“พอเหมาะ … พอดี … บริหารพื้นที่การยืนระยะ”

Guru vision

Appropriately…standing area management

“พอเหมาะ … พอดี … บริหารพื้นที่การยืนระยะ”

ฐิติมา ตันติกุลสุนทร

ภาพบรรยากาศกิจกรรมในสวน มีธรรมชาติเป็นครู เรียนรู้การ เป็น.. อยู่.. คือ.. บนจุดที่เหมาะสม ปรับตัวให้ทันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หากเราหาจุดที่ทำให้คนอื่นอยู่ได้ เราเองอยู่ได้ แปลว่าทุกคนอยู่ได้ นั่นเป็นจุดลงตัวที่จะยืนระยะอยู่ได้นานที่สุด ลองมาดูแบบอย่างการสร้างดุลยภาพต่อกันและกันค่ะ

แผ่นไม้กระดานขนาดใหญ่ หนาพอที่จะรับน้ำหนักได้พอควร ข้างใต้มีไม้ซุงวางรองอยู่ตรงกลาง เป็นฐานที่จัดไว้ให้ทดสอบการทรงตัว ทำให้นึกถึงไม้กระดกหมู่ เล่นได้ทีละหลายๆ คน  จากนั้นก็แบ่งคนออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ สิบคน หุ่นและน้ำหนักคละกัน ให้ทั้งหมดขึ้นไปยืนบนแผ่นไม้กระดานนั้น โจทย์คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ระดับไม้กระดานนิ่ง ซึ่งแปลว่า ทั้งสองกลุ่มซ้าย-ขวาจะต้องปรับน้ำหนักและระดับให้พอดี  ทุกคนพยามขยับตัวคนละนิด เคลื่อนหาตำแหน่งสมดุล ไม่สำคัญว่าใครตัวใหญ่ ตัวเล็ก ใครอ้วนหรือผอม ทุกคนมีหน้าที่ยืนบนกระดานเดียวกัน ใช้เวลาอยู่ซักพัก ก็สามารถรักษาระดับนิ่งไว้ได้ ทุกคนก็เฮ ด้วยความดีใจ

แต่เอ๊ะ.. ถ้าโจทย์เปลี่ยนล่ะ โดยให้คนตัวใหญ่ก้าวออก อ้าว … แผ่นไม้เริ่มเอียง ที่เหลือหันมองหน้ากัน ก็ต้องขยับกันอีกละ บางคนถามในใจว่า “ใครต้องเป็นคนขยับนะ รอให้เพื่อนขยับก่อนดีกว่าไหม” แต่ความจริงขณะนั้น รอไม่ได้ ไม้เอียงลาดจนแทบจะเททุกคนตกกระดาน ไม่มีเวลาเกี่ยงกันแล้ว หันมาเฉลี่ยน้ำหนัก บ้างเดินหน้า-บ้างถอยหลัง สายตาคอยมองเพื่อนด้วยว่าเพื่อนยืนได้ไหม จนในที่สุด กระดานนิ่งอีกครา ทุกคนดีใจเหมือนเอาชนะเกมได้ในขณะเดียวกันก็รู้สึกโล่งใจ ผ่อนคลาย และเมื่อโจทย์เปลี่ยนอีกครั้ง คราวนี้ให้เด็กตัวเล็กออก ไม่น่าเชื่อว่าทั้งสิบแปดคนที่เหลือ สามารถปรับตัวให้นิ่งได้อย่างรวดเร็ว เพราะดูแล้วมีคนต้องขยับน้อยมาก

จากการที่ต้องปรับกันครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้ทุกคนเรียนรู้และนำบทเรียนมารับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเข้าใจ เพราะรู้จุดปรับ รู้วิธีการกระจายน้ำหนัก รู้ว่าจะรักษาสมดุลได้อย่างไร สุดท้ายก็ตีโจทย์แตก เฉกเช่นการร่วมงานในองค์กรเดียวกัน ทุกคนมีความสำคัญอย่างแน่นอน แม้รับผิดชอบงานไม่เหมือนกัน แต่ต่างทำหน้าที่และกำลังมุ่งสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน ต้องปรับตัวเข้าหากัน บริหารความแตกต่าง ประคับประคองเพื่อสร้างดุลยภาพให้เกิดความพอใจในระดับที่เหมาะสม องค์กรใดมีพนักงานร่วมกันรักษาระดับสมดุลนี้ไว้ได้นานเท่าไหร่ องค์กรนั้นก็สามารถเติบโตและอยู่อย่างยั่งยืนได้นานเท่านั้น

การปรับตัวและสร้างภาวะอย่างเหมาะสม มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ลองหันมองรอบๆ ตัว ยังมีอีกหลายมุมในธรรมชาติ ที่กำลังทำหน้าที่อย่างรู้หน้าที่ พวกเราไม่เคยเห็นดวงอาทิตย์เกเรใช่ไหม ตื่นขึ้นมาก็จะยิ้มแฉ่งในทุกเช้า สาดแสงให้พื้นดินได้ไออุ่น สลับกับดวงจันทร์ที่มาเปลี่ยนเวรตอนกลางคืน เพื่อให้ทุกชีวิตได้พักผ่อนอย่างสบาย เกิดกลางวัน กลางคืนสลับกันอย่างลงตัว เป็นเช่นนี้มานานแสนนาน

แม้การทำหน้าที่ของต้นไม้ มันจะพยามแตกยอด เติบโต ทำตัวเองให้มีชีวิตรอด เคยเห็นต้นสนที่อยู่ในเมืองหนาว ลำต้นสูงชลูด มีใบอยู่เพียงยอด ทำไมต้นสนเมืองหนาวต้องสูงเท่าตึกสามชั้นขนาดนั้น เพียงเพราะทุกต้นต้องต่อสู้และแข่งกับตัวเองเพื่อชูยอดขึ้นไปรับแสงอาทิตย์ให้ได้ ถ้าโตช้าหรือหยุดโต ก็ไม่สามารถรับแสง ต้องแห้งตายในที่สุด ทำให้สนโตไล่ๆ กัน ถ้าสนอยู่ลำพังเดี่ยวๆ จะอยู่ได้ยากเพราะต้องต้านแรงลม แต่เมื่ออยู่รวมกันหลายๆ ต้นก็ช่วยกันรับ และลดแรงลมปะทะ เรามักเห็นป่าสนสูงเรียงกันเป็นทิว นั่นคือสมดุลของความอยู่รอดของต้นสน

ดอกไม้ก็เช่นเดียวกัน ต่างพันธุ์ก็ต่างสี ถ้าเป็นไม้ดอกต้องทำหน้าที่ผลิดอกออกมาให้ตัวเองมีสีสรร สวยงามที่สุด ส่งกลิ่นหอมและสร้างน้ำหวานในตัว เพื่อดึงดูดนก ผีเสื้อ แมลง เข้ามากินน้ำหวาน และเจ้าพวกนก ผีเสื้อ แมลงต่างๆ เหล่านี้ได้นำเกสรดอกไม้ติดไปด้วย เมื่อไปสัมผัสกับต้นอื่น ก็ทำหน้าที่แพร่พันธุ์ ดอกไม้รุ่นนี้เหี่ยวแห้งไป เกิดต้นไม้ ดอกไม้รุ่นใหม่ขึ้นมาอีก การเกิดใหม่เป็นการรักษาสมดุลอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเมื่อเกิดไม้ใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ทุกต้นช่วยกันแชร์น้ำในดิน ช่วยกันปกคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ความร้อนถูกกระจายออก แบ่งรับกันต้นละมากน้อยก็แล้วแต่ ทำให้บริเวณนั้นกลายเป็นสวนอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยให้สัตว์ต่างๆ ได้อีกด้วย ยังมีไม้บางพันธุ์ ป้องกันตัวเองโดยผลิตกลิ่นเหม็นฉุน มีหนามรายรอบ หรือลำต้นและใบลื่นเป็นเงาแม้แต่ฝุ่นยังเกาะไม่ได้ ไม่มีสัตว์ตัวไหนอยากเข้าใกล้ มันก็อยู่อย่างปลอดภัย หรือบางต้นผลิตรสชาดให้เฝื่อนฝาด เผ็ดขม ไม่เป็นที่ต้องการ เป็นความชาญฉลาดที่ธรรมชาติเป็นผู้ออกแบบได้อย่างสมดุล

หลายคนประทับใจกับวิถีชีวิตของนกฮัมมิ่ง จับตาดูความอุตสาหะของเจ้านกตัวน้อยๆ ที่ใช้ความพยายามเอาปากแหลมเหมือนเข็ม เจาะรูน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ซึ่งก็เล็กมากอยู่แล้ว ขณะที่ต้องบินลอยตัวอยู่กับที่ ด้วยการกระพือปีกทั้งสองอยู่ตลอดเวลา นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อที่จะดูดน้ำหวานจากดอกไม้ทีละนิด ทีละดอก ช่างไม่มีกิ่งก้านให้เกาะเกี่ยวได้เลย เป็นภาพที่น่าชื่นชมยิ่งนัก การจัดสรีระและทรงตัวอย่างสมดุลของนกฮัมมิ่งนี้ ทำให้มันสามารถกินน้ำหวานได้จนพอใจ

สิ่งมีชีวิตต่างๆ ล้วนทำหน้าที่ได้อย่างสมดุลและลงตัว ธรรมชาติกำลังสะท้อนความเป็นอยู่อย่างมีดุลยภาพให้พวกเราได้ประจักษ์ ไม่ใช้ชีวิตทีฝืนธรรมชาติ ก้าวได้ ถอยได้ ผ่อนปรนในเรื่องเล็กๆ คอยดูแลเกื้อกูลสิ่งรอบตัว เพราะจริงๆ ก็เป็นหน้าที่ของพวกเรานั่นแหละ คนละกี่มากน้อยก็ต้องทำ สรรพสิ่งรอบตัวถูกจัดสรรให้อยู่ในที่และมุมที่พอเหมาะพอดี มากไปหรือน้อยเกินไป ก็จะเสียสมดุลทันที ไปต่อไม่ได้ หันกลับมาเช็คสถานะตอนนี้กันดีกว่า ว่ารอบตัวของเราเกิดความสมดุลอยู่หรือไม่ ทุกคนพอใจอยู่หรือเปล่า มั่นใจได้เลยว่า เมื่อเราบริหารสมดุลแก่ทุกฝ่ายได้แล้ว เราสามารถยืนระยะในสถานะที่เหมาะสมนี้ได้อีกยาวนานอย่างแน่นอน

You can leave a response, or trackback from your own site.

9 Responses to ““พอเหมาะ … พอดี … บริหารพื้นที่การยืนระยะ””

  1. alex says:

    uplift@palaces.roslev” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  2. daniel says:

    multipurpose@ran.foreseeable” rel=”nofollow”>.…

    good info!…

  3. jorge says:

    maple@unnaturalness.carrying” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  4. Salvador says:

    sera@barcus.vieux” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  5. Sam says:

    mathematically@coyotes.historicism” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  6. Ronald says:

    fluoroboride@mandamus.spectrophotometric” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  7. Joey says:

    inhabitants@speak.maquet” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  8. arthur says:

    intervene@madonna.anemia” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  9. ricardo says:

    critter@gris.worst” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

Leave a Reply