การเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รับมือAEC

Logistics Knowledge

How logistics service providers get ready for AEC

การเตรียมความพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ชนิสรา บุตรรักษ์

ติลา เลาหวิรภาพ

ลลิตา เหรียญชัยเจริญ

ประธานที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ

การขนส่งนับว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ การขนส่งทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจสินค้าและบริการ เช่น ธุรกิจที่ต้องใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำไปสู่ปลายน้ำ รวมไปถึงการขนส่งผู้โดยสารจากต้นทางไปถึงปลายทาง หากปราศจากการขนส่งแล้วธุรกิจย่อมขาดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ การขนส่งยังช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย ทำให้เกิดการกระจายสินค้า ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ บางองค์กรเลือกที่จะดำเนินการขนส่งเอง แต่บางองค์กรเลือกที่จะ Outsource ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการแทน เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้บริการตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ในปี 2015 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับทั้งโอกาสและผลกระทบจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หลายฝ่ายเกิดความตื่นตัวในด้านการแข่งขันว่า หากมีการเปิดเสรีการค้าบริการในด้านของโลจิสติกส์แล้วธุรกิจของตนจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมองในแง่ของผลกระทบต่อธุรกิจขนส่ง พบว่า การขนส่งทางบกระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับโหมดการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ซึ่งคาดว่าต่างชาติจะเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร์ หนึ่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบคือ ตัวแทนรับการจัดการขนส่งสินค้าของไทย สำหรับความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในปัจจุบันในเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น พบว่า ในส่วนของภาครัฐและเอกชนมีจำนวนน้อยกว่า 10% ที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลจากสื่อเป็นภาษาทางการที่เข้าใจยาก ทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาด

จะเห็นได้ว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community – AEC) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในหลายๆ ด้านต่อภาคธุรกิจของประเทศไทย เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือได้อย่างเสรี การลดระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายลง เป็นต้น คณะผู้ศึกษาวิจัยได้เล็งเห็นความสาคัญในการเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในการรับมือกับการเปิด AEC จึงมีการศึกษา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ และข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนจากสาขาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รวมทั้งคณะผู้ศึกษาวิจัยจะมีการเก็บข้อมูลจากผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในรูปแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ซึ่งผลที่ได้จะนำเสนอออกมาในรูปแบบของตัวเลข ที่จะแสดงให้เห็นว่าประเด็นใดบ้างที่กลุ่มขององค์กร (องค์กรขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางและองค์กรขนาดย่อม) มีความพร้อมในการรับมือกับ AEC และประเด็นใดบ้างที่กลุ่มขององค์กรยังขาดความพร้อมในการรับมือกับ AEC เพื่อสร้างความตระหนักต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบการทางด้านตัวแทนจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้เห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างพนักงานและองค์กรต่างๆ

การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงความพร้อมในการรับมือที่จะเกิดขึ้นจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และมีการเปรียบเทียบตามขนาดของบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็นบริษัทขนาดย่อม 10 บริษัท ขนาดกลาง 9 บริษัท และบริษัทใหญ่ 6 บริษัท

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  • พนักงานทั่วไปของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 64.29% ซึ่งถือว่าพนักงานมีการติดตามข่าวสารและมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามความพร้อมด้านความชำนาญในเนื้องาน ความพร้อมด้านการปรับตัว และความพร้อมด้านการเข้าถึงข้อมูล ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กลุ่มวิจัยกำหนดไว้ และเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมโดยรวมจากทั้ง 3 ด้าน พบว่า พนักงานบริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่ มีคะแนนความพร้อม 57% หรือ ยังไม่พร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • ผู้บริหารหรือผู้จัดการของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 72.51% ซึ่งถือว่าผู้บริหารหรือผู้จัดการ มีการติดตามข่าวสารและมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นอย่างดี ส่วนความพร้อมด้านทรัพยากร ความพร้อมด้านการปรับตัว และความพร้อมด้านการเข้าถึงข้อมูลถือว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับหนึ่ง และเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมโดยรวมจากทั้ง 3 ด้าน พบว่า ผู้บริหารหรือผู้จัดการ บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่ มีคะแนนความพร้อม 66% หรือ ยังไม่พร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 71.21% ซึ่งถือว่าบริษัททั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีการติดตามข่าวสารและมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระดับที่ดี ส่วนความพร้อมด้านทรัพยากร/ความชำนาญในเนื้องาน ความพร้อมด้านการปรับตัว และความพร้อมด้านการเข้าถึงข้อมูลถือยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด ถือว่ายังไม่มีความพร้อมในด้านต่างๆ เหล่านี้ และเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมโดยรวมจากทั้ง 3 ด้าน พบว่า บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนความพร้อม 60% หรือ ยังไม่พร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • ผู้บริหารหรือผู้จัดการบริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่ มีคะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระดับที่สูงกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการทั่วไป และถือได้ว่ามีการติดตามข่าวสารและมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดี
  • บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ต่างคิดว่าตนเองมีจุดแข็งในลักษณะใกล้เคียงกัน ข้อได้เปรียบของคนไทย คือ บุคลากรบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทย มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน เนื่องจากมีประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย ที่เกิดจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างมีการขนส่งสินค้า รวมทั้งประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ถือเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก ทำให้จุดนี้เป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
  • บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ต่างคิดว่าตนเองมีจุดอ่อนในลักษณะใกล้เคียงกัน ข้อเสียเปรียบของคนไทย คือ ด้านภาษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่หลายคนให้ความสำคัญถึง 21% เพราะประเทศไทยมีภาษาทางการ คือ ภาษาไทย ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ในขณะที่หลายๆ ประเทศในเขตอาเซียนมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ นอกจากนี้ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของวิกฤตทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้านของการขนส่งในรูปแบบต่างๆ และความเชื่อมั่นในการใช้บริการในประเทศไทย รวมถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมที่หลากหลายของประเทศต่างๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ผลจากการสัมภาษณ์คุณสมชาย บันลือเสนาะ ผู้อานวยการโรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (ITBS)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งเชิงลบและเชิงบวก สำหรับผลกระทบเชิงลบที่เห็นได้ชัดคือ การขนส่งทางถนน โดยเฉพาะเส้นทางมาเลเซีย-ไทย ประเทศมาเลเซียจะใช้เส้นทางของประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังหลายประเทศในอาเซียนโดยเชื่อมจากการขนส่งทางทะเลของประเทศมาเลเซีย เนื่องจากขนาดบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดย่อมและกลาง โดยเฉพาะบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าขนาดย่อม จะเสียเปรียบในด้านการแข่งขันเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามการเปิดให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีข้อจำกัด คือ จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเฉพาะบุคลากรระดับผู้จัดการขึ้นไปหรือผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ส่วนพนักงานปฏิบัติการทั่วไปก็ยังคงเป็นคนไทยเช่นเดิม ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะคนไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญด้านเส้นทางในการขนส่งเป็นอย่างดี

อีกทั้งเมื่อบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่างชาติเข้ามาลงทุน อาจทำให้บริษัทสัญชาติไทยขนาดย่อมและกลาง ไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะบริษัทต่างชาติจะจูงใจคนไทยโดยการจ้างในอัตราที่สูงกว่า และบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดกลางอาจจะโดนต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการได้ ส่วนบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดย่อมนั้น ต่างชาติก็อาจจะให้เป็นบริษัทในเครือที่คอยป้อนงานให้เพื่อจะได้มีงานและอยู่รอด ซึ่งจะทำให้บริษัทขนาดย่อมของไทยไม่โต เพราะทางานภายใต้แบรนด์ของบริษัทใหญ่ อย่างไรก็ตามผลกระทบเชิงบวกก็คือ คนไทยมี Service Mind ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าดีทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ โดยธุรกิจนี้ถือเป็นธุรกิจบริการทำให้จุดนี้เป็นจุดแข็งของไทยเมื่อเทียบกับต่างชาติ

จากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ สามารถสรุปได้ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยพนักงานและผู้บริหารของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ถือว่าผ่านเกณฑ์ (ต้องได้คะแนนแบบทดสอบมากกว่าหรือเท่ากับ 50%) คือ 64.29% และ 72.51% ตามลาดับ แสดงให้เห็นว่าภาพรวมผู้บริหารหรือผู้จัดการบริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่ มีการค้นคว้าหาความรู้มากกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการทั่วไป ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารหรือผู้จัดการจะต้องมีการวางแผนในการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งกำหนดทิศทางการดำเนินงานของบริษัทและพนักงาน จึงทำให้ต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลให้รอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ

แต่หากพิจารณาในภาพรวมของบริษัทจะพบว่า บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนาดย่อม กลาง และใหญ่มีคะแนนความพร้อม 60% หรือ ยังไม่พร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในขณะที่คะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 71.21% ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า คะแนนจากแบบทดสอบที่วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ไม่มีความสอดคล้องกับภาพรวมความพร้อมในด้านต่างๆ เพราะถึงแม้ว่าภาพรวมของบริษัทจะมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แต่ก็ยังไม่มีความพร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เท่าที่ควร อาจเป็นเพราะบริษัทอาจยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนหรืออาจยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากพอ จึงทำให้ผลการวิจัยประเมินว่า ภาพรวมบริษัทยังไม่มีความพร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานที่วางไว้มี ดังนี้

  • จากการวิเคราะห์พบว่า บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากกว่าบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดกลาง และขนาดย่อม แต่ในขณะที่บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดย่อม เป็นบริษัทที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากที่สุด (71.21%) เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดอื่นๆ เพราะโดยปกติบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ก็มีการทำธุรกิจและติดต่อสื่อสารกับบริษัทรับจัดการสินค้าระหว่างประเทศทั่วโลก รวมทั้งมีการสื่อสารด้วยภาษากลางคือภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทางบริษัทก็คิดว่าลักษณะการดำเนินงานก็ยังคงเป็นในลักษณะเดิม กล่าวคือ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างขนาดใหญ่มีการทำธุรกิจและมีการให้บริการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ในอาเซียนเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก หากบริษัทจะต้องทราบถึงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของประเทศต่างๆ จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ดำเนินการแทน ทำให้บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่อาจจะยังไม่ได้มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากนัก
  • หากพิจารณาตามขนาดบริษัทจะพบว่า ขนาดของบริษัทแปรผกผันกับความพร้อมในการรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กล่าวคือ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่ามีความได้เปรียบทางด้านของขนาดบริษัท ความมีชื่อเสียง และการเป็นบริษัทข้ามชาติที่มีสาขามากมายอยู่ทั่วโลก รวมไปถึงความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรมากกว่าบริษัทขนาดอื่นๆ เช่น ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านเงินทุน เป็นต้น ไม่ได้มีความพร้อมในการรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากกว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม จากการวิเคราะห์พบว่าหากมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บริษัทอาจไม่ต้องมีการปรับตัวมากนัก เนื่องจากเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากนัก และจากการสำรวจพบว่าบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่นั้น คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทางบริษัทจึงไม่มีนโยบายในการเตรียมความพร้อมเท่าที่ควรหรืออาจจะมีการเตรียมการแต่พนักงานยังไม่สามารถเข้าถึงนโยบายเหล่านั้นได้ เป็นต้น

ในขณะที่บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดย่อม ถือว่าเป็นบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่า หากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) บริษัทขนาดย่อมจะเป็นบริษัทที่เสียเปรียบมากที่สุด เนื่องจากมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น ต้นทุนการดำเนินการบริหารจัดการ การเข้าถึงตลาดต่างชาติ การมีเครือข่าย เมื่อเทียบกับขนาดบริษัทขนาดอื่นๆ ทำให้บริษัทขนาดย่อมจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากกว่าบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดกลางและขนาดใหญ่ จึงเป็นไปได้ที่บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดย่อมจะมีการวางแผนหรือมีนโยบายในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

  • ผู้บริหารหรือผู้จัดการ ของทั้งบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม จะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และความพร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มากกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ เนื่องจากภายหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรีในระดับผู้บริหารหรือผู้จัดการขึ้นไป ดังนั้น ผู้บริหารหรือผู้จัดการขึ้นไปถือว่าเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจจะต้องมีการย้ายตำแหน่งไปทางานที่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน หรืออาจะได้รับผลกระทบจากการที่มีผู้บริหารจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทางานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พนักงานปฏิบัติการจะไม่ได้รับโอกาสในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี จึงทำให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับตนเองและเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงาน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างๆ ของประเทศเพื่อนบ้านได้
You can leave a response, or trackback from your own site.

26 Responses to “การเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รับมือAEC”

  1. russell says:

    burgundy@winder.arrears” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  2. alberto says:

    dystopian@habla.inadvertently” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  3. willard says:

    wwrl@pretender.plato” rel=”nofollow”>.…

    спасибо за инфу!!…

  4. oliver says:

    theater@druid.other” rel=”nofollow”>.…

    благодарен!!…

  5. kenneth says:

    podgers@concurred.pleased” rel=”nofollow”>.…

    сэнкс за инфу!!…

  6. Gilbert says:

    recessed@maitre.juggling” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  7. Karl says:

    batters@islams.lifelike” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  8. ted says:

    exaggerations@believes.logging” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  9. harold says:

    pillar@bordeau.overestimation” rel=”nofollow”>.…

    good info!…

  10. ricky says:

    chase@diversification.walbridge” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  11. Don says:

    heavy@concurrently.potentials” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  12. Jason says:

    sophia@macbeth.embracing” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  13. stanley says:

    matriculate@showerhead.pear” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  14. Clyde says:

    mortals@avocation.cant” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  15. Vincent says:

    bi@pavlovitch.transcultural” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  16. Micheal says:

    fulbright@elm.bull” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  17. Tommy says:

    disgusted@ensued.cabinetmakers” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  18. Jessie says:

    kicks@amici.meanin” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  19. bill says:

    stabilization@assuaged.laguerre” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  20. john says:

    montaigne@thus.propping” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  21. perry says:

    manleys@floodlit.underneath” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  22. herman says:

    geographically@palindromes.finnish” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  23. การเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าà says:

    Best Cheap Proxies…

    I found a great……

  24. การเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าà says:

    Proxies…

    I found a great……

  25. การเตรียมพร้อมของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าà says:

    Jessie Samit…

    I found a great……

Leave a Reply