ระบบขนส่งมวลชนนครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค

Need to Know 1

public transport in Chicago and metropolitan New York

ระบบขนส่งมวลชนนครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

ช่วงกลางเดือนตุลาคม 2556 ผมได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก (องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมืองอรัญญิก และเทศบาลตำบลหัวรอ) ไปศึกษาดูงานระบบขนส่งมวลชน ณ นครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดยผู้บริหารที่เดินทางไปดูงานครั้งนี้ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก นายกเทศมนตรีเมืองอรัญญิก นายกเทศมนตรีตำบลหัวรอ รวมถึงผู้บริหารระดับปลัดและรองปลัดของแต่ละหน่วยงาน

เป็นการเดินทางไปศึกษาดูงานระบบขนส่งมวลชนครั้งนี้ มีความน่าสนใจที่ผมอยากนำมาแบ่งปันผู้อ่านทั้งเรื่องความเป็นมา รูปแบบการบริหาร เส้นทางเชื่อมโยงสถานที่สำคัญต่างๆ จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ เป็นต้น นอกจากนั้น ณ มหานครนิวยอร์ค ทาง Metropolitan Transportation Authority ได้นำระบบขนส่งมวลชนเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้กับคนทั่วไปด้วย

Chicago Transit Authority (CTA)

เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการจากหน่วยงานรัฐท้องถิ่นและส่วนกลาง เริ่มเปิดดำเนินการวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2490 หลังจากได้รับมอบสินทรัพย์จาก Chicago Rapid Transit Company และ Chicago Surface Line และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2495 ได้เป็นผู้ดำเนินการเดินรถทั้งหมดในกรุงชิคาโก หลังจากได้รับกิจการ Chicago Motor Coach มา

เป็นระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งให้บริการครอบคลุมกรุงชิคาโก และเมืองใกล้เคียงอีก 40 ชุมชนโดยรอบ มีผู้โดยสารเฉลี่ย 1.7 ล้านคนต่อวันทำงาน อัตราค่าโดยสารสำหรับเส้นทางภายในเขตเมือง 2.25 เหรียญสหรัฐ(เป็นอัตราที่ได้รับการชดเชยจากภาครัฐ)

CTA Bus ให้บริการขนส่งโดยรถบัส มีเส้นทางทางเดินรถ 140 สายเดินรถ ปริมาณการเดินรถมากกว่า 25,000 เที่ยวต่อวัน มีจุดพักรถ (Bus Stop) ถึง 12,000 จุด ให้บริการเดินรถ 24 ชั่วโมง

CTA ‘L’ (Train Service) เป็นการให้บริการขนส่งทางรถไฟ คนชิกาโกจะเรียกการบริการนี้ว่า สาย L ประกอบด้วย 8 เส้นทางเดินรถ 144 สถานี ปริมาณการเดินรถ 2,145 เที่ยวต่อวัน ระยะทางในการเดินรถ 242.2 ไมล์ (ประมาณ 390 กิโลเมตร) จำนวนรถที่ให้บริการจำนวน 1,200 คัน เส้นทางการเดินรถมีทั้ง รางยกระดับ รางใต้ดิน และรางในท่อ มีเส้นทางให้บริการที่เชื่อมต่อถึงสนามบินทั้งสองแห่ง (O’Hare Airport และ Midway Airport) การให้บริการด่วนมี 2 สาย ได้แก่ สายสีแดง และสายสีน้ำเงิน

นอกจากนั้นอาคารสำนักงานของ Chicago Transit Authority (CTA) ยังมีการนำแผนที่เส้นทางการเดินรถไฟมาจัดทำเป็นงานศิลปกรรมด้วยหลอดไฟลักษณะ 3 มิติ (สามารถมองเห็นภาพที่แตกต่างกันในแต่ละด้านที่มอง) นอกจากนั้นยังได้นำรูปปั้นวัว(สัญลักษณ์ของชิคาโก)มาวางแสดง ณ ห้องโถงของสำนักงานด้วย

แม้ว่าโครงสร้างของรางรถไฟในเมืองชิคาโคเป็นโครงสร้างเหล็กที่มีได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานาน แต่ได้รับการบำรุงรักษาเป็นระบบ (ช่วงเวลาที่บำรุงรักษา จะปิดการให้บริการทางรถไฟแต่นำรถบัสมาให้บริการผู้โดยสารแทน) CTA ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานีรถไฟให้มีความทันสมัยและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เข้ากับชุมชนต่างๆในเมืองชิกาโก

แผนที่เส้นทางรถไฟ Chicago Transit Authority (CTA)

Metropolitan Transportation Authority (MTA)

เป็นโครงข่ายการขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยให้บริการประชากรถึง 15.1 ล้านคนในพื้นที่ 5,000 ตร.ไมล์ (ประมาณ 12,950 ตร.กม หรือ ประมาณ 8.1 ล้านไร่) ครอบคลุมเส้นทางจากมหานครนิวยอร์คไปยัง ลองไอส์แลนด์ (Long Island) เซาท์อีสเทิร์นนิวยอร์คสเตท (Southeastern NY State) และ คอนเนตติคัต (Connecticut)

การขนส่งที่ให้บริการประกอบด้วย การขนส่งทางรถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) รถบัส และรถไฟระหว่างเมือง (Commuter Trains) จำนวน 345 เส้นทาง ด้วยจำนวนรถไฟฟ้าใต้ดิน 6,311 คัน รถไฟระหว่างเมือง 2,467 คัน และรถบัส 5,701 คัน ปริมาณการเดินรถ 2,620 ล้านเที่ยวต่อปี (เฉลี่ย 8.55 ล้านเที่ยวต่อวันทำงาน) ความยาวรางรถไฟรวม 2,047 ไมล์ ระยะทางการเดินรถบัส 2,858 ไมล์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 468 แห่ง สถานีรถไฟระหว่างเมือง 268 แห่ง พนักงานรวมทั้งสิ้น 65,150 คน

การบริการขนส่งมวลชนภายใต้ MTA ประกอบด้วย

1)                   New York City Transit Authority ให้บริการทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถบัส มีผู้ใช้บริการถึง 2,332 ล้านครั้งต่อปี (เฉลี่ย 7.58 ล้านครั้งต่อวันทำงาน) ครอบคลุม 22 ชุมชน

2)                   MTA Bus ให้บริการรถบัสเส้นทางทั่วไปและเส้นทางด่วน ผู้ใช้บริการ 120.9 ล้านครั้งต่อปี (เฉลี่ย 390,685 ครั้งต่อวันทำงาน)

3)                   Long Island Rail Road ใช้สถานี Jamaica เป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางไปยัง Long Island ให้บริการทั้งรถไฟดีเซลรางและรถไฟฟ้า ให้บริการ 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ New York City Terminal, Penn Station (Flatbush Ave.) และ Hunterspoint Ave.

4)                   Staten Island Railway เป็นการบริการขนส่งมวลชนทางรถไฟที่มีจำนวน 22 สถานี ด้วยรถไฟฟ้าจำนวน 63 คัน มีจำนวนผู้ใช้บริการ 4.44 ล้านครั้งต่อปี(เฉลี่ย 15,993 ครั้งต่อวันทำงาน)

ระบบขนส่งมวลชนในมหานครนิวยอร์คสามารถช่วยลดมลภาวะจาก 17 ล้านตัน เหลือเพียง 2 ล้านตัน ทำให้มหานครนิวยอร์คเป็นเมืองที่มีการจัดการด้านคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดของสหรัฐอเมริกา

ในพื้นที่มหานครนิวยอร์คมีการใช้สะพานและอุโมงค์ทางลอดสูงกว่า 280 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณการใช้สะพานและอุโมงค์ทางลอดที่สูงที่สุดของแต่ละสะพานและอุโมงค์ทางลอดในสหรัฐอเมริกา

แผนที่เส้นทางรถไฟ Subway Metropolitan Transportation Authority (MTA)

จากการพูดคุยกับผู้บริหารระบบขนส่งมวลชนทั้งสองแห่ง พบว่าค่าโดยสารที่เก็บจากผู้มาใช้บริการนั้นต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปฎิบัติการ (Operation Cost) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐในการดำเนินงาน (ที่Chicago Transit Authority ;CTA ต้นทุนดำเนินการต่อคนประมาณ 5-6 เหรียญสหรัฐ แต่ค่าโดยสารเพียง 2.25 เหรียญสหรัฐ)

การเดินทางครั้งนี้ดำเนินการหลังจากที่ผู้บริหารได้เข้าอบรมด้านโลจิสติกส์และการขนส่งมวลชน รวมถึงการศึกษาดูงานบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) BTS แล้ว ทำให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.พิษณุโลก ได้รับการถ่ายทอดและได้เรียนรู้ เนื้อหาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการจัดการขนส่งมวลชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยปัจจุบันและอนาคต น่าจะสามารถนำความรู้มาถ่ายทอดให้ผู้เกี่ยวข้องของจังหวัดเพื่อให้เกิดความเข้าใจระบบการขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ร่วมกัน

นอกจากนั้นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.พิษณุโลก ได้รับประสบการณ์และได้เรียนรู้ ระบบการบริหารขนส่งมวลชนและระบบโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถนำมาประยุกต์พัฒนารูปแบบการจัดการขนส่งมวลชนภายใน จ.พิษณุโลกที่สอดคล้องกับสภาพของ จ.พิษณุโลก อันส่งผลให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.พิษณุโลก สามารถวางยุทธศาสตร์ด้านการบริหารขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ จ.พิษณุโลกที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้

ข้อเสนอแนะ

อย่างไรก็ตามผู้บริหารระดับจังหวัดควรจัดตั้งคณะทำงานศึกษารูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ของ จ.พิษณุโลก และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือล่าง เพื่อบูรณาการระบบโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ และควรจัดทำรูปแบบการขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับพื้นที่ (Business Model) รวมทั้งควรศึกษาระบบการบริหารขนส่งมวลชนที่มีขนาดผู้ใช้บริการและพื้นที่ใกล้เคียงกับ จ.พิษณุโลก เพื่อนำมาเปรียบเทียบ

You can leave a response, or trackback from your own site.

10 Responses to “ระบบขนส่งมวลชนนครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค”

  1. Ryan says:

    mended@shambling.approves” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  2. gabriel says:

    frankest@midwife.municipality” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  3. Kenny says:

    viscount@installment.zodiacal” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  4. Allan says:

    oversoft@zion.thurber” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  5. benjamin says:

    plumped@fichte.avail” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  6. ruben says:

    motherwell@maestros.wyman” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  7. donald says:

    vinyl@lehner.semper” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  8. alex says:

    culmination@surgeon.writing” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  9. ระบบขนส่งมวลชนนครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค | says:

    Buy Proxies With Credit Card…

    I found a great……

  10. ระบบขนส่งมวลชนนครชิคาโก และมหานครนิวยอร์ค | says:

    Best Proxy Ip List…

    I found a great……

Leave a Reply