อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น

Need to Know 2

Integration & collaboration

อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น

สุวัฒน์ จรรยาพูน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วันก่อนครับ…ว่าไงครับ…ผมได้มีโอกาสเข้าฟังอาจารย์ผมบรรยายถึงเรื่องเกี่ยวกับการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงแห่งหนึ่ง อาจารย์ผมบอกว่าในตอนนี้มาถึงยุคของการร่วมมือกันด้าน “ไอที” ในยุคก่อนหน้านั้น เป็นการสร้างให้บุคลากรรู้จักคอมพิวเตอร์ รู้จักการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับมนุษย์ ซึ่งผมจำการใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยแรกๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะอยู่ในยุคที่กำลังเปลี่ยนในสมัยที่เรียนปริญญาตรี ที่เครื่องพิมพ์ดีดยังถูกใช้งานอย่างจริงจัง ในสมัยที่เป็นกรรมการนักศึกษาก็ต้องพิมพ์จดหมายหรือหนังสือด้วยเครื่องพิมพ์ดีดออกเกือบทุกวัน การเก็บเอกสารก็ทำกันเป็นแฟ้มอยู่เต็มตู้ จดหมายหรือหนังสือเก่าๆ จำเป็นมากเพราะเอาไว้ลอกสำนวนเก่าๆ ความยากก็คือต้องพิมพ์ใหม่ทั้งฉบับ

ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ดูว่าจะเป็นเรื่องใหญ่เพราะราคาแพงมากๆ ที่คณะมีห้องแล็ปคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องอยู่ประมาณ 20 – 30 เครื่อง ก็หนาแน่นเกินไปมีเพื่อนนักศึกษาจองคิวกันยาวจนแทบไม่ได้ปิดเครื่อง และเครื่อง 1 เครื่อง ก็เข้ามามุงกันไม่น้อยกว่า 3 คน โปรแกรมยุคแรกๆ ที่ผมจำได้ (และเคยใช้) ก็คือ เวิร์ดจุฬาฯ, เวิร์ดราชวิถี, เวิร์ดสตาร์, โลตัส 1-2-3, ดีเบสทรีพลัส ซึ่งทั้งหมดเล่นกันบนดอส เครื่องพิมพ์ก็เป็นดอทเมทริกซ์ ใช้คู่กับกระดาษต่อเนื่อง โดยรวมแล้วถือว่าใช้ค่อนข้างยาก ไม่สะดวก แต่เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ดีด ก็ดีกว่ากันมาก ที่สำคัญดูเท่ห์กว่ากันหลายเท่า เมื่อผมเข้าทำงานก็มีการขยับจากระบบปฏิบัติการดอส เป็น วินโดวส์ โปรแกรมตระกูลไมโครซอฟท์ก็เข้ามา มีการใช้เมาส์กันอย่างสนุกสนาน ส่งผลให้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งที่ทำให้มนุษย์คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ จนแทบทุกบ้านต้องมีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ประจำบ้าน

เมื่อคุ้นเคย และรู้จักการใช้ประโยชน์ ก็ทราบว่าสามารถประมวลผลได้ดีและเร็ว จึงเป็นยุคของการจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ก็มีการพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองตามความพร้อมของบุคลากรและงบประมาณ ผลก็คือการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละส่วนก็ล้วนแต่มีความหมาย ซึ่งการดำเนินการก็สาละวนอยู่กับว่าจะเก็บข้อมูลอะไร นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร มีข้อมูลใดบ้างที่มีความซ้ำซ้อน

หลายบริษัทก็สิ้นเปลืองงบประมาณไปกับโปรแกรมต่างๆ ซึ่งหลายธุรกิจเมื่อพบว่าโปรแกรมสำเร็จรูปตามท้องตลาดไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ก็มักจะพัฒนาด้วยตนเองเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกใจมากยิ่งขึ้น ปัญหาต่างๆ ที่พบเจอก็คือ การจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแผนก ความอืดอาดของระบบเมื่อข้อมูลเริ่มสะสมมากขึ้น เมื่อส่วนต่างๆ เริ่มไหลลื่น ก็พบว่ายังไม่น่าสุดแค่นี้ จะต้องทำได้อีก เพราะมีข้อมูลที่อยากได้อีกมากมาย เช่น ข้อมูลของคู่ค้า ข้อมูลของคู่แข่ง

ในปัจจุบันเรามีความต้องการมากขึ้นในด้านสารสนเทศ คิดใหญ่ขึ้น และอยู่ในวิสัยที่เทคโนโลยีที่มีอยู่จะเอื้อมไปถึง จึงเกิดความต้องการผูกโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแนวคิดการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศก็มีให้พบเห็นในธุรกิจเอกชนทั่วไป โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน และดูว่าจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นเกินไปนัก หากมีงบประมาณเพียงพอ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เช่น การใช้ EDI: Electronic Data Interchange ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ถูกยกให้เป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียน

ส่งผลให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทยสามารถทราบข้อมูลที่แท้จริงของจำนวนปูนคงเหลือถึงหน้าร้านค้า ทำให้เกิดการวางแผนการผลิตที่แม่นยำ และลดจำนวนสต๊อกปูนทั่วประเทศ ทั้งของบริษัทเอง และของร้านค้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการดังกล่าวมีความยากตรงที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับคู่ค้า และการขอให้มีการใช้งาน ส่วนด้านการเชื่อมโยงสารสนเทศไม่ได้มีความยุ่งยากมากนัก เพราะพี่ใหญ่ที่มีระบบสารสนเทศก้าวหน้ากว่ามาก นำระบบที่ดีกว่ามาให้ร้านค้าต่างๆ ใช้ ซึ่งร้านค้าส่วนมากก็แทบจะไม่มีระบบเลย การเชื่อมโยงข้อมูลจึงเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย

การบูรณาการลักษณะแบบนี้ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในหมู่ธุรกิจภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจคลังสินค้า อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่การบูรณาการกลับมีอุปสรรคมากมายเมื่อต้องการความร่วมมือกันจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน หรือการขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่ตนเองกำกับดูแล

ปัญหาการบูรณาของภาครัฐนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความเข้ากันไม่ได้ หรือเข้ากันยากของระบบสารสนเทศ อันเนื่องมาจากการพัฒนาในอดีตที่ต่างคนต่างทำ (ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่งแล้วในช่วงเวลา และงบประมาณขณะนั้น) หลายกรม กอง ต่างพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาใช้เอง แม้ว่าจะมีการปรึกษาหารือกันบ้างในเบื้องต้น แต่ด้วยความที่ต่างคนต่างเป็นพี่ใหญ่ ปัญหาความเข้ากันไม่ได้ของระบบสารสนเทศส่งผลให้เกิดคำถามว่า ระบบหรือแนวคิดของใครดีกว่า และจะเชื่อมโยงกันอย่างไรดีโดยที่ต่างคนต่างไม่ยอมเปลี่ยน หรือจะยอมเปลี่ยนให้น้อยที่สุด เพราะทราบดีว่ากว่าที่จะทำให้ระบบไหลลื่นอย่างในปัจจุบันก็เลือดตาแทบกระเด็น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทราบดีว่าจะมีความยุ่งยากขนาดไหน

ตัวอย่างที่ทราบง่ายๆ เช่น ระบบข้อมูลของผู้ป่วย ระหว่างโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนไม่มีการเชื่อมโยงกัน และจัดทำกันได้ยากมาก จะย้ายโรงพยาบาลแต่ละครั้งต้องนำเวชระเบียนหรือไม่ก็ขอถ่ายเอกสารไปด้วย แม้กระทั่งในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการพยายามที่จะทำให้เชื่อมโยงกันให้มากที่สุด หรือแม้แต่การรายงานจำนวนผู้ที่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกันจึงส่งผลให้มียอดน้อยกว่าปกติอยู่หลายเท่า แม้แต่เรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปบ่นกันมาหลายสิบปีก็ยังมีให้เห็นอยู่เสมอในเรื่องเกี่ยวกับการขุด เจาะ ซ่อม ทางเท้าและถนน ที่หลายหน่วยงานใช้พื้นที่เดียวกันแต่ก็ต่างคนต่างทำ โดยไม่เห็นใจงบประมาณและประชาชนผู้สัญจร

ด้วยความที่มีพี่ใหญ่อยู่หลายกลุ่ม การร่วมมือกันจึงมีความยากลำบาก และต้องใช้เวลา เนื่องจากขาใหญ่ย่อมจะต้องมีเจรจาเพื่อให้ตนเองไม่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนก็จะต้องให้เกิดน้อยที่สุด ซึ่งย่อมจะเข้ากันไม่ได้กับขาใหญ่อีกลุ่ม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเหตุการณ์บาดเจ็บล้มตายกันไปบ้าง หรือไม่ก็ เซ็ทซีโร่ หรือกลับไปสู่จุดเดิมก็คือล้มเลิกโครงการที่จะเชื่อมโยงกันไป แต่ก็ทราบดีว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบขอไปที เนื่องจากเป็นการถอยหลังเข้าคลอง และหากยังต้องการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ ก็จำเป็นต้องหยิบโครงการมาปัดฝุ่นเพื่อมาบูรณาการกันใหม่

หลายท่านในกระทรวงแห่งนั้น แนะนำว่าโครงการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ทีมผู้มีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาด เป็นนักเจรจาต่อรอง ได้รับความไว้ใจจากขาใหญ่ในระบบ พร้อมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของระบบสารสนเทศ และก็ต้องเป็นโจทย์ของชาวกระทรวงแห่งนั้นที่จำเป็นต้องเฟ้นหา ไม้บรรทัดที่เที่ยงตรงเอง เพื่อใช้วัดเส้นตรงและชี้ขาดอย่างยุติธรรม เพราะหากไม้บรรทัดนั้นบิดเบี้ยว เส้นที่ตีขึ้นจากไม้บรรทัดก็ย่อมบิดเบี้ยวด้วยเช่นกัน ซึ่งไม้บรรทัดเล็ก หรือหน่วยงานขนาดเล็กก็ย่อมจะสร้างเส้นตรงได้ง่ายกว่าไม้บรรทัดขนาดใหญ่ หรือองค์กรระดับชาติครับ

************************************************************

You can leave a response, or trackback from your own site.

8 Responses to “อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น”

  1. julius says:

    devious@yalies.exerted” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  2. kirk says:

    dissonances@christened.paperbacks” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  3. bruce says:

    elevates@regularly.portraits” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  4. best chatbot says:

    best chatbot…

    Contract the wonderful social media marketing bots currently now available in addition reasonably priced today!…

  5. Click Now says:

    Click Now…

    Get service from the wonderful social media trends currently now available and on sale today!…

  6. อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Usa Private Proxy…

    I found a great……

  7. อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buy Private Proxy…

    I found a great……

  8. อินทิเกรชั่น และ คอลลาบอเรชั่น | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    How To Buy Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply