พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556

TNSC’s Talk

International Carriage of Goods by Road Act BE2556

พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556

จิรารัตน์ รัตนคุปต์ นักวิเคราะห์ สภาผู้ส่งออกฯ

ระบบการขนส่งทางถนนเป็นการขนส่งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน เนื่องจากเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการขนส่งที่มีต้นทุนในการดำเนินการไม่สูงมากและมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเทียบกับการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางอากาศหรือการขนส่งทางทะเล จึงทำให้ระบบการขนส่งทางถนนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่นิยมใช้ระบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก สำหรับการค้าระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ สปป. ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย

ซึ่งการขนส่งระหว่างประเทศดังกล่าวจะยิ่งทวีบทบาทความสำคัญในอนาคตอันใกล้ เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายให้มีการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนผ่านแดนเป็น 2 เท่าตัว หรือมูลค่า 2 ล้านล้านบาท และจะทำให้ปริมาณการขนส่งทางถนนเพิ่มมากขึ้น โดยสิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงคือคือ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ที่ควรมีกฎหมายรองรับอย่างเหมาะสมและเป็นการเฉพาะ เพื่อให้มีกรอบปฏิบัติที่ชัดเจน

สำหรับแนวความคิดด้านกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะที่เกี่ยวกับการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศของประเทศไทย ได้นำหลักการมาจากอนุสัญญาว่าด้วยสัญญาเพื่อการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1956 (Convention on the Contract for the International Carriage of Goods by Road, 1956) หรืออนุสัญญา CMR ซึ่งสหภาพยุโรปได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างของหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันในประเทศสมาชิก ซึ่งในประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงก็ได้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) ในภาคผนวก 10 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขในการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศไว้ ทั้งในส่วนของเอกสารที่ใช้สำหรับการขนส่ง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ส่ง ผู้ขนส่ง และผู้รับตราส่ง ทำนองเดียวกับอนุสัญญา CMR แต่ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เงื่อนไขให้มีความเหมาะสมในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

แต่เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับแก่สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่งของผู้ให้บริการ และบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศโดยเฉพาะ กฎหมายที่ใช้มีเพียงบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 8 (รับขน) ซึ่งใช้บังคับกับทั้งการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้เพียงกว้างๆ เช่น รายละเอียดในใบตราส่ง สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ส่งของ ผู้ขนส่งและผู้รับตราส่ง กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีแนวคิดในการแก้ไขกฎหมาย เพื่อที่จะพัฒนาระบบการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น และแก้ปัญหาทั้งในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก อย่างไรก็ตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาในความตกลง CBTA และอนุสัญญา CMR เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นไปตามข้อผูกพันการลงนามของประเทศไทย

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดขอบเขตการใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางถนนด้วยรถ ทั้งการขนส่งข้ามแดนและผ่านแดนประเทศไทย โดยใช้บังคับแก่รถที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย วางหลักเกณฑ์ในเรื่องใบตราส่ง อันจะถือเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นของการทำสัญญารับขน กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ส่งของ ผู้ขนส่ง และผู้รับใบตราส่ง นอกจากนี้ยังกำหนดบทบัญญัติข้อยกเว้นที่ผู้ขนส่งมิต้องรับผิด และการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอีกด้วย

ประโยชน์ของการตราพระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ แยกออกจากกฎหมายการขนส่งทางถนนภายในประเทศ เนื่องจากการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศมีระยะทาง ความเสี่ยงภัย และภาวะการแข่งขัน อีกทั้งรายละเอียดในทางปฎิบัติที่แตกต่างกับการขนส่งทางถนนภายในประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศของไทย อีกทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนของไทยสามารถแข่งขันในการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศได้มากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องติดตามในรายละเอียดของการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การออกกฎหมายลูกเพื่อบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวจริงในทางปฏิบัติของภาครัฐ และการออกกฎหมายในลักษณะเดียวกันของประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งเนื้อหากับกฎหมายของของแต่ละประเทศมีความสอดคล้องกันในเนื้อหาหรือไม่ อย่างไร หากกฎหมายที่ออกโดยประเทศเพื่อนบ้านไม่มีความสอดคล้องหรือไม่มีการบังคับใช้จริง จะก่อให้เกิดผลความไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556 มีการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในลักษณะเดียวกับ พระราชบัญญัติการรับของทางทะเล พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องพิจารณาถึงส่วนต่างของมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าและความรับผิดชอบของผู้ขนส่งตามกฎหมาย ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องมีการจัดทำประกันภัยการขนส่งสินค้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง.

You can leave a response, or trackback from your own site.

14 Responses to “พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556”

  1. clyde says:

    zipped@harbors.shun” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  2. shawn says:

    firebug@meyner.meminisse” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  3. marvin says:

    twotiming@wire.laundry” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  4. Brent says:

    abdominis@gagging.appointees” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  5. Richard says:

    favor@tapis.rodents” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  6. Travis says:

    mittens@suspension.pragmatism” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!…

  7. ronnie says:

    blackout@alertly.whinnied” rel=”nofollow”>.…

    thanks!!…

  8. hubert says:

    mentally@shelf.baggage” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  9. Morris says:

    sharpest@alphonse.animation” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  10. Micheal says:

    puppyish@lordly.ellis” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  11. Felix says:

    tornadoes@masons.unthinking” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  12. ian says:

    appropriated@niece.acknowledged” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!…

  13. พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประà says:

    Wyatt Crayford…

    I found a great……

Leave a Reply