พัฒนาองค์กรสู่องค์กรเชิงนิเวศ&บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม

Logistics Viewpoint

การพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรเชิงนิเวศ ( Eco Organisation) กับการบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics) และความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขององค์กร

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์  เทพพิทักษ์

ศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา

1. บทนำ

ผมเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศสิงคโปร์ โดยการไปเที่ยวสิงคโปร์ในครั้งนี้จะแตกต่างจากการไปสิงคโปร์ครั้งแรกเมื่อผมได้เริ่มฝึกภาคทะเลตอนปี 1 เมื่อประมาณปี 1990 หรือเมื่อ 24 ปีที่แล้ว โดยปกติ ผมมีงานที่ต้องไปเก็บข้อมูลบ้างหรือพาผู้บริหารหน่วยงานราชการไปดูงานบ้าง ซึ่งแทบจะไม่ค่อยมีเวลาส่วนตัวหรืออิสระมากนัก เพราะต้องคอยดูแลคณะศึกษาดูงานตลอดทริป แต่ครั้งนี้ ผมค่อนข้างมีอิสระมากขึ้น คิดดูสิครับ ได้มีโอกาสในการคุยกับคนสิงคโปร์ทั่วไป ไม่เครียดและกดดันมากนัก โจทย์ของผมคือทำไมประเทศสิงคโปร์ที่ผมเห็นจึงมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากคุยแบบไม่มีกรอบกับชาวสิงคโปร์หลายๆคน ผมว่าหัวใจสำคัญอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ของสิงคโปร์เป็นอันดับแรก กับวิสัยทัศน์ของผู้นำ ความต่อเนื่องของการปกครองประเทศภายใต้นโยบายของรัฐบาลเดียวมากว่า 50 ปีและทัศนคติในการดำรงชีวิตของชาวสิงคโปร์ ซึ่งผมคิดว่าบางอย่างเราอาจจะเรียนรู้จากโมเดล (Singapore Model) ได้ บางอย่างก็อาจจะนำมาใช้ไม่ได้เพราะคนละระบบและวัฒนธรรมกัน ส่วนการขยายความข้างต้นผมจะกลับมาเล่าให้ฟังในครั้งต่อไปนะครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมพยายามโยงเรื่องเข้ากับสิ่งที่ผมจะเล่าเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรเชิงนิเวศ (Eco Organisation) ก่อนจะเล่าต่อขออธิบายนิดนะครับว่าองค์กรเชิงนิเวศ (หรือ Eco Organisation) จะเป็นองค์กรที่เน้นและให้ความสำคัญ รวมทั้งมีการขับเคลื่อนให้องค์กรมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green) และรับผิดชอบต่อสังคม – CSR) ในทุกกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ  อาจกล่าวอย่างง่ายคือ Eco Organisation จะเป็นองค์กรที่รวมเอาทั้ง Green และ CSR เข้าไว้ด้วยกัน) ซึ่งจะแตกต่างจากการที่เรามักจะได้ยินว่า Green Logistics หรือ Green Organisation เพียงอย่างเดียว หลายประเทศที่ริเริ่มนำมาใช้แรกๆ คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในยุคก่อน อุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเฟื่องฟู

ไม่ใช่ว่าผู้ประกอบการหรือรัฐบาลสมัครใจนะครับ แต่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในญี่ปุ่นถูกทำลายไปพร้อมกับการพัฒนาของเมือง จนแทบจะหายใจหรือกินน้ำไม่ได้ ในที่สุด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาองค์กรให้กลายเป็น Eco Organisation หลังจากนั้นก็ต่อยอดมาเป็น Eco City และ Eco Town ส่วนนิคมอุตสาหกรรมก็พัฒนาขึ้นมาเป็น Eco Industrial Park และท่าเรือก็พัฒนามาเป็น Eco Port โดยยังคงแนวคิดดังกล่าวข้างต้น คือไม่ใช่เอาแต่สิ่งแวดล้อมอย่างเดียว ต้องให้ผู้ประกอบการและทุกภาคส่วนร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ที่สำคัญคือต้องทำออกมาจากใจ ไม่ใช่ถูกบีบบังคับเหมือนบางประเทศ

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและลักษณะทางกายภาพของสิงคโปร์เป็นภูเขา โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าจะพัฒนาพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 15-20 เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและส่วนที่เหลือคือพื้นที่เชิงธุรกิจและการค้า ด้วยสภาพแวดล้อมดังกล่าว คนสิงคโปร์เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติเพราะคิดว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ พวกเขารักต้นไม้และทรัพยากรธรรมชาติ รู้สึกตื่นเต้นและชื่นชมต้นไม้ นกพันธุ์แปลกๆ ใหม่ๆ โดยเฉพาะที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ส่วนความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าท่านไปดูสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการลงขันหรือร่วมกันของภาคเอกชน โดยรัฐบาลสิงคโปร์แค่อำนวยความสะดวกหรือจัดหาสถานที่ให้ ส่วนค่าบำรุงรักษา ก็ให้พวกเอกชนร่วมกันจ่ายในแต่ละปี รวมทั้งนำรายได้จากการเก็บค่าเข้าชมมารวมด้วย

ผมไปสิงคโปร์เที่ยวนี้ เดินหาFree WiFi ไม่ค่อยจะเจอครับ อ้อ ต้องบอกว่าไม่มีเลยต่างหาก เพราะส่วนใหญ่จะต้องเสียเงิน อย่างโรงแรมที่ผมพักอยู่ ก็บอกว่าถ้าจะใช้ต้องจ่ายเงิน 26 เหรียญสิงคโปร์ต่อวัน ซึ่งแพงมากเปรียบเทียบกับเมืองไทย แน่นอนครับ คือผมก็ไม่ใช้ พยายามเดินหาสัญญาน Free WiFi แต่ก็ต้องทำใจเพราะถามหลายคนที่นั่นบอกว่าไม่มีของฟรีที่สิงคโปร์ อยากได้อยากใช้ต้องเสียเงิน ทำให้คนสิงคโปร์ทำงานกันหนัก กินหนักและเที่ยวหนัก

ที่ผมยกเคสขององค์กรสิงคโปร์นั้น เพราะการพัฒนาและการเติบโตของประเทศจะต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ คือมนุษย์และรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร และกลายมาเป็นธุรกิจและอุตสาหกรรม ดังนั้น การพัฒนาให้องค์กรกลายเป็นองค์กรเชิงนิเวศ เราจะต้องให้ความรู้แก่มนุษย์เสียก่อน สังเกตไม๊ครับว่าผมใช้คำว่ามนุษย์ ไม่ใช่คำว่าคน เพราะคน แปลว่า ทำให้ยุ่งแต่ มนุษย์คือสัตว์อันประเสริฐ สามารถพัฒนาได้ ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เมื่อให้ความรู้แล้วก็วางกรอบแนวทางการสร้างองค์กรให้มีความเป็น Eco ในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะและจัดกิจกรรมเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยผมจะค่อยๆ นำเสนอแนวคิดและกลยุทธ์โลจิสติกส์เชิงนิเวศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

ขณะที่ในฉบับนี้ ผมจะมาคุยเกี่ยวกับเรื่องความหมายของโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics & Supply Chain) และมาพิจารณาดูกันว่าทำไมบทบาทของโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics & Supply Chain) จึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรและในอนาคต อาจจะส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กรเลยทีเดียว ขณะที่เราลองมาพิจารณากลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics & Supply Chain Strategy) ที่จะนำมาใช้ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ นอกจากนี้ก่อนจะจบ ผมจะอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics)  กับโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

2.  ความหมายของโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics & Supply Chain)

ก่อนอื่น เรามาพิจารณาความหมายของโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistic) กันก่อนครับ โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นจะเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเคลื่อนย้าย (Flow) สินค้าและข้อมูลสารสนเทศตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำและย้อนกลับสู่จุดเริ่มต้นโดยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งปล่อยมลพิษน้อยที่สุด แต่คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยรวม ขณะที่ซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain) หมายถึงการเชื่อมโยงหรือการบูรณการกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เล่นในกิจกรรมต่างๆ ตลอดซัพพลายเชนได้มีการลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งปล่อยมลพิษน้อยที่สุด โดยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยรวม กล่าวง่ายๆ คือ ผู้เล่นแต่ละรายในซัพพลายเชนจะต้องร่วมกันลด/ละ/เลิกการใช้พลังงานและทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตลง ซึ่งถ้าผู้เล่นทุกรายลด/ละ/เลิกการใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือมีการใช้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของโลกในที่สุด

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมและซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้ได้เริ่มมีบทบาทต่อกระบวนการผลิต การค้าขาย การขนส่ง และการส่งมอบสินค้า โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวโน้มของโลกในการให้ความสำคัญต่อการลดภาวะโลกร้อนหรือภาวะเรือนกระจกโดยลดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากฟอสซิล เช่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาก การเผาผลาญพลังงานในรูปแบบต่างๆ ในภาคการขนส่ง รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อาทิ การใช้บรรจุภัณฑ์หรือการใช้กระดาษเอกสารต่างๆ ที่ไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและไม่คุ้มประโยชน์

ขณะที่มีผู้เข้าใจสับสนว่า Green Logistics และ โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) เป็นตัวเดียวกัน ต้องขอเรียนครับว่าเป็นคนละเรื่องเดียวกัน กล่าวง่ายๆ คือ โลจิสติกส์ย้อนกลับจะเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการไหลหรือการเคลื่อนย้ายจากจุดที่รับสินค้าหรือจุดที่มีการใช้หรือบริโภค และนำกลับมายังจุดที่ต้องการ โดยในสมัยก่อนช่วงปี 2000 การใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อให้ธุรกิจมีต้นทุนในการดำเนินการนำสินค้าหรือวัสดุที่ใช้แล้วกลับมายังจุดที่ต้องการต่ำสุด อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์ย้อนกลับก็เพื่อให้ธุรกิจมีกำไรในการดำเนินการนำสินค้าหรือวัสดุที่ใช้แล้วกลับมายังจุดที่ต้องการสูงที่สุด

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการให้มีต้นทุนต่ำสุดกับการบริหารจัดการให้มีกำไรสูงสุดนั้นมีความหมายต่างกันครับ เนื่องจากการมีต้นทุนการบริหารสินค้าย้อนกลับต่ำสุดไม่ได้หมายความว่าจะมีกำไรสูงสุด เพราะ กำไรจะเท่ากับรายได้ลบด้วยรายจ่าย ดังนั้นถ้ารายจ่ายลดลงแต่ รายได้ไม่เพิ่ม ธุรกิจก็ยากที่จะได้กำไรครับ ดังนั้น ความอยู่รอดของธุรกิจในปัจจุบันจึงไม่ได้ขึ้นอยู่แต่เพียงการลดต้นทุนเท่านั้น แต่ยังต้อง ทำอย่างไรให้ธุรกิจมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็สามารถนำเอากลยุทธ์โลจิสติกส์มาใช้เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ และกลับมาใช้บริการเราอีกครับ

คราวนี้ ลองหันมาย้อนดูความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมและโลจิสติกส์ย้อนกลับ ที่ผมได้เรียนไปแล้วนะครับว่าทั้งสองประเด็นดังกล่าวเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพราะการบริหารจัดการโลจิสติกส์ทั้งสองแบบจะมีเป้าหมายต่างกัน กล่าวคือโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีเป้าหมายคือเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยร่วมกันลด/ละ/เลิกการใช้พลังงานและทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตลง แต่หลักการของระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับคือการบริหารจัดการสินค้าหรือวัสดุ (Materials) ย้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือมีต้นทุนรวมต่ำที่สุดและมีการตอบสนองความต้องการของผู้เล่นสูงที่สุด

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อว่าระบบโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมและโลจิสติกส์ย้อนกลับมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ คำตอบคือถ้าการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับดีและมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การที่ซาเล้งนำขวดน้ำที่ดื่มแล้ว มาขายต่อให้กับพ่อค้ารับซื้อของเก่า หลังจากนั้นพ่อค้ารับซื้อของเก่ารวบรวมขวดเหล่านี้และนำไปขายให้กับบริษัทผลิตน้ำ และนำไปล้างทำความสะอาด ก่อนที่จะมีการบรรจุน้ำใหม่และส่งขายให้กับร้านค้าในท้องตลาดต่อไป เป็นต้น

กรณีนี้ จะเห็นได้ว่าการที่ซาเล้งนำขวดน้ำที่ดื่มแล้ว มาขายให้กับพ่อค้ารับซื้อของเก่า และพ่อค้ารับซื้อของเก่ารวบรวมก่อนจะส่งขายให้กับบริษัทผลิตน้ำดื่ม กิจกรรมดังกล่าว เราเรียกว่าโลจิสติกส์ย้อนกลับ ส่วนผลของการกระทำดังกล่าวคือนำเอาขวดที่ใช้แล้วมาใช้อีกหรือมารียูสใหม่ จะช่วยให้ลดการใช้ทรัพยากรคือทรายแก้วหรือเม็ดพลาสติกในการผลิตขวด ซึ่งจะช่วยลดมลพิษหรือลดการใช้ทรัพยากรการผลิต อันจะทำให้เกิดผลดีกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมซึ่งเป็นถือเป็นเป้าหมายของการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ในปัจจุบันนี้ ลูกค้าในหลายประเทศ หันมาให้ความสนใจประเด็นเรื่องโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมและโลจิสติกส์ย้อนกลับ เพิ่มมากขึ้น

โดยเราจะเห็นว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้วมีหันกลับมาพิจารณาที่จะให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อสินค้าหรือบริการที่พวกตนผลิต ยกตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นมีการออกกฎหมายให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทจะต้องมีกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นกองทุนสำหรับการขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว เช่นทีวี ตู้เย็น มาทำลายหรือนำกลับมารีไซเคิล เป็นต้น

3.  บทบาทของ โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics & Supply  Chain) ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

ในปัจจุบันแม้ว่าหลายภาคส่วน โดยเฉพาะผู้บริโภค มีการตื่นตัวในเรื่องของการใช้สินค้าหรือบริการที่รักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะที่ในช่วงสองสามปีที่ผ่าน จะมีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างมาก อย่างในบางเมืองของประเทศออสเตรเลีย มีการรณรงค์เพื่อปิดไฟประมาณ 5-10 นาทีทั้งเมือง ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดผลในเชิงของการลดการใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานมากนั้น แต่สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างจิตสำนึกสาธารณะหรือจิตวิทยา ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นบวกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนั้นผมกำลังพักอยู่ในออสเตรเลียพอดีครับ ก็เลยเห็นครับว่าคนออสเตรเลียส่วนใหญ่ตื่นตัวกับเรื่องนี้มาก ดับไฟกันหมดทั้งเมืองเลยครับ หรือแม้แต่ตอนที่ผมเดินเข้าไปซื้อของในร้านค้าปลีกที่นั่น ก็ซื้อข้าวของหลายอย่างครับ พอคิดเงินเสร็จ ก็ไม่มีถุงใส่ให้ผม บอกว่า ลดโลกร้อน ครั้งต่อไป ถ้าผมจะใส่ถุงให้ผมเอามาเอง

สิ่งที่ผมพบดังกล่าวข้างต้นนั้น กำลังสะท้อนให้เห็นครับว่าการตื่นตัวของสังคมและประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัทห้างร้านต่างๆ นั้น เป็นแรงกดดันให้ทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดส่งสินค้าต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหล่านี้ กล่าวคือเมื่อลูกค้าตื่นตัวในการลดการใช้พลังงาน เชื้อเพลิงหรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อลดการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือการก่อให้เกิดมลพิษ ดังนั้นผู้ผลิตก็ต้องวางกลยุทธ์เพื่อแสดงให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครับรู้ว่า กระบวนการผลิต สั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าของตนมีการบริหารจัดการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้พลังงานหรือใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด รวมทั้งในหลายกิจกรรม ผู้ผลิตยังมีการนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์ แพลเล็ตกลับมารียูสหรือรีไซเคิลใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาลดผลิตสินค้าใหม่อีก

ทั้งนี้ เมื่อผู้ผลิตสินค้า ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนซัพพลายเชนและมีอำนาจในการกำหนดเกมส์การเล่น เริ่มบีบและกดดันผู้เล่นรายอื่นๆ อาทิ ซัพพลายเออร์ชั้นที่ 1 ซัพพลายเออร์ชั้นที่ 2 คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และบริษัทขนส่ง เป็นต้น ว่าถ้าจะขายสินค้าให้ตน หรือถ้าจะขนสินค้าให้กับตน จะต้องมีแผนการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือกลยุทธ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เล่นรายอื่นๆ เริ่มตื่นตัวและมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น มิฉะนั้นก็อาจจะเสียลูกค้าหรือขายของไม่ได้ในที่สุด จากกรณีดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้าผู้เล่นทุกราย มีแผนการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือกลยุทธ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว เราเรียกว่าผู้เล่นในซัพพลายเชนมีกลยุทธ์ซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ Green Supply Chain และถ้าผู้ให้บริการโลจิสติกส์ อาทิ ผู้ให้บริการขนส่งและคลังสินค้า เป็นต้น มีแผนหรือกลยุทธ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม เราเรียกว่าผู้เล่นเหล่านี้มีกลยุทธ์ Green Logistics หรือระบบโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นกระบวนการใดก็ได้ในกิจกรรมโลจิสติกส์ซึ่ง กิจกรรมเหล่านี้ อาจจะเป็นกิจกรรมการจัดซื้อ การผลิต การจัดส่งสินค้าหรือแม้แต่กิจกรรมคลังสินค้า เป็นต้นยกตัวอย่างเช่น การขนส่ง คลังสินค้าและการส่งมอบสินค้า ถ้ามีการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาก การเผาผลาญพลังงานในรูปแบบต่างๆ ในภาคการขนส่ง รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและไม่คุ้มประโยชน์ กระแสของการใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นการให้ความสำคัญต่อมิติการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อน

อีกทั้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ โดยที่กิจกรรมโลจิสติกส์จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย รวบรวม จัดเก็บ กระจายสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการขนส่งไม่ว่าจะเป็นการใช้โหมดการขนส่งประเภทใด ส่วนใหญ่ก็ยังใช้พลังงานในรูปของน้ำมันฟอสซิล ขณะที่ภาคการผลิตได้เริ่มหันกลับไปใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น ส่วนหนึ่งได้มีการพัฒนาไปสู่พลังงานที่ได้จากแสงแดด พลังงานลม ขณะที่ภาคขนส่งยังต้องพึ่งพิงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะปล่อยของเสียกลับไปในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

4. บทสรุป

ครั้งแรกที่ได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องระบบโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม ผมก็นั่งหนักใจว่าเราจะเอาอะไรมาเขียนดีนะ หลังจากที่ลองพล็อตประเด็นที่จะเขียน พอเขียนไปเขียนมา ก็เพลินดีนะครับ แต่พอนึกขึ้นได้ว่า ทางบรรณาธิการวารสารแจ้งไว้ว่าให้ผมเขียนประมาณ 3 หน้า แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเราเขียนเกินหน้าที่ทางวารสารกำหนดไว้แล้ว ก็ขอหยุดไว้ตรงนี้ก่อนครับ ฉบับหน้าถ้ามีโอกาสผมจะมาพูดเกี่ยวกับการจะวางกลยุทธ์โลจิสติกส์เชิงนิเวศเพื่อเป็นจุดขายขององค์กรเมื่อเข้าไปประมูลงานหรือแข่งกับคู่แข่งรายอื่นๆ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดทำ CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ที่หลายบริษัทชั้นนำกำลังประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ จะอธิบายถึง HOW TO หรือการเอาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้กับองค์กรธุรกิจ รวมทั้งเมื่อองค์กรต่างๆ นำเอาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว จะมีการควบคุมหรือมีการกำหนดตัวชี้วัดอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังใช้อยู่ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมัดใจลูกค้าในระยะยาวอย่างยั่งยืนตลอดไป

___________________________

You can leave a response, or trackback from your own site.

11 Responses to “พัฒนาองค์กรสู่องค์กรเชิงนิเวศ&บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม”

  1. Warren says:

    tatler@extraneousness.campaigned” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  2. joshua says:

    planner@baer.boliou” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  3. Vernon says:

    comtemporary@clearance.cowboys” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  4. Gene says:

    buddy@partially.prevost” rel=”nofollow”>.…

    good info!…

  5. eugene says:

    encyclopedia@delicate.restrains” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!!…

  6. Henry says:

    sphinx@piecemeal.mutilation” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  7. Leo says:

    drummer@foretell.preaching” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  8. Homer says:

    beginning@salesman.sweathruna” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!!…

  9. พัฒนาองค์กรสู่องค์กรเชิงนิเวศ says:

    Proxies Private…

    I found a great……

  10. พัฒนาองค์กรสู่องค์กรเชิงนิเวศ says:

    Buy Fast Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply