ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศกับจีน

Logistics viewpoint

Problems and threats of importers and exporters in trading with China

after the launch of FTA: past and present to ways of solving problems for the future

ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศกับจีน ภายหลังจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน: อดีตและปัจจุบัน สู่การแก้ปัญหาในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา

1. บทนำ

ภายหลังจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบความตกลงฯ อาเซียน-จีน ซึ่งไทยได้เปิดตลาดสินค้าบางรายการ อาทิ ผักและผลไม้ เป็นต้น ตั้งแต่ตุลาคม 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการไทยที่เห็นโอกาสและได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีครั้งนี้จำนวนมาก ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ได้รับผลกระทบในเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจของตนเองเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น บทความนี้จะได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการไทยพบเมื่อมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากไปจีน โดยจะเป็นการนำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันมาทำการวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการไทยในอนาคต

2. ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกไปจีน

ผลการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้ส่งออกสินค้าของไทยส่วนใหญ่ อาทิ สินค้าเกษตร อาหารแปรรูปหรือสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น พบว่า ผู้ส่งออกของไทยได้ระบุถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบและต้องการให้รัฐบาลไทยช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อให้การค้าระหว่างไทยกับจีนมีการเติบโตและการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

2.1 การมีอัตราภาษีศุลกากรของจีนที่ค่อนข้างสูงสำหรับสินค้าบางประเภท

ผู้ส่งออกสินค้าของไทยระบุว่าภาษีนำเข้าของจีนค่อนข้างสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะนอกจากจะเสียภาษีศุลกากรแล้ว ผู้ส่งออกของไทยยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะมีการเก็บทันทีโดยจีนจะมีการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 13 และ 17 ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้านำเข้าที่ด่านนำเข้าของจีน นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบและระเบียบปลีกย่อยอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการของจีนเอง เช่น ผู้ประกอบการจีนขนาดเล็กที่มีเงินทุนต่ำกว่าหนึ่งล้านหยวน จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแบบเหมาจ่ายเพียงร้อยละ 6 หรือถ้าเป็นร้านค้าเล็กๆ จะเสียแบบเหมาจ่ายเพียงร้อยละ 4 เป็นต้น

2.2 อุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร

ผู้ส่งออกสินค้าของไทยส่วนใหญ่ระบุว่า กฎระเบียบและข้อบังคับหลายประการจะเป็นอุปสรรคทางการค้า ทำให้เกิดต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งจากชาติอื่นๆ เช่น มาเลเซียและเวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของมาตรฐานที่ใช้บังคับกับสินค้าของไทย เช่น การบังคับให้ติดเครื่องหมายรับรอง CCC Mark สำหรับสินค้าที่นำเข้าและจำหน่ายในประเทศจีน โดยผู้นำเข้ามายังจีนจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เริ่มจากการยื่นเอกสารทางเทคนิคเกี่ยวกับตัวสินค้าและใช้ภาษาจีน หลังจากนั้นต้องส่งสินค้าไปตรวจสอบยังห้องปฏิบัติการที่อยู่ในจีนเท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลากว่าจะผ่านมาตรฐานดังกล่าวกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ จีนมีสิทธิในการยกเลิกและเพิกถอนเครื่องหมายมาตรฐาน CCC Mark ได้

นอกจากนี้ พบว่าจีนมีขั้นตอนและวิธีการและกระบวนการนำเข้าที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของจีนในระดับต่างๆ และเรื่องของภาษาจีน ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องจ้างตัวแทนในประเทศจีนดำเนินการให้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่การกำหนดให้สินค้าที่นำเข้าจีนต้องติดฉลากบนผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ต้องใช้ภาษาจีน และต้องมีคำอธิบายเป็นภาษาจีนกลาง

2.3 ความซับซ้อนของช่องทางการกระจายสินค้า

หนึ่งในปัญหาสำคัญคือการเข้าสู่ตลาดของจีนในแต่ละมณฑลและระดับท้องถิ่น เนื่องจากจีนมีข้อจำกัดในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในประเทศของตน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเครือข่ายของระบบคมนาคมขนส่ง รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ของจีนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะมณฑลตอนกลางและตอนใน นอกจากนี้เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่มาก (อันดับ 3 ของโลก) การกระจายสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงต้องใช้เวลานาน แม้ว่าจีนจะได้ดำเนินการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ยังขาดการบูรณาการระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เครือข่ายการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ยังไม่เชื่อมโยงกันทั่วทั้งประเทศและยังมีข้อจำกัดในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากนี้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนส่วนใหญ่อยู่ในรูปของรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่และการขนส่งข้ามแต่ละมณฑลดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เช่น บริษัท SINOTRANS เป็นต้น ทำให้ต้นทุนในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดภายในจีนค่อนข้างสูงและทำให้การกระจายสินค้าเข้าภายในจีนทำได้ยากและเสียเปรียบในเรื่องอำนาจต่อรอง ขณะที่ผู้ส่งออกสินค้าของไทยส่วนใหญ่มักติดต่อตัวแทนชาวจีนในการกระจายและขายสินค้าซึ่งจะสะดวกกว่าการที่ผู้ประกอบการไทยต้องติดต่อกับผู้ซื้อของจีนโดยตรง แต่ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจกับตัวแทนของจีน

2.4 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดจีน

ขณะที่สินค้าส่งออกของไทยไปยังจีนส่วนใหญ่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งต้นทุนด้านค่าแรง ด้านเทคโนโลยีและการสนับสนุนจากภาครัฐของไทย อีกทั้งการมีระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ซับซ้อน ทำให้สินค้าส่งออกของไทยขาดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ โดยเฉพาะทำให้สินค้าของไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคากับสินค้าจีน ซึ่งรัฐบาลจีนมีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการของตนทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.5 อุปสรรคในการสื่อสารและการใช้ภาษาจีน

อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความยากในการติดต่อสื่อสารกับคนจีน โดยคนจีนมักจะใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาหลักในการติดต่อทางธุรกิจและราชการในจีน โดยผู้ส่งออกและผู้นำข้าวของไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่นเวียดนามและมาเลเซีย เป็นต้น ทำให้การติดต่อสื่อสารกับผู้ประกอบการจีนไม่ชัดเจน เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความล่าช้าในการส่งมอบสินค้า ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยจะจ้างล่ามมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารกับผู้ประกอบการจีน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีปัญหาเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจล่ามจีน

2.6 อุปสรรคในระดับมณฑลหรือระดับเมือง

ผู้ส่งออกสินค้าของไทยมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานและกฎระเบียบข้อบังคับของจีนในระดับมณฑลหรือระดับเมือง เนื่องจากแม้ว่าโดยหลักการแล้ว เจ้าหน้าที่ของจีนจะปฏิบัติตามหรือยึดข้อกำหนดของรัฐบาลจีน แต่ในทางปฏิบัติ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นมักจะมีความไม่แน่นอน โดยพบว่าเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมีอำนาจและสามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจตลาดจนปัญหาความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน โดยเจ้าหน้าที่ของด่านนำเข้าในแต่ละมณฑลอาจจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและบางด่านอาจจะหละหลวม ขณะที่ขั้นตอนการตรวจสอบหรือเงื่อนไขในการตรวจสอบในระดับมณฑลและท้องถิ่นค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งทำให้ผู้ประกอบการของไทยต้องเสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ในแต่ละมณฑลหรือท้องถิ่นอาจจะมีข้อกำหนดปลีกย่อยของตนเองเพิ่มเติม อาทิ การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในการเทียบท่าของเรือสินค้า รวมทั้งการที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ่อยๆ โดยหน่วยงานท้องถิ่นสามารถออกกฎข้อบังคับได้โดยไม่ขัดกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง

2.7 ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมและอุปนิสัยในการทำการค้าของจีน

ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอุปนิสัยของคนจีน นับว่าเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย โดยวัฒนธรรมการทำธุรกิจในจีนมักจะเน้นการยึดที่ตัวบุคคลมากกว่าองค์กรสำหรับการทำธุรกิจ ทำให้การทำธุรกิจกับคนจีนจำเป็นต้องใช้สายสัมพันธ์และใช้เครือข่ายในการทำการตลาด โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นของจีน โดยชาวจีนค่อนข้างเน้นเรื่องการทำกำไรและผลประโยชน์ระยะสั้น ตัดสินใจเร็วทำให้เชื่อถือยากและมีความไม่น่าเชื่อถือ

2.8 ความสามารถในการค้าระหว่างประเทศของผู้นำเข้า-ส่งออกของไทย

ผู้ส่งออกไทยไปตลาดจีนส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับตลาดจีน โดยมักจะเข้าใจว่าจีนเป็นตลาดเดียว (Single Market) แต่ข้อเท็จจริงคือจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ก็จริงแต่ก็มีความละเอียด ซับซ้อนและมีความหลากหลายในแต่ละภูมิภาคและแต่ละมณฑล ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกและระบบการค้าขายภายในของตลาดจีนมากนัก อีกทั้งไม่เข้าใจวัฒนธรรมทางธุรกิจของจีนและการไม่ศึกษาข้อมูลด้านการตลาดทั้งในระดับมณฑลและระดับท้องถิ่นให้ถ่องแท้ นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่มักจะค้าขายผ่านคนกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮ่องกง ทำให้ไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกของตลาดและการกระจายสินค้าในตลาดจีน รวมทั้งไม่เข้าใจด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐานและกระบวนการนำเข้าของจีน เนื่องจากตลาดจีนมีความซับซ้อนและมีระบบการจัดการแตกต่างกัน

3. บทสรุป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า จีนจะเป็นตลาดที่มีโอกาสและศักยภาพสำหรับผู้ประกอบการไทย แต่จากปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการไทยพบเมื่อมีการทำธุรกิจกับผู้ประกอบการของจีน โดยเฉพาะกับหน่วยงานภาครัฐของจีน ซึ่งปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ขณะที่ในบทความครั้งต่อไปจะนำเสนอแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อไป

You can leave a response, or trackback from your own site.

14 Responses to “ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศกับจีน”

  1. tyrone says:

    swallowed@campaigns.hairpin” rel=”nofollow”>.…

    спасибо за инфу!…

  2. Benjamin says:

    handsomely@sequoia.polo” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  3. gregory says:

    aloud@glitter.clothesline” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  4. shaun says:

    warped@enoch.formability” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  5. marc says:

    coloration@isopleths.camper” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  6. Morris says:

    reopening@munroe.teats” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  7. alex says:

    embodies@stoics.knifes” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  8. tim says:

    citations@imaginings.canted” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  9. tom says:

    religiously@cinches.principle” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  10. ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในกา says:

    Data Centre Private Proxies For Sale…

    I found a great……

  11. ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในกา says:

    Private Proxy Browser…

    I found a great……

  12. ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในกา says:

    Private Proxies Buy…

    I found a great……

  13. ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในกา says:

    Reliable Proxy…

    I found a great……

  14. ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในกา says:

    Proxies For Scrapebox…

    I found a great……

Leave a Reply