คณะเราต้องเร่งออกจากหลวงน้ำทาเพื่อเดินทางต่อไปยังบ่อเต็น ข้ามด่านบ่อเต็น (ลาว)และด่านบ่อหาน (จีน) เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองเชียงรุ้ง เขตปกครองตนเองสิบสองบันนา

ระหว่างการเดินทางจากหลวงน้ำทามายังบ่อเต็น ผ่านจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งรถบรรทุกของไทยจะมาสิ้นสุด ณ บริเวณนี้เพื่อเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุกของไทยไปยังรถบรรทุกของจีน (ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเปลี่ยนถ่ายต่อรถบรรทุก 18 ล้อ 1 คัน ประมาณ 4,000 บาท) การเปลี่ยนถ่ายสินค้าใช้แรงงานคนขนย้ายจากรถคันหนึ่งไปยังรถอีกคันหนึ่ง (หันท้ายของรถบรรทุกเข้าหากัน) แต่ในช่วงที่คณะเดินทางผ่านไม่ค่อยมีรถบรรทุกสินค้ามากนักเนื่องจากเพิ่งผ่านเทศกาลสงกรานต์และยังเป็นวันหยุดของเขตปกครองตนเองสิบสองบันนาอยู่ คณะเราใช้เวลาในการดำเนินการตรวจหนังสือเดินทางเข้า-ออกประเทศ ของสองด่านนี้ใช้เวลาไม่มากนัก (เนื่องจากคณะเราได้ประสานงานมาก่อนล่วงหน้า) บริเวณก่อนถึงด่านบ่อเต็นพบอาคารเป็นจำนวนไม่น้อยที่ร้าง ไม่มีกิจกรรมทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านค้า สถานบันเทิง และคาสิโน เนื่องจากคนจีนไม่ได้ข้ามมาใช้บริการดั่งเช่นในอดีต อาคารหลายสิบหลังจึงถูกปิดตัวลง บริเวณนี้จึงไม่คึกคักเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ลักษณะของด่านพรมแดนบ่อเต็น (ลาว) และด่านบ่อหาน (จีน) ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยด่านบ่อหานของจีนมีความใหญ่โตอลังการกว่า แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของจีนก็ยังคงไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (ยังคงใช้ภาษาจีนเป็นหลักอยู่) ณ ด่านบ่อหานของจีน มีบริการออกวีซ่าให้ด้วย (Visa on Arrival) และด่านนี้เป็นด่านสากล ดังนั้น หนังสือเดินทางราชการสามารถเข้าออกด่านนี้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าได้

การเดินทางจากบ่อหานไปยังเมืองเชียงรุ้ง ระยะทางประมาณ 200 กม. สภาพเส้นทางดี ไม่คดเคี้ยวมาก เนื่องจากเส้นทางนี้ได้ทำการก่อสร้างเส้นทางขึ้นใหม่ทดแทนเส้นทางเดิมที่คดเคี้ยวมากรวมทั้งขึ้น/ลงเขามากเช่นกัน เส้นทางใหม่ได้สร้างโดยการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขา มีอุโมงค์ระหว่างเส้นทางนี้ถึง 24 อุโมงค์ (อุโมงค์ที่ยาวสุดประมาณ 3 กม.กว่า) และสร้างสะพานเพื่อเชื่อมระหว่างเขาหรือเส้นทางลาดชันมากๆ ระหว่างเส้นทางมีจุดพักรถให้เข้าห้องน้ำและยืดเส้นยืดสาย (แต่ห้องน้ำก็ยังคงเอกลักษณ์เรื่องกลิ่นไว้เช่นเดิม) ทำให้เราใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงก็ถึงเมืองเชียงรุ้ง และทานอาหารเย็น ณ เมืองเชียงรุ้งประมาณ 19.00 น. การเดินทางวันแรกของเราสามารถผ่านประเทศลาวมาถึงเมืองเชียงรุ้งทางถนนได้เป็นที่เรียบร้อย

เช้าวันที่สองของการเดินทาง (วันที่ 18 เมษายน 2557) มีกิจกรรมพบปะนักธุรกิจเมืองเชียงรุ้ง เพื่อแนะนำสินค้าที่นำมา ณ เมืองใหม่สิบสองบันนา โดยมีผู้อำนวยการกิจการต่างประเทศของเขตปกครองตนเองสิบสองมาต้อนรับคณะฯ สินค้าที่นำมานำเสนอในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเมืองเชียงรุ้งค่อนข้างมาก นอกจากนั้นทางกลุ่มผู้บริหารเขตปกครองตนเองสิบสองบันนาและนักธุรกิจเมืองเชียงรุ้งอยากให้จังหวัดเพชรบูรณ์ดำเนินการจัดกิจกรรมพบปะระหว่างกันขึ้นเป็นระยะโดยอาจจะสลับกันเป็นเจ้าภาพก็เป็นได้ เนื่องจากทั้งสองเมืองได้ลงนามเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันแล้วเมือครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์คนก่อนหน้านี้ได้เยือนเมืองเชียงรุ้ง ดังนั้นจึงอยากให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองเมืองทั้งภาคราชการและภาคธุรกิจเกิดความแน่นแฟ้นกันมากขึ้น การพบปะครั้งนี้สินค้าปุ๋ยอินทรีย์ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากนักธุรกิจเมืองเชียงรุ้งถึงกับตามมาพบที่โรงแรมและเจรจาในเชิงลึกสำหรับการทำการค้าระหว่างกัน

หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการแนะนำสินค้า ผมได้ออกเดินชมสภาพเมืองเชียงรุ้ง พบเห็นผู้คนออกจากบ้านเพื่อกิจกรรมสันทนาการบริเวณสวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การเต้นรำเข้าจังหวะ การร้องเพลง เป็นต้น โดยใช้พื้นที่กลางแจ้งของสวนสาธารณะในการทำกิจกรรม ผมได้เดินเข้าไปซื้อของทานเล่นในร้านสะดวกซื้อ พบเห็นสินค้าในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขาไก่ ปีกไก่ ขนมขบเคี้ยว น้ำตาลทราย รวมทั้งผลไม้ต่างๆ ผมไปพบน้ำตาลทรายในซองบรรจุภัณฑ์ขนาด 400 กรัม ทำให้สนใจว่าขายปลีกในร้านสะดวกซื้อราคาเท่าไหร่ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศจีนอยู่ พบว่าราคาสูงถึง 8 หยวน (ประมาณ 40 บาท) หากเทียบเป็นกิโลกรัมจะมีราคาประมาณ 100 บาท และพบมะขามหวานสดบรรจุในกล่องดูผ่านๆ ไม่น่ามีอะไรผิดปกติ แต่เมื่อสัเกตดีพบว่าเป็นการลอกเลียนแบบบรรจุภัณฑ์ของไทย เนื่องจากตัวอักษรที่พิมพ์บนกล่องบรรจุภัณฑ์เขียนเป็น “Swrrt Tamarind” ที่ถูกต้องเป็น”Sweet Tamarind” มีการเปลี่ยนตัวอย่าง “ee” เป็น “rr”

วันที่สามของการเดินทาง คณะฯได้เข้าเยี่ยมชมสวนม่านทิง ซึ่งเป็นสวนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงรุ้ง ในอดีตสวนแห่งนี้เป็นสวนดอกไม้ของเจ้าผู้ปกครองแขวนสิบสองปันนาจึงเป็นสถานที่พักผ่อนของเจ้าแผ่นดินและขุนนางชั้นสูง และนางสนม ด้านหน้าของสวนม่านทิง มีรูปปั้นทอเหลือของท่านนายก โจวเอินไหล ในชุดไทลื้อ ในมืออุ้มขันน้ำและใบมะกอกและเล่นสงกรานต์กับชาวบ้าน รูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงท่านเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาดูงานที่สิบสองปันนาและได้ร่วมเล่นสงกรานต์กับชาวไทลื้อ ซึ่งสร้างความประทับใจแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และได้สร้างอนุสรณ์ขึ้นในภายหลัง และเมื่อทานอาหารกลางวันแล้วเสร็จคณะฯ ได้เดินทางกลับไปยังหลวงน้ำทาเพื่อร่วมพบปะผู้บริหารแขวงหลวงน้ำทาและนักธุรกิจแขวงหลวงน้ำทา สินค้าที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษยังคงเป็นสินค้าปุ๋ยอินทรีย์ โดยทางแขวงหลวงน้ำทาขอให้เกิดความร่วมมือในการสร้างธุรกิจนี้ขึ้น และขอเดินทางเข้าเยี่ยมชมกิจการปุ๋ยอินทรีย์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย นอกจากนั้นทางแขวงหลวงน้ำทาขอให้ทางจังหวัดเพชรบูรณ์สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตรกับแขวงหลวงน้ำทาด้วย

จากการพูดคุยกับนักธุรกิจแขวงหลวงน้ำทา ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าข้ามแดน ทราบว่าการดำเนินการบางอย่างยังต้องจ่ายค่าอำนวยความสะดวกอยู่ เพื่อทำให้งานขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบริเวณชายแดนมีความราบรื่น ดังนั้น อยากให้ภาครัฐทั้งสามประเทศ (จีน ลาว และไทย)เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากจะเป็นตัวฉุดให้ความสามารถในการแข่งขันของเส้นทางโลจิสติกส์นี้ (R3A) ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับเส้นทางอื่นๆ

เส้นทางนี้เปิดใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่าง ไทย-ลาว-จีนตอนใต้ มานานพอสมควร และปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) เปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการแล้ว จะเป็นโอกาสหรืออุปสรรคสำหรับนักธุรกิจและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละองค์กรธุรกิจรวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่สนับสนุนจากภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามยังคงเป็นความท้าทายของผู้ที่เกี่ยวข้องที่พัฒนาองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้นแล้วบนเส้นทางโลจิสติกส์นี้

You can leave a response, or trackback from your own site.

8 Responses to “เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้”

  1. eddie says:

    lecher@demented.metropolitanization” rel=”nofollow”>.…

    благодарю!…

  2. Patrick says:

    songs@congeniality.image” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  3. jacob says:

    disunion@heartbreak.successively” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ….

  4. evan says:

    totaling@particular.damnit” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ….

  5. Jerry says:

    sanctioned@envious.skipped” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  6. เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระ๠says:

    Fast Speed Proxies…

    I found a great……

  7. เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระ๠says:

    Where To Buy Proxies…

    I found a great……

  8. เส้นทางเชื่อมต่อ ไทย-ลาว-จีน(ตอนใต้) บนแนวระ๠says:

    Cheap Proxy Shop…

    I found a great……

Leave a Reply