ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน

Need to Know 2

Rules of logic come first

ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน

สุวัฒน์  จรรยาพูน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

“ตรรกะ” เปิดพจนานุกรม ได้ความหมายว่า “ความตรึก” กับ “ความคิด” ส่วนภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า “logic” ส่วน “ตรรกศาสตร์” ก็หมายถึง “ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่” จากความขัดแย้งในบ้านเมืองของเราผมว่าเราใช้ “ตรรกะ” มาทีหลัง “ความเชื่อ” จึงไม่มีการสอบสวน ค้นหา ข้อเท็จจริง ความเชื่อจึงเป็นกลจักรที่สำคัญของการสร้าง “ข่าวลือ” และ “ข่าวลวง” ซึ่งสังคมในปัจจุบันกำลังหลงเข้าสู่กับดักนี้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่กระจายกันใน “social media” ซึ่งมีทั้งการส่งต่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการแชร์ด้วยความตั้งใจให้เกิดแรงกระเพื่อม (แล้วค่อยมาลบหรือขอโทษภายหลัง เมื่อความจริงถูกเปิดเผย) พฤติกรรมการกระจายข่าวลือผิดๆ และถูกจับได้ก็เห็นใช้ศัพท์คำว่า “เงิบ”

กลยุทธ์สร้าง “ข่าวลือ และ ข่าวลวง” ที่ทำกันอยู่นี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องของการตลาดเกี่ยวกับการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ที่ว่า ลูกค้าพร้อมจะกระจายข่าวสารของกิจการออกไป แต่หากข่าวสารนั้นเป็นเรื่องที่ดี ผู้ให้ข่าวก็จำเป็นต้องรับผิดชอบและอธิบายได้ถึงความดีนั้นได้ ข่าวจึงถูกส่งต่อกันไปอย่างช้าๆ แต่หากข่าวสารนั้นเป็นเรื่องร้าย การกระจายของข่าวจะรวดเร็วเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยเหตุเพราะผู้ให้ข่าวมักจะรับผิดชอบเพียงว่า “ฟังเขามาอีกต่อหนึ่ง จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้” ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ การชมภาพยนตร์ หากเป็นเรื่องที่ดี สนุก และได้ชมแล้วก็จะพร้อมที่จะเล่าต่อ แต่ถ้ายังไม่ได้ชมก็จะอยู่เฉยๆ และตอบไปว่า “ยังไม่ได้ดู” แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สนุก หากมีใครถามว่า “หนังเรื่องนี่เป็นอย่างไร” แม้ว่ายังไม่ได้ดูก็จะตอบไปว่า “เห็นเขาว่ากันว่าไม่สนุก” บางครั้งมีการกำชับเพิ่มอีกด้วยว่า “อย่าไปดูเลย”

การเสพข่าวสารในยุคปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมี “ตรรกะ” เสียก่อน ซึ่งผมคิดว่าป็นเรื่องพื้นฐานของทุกศาสตร์ การหลงประเด็นของเรามักจะเกิดมาจาก “การติดกับดักของความเคยชิน” ส่วนเรื่องราวของบ้านเราน่าจะเป็น “การติดกับดังของความชัง” จึงละเลยที่จะคิดอย่างมีเหตุมีผลไป ผมชอบเรื่องเล่าจากโลกสังคมออนไลน์ ที่เป็นเรื่องของไอน์สไตน์ เลยไปคัดลอกมาจาก http://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=C43379 เล่ากันว่า

ในห้องเรียนวันหนึ่ง ไอน์สไตน์ถามนักเรียนว่า “มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน”

นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า “ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ”

ไอน์สไตน์ พูดว่า “งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆ เลย ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่”

นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า “อ้อ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย ….. ถูกไหมครับ ….”

ไอน์สไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคน ต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้ ไอน์สไตน์ ค่อยๆ พูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล “คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก นี่แหละที่เขาเรียกว่า “ตรรกะ” เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล แห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ “ตรรกะ” จะหาตรรกะได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจาก “พันธนาการของความเคยชิน” หลบเลี่ยงจาก “กับดักทางความคิด” หลีกหนีจาก “สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง” ขจัด “ทิฐิแห่งกมลสันดาน” จะหา ตรรกะ ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมดที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้

เมื่อมาลองคิดถึงเรื่องของ “โซ่อุปทาน” จะพบว่าความสำเร็จเบื้องต้นนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมี “ตรรกะ” ขึ้นมาก่อน เพื่อขจัดกับดักทางความคิด เพราะอุปสรรคที่สำคัญของ “โซ่อุปทาน” อยู่ที่การขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ซึ่งมักจะไม่ได้รับการสนับสนุน และมักจะอ้างถึงกฎระเบียบ

ในรอบปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เข้าชมและศึกษาดูงานโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เห็นได้ชัดถึงข้อเปรียบเทียบ และแนวความคิดของผู้บริหาร ในภาครัฐจะได้ยินเสมอถึงความคล่องตัวของเอกชน และโรงพยาบาลเอกชนเกือบทุกแห่งผู้บริหารก็ล้วนมาจากโรงพยาบาลของรัฐ แต่การไม่ก้าวข้ามพันธนาการต่างๆ จึงส่งผลให้โรงพยาบาล (รวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ) ของภาครัฐมีการใช้ทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ

ผมได้ยินบ่อยๆ ถึง อุปสรรคที่ว่า โรงพยาบาลของรัฐ มีจำนวนผู้ป่วยมาก สถานที่คับแคบ มีหลายอาคาร หลายแผนก (Ward) ไม่มีการวางแบบแปลน ทำให้การบริหารจัดการทำได้ยาก แต่เมื่อไปที่โรงพยาบาลเอกชน ก็พบว่า อาคารที่สร้างขึ้น “ก็ขึ้นเป็นดอกเห็ด” หมายถึง ตรงไหนมีที่ว่างก็จะสร้างอาคาร ซึ่งไม่ได้แตกต่างอะไรกับโรงพยาบาลรัฐ หรือธุรกิจอื่นๆ

ลองมาพิจารณากระบวนการ “โลจิสติกส์ในโรงพยาบาล” ดูบ้าง จะพบเห็นการเคลื่อนย้ายระหว่างอาคารของแต่ละ “วอร์ด” ของโรงพยาบาลรัฐ ถูกกระทำด้วย พนักงานประจำวอร์ดมีประมาณ 2 คนต่อวอร์ด ทำหน้าที่คล้ายๆ แม่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่ เดินส่งเอกสาร และวัสดุภัณฑ์ ต่างๆ รวมถึงการปัดกวาดเช็ดถู ซึ่งดูแล้วเหมือนยุ่งและมีงานทำทั้งวัน ซึ่งหากแผนกใดมีผู้ป่วยมากก็จะมีงานมาก แต่ถ้าผู้ป่วยน้อยลงก็จะว่างมากขึ้น แต่มีข้อดีก็คือ มีความคล่องตัวในการเรียกใช้

แต่เมื่อได้ไปที่โรงพยาบาลเอกชน หน้าที่เดินส่งของและเอกสารนี้ กลายเป็นแผนกหนึ่งที่ให้บริการทุกแผนกในโรงพยาบาล และพร้อมจะเดินทางข้ามไปโรงพยาบาลสาขาอื่นได้ด้วย ส่วนงานแม่บ้านปัดกวาดเช็ดถูก็จะเป็นอีกหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือไม่ก็จ้างบริษัทภายนอกมาดูแลแทน ซึ่งการรวมศูนย์เช่นนี้ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดการสร้างสมดุลด้านการขนส่งระหว่างแผนกได้ดีขึ้น ซึ่งทางโรงพยาบาลเอกชนก็แจ้งว่าจะมีการชดเชยเรื่องของความคล่องตัวในการเรียกใช้งาน ด้วยการรับประกันเวลาว่าภายในไม่เกิน 15-30 นาที จะดำเนินการแล้วเสร็จในกรณีไม่เร่งด่วน ถ้าเร่งด่วนก็สามารถให้บริการได้เร็วกว่านี้ การให้บริการในรูปแบบนี้ ทางโรงพยาบาลยังบอกอีกว่าเขาไม่ได้ให้บริการเพียงแค่โรงพยาบาลเขาเพียงอย่างเดียว ยังให้บริการอีก 2-3 แห่งด้วย

ด้านการจ่ายยาพบว่า คลังยาของโรงพยาบาลรัฐเกือบทุกแห่งมีขนาดใหญ่กว่าคลังยาของเอกชน แม้แต่โรงพยาบาลชุมชนตามต่างจังหวัด ก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่สำคัญเรามักจะได้ยินเสมอว่า “คลังยาคับแคบ” แต่เมื่อลองสอบถามถึงปริมาณการเก็บ พบว่าโรงพยาบาลภาครัฐเก็บสต๊อคยาอยู่ที่ 1-2 เดือน ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนทำได้ที่ 1-2 สัปดาห์ โดยที่ระยะเวลาการส่งมอบสินค้าจากซัพพลายเออร์ก็ใกล้เคียงกัน คือ 3-7 วัน และคลังยาก็ยังให้บริการโรงพยาบาลอื่นอีก 2-3 แห่งด้วยเช่นกัน

ด้านงานเวชกรรมปลอดเชื้อ โรงพยาบาลของรัฐมีอุปกรณ์ต้องฆ่าเชื้อมากมาย อุปกรณ์หลายอย่างก็มีเจ้าของทั้งๆ ที่สามารถใช้แทนกันได้ เช่น กรรไกรของ วอร์ด A จะไปสลับกับ วอร์ด B ก็ไม่ได้ หรือเมื่อทำการล้างแผล แพทย์/พยาบาลก็ชอบใช้คีมแสตนเลส แต่เมื่อแพทย์/พยาบาล (คนเดียวกันนี้) ไปทำงานที่เอกชนก็ใช้ชุดทำแผลฆ่าเชื้อสำเร็จรูปมีคีมเป็นพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ซึ่งการใช้ชุดทำแผลสำเร็จรูปจะประหยัดต้นทุนมากกว่าการฆ่าเชื้อเองในโรงพยาบาล (เนื่องจากโรงงานสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก เกิดการประหยัดจากขนาด)

ในส่วนของโรงพยาบาลนี้จะพบว่าผมมีความสงสัยลดลงไปมาก ในเรื่องของการใช้ทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องมาจากความเคยชิน และการส่งต่อข้อจำกัดนี้มาในแต่ละรุ่น และความกระจ่างที่ได้อีกระดับหนึ่งก็คือ คำถามที่ว่า องค์ความรู้ด้านการจัดการคลังสินค้า และสินค้าคงคลัง มีการอบรมให้กับพนักงานในคลังยาหรือไม่ พบว่าโรงพยาบาลเอกชนมีการเพิ่มเติมความรู้นี้ แต่ภาครัฐส่วนใหญ่ใช้วิธีครูพักลักจำและเรียนรู้เอง

การก้าวข้ามกับดักทางความคิดจำเป็นต้องใช้ “ตรรกะ” เข้ามาช่วยคิดทบทวน สืบค้น ก้าวข้ามฉากที่จัดไว้บังตา และเมื่อพ้นพันธนาการต่างๆ การพัฒนาองค์กรด้วยจินตนาการก็จะนำพาไปสู่ความบรรเจิด ตามคำคมที่ผมคัดลอกมาจากเว็ปกระปุกดอทคอมของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า “Logic will get you from A to B. Imagination will take you everywhere.– ตรรกะจะพาคุณเดินทางจากจุด A ไปจุด B ได้ แต่จินตนาการจะพาคุณเดินทางไปได้ทุกที่”

************************************************************

You can leave a response, or trackback from your own site.

19 Responses to “ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน”

  1. daryl says:

    agricolas@solitude.eriksons” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  2. luis says:

    hosses@tony.swaggering” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  3. richard says:

    groat@scholarship.maddening” rel=”nofollow”>.…

    спс за инфу!!…

  4. tony says:

    refine@tallahoosa.hodosh” rel=”nofollow”>.…

    благодарствую….

  5. Isaac says:

    inexhaustible@yorktown.intermarriage” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  6. dean says:

    islandia@laxative.nouvelle” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  7. armando says:

    oyster@pussycat.wardens” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  8. oscar says:

    dred@anterior.rankles” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  9. ross says:

    achaeans@germs.eben” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  10. bill says:

    titre@pittsburgh.prefaced” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  11. Clinton says:

    associated@calmer.overorunder” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  12. fred says:

    limbo@extenuate.tahses” rel=”nofollow”>.…

    thanks!…

  13. jeremiah says:

    irritation@obscenity.reflects” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  14. Kenneth says:

    advisory@disrupted.fiedgling” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  15. steven says:

    triangular@butterwyn.frowningly” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  16. ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buy Usa Proxy…

    I found a great……

  17. ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Flossie Somsy…

    I found a great……

  18. ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buyproxy…

    I found a great……

  19. ต้องมี “ตรรกะ” ก่อน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Proxies For Scrapebox…

    I found a great……

Leave a Reply