การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนักโลจิสติกส์ และการยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพนักฝึกอบรมสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สู่มืออาชีพ (ตอนที่ 2)

TLAP’s Talk

Professional Human Resource Logistics & Professional Trainer in Logistics and Supply Chain Management

การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนักโลจิสติกส์ และการยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพนักฝึกอบรมสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สู่มืออาชีพ (ตอนที่ 2)

จำเรียง วัยวัฒน์

ก่อนอื่นจะต้องเรียนท่านผู้อ่านให้เข้าใจว่า ที่ผู้เขียนได้ใช้คำว่า การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ เพราะผู้เขียนได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนวิชาชีพโลจิสติกส์ เพื่อได้มาตรฐานสากลและในขณะเดียวกันในปี 58 ประเทศไทยเข้าสู่ AEC ถ้าไม่มีการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่เป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงและการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะส่งผลให้ประเทศไทยไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศในกลุ่ม AEC

อีกคำที่ผู้เขียนได้เขียนไว้คำว่า การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนักฝึกอบรมสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ในสถาบันการศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชนหลายสถาบัน หลายสถาบันขาดอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในสายงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน นอกจากนี้อาจารย์ที่บรรยายหลายสถาบันก็ไม่เคยได้ทำงานจริงในสายงาน หรือในบางครั้งอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานแต่ไม่มีกระบวนงานสอน เพราะ Teacher กับ Trainer มีความแตกต่างกันและเป้าหมายในการเรียนรู้ต่างกันต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้เขียนได้เอาสองเรื่องมาไว้ในเรื่องเดียวกันเป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน และจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป

ก่อนอื่นจะต้องเกริ่นเรื่อง มาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ ต้องเรียนให้ทราบว่า มีสององค์กรที่กำลังดำเนินการและมีทบบาทในการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ องค์กรแรก กระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมืองแรงงาน สถาบันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการส่งเสริมและวัดระดับขีดความสามารถในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพในสาขาโลจิสติกส์

ที่ผ่านมาปี 2555-2556 สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต ได้มีโอกาสได้รับความไว้วางใจจาก กระทรวงแรงงานให้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งสาขาโลจิสติกส์ ใน 4 สาขาประกอบด้วย สาขานักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน สาขานักปฏิบัติการคลังสินค้า สาขาพนักงานขัรถโฟคลิฟท์ น้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน สาขาเจ้าหน้าที่สินค้าคงคลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาที่จะประกาศในในพระราชกิจจา และในปี 2556-2557 สมาคมได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขา โลจิสติกส์ อีก 4 สาขา ได้แก่ สาขานักบริหารงานโลจิสติกส์ สาขานักปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน สาขาเจ้าหน้าที่จัดซื้อและจัดหา และตำแหน่งสุดท้าย สาขาเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าในงานโลจิสติกส์ ขณะอยู่ในกระบวนการการยกร่างซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปีนี้แผนในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาโลจิสติกส์ และโครงสร้าง Logistics Industrial Functional Map

ที่มา สถาบันมาตรฐานฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

การเปรียบเทียบ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาตรฐานวิชาชีพและตำแหน่งงาน

ที่มาสถาบันมาตรฐานฝีมือแรงงาน  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

กรอบการพัฒนาและการรับรอมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของสถาบันมาตรฐานฝีมือแรงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

จากภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ในการพัฒนากำลังคนอย่างมีระบบโดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษา เข้าสู่ตำแหน่งงาน และกระบวนการยกระดับศักยภาพของบุคคลากรเพื่อให้ได้มาตรฐานในวิชาชีพในแต่ละสาขา ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวน้ำ กระบวนการการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในสาขาโลจิสติกส์เท่านั้น และนำเสนอบอกเล่าเก้าสิบต่อตอนที่  3 ครับ

*ล้อมกรอบ

แนวทางการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์

มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ พนักงานบริหารงานโลจิสติกส์

แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ พนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศนี้ สาขาอาชีพ พนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ หมายถึง หมายถึง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่วางแผน ดำเนินการ ควบคุมการปฏิบัติการโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรและตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสมตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ข้อ ๒ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ พนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ

๒.๑ ระดับ ๑ หมายถึง ที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน รายงานผลการปฏิบัติงานรายวันและจัดเก็บแฟ้มข้อมูลงาน สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไปอย่างใกล้ชิด

๒.๒ ระดับ ๒ หมายถึง เป็นผู้ที่สามารถดำเนินงานตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการปฏิบัติงานในระหว่างวัน จัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานรายวัน ทวนสอบข้อมูลการปฏิบัติงาน มอบหมายงาน และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป

๒.๓ ระดับ ๓ หมายถึง ผู้ที่สามารถกำหนดแผนการดำเนินงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานรายวันให้เป็นไปตามแผน ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างการปฏิบัติงาน ประเมินผลการปฏิบัติงาน เสนอแนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา

๒.๔ ระดับ ๔ หมายถึง ผู้ที่สามารถกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติการโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร บริหารงานปฏิบัติการโลจิสติกส์ บริหารต้นทุนการดำเนินงาน ระบุตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน กำหนดแนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติงานโลจิสติกส์ กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และจัดการด้านทรัพยากรบุคคล

ข้อ ๓ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์วัดความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาอาชีพ พนักงานบริหารงานโลจิสติกส์ ให้เป็น ดังนี้

มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 เช่น

1.            ความรู้ ประกอบด้วย ขอบเขตความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน

-              การปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน

-              การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

-              การประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน

-              การรายงานผลการปฏิบัติงานรายวัน

-              การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลงาน

2.            ความสามารถ ประกอบด้วย ขอบเขตความสามารถในการปฏิบัติงาน

-              การปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน

-              การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

-              การประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน

-              การรายงานผลการปฏิบัติงานรายวัน

-              การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลงาน

3.            ทัศนคติ ประกอบด้วย มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

———————————————————————————————————————

อาจารย์จำเรียง วัยวัฒน์

รองนายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต

ประธานคณะทำงานทรัพยกรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ HRL & PSAL

ประธานยกร่างมารตฐานฝีมือแรงงานสาขาโลจิสติกส์และอนุกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาโลจิสติกส์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

You can leave a response, or trackback from your own site.

Leave a Reply