วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง ตอนที่ 1

ถ้ายังจำกันได้ เราได้เคยพูดกันไปในฉบับก่อนหน้านี้แล้วว่า ในซัพพลายเชนมีการไหล (Flow) อยู่สามประเภท ได้แก่ การไหลของสินค้า
หรือบริการ การไหลของเงิน และการไหลของข้อมูล องค์กรที่มีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีย่อมมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในการจัดการด้านต่างๆ รวมถึงประสบความสำเร็จในการตัดสินใจที่สำคัญๆ อยู่เสมอ

ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่ง ประเด็นที่จะพูดถึงในฉบับนี้คือเรื่องของ “ข้อมูล” ที่ไหลไปมาอยู่ในซัพพลายเชน ข้อมูลเหล่านี้มีที่มาที่แตกต่างกัน จัดเก็บไว้แตกต่างกัน บางส่วนเป็นข้อมูลดิบ บางส่วนเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว และบางส่วนเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและมีการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว ท้ายที่สุดแล้วเราคงต้องตอบคำถามที่ว่า “วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง?” ให้ได้

ในการที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ เราคงต้องตอบคำถามที่ว่าข้อมูลนั้นมีกี่รูปแบบกันแน่ และเราสามารถใช้ระบบ (ไอที) ใดบ้างเพื่อเข้าไปจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย รวบรวมข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วให้เป็นหมวดหมู่ และท้ายสุดมีระบบสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ บนพื้นฐานข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ในองค์กร

อันที่จริงแล้วหลักการของ Micheal Hugo ที่ได้พูดถึงในฉบับก่อนๆ ก็มีพูดถึงแนวทางไว้บ้างแล้ว อย่างไรก็ตามในฉบับนี้ เราจะเจาะลึกลงไปเฉพาะในเรื่องลำดับชั้น (Hierarchy) ของข้อมูลเป็นหลัก โดยจะอาศัยมุมมองในศาสตร์ด้านวิทยาการสารสนเทศ (Information Science) และการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละลำดับชั้น

ปัจจุบัน แบบจำลองด้านข้อมูลที่ได้รับการยอมรับมากอันหนึ่งคือแบบจำลองลำดับชั้นข้อมูล-สารสนเทศ-ความรู้-ภูมิปัญญา (Data-Information-Knowledge-Wisdom Hierarchy) หรือแบบจำลองลำดับชั้น DIKW (DIKW Hierarchy) เมื่อปี 2009 Mattias Abrahamsson ได้ให้นิยามของสมาชิกแต่ละตัวของลำดับชั้น DIKW ไว้ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีนิยามของ Milan Zeleny ที่ให้ไว้เมื่อปี 1987 โดยให้ความหมายไว้ในบริบทของการจัดการความรู้ไว้ดังนี้

 

 

D ข้อมูล คือตัวแทนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ข้อมูลอาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ก็ตาม ทั้งนี้ ข้อมูลจะไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ หรือเหตุการณ์อื่นๆI สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลให้มีความหมายK ความรู้ คือการสะสมของสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์W ภูมิปัญญา คือกระบวนการซึ่งผู้ใดก็ตามตัดสินใจระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ดีหรือเลวจากความรู้ต่างๆ ที่มีD ข้อมูล คือ “know-nothing” หมายความว่าเราไม่สามารถทราบอะไรจากข้อมูลดิบได้เลยI สารสนเทศ คือ “know-what” หมายความว่าสารสนเทศทำให้เราทราบว่าเกิดอะไรขึ้นK ความรู้ คือ “know-how” หมายความว่าความรู้ทำให้เราทราบว่าเราจะสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นได้อย่างไร W ภูมิปัญญา คือ “know-why” หมายความว่าภูมิปัญญาช่วยอธิบายได้ว่าทำไมจึงเกิดหรือไม่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น
เราอาจจะเข้าใจความสัมพันธ์ของแบบจำลอง DIKW ได้จากรูปที่ 1 กล่าวคือ 

สารสนเทศเกิดจากความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูล ความรู้เกิดจากความเข้าใจแบบแผนของสารสนเทศ และภูมิปัญญาเกิดจากความเข้าใจถึงหลักการของความรู้

จากมุมมองด้านการบริหารข้อมูลในระดับต่างๆ ตามแบบจำลองที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น มีความจำเป็นต่อการสร้างรายงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งหากแบ่งระดับการจัดการออกตามแนวทางการจัดการแบบกลยุทธ์-ยุทธวิธี-ปฏิบัติการ (Strategic-Tactical-Operational Management Approach) หรือแนวทาง STO แล้ว เราสามารถที่จะแบ่งรายงานออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่

- รายงานระดับปฏิบัติการ (Operational Report) มีไว้เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วคือข้อมูลเชิงธุรกรรม (Transactional Data) ในลักษณะวันต่อวัน (Day-to-Day) เช่น ข้อมูลการผลิต ณ เวลาปัจจุบัน คำสั่งซื้อที่เข้ามา ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลที่รับจากเครื่อง POS ข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น

- รายงานระดับยุทธวิธี (Tactical Report) มีไว้เพื่อตรวจติดตามและตอบสนอง
ต่อสถานการณ์ต่างๆ สามารถรองรับการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมใดๆ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและผลกำไรขององค์กร รายงานระดับยุทธวิธีได้จากการรวบรวมข้อมูลระดับปฏิบัติการและผ่านการวิเคราะห์ประมวลผล มีทั้งรายงานระดับยุทธวิธีระยะสั้น (Short-Term Tactical Report) เช่น รายงานสรุปยอดขายประจำสัปดาห์ ยอดการผลิตประจำเดือน และรายงานระดับยุทธวิธีระยะยาว (Long-Term Report) เช่น ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของทุกแผนก (ผลิต ขนส่ง คลัง
สินค้า ฯลฯ) ในแต่ละปี ต้นทุนโลจิสติกส์ของบริษัทในแต่ละไตรมาส เป็นต้น

- รายงานระดับกลยุทธ์ (Strategic Report) มีไว้เพื่อรองรับการวางแผนและกำหนดทิศทางขององค์กรในระยะยาว มีความใกล้เคียงกับรายงานยุทธวิธีระยะยาว แต่มุ่งเน้นคำตอบแก่ผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจ หรือกลุ่มธุรกิจที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หรือเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ และวงรอบการจัดทำรายงานยาวนานกว่า รายงานระดับกลยุทธ์ได้จากการรวบรวมสารสนเทศหลายๆ ชนิด ที่ถูกวิเคราะห์และประมวลผลร่วมกัน ตัวอย่างของรายงานระดับกลยุทธ์ได้แก่ ยอดขายในแต่ละปีของกลุ่มธุรกิจเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ในปีถัดไป กำลังการผลิตทั้งหมดขององค์กรในแต่ละปี เป็นต้น

เมื่อกลับมาลองพิจารณาระบบสารสนเทศต่างๆ ที่ถูกพัฒนามาเพื่อสนับสนุนการจัดการ
ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เช่น

- AIDC คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติและจัดเก็บข้อมูล (Automatic Identification and Data Capture) อันได้แก่ อุปกรณ์บาร์โค้ด หรืออุปกรณ์ RFID เป็นต้น

- POS คือระบบจุดขาย (Point of Sales) ซึ่งรองรับการคำนวณและเก็บบันทึกข้อมูลธุรกรรมด้านการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

- ERP คือระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) ซึ่งประกอบด้วย ฐานข้อมูลกลางขององค์กร โมดูลต่างๆ เช่น บัญชี การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ การผลิต สินค้าคงคลัง เป็นต้น รวมถึงการจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ

- WMS คือระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System)

- TMS คือระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System)

- EAI คือระบบบูรณาการซอฟต์แวร์ประยุกต์ภายในองค์กร (Enterprise Application Integration) ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ERP, WMS, TMS เข้าด้วยกัน
บางครั้งอาจเรียกว่ามิดเดิ้ลแวร์ (Middleware)

- XML คือภาษา eXtensible Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ไว้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และกำลังเป็นหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงระบบต่างๆ ภายในองค์กร รวมถึงระหว่างองค์กรเข้าด้วยกัน

- APS คือระบบวางแผนและจัดตารางล่วงหน้า (Advanced Planning and Scheduling)

- SCM คือระบบการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ซึ่งเป็นระบบที่บูรณาการระบบงานต่างๆ ของแต่ละ
องค์กรที่อยู่ภายในซัพพลายเชนเดียวกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ หรือลูกค้า

- ERP-II คือระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรแบบขยาย (Extended ERP) หรือระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรรุ่นที่สอง (2nd Generation ERP) เป็นระบบที่มีแนวคิดเดียวกับระบบ SCM และบ่อยครั้งที่เราสามารถใช้คำว่า SCM สลับกับ ERP-II ได้

ผู้เขียนเห็นว่าในบริบทของแบบจำลอง DIKW และแนวทาง STO นั้น เราสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศต่างๆ ข้างต้น ในลักษณะเมทริกซ์ (Matrix) ตามรูปที่ 2 สำหรับรายละเอียดและตัวอย่างในงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ขอยกยอดไว้ฉบับหน้าครับ

You can leave a response, or trackback from your own site.

8 Responses to “วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง ตอนที่ 1”

  1. vincent says:

    predictability@inlet.incompetence” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî….

  2. shane says:

    weuns@conceivably.geologist” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  3. victor says:

    gas@chops.riders” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  4. andrew says:

    kupcinet@kitchens.finders” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  5. Nathaniel says:

    chaffing@alveolus.sides” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  6. วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง ตอนที่ 1 | Especially of says:

    Margarett Zaugg…

    I found a great……

  7. วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง ตอนที่ 1 | Especially of says:

    Franklyn Fiaschetti…

    I found a great……

  8. วันนี้คุณมีข้อมูลครบแล้วหรือยัง ตอนที่ 1 | Especially of says:

    Usa Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply