การใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อเป็นท่าเรืออัจฉริยะ

Logistics Knowledge 2

The Application of RFID Technology for a Smart Port System

การใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อเป็นท่าเรืออัจฉริยะ

  • บทความนี้เรียบเรียงมาจากงานวิจัยเรื่อง RFID based model for an intelligent port มีผู้วิจัยได้แก่ Joseph K. Siror, Sheng Huanye, และ Wang Dong ตีพิมพ์ในวารสารวิจัย Computers in Industry ฉบับที่ 62 ปี 2011 หน้า 795-810
  • ผู้เรียบเรียง: นางสาวจันทร์เพ็ญ วงศาโรจน์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบัณฑิตวิทยาการจัดการและนวัตกรรม(GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั่วโลกในปัจจุบันนี้มีองค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพิธีการทางศุลกากรที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ การอำนวยความสะดวกของการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างเขตแดนในแต่ละประเทศ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายของแต่ละประเทศ รายได้ที่เกิดจากการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้า-ส่งออก รวมไปถึงมาตรการในการป้องกันการก่อการร้ายเพื่อป้องกันความสูญเสียหรือเสียหายของสินค้าที่มีการขนส่งจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการบริหารจัดการขนส่งสินค้าในแต่ละประเทศ การขนส่งทางน้ำที่มีปริมาณสินค้าในแต่ละท่าเรือจำนวนมาก รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารท่าเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปริมาณสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้การควบคุมหรือการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าทางเรือตลอดกระบวนการมีข้อจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยของสินค้า

ท่าเรือมอมบาซา (Mombasa port) เป็นท่าเรือที่มีความหนาแน่นของปริมาณสินค้าที่เข้าออก เพราะเป็นท่าเรือที่รองรับสินค้าของอาฟริกาตะวันออกและอาฟริกากลาง อีกทั้งยังเป็นท่าเรือที่เป็นหน้าด่านในการขนถ่ายสินค้าไปยังประเทศที่มีเขตแดนติดต่อกันไม่ว่าจะเป็นเคนยา อูกันดา รวันดา สาธารณรัฐคองโก และประเทศอื่นๆ อีกมากมายในทวีปอาฟริกา ด้วยปริมาณสินค้าที่มีจำนวนมากในแต่ละวัน จึงทำให้ท่าเรือมอมบาซาแห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารท่าเรือเพื่อให้สามารถขนถ่ายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ระบบการติดตามสถานะของสินค้าเพื่อตรวจสอบสถานะและควบคุมความปลอดภัยของสินค้าที่เข้าหรือออกจากท่าเรือแห่งนี้

สาเหตุที่ทำให้ท่าเรือมอมบาซาแห่งนี้ถูกเลือกในการนำมาเป็นต้นแบบการพัฒนาเนื่องจาก

  • เป็นท่าเรือที่ให้บริการสำหรับหลายประเทศซึ่งมีทั้งระดับความแน่นอนและไม่แน่นอนของสินค้าที่มีความหลากหลาย
  • เป็นท่าเรือที่อยู่ในประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันในทวีปอาฟริกาที่มีความเสี่ยงหรือรอยรั่วในการลักลอบนำสินค้าชิ้นเล็กๆ หรือสินค้าอันตรายผ่านได้
  • ประเทศต่างๆ ในทวีปอาฟริกาที่ใช้ท่าเรือแห่งนี้มีการเรียกเก็บอัตราภาษีศุลกากรของแต่ละประเทศในอัตราที่สูง ซึ่งบางประเทศมีอัตราภาษีอากรนำเข้าสูงกว่า 40%
  • ท่าเรือแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เป็นชายฝั่งและมีความสงบในขณะที่ประเทศต่างๆ ในทวีปแห่งนี้มีการโจมตีโดยโจรสลัดอย่างแพร่หลาย มีการขนส่งยาเสพติด รวมไปถึงมีอาชญากรรมจำนวนมาก
  • มีการลักลอบนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุระเบิดหรือยาเสพติดผ่านเข้าออกในประเทศต่างๆ ในทวีปนี้อย่างอิสระ

ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้ได้กล่าวถึงการเลือกใช้ท่าเรือมอมบาซาในการเป็นต้นแบบของท่าเรืออัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นสิ่งใหม่มาใช้เพื่อบริหารท่าเรือในภาพรวม รวมทั้งการควบคุมความปลอดภัยของการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออกของท่าเรือแห่งนี้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองปริมาณความต้องการของจำนวนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นของการค้าปัจจุบันได้ อีกทั้งระบบ RFID นี้ยังสามารถแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการตรวจสอบสถานะของสินค้าได้ในทุกสภาวะ เช่น หิมะ น้ำแข็ง การเกิดหมอก ภายในตู้คอนเทนเนอร์ ในรถบรรทุก ในคลังสินค้าหรือในท่าเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นความได้เปรียบของเทคโนโลยีนี้คือการไม่ต้องใช้คนในการติดต่อ สามารถติดตามและควบคุมสินค้าภายในพื้นที่ให้บริการได้โดยอยู่ตรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็ได้

เทคโนโลยี RFID เกิดขึ้นเมือในปี 1980 เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุเป็นตัวกลางนำข้อมูลเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดคือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (Tag) และเครื่องอ่านข้อมูล (Reader) นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการบริหารจัดการข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เนต ซึ่งเทคโนโลยี RFID นี้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ทั้งในภาคการผลิต และด้านโลจิสติกส์ มีการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายเนื่องจากทำให้ต้นทุนของการบริหารจัดการต่ำลง ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID นี้ก่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น พัฒนาปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้เกิดคุณค่าในระบบบริหารจัดการซัพพลายเชน เป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ขจัดปัญหาของความไม่มีประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน สร้างกรอบการทำงานโดยมีความร่วมมือ การวางแผน การติดตามและการลงมือปฎิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการทำงานแบบตอบสนองทันที และยังเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมในกระบวนการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในอนาคต โดยติดความเป็นอัจฉริยะของ RFID ไว้บนพาเลทหรือตู้ คอนเทนเนอร์ในการเคลื่อนย้ายสินค้า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจากแหล่งต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ เช่นการนำอุปกรณ์ RFID ติดไปบนผลิตภัณฑ์เพื่อต้องการทราบข้อมูลวัฎจักรชีวิต (Life Cycle) ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

สืบเนื่องจากระบบซัพพลายเชนทั่วโลกมีรูปแบบการเชื่อมต่อที่มีทั้งประสิทธิภาพและความเสี่ยง เนื่องจากมีปริมาณการนำเข้าและส่งออกมากกว่า 15 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ อย่างต่อเนื่องในจำนวน 46,000 สายเรือโดยผ่านท่าเรือสากลกว่า 4,000 แห่งทั่วโลก ซึ่งแต่ละจุดเชื่อมต่อของท่าเรือในระบบซัพพลายเชนมีความหลากหลายของภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดการก่อการร้าย ซึ่งทำให้ผู้บริหารท่าเรือทั่วโลกตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน ซึ่งอาจมีผลจากการหยุดชะงักของระบบซัพพลายเชนได้ ภัยของการก่อการร้ายนี้เป็นความเสี่ยงที่ยากจะจัดการให้หมดได้ แต่อย่างไรก็ตามท่าเรือต่างๆ และศุลกากรทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงของการก่อการร้ายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประเทศ และระบบซัพพลายเชน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเคลียร์สินค้าเข้าและออกจากท่าเรือ

ซึ่งโดยทั่วไประบบการบริหารสินค้าของท่าเรือต่างๆ ทั่วโลกได้ถูกออกแบบสำหรับการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลกำไรแต่มิได้ออกแบบเพื่อรองรับความปลอดภัย ทำให้ระบบศุลกากรและการบริหารท่าเรือมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงสูงและก่อให้เกิดผลกระทบในระบบซัพพลายเชนได้ เพราะศุลกากรจะมีบทบาทในการควบคุมสินค้าที่มีข้อห้ามข้อจำกัดเพื่อการเรียกเก็บภาษีอากรที่ถูกต้องจากการสำแดงราคาที่ถูกต้องเท่านั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการ รวมทั้งมีการวิจัยเพื่อค้นหาเครื่องมือนำมาเพื่อขจัดปัญหาและความท้าทายเหล่านี้

ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากระบบอัจฉริยะนี้มิใช่ประโยชน์ที่ได้จากระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นการลดความไม่สะดวกของระบบในรูปเดิมที่ใช้คนหรือเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติได้ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของปริมาณสินค้าหรือความเสี่ยงของสินค้าที่อาจถูกขโมย ลักลอบนำเข้าโดยไม่เสียภาษี หรือต่อต้านการก่อการร้ายได้ ซึ่งในอนาคตจะเป็นมาตรฐานของการจัดการโลจิสติกส์เพื่อใช้ในการควบคุมความปลอดภัยของสินค้าได้ นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาเพิ่มเติมโดยการนำเอาเทคโนโลยี RFID (RFID) ผนวกเข้ากับระบบจีพีเอส(GPS) ระบบเซ็นเซอร์(SENSOR) และระบบจีพีอาร์เอส(GPRS) ซึ่งระบบนี้ถูกเรียกว่า Tamper Resistant Embedded Controller (TREC) ซึ่งได้ถูกออกแบบเพื่อใช้ควบคู่กับซอร์ฟแวร์สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งสินค้าทางทะเลอีกด้วย

ระบบศุลกากรของประเทศเคนยา ได้ริเริ่มนำระบบ RFID มาใช้เพื่อการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าจากท่าเรือมอมบาซาไปยังเขตแดนของประเทศเคนยา โดยเลือกนำอุปกรณ์ RFID มาใช้ทดสอบ 2 ระบบ คือ

1. ระบบ “The Relevant Time Tracking System” (RTS) เป็นระบบ RFID ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย หรือเครื่องอ่านข้อมูลที่ท่าเรือและจุดที่สำคัญตลอดเส้นทางการขนส่ง และใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (tag) หรือซีลอิเล็คทรอนิกส์ในการติดตามและควบคุมสินค้าบนรถบรรทุก เมื่อรถบรรทุกหรือตู้คอนเทนเนอร์ผ่านอุปกรณ์เครื่องอ่านข้อมูลก็จะส่งสัญญาณและเพื่อแจ้งสถานะของสินค้า

2. ระบบ “The Real Time Location and Tracking System” เป็นระบบ RFID อีกประเภทหนึ่งที่คล้ายกับระบบ RTS แต่แตกต่างที่อุปกรณ์นี้จะสามารถแจ้งสถานะของตู้คอนเทนเนอร์หรือรถบรรทุกได้แบบทันที เนื่องจากในอุปกรณ์ดังกล่าวนอกจากจะมีระบบ RFID แล้ว ยังมีการอ่านข้อมูลด้วยเครื่องอ่านในตัวเองและสามารถส่งข้อมูลแจ้งสถานะได้แบบทันทีในทุกระยะโดยใช้ระบบจีพีอาร์เอส (GPRS) เป็นตัวส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบโครงข่าย ซึ่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในท่าเรือที่มีระบบบริหารจัดการโดยใช้คน เนื่องจากระบบนี้จะมีประโยชน์ในการบริหารจัดการตั้งแต่สินค้ามาถึงท่าเรือ การควบคุมการจัดการสินค้า การตรวจสอบ จนกระทั่งการนำสินค้าออกท่าเรือ แบบอัตโนมัติ

การใช้เทคโนโลยี RFID สำหรับการเป็นต้นแบบท่าเรืออัจฉริยะนี้ได้ถูกออกแบบเป็นโมเดลโดยเรียกว่า “Kipkalya Intelligent Customs Port Model” หรือ K-ICPM ซึ่งได้เลือกใช้ระบบ RFID เพื่อจำลองสถานการณ์ในการควบคุมความปลอดภัยของสินค้าตั้งแต่การนำสินค้าลงจากเรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในท่าเรือ จนกระทั่งนำสินค้าออกจากท่าเรือ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบว่าระบบนี้จะสามารถบอกสิ่งต่างๆ ที่ต้องการทราบดังต่อไปนี้ได้หรือไม่

  • มีสินค้าอะไรบ้างที่มาถึงท่าเรือ
  • มีสินค้าอะไรบ้างที่ผ่านเข้ามาในท่าเรือ
  • สินค้าอะไรที่อยู่ในท่าเรือ
  • สินค้าอะไรที่กำลังจะออกจากท่าเรือ
  • ข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย สามารถระบุความเสียหายที่ชี้วัดได้
  • สามารถแจ้งเตือนถึงการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดและรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้
  • สามารถติดตามสถานะของสินค้าที่อ่อนไหวหรือสินค้าที่เน่าเสียง่ายได้
  • สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญหรือระบุความเสียหายที่สามารถชี้วัดได้เมื่อต้องการ
  • สามารถแจ้งเตือนเมือต้องการทราบถึงการผ่านเข้าไปยังพิ้นที่ที่กำหนดได้

ในการออกแบบจำลองระบบดังกล่าวมีการทำงานโดยมีระบบและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องคือ

1. เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในระบบมีดังนี้

1.1 Cargo Shipment tag/Electronic Seal (ซีลอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ใช้ควบคุมสินค้า) เป็นระบบ Active ภายใต้มาตรฐาน ISO17363/18185 และ ISO18000-7 โดยมีคลื่นความถี่วิทยุในช่วง 433 MHz

1.2 Asset or Item tags เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่มีความเป็นอัจฉริยะที่สูงขึ้นใช้สำหรับสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงซึ่งจะมีการติดอุปกรณ์ sensor เพื่อให้สามารถตรวจสอบสินค้าได้ตลอดเวลา ภายใต้มาตรฐาน ISO18007

1.3 License plate tag ใช้สำหรับการติดตามรถบรรทุกหรือใช้สำหรับอุปกรณ์ที่ทำการยกสินค้าออกจากท่าเรือ

1.4 RFID Infrastructure in the port เป็นระบบโครงข่ายอัตโนมัติสำหรับเครื่องอ่านบันทึกข้อมูล (RFID reader) ซึ่งมีระยะการอ่านข้อมูลของจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ในระยะ 100-150 เมตร

1.5 Communication Infrastructure เป็นระบบโครงข่ายสำหรับการส่งข้อมูลสัญญาณจากซีลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบศูนย์กลางบริหารจัดการและควบคุม (Central Processing and Control Center–CPCC)

1.6 ระบบจำลองนี้ได้ขอใช้ EPC Global Architecture Framework ในกระบวนการทำงานต่างๆ ด้วย

2. การออกแบบระบบย่อย ประกอบด้วย

2.1 ระบบศูนย์กลางบริหารจัดการและควบคุม (Central Processing and Control Center–CPCC) เป็นระบบที่เป็นหัวใจหลักในการควบคุมและประสานงานการรับ-ส่งข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกระบบ รวมไปถึงเชื่อมต่อกับระบบศุลกากรที่อยู่เบื้องหลัง โดยระบบนี้จะทำการรับข้อมูลการอ่านอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือ ซีลอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องอ่านข้อมูลทุกตัว ทำการคัดกรอง แยกประเภทและวิเคราะห์ประมวลผลระหว่างอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือ ซีลอิเล็กทรอนิกส์กับแผนที่และทำการแจ้งข้อมูลสถานะของสินค้าที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตส่งไปยังระบบ LMCM

2.2 ระบบการบริหารและควบคุมการเคลื่อนที่ของสินค้าในแต่ละพื้นที่ (Location Movement Control and Management–LMCM) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการประมวลข้อมูลและสถานะของสินค้าที่อยู่ในท่าเรือทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต ติดตามสถานะของอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือซีลอิเล็กทรอนิคส์และรายงานหากมีสินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่

2.3 ระบบการควบคุมและติดตามสินค้าที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Goods Control and Monitoring – SGCM) ระบบนี้ทำหน้าที่ในการติดตามสินค้าที่เน่าเสียได้ง่ายและสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง โดยระบบนี้จะทำหน้าที่ในการติดตามสินค้าที่ติดซีลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวจับสัญญาณ ซึ่งใช้เฉพาะสินค้าที่เน่าเสียง่ายและสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง หากระบบนี้ตรวจพบสิ่งผิดปกติจะทำหน้าที่ในการแจ้งเตือนและส่งข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.4 ระบบการบริหารจัดการและควบคุมสินค้า (Cargo Handling Control and Management–CHCM) ระบบนี้จะทำหน้าที่ในการแนะนำคนขับรถโฟล์คลิฟท์หรือรถบรรทุกในการใช้เส้นทางที่จะเข้าไปหยิบสินค้า ซึ่งรถบรรทุกหรือรถโฟล์คลิฟท์จะต้องมีการติดสัญญาณนำทางด้วย โดยระบบนี้จะเชื่อมต่อข้อมูลการอ่านซีลอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการหยิบสินค้าผิด ซีลอิเล็กทรอนิกส์จะแจ้งผลไปยังระบบ CPCC เพื่อทำการควบคุมและแจ้งเตือนไปยังพนักงานขับรถบรรทุกหรือรถโฟล์คลิฟท์ทันที

2.5 ระบบการบริหารตรวจสอบและปล่อยสินค้า (Verification Control and Release Management – VCRM) ระบบนี้ทำหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบสินค้า หากพบว่าสินค้ามิได้ทำการเคลียร์ตามระเบียบหรือข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ระบบจะทำการแจ้งเตือนเพื่อมิให้สินค้าดังกล่าวเคลื่อนย้ายออกจากท่าเรือ

นอกจากนี้ ยังมีระบบสนับสนุนอื่นๆ อีกเช่น ระบบสุ่มตรวจโดยแบ่งสถานะของการตรวจเป็นสัญญาณสีต่างๆ เช่น 90% ของสินค้าทั้งหมดที่ไม่สงสัยจะแสดงผลสีเขียว 20 %ที่มีความสงสัยจะทำการตรวจสอบซึ่งจะต้องผ่านเครื่อง X-RAY เพื่อทำการตรวจสอบเกี่ยวกับอาวุธและยา รวมทั้ง 1% เป็นสีแดงก็ต้องทำการตรวจสอบและผ่านเครื่อง X-RAY ด้วยเช่นกัน

ก่อนการดำเนินการใช้เทคโนโลยี RFID สำหรับการเป็นต้นแบบท่าเรืออัจฉริยะที่ท่าเรือมอมบาซาแห่งนี้ ได้มีการจำลองสถานการณ์เพื่อทำการทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือซีลอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องอ่านบันทึกข้อมูล และระบบสนับสนุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โดยได้ทำการจำลองสถานการณ์และทำการทดสอบภายใต้อุปกรณ์ ระบบ และเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบนี้สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย รองรับปัญหา และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ต่างๆ โดยผลของการทดสอบจำลองสถานการณ์ ยังคงพบข้อจำกัด เช่น กรณีที่รถบรรทุกเข้ามาในท่าเรือโดยมิได้ใช้ซีลอิเล็กทรอนิกส์ การติดตามสถานะของสินค้าที่มีความเสี่ยง หรือเน่าเสียง่ายควรต้องมีการติดสัญญาณเพื่อตรวจสอบไว้ในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิหรือความชื้นของสินค้า รวมไปถึงต้องสามารถแจ้งเตือนหากพบสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งได้นำข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้มาพัฒนาปรับปรุงก่อนมีการใช้ระบบจริง

จากงานวิจัยนี้ ทำให้เห็นว่าสามารถนำเทคโนโลยี RFID ไปใช้ในระบบการจัดการซัพพลายเชน เช่น ระบบการขนส่ง ทั้งทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีนี้จะเกิดผลสัมฤทธิ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานในแต่ละองค์กร การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล ระเบียบหรือข้อกำหนดขององค์กร เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการใช้เทคโนโลยี RFID สำหรับการเป็นต้นแบบท่าเรืออัจฉริยะที่ท่าเรือมอมบาซาแห่งนี้ก็ได้มีการออกแบบกระบวนการทำงานของระบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานหรือระเบียบปฏิบัติของท่าเรือและศุลกากรของประเทศเคนยา รวมทั้งได้มีการจำลองสถานการณ์เพื่อทดสอบอุปกรณ์และระบบก่อนมีการใช้งานจริงเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ระบบสามารถรองรับปัญหาหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกๆกระบวนการในท่าเรือและระบบศุลกากร รวมทั้งสามารถครอบคลุมถึงความปลอดภัยของสินค้าซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญได้หรือไม่

ต้นแบบของการบริหารท่าเรือมอมบาซาหรือ KICPM model นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับท่าเรือต่างๆ ทั่วโลกในการบริหารจัดการปริมาณเข้าออกของเรือ รถบรรทุก หรือข้อมูลความหลากหลายของสินค้าที่อยู่ในระบบให้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้เกิดต้นทุนที่ลดลง อีกทั้งเป็นการรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งความรวดเร็วและสะดวกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติแทนการทำงานด้วยคน หรือเอกสารต่างๆ จะเป็นการทำให้เกิดความคุ้มค่าของการลงทุน เกิดผลกำไรที่มากขึ้น และสร้างรายได้ให้แก่องค์กร รวมทั้งยังสามารถขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานด้วยคนหรือลดปริมาณเอกสาร หรือการเสียเวลาในการค้นหาข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าที่เคลื่อนย้ายอยู่ในระบบซัพพลายเชนในปัจจุบันและอนาคตได้

You can leave a response, or trackback from your own site.

10 Responses to “การใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อเป็นท่าเรืออัจฉริยะ”

  1. Troy says:

    martin@strafaci.shadowing” rel=”nofollow”>.…

    спс за инфу….

  2. Alexander says:

    plantations@pandellis.towne” rel=”nofollow”>.…

    благодарствую!!…

  3. Tom says:

    renunciations@bonaparte.dexamethasone” rel=”nofollow”>.…

    спс за инфу!…

  4. salvador says:

    soe@midsummer.rationality” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  5. Bob says:

    footer@moving.serloin” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  6. Shannon says:

    whigs@cusp.mustache” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!!…

  7. Glen says:

    plain@seasoned.proprietorships” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  8. Kent says:

    architecture@undo.gershwins” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  9. best chatbot says:

    best chatbot…

    Get service from the wonderful chatbot marketing that’s currently available in addition at great prices today!…

  10. click site says:

    click site…

    Get moving now with with need to sell my house fast that is currently available and reasonably priced for today only!…

Leave a Reply