มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิสติกส์

Logistics Knowledge

Challenges and transforming to logistics standardization

Logistics Standardization Roadmap”

มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิสติกส์

ตอน แผนพัฒนามาตรฐานโลจิสติกส์

ในฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนามาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยในมุมมองที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ในฉบับนี้ผู้เขียนขอนำเสนอภารกิจที่สำคัญของสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา และมาถึงในปี 2556 นี้ ทางสำนักโลจิสติกส์ กพร. ได้จัดทำแผนพัฒนามาตรฐานโลจิสติกส์ หรือ “Logistics Standardization Roadmap” แสดงให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาและยกระดับการมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากลในอีก 5 ปีข้างหน้า และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบการให้คำปรึกษาเชิงลึกและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมการใช้งานมาตรฐานสำหรับสินค้า บริการ และกระบวนการโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน ซึ่งในปีนี้มีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย ผู้ประกอบการด้านมาตรฐาน AEO จำนวน 5 ราย และมาตรฐานบรรจุภัณฑ์จำนวน 5 ราย

ภายใต้ “โครงการพัฒนาการมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2555 ด้วยการพัฒนามาตรฐาน “แท่นพลาสติกรองรับสินค้า” เป็นมาตรฐานนำร่องเพื่อรองรับ “ระบบการหมุนเวียนแท่นรองรับสินค้าร่วมกัน (Pallet Pool System)” ซึ่งเป็นระบบการเช่าแท่นรองรับสินค้าหมุนเวียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนามาตรฐานอุปกรณ์ขนถ่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและนำไปสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการทั้งในภาคอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ใช้แท่นรองรับสินค้ามากถึง 80% ด้วยขนาดที่หลากหลายและเป็นแบบใช้ครั้งเดียว อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขนย้ายสินค้า ดังนั้นการเริ่มต้นจากการพัฒนามาตรฐานแท่นรองรับสินค้าให้มีขนาดเดียวกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานด้านโลจิสติกส์สำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าและโลจิสติกส์

ต่อเนื่องมาในปี 2556 สำนักโลจิสติกส์ (กพร.) ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาการมาตรฐานโลจิสติกส์ 5 ปี ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนทั้งมาตรฐานอุปกรณ์ และกระบวนการด้านโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน โดยเน้นการเชื่อมโยงทางกายภาพและข้อมูลสารสนเทศ เพื่อความสะดวก ปลอดภัย ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ สำหรับมาตรฐานนำร่องในปี 2556 นี้ ประกอบด้วย มาตรฐานข้อแนะนำการประยุกต์ใช้ฉลากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน (ISO/TR 17370:2013 Application Guideline on Data Carriers for Supply Chain Management) มาตรฐานข้อแนะนำการประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในโซ่อุปทาน (Authorized Economic Operator: AEO)

มาตรฐานด้านอุปกรณ์ฉบับแรก ได้แก่ มาตรฐานข้อแนะนำการใช้ประยุกต์ฉลากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นข้อแนะนำในการใช้ฉลากอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความหลากหลาย เช่น สัญลักษณ์เชิงเส้น (Linear symbols) สัญลักษณ์ 2 มิติ (Two-dimensional symbols) และป้าย RFID ที่ถูกติดบนบรรจุภัณฑ์สินค้า และบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง มาตรฐานฉบับนี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างมาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมโซ่อุปทานทั้งหมด ประกอบด้วยประเด็นสำคัญดังนี้

  • ระบุความสัมพันธ์ของมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุปทาน
  • แสดงชนิดและโครงสร้างข้อมูลในและระดับชั้นของโครงข่ายโซ่อุปทาน
  • ระบุความสัมพันธ์ในกลุ่มโครงสร้างระดับชั้นของโซ่อุปทาน
  • ระบุหมายเลขชี้บ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน
  • ระบุการเก็บข้อมูลด้วยฉลากอิเล็กทรอนิกส์
  • ระบุความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับฉลากอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท
  • ระบุโครงสร้างข้อมูลระหว่างฉลากอิเล็กทรอนิกส์กับอุปกรณ์อ่าน
  • ระบุโครงสร้างข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อ่าน
  • แสดงฉลากอิเล็กทรอนิกส์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ฉลากไฮบริดที่สามารถเขียนซ้ำได้ (Rewritable hybrid media) เป็นต้น

มาตรฐานฉบับที่ 2 ได้แก่ มาตรฐานข้อแนะนำการประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนได้อย่างเหมาะสมกับระบบโซ่อุปทาน รวมถึงการออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานแท่นรองรับสินค้าซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ขนถ่ายหมุนเวียนร่วมกันได้ นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้กล่องพลาสติกหมุนเวียนที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ซ้ำในกระบวนการโลจิสติกส์ได้

และมาตรฐานฉบับที่ 3 มาตรฐานด้านกระบวนการ ได้แก่ มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในโซ่อุปทาน หากพูดถึงมาตรฐาน AEO แล้วนั้น อาจเป็นเรื่องใหม่ของผู้ประกอบการไทย ซึ่งนับเป็นประเด็นร้อนสุดๆ สำหรับผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และตัวแทนออกของ เมื่อกรมศุลกากรประกาศยกเลิกระบบ Gold Card และ Licensed Customs Broker เพื่อนำมาตรฐาน AEO มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นมาตรฐานนี้จึงถูกกำหนดให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดโซ่อุปทานให้มีการดำเนินงานอย่างปลอดภัย ให้สามารถยื่นขอการรับรองจากกรมศุลกากรว่าสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานของ WCO ในด้านการรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย ในการขนส่งสินค้าได้

นับเป็นผลงานเชิงประจักษ์ทั้ง 3 มาตรฐานที่ได้ดำเนินการภายในปี 2556 นี้ และอีก 1 มาตรฐานที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา รวมถึงแผนการพัฒนาด้านมาตรฐานโลจิสติกส์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ของสำนักโลจิสติกส์ กพร. กับภารกิจสำคัญในการยกระดับและพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการจัดทำมาตรฐานเพื่อการใช้งานอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า และมาตรฐานกระบวนการด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดเวลา และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นรูปธรรม อันนำไปสู่เป้าหมายการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้ได้ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในระยะเวลา 5 ปี

You can leave a response, or trackback from your own site.

9 Responses to “มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิสติกส์”

  1. Miguel says:

    bestial@gumption.elongation” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  2. Carlos says:

    zeus@parisology.redundancy” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  3. Brent says:

    patrick@lifter.freshened” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  4. jackie says:

    yd@huzzahs.suzerain” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  5. philip says:

    cocu@florence.kirov” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!…

  6. Alex says:

    owe@chance.gripped” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  7. มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิส says:

    Charlie Bitler…

    I found a great……

  8. มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิส says:

    Buyprivateproxies…

    I found a great……

  9. มุ่งมั่น ท้าทาย ปรับเปลี่ยนสู่มาตรฐานโลจิส says:

    Usa Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply