โลจิสติกส์มีความสำคัญแค่ไหน ?

TLAP’s Talk

Upgrade Logistics and Supply Chain Trainees to Professional Level

โลจิสติกส์มีความสำคัญแค่ไหน ?

ยกระดับวิชาชีพนักฝึกอบรมสาขาโลจิสติกส์ & ซัพพลายเชน

สู่มืออาชีพ (ตอน 1)

จำเรียง วัยวัฒน์

เข้าสู่ยุคของการแข่งขันอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ Globalization การเปิดเสรีทางการค้า การเป็นประชาคมอาเซี่ยน AEC ส่งผลทำให้ภาคธุรกิจทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งจากนิยามโลจิสติกส์มีความเกี่ยวเนื่องตั้งแต่บุคคล วัตถุดิบ ผู้ผลิต โรงงาน ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค หรือ อุตสาหกรรมทุกภาคส่วน เช่น อุตสหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสหกรรมการไฟฟ้าเป็นต้น

แม้กระทั่งโลจิสติกส์ในชีวิตประจำวันก็มีความจำเป็น  ถ้าเราให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจะก่อให้เกิดประประโยชน์สูงสุดได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น ตู้เย็นเป็นคลังน้อยๆในบ้านที่สูญเสียค่าใช้จ่ายปีละมากๆโดยไม่รู้ตัว ตู้เสื้อผ้าก็เป็นคลังสินค้าน้อยๆเช่นเดียวกันที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากถ้าไม่รู้จักการจัดการที่ดี  อีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากๆ ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกชายของผมที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้เกือบเอาชีวิตไม่รอดโดย เริ่มจากอาการปวดหัว อาเจียร จึงพาไปพบหมอ และเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ 3 วัน โดยที่หมอทีมวินิจฉัยยังหาสาเหตุไม่เจอ ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ทั้งๆ ที่หมอได้ใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือในการวินิจฉัยแต่ก็ยังไม่พบสาเหตุ ในขณะเดียวกันการที่ตัดสินใจไปโรงพยาบาลในครั้งนี้ถือว่าผิดพลาด อย่างยิ่งใหญ่เพราะการตัดสินใจทั้งที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรค เช่น ลักษณะของโรค อาการที่พบ ส่วนที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคที่อวัยวะส่วนไหนของร่างกาย ลูกผมเป็นที่ศรีษะซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับสมอง  ก่อนที่จะกล่าวต่อไปเรามาดูว่า มันเกี่ยวอะไรกับโลจิสติกส์ อันดับแรก ร่างกายมนุษย์ มีการกระบวนการขับเคลื่อนและการเคลื่อนย้ายอย่างเป็นระบบถ้าเกิดผิดพลาดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  ทำให้มีผลต่อการทำงาน ลักษณะของอาการจะแสดงผลออกมาชัดเจนหรือไม่ นั่นหมายความว่าต้องหาวิธีจัดการเพื่อทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน     ถัดมาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับอาการที่ควรทราบ เช่น เลือดข้น ปวดหัวไม่รุนแรง แต่ปวดไม่หาย มีอาการอาเจียรร่วมด้วย โดยหาสาเหตุไม่ได้ หรือเครือข่าย โลจิสติกส์เน็ทเวิร์ค Logistics Network เผื่อใครที่มีประสบการณ์ด้านนี้ หรือใครมีข้อมูลเพิ่มเติมจากอาการดังกล่าว ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือทางอ้อมอะไรก็แล้วแต่พร้อมแนวทางแก้ไขเบื้องต้น เป็นต้น ส่วนนี้ผู้ที่อยู่ใกล้ตัวช่วยได้อย่างมากๆในการสืบข้อมูลและการหาข้อมูลในข่ายอินเตอร์เน็ทก็เป็นประโยชน์ การให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อประกอบในการตัดสินใจที่ดีได้เป็นอย่างดี

จากสถานะการณ์ดังกล่าว ข้างต้นทางคุณหมอให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน แต่ผมขอนอนดูอาการอีกคืนเผื่อมีอะไรเกิดขึ้นจะได้ช่วยได้ทันการณ์  ถ้านักโลจิสติกส์ ขณะนี้สมมุติว่าสินค้าคือลูกชาย ผมเสีย(Logistics Cost)ต้นทุนค่าโลจิสติกส์สูงมากแต่กลับไม่ได้อะไรกลับคืนและการสูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์  ถ้าช้าไปอีกไม่นานผมต้องเสียลูกชายไปทีเดียวโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ถ้ามาวิเคราะห์ตามหลักการของกระบวนการโลจิสติกส์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ 6 R

1.  Right Place   ไปถูกสถานที่ แต่เครื่องมือและอุปกรณ์ ล้าสมัย ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ ก็เท่ากับไปผิดสถานที่

2.  Right Time ระยะเวลาการตัดสินใจในการรักษาเมื่อไม่พบสาเหตุ จะอยู่ต่อเพื่อหาสาเหตุหรือเปลี่ยนสถานที่ ระยะทางในการเดินก็มีความในการเคลื่อนย้าย

3.  Right Person หาหมอได้ตรงกับโรคที่เป็น และมีความเชี่ยวชาญ

4.  Right Quality   ควรตรวจสอบคุณภาพก่อนไปใช้บริการและระบุความเชี่ยวชาญของหมอได้เพื่อลดความเสี่ยง

5.  Right Source ก่อนที่จะไปโรงพยาบาลต้องหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ว่ามีหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเครื่องมือที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ แค่ไหน

6.  Right Price ราคาก็มีความจำเป็นที่จะต้องเหมาะกับการรักษา

มาถึงจุดสำคัญที่ต้องมีกระบวนการโลจิสติกส์และการตัดสินใจ เพราะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงผลจากการรักษาที่โรงพยาบาลหนึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด  หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ ผมได้นำลูกชายกลับมาพักรักษาที่บ้านด้วยความสับสนแต่ยังใจเย็นเพราะเชื่อตามที่หมอบอกว่าไม่มีอะไรเกี่ยวกับสมอง  หลังจากนั้นลูกชายเกิดอาการ สับสนในการสื่อสาร อาการปวดหัวก็ยังปวดแต่ดูแล้วไม่ได้ปวดหนักแต่ก็ตัดสินใจไปโรงพยาบาล โดยไม่ไปที่เดิมเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลพญาไท 2

ทำใมถึงไปที่นั่น  จากประสบการณ์ครั้งที่ผ่านมาเป็นบทเรียน  เช่น เริ่มมีข้อมูลมากขึ้นการเช็คข่าวสารข้อมูลของโรงพยาบาล ตรวจสอบสถานที่ วิเคราะห์เส้นทางที่ใช้เดินทาง เวลาในการเดินทาง มีการคำนวนวางแผนเส้นทางและคาดคะเนวางแผนการเดินทาง ถ้าเกิดรถติดจะทำอย่างไร การตรวจเช็คความเชี่ยวชาญของหมอจากคนรู้จักในเบื้องต้น  หลังจากได้หารือกับหมอเฉพาะทางแล้วดำเนินการตรวจเช็คจนพบสาเหตของอาการปวดหัว โดย กระบวนการ MRI โดยทีมหมอที่ตรวจรักษาเป็นทีมหมอเฉพาะทางช่วยกันการวิเคราะห์จนพบว่าลูกชายเป็นลิ่มเลือดในสมองอุดตันเส้นเลือดดำ หมอเริ่มวางแผนเพื่อรักษาชีวิตทันที โดยหมอสั่งผ่าตัดสมองด่วน เพราะ ลมหายใจเบา แกนสมองเคลื่อน มีเลือดไหลซึม สมองบวม ต้องผ่าตัดเพื่อเปิดช่องทางให้สมองมีพื้นที่ในการบวม มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายมากต่อคนไข้

ขอกลับไปสู่กระบวนการโลจิสติกส์ จะเห็นได้ชัดว่ากระบวนการโลจิสติกส์สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้และสามารถช่วยชีวิตลูกชายไว้ได้เพราะถ้า ไปผิดสถานที่อีกครั้งจะเกิดอะไรขึ้นหรือ ตัดสินใจใช้เส้นทางผิด รถเกิดอุบัติเหตุขวางเส้นทาง เราจะแก้อย่างไรในความเสี่ยงต่อชีวิตของลูกอยู่เบื้องหน้า

ขอเล่าบรรยากาศที่โรงพยาบาล ในบริบทของนักโลจิสติกส์ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็ขอเข้าห้องฉุกเฉินทันที ทีมพยาบาลมีการับ ช่วงอย่างดีเพื่อทำการตรวจเช็คข้อมูลในเบื้องต้น และแจ้งหมอมือดีทันที และวางแผนร่วมกับญาติของคนไข้และส่งข่าวเป็นระยะ  เพื่อไม่ให้ญาติของคนไข้เครียด เวลาผ่านไป 45 นาที ก็ได้รับข่าวว่าเป็นลิ้มเลือดอุดตันเส้นเลือดดำในสมอง ทางโรงพยาบาลตั้งทีมหมอเพื่อรักษาเป็นการเร่งด่วน เช่น หมอระบบสมอง ระบบประสาท ระบบเลือด หมออายุรเวช และอื่นๆ เพื่อวินิจฉัย ร่วมกันในการรักษา

ในระบบโลจิสติกส์ ที่มีปัญหามากในบ้านเราก็คือ ทีมที่มีการทำงานกันอย่างเป็นระบบไม่ก่อให้เกิดการผิดพลาด เกิดการสูญเสียไม่ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเฉพาะของตนเอง และสิ่งสำคัญ มีหมอคนเดียวที่เป็นผู้สั่งการ ในการตัดสินใจชี้ขาดบนข้อมูลสุดท้ายลูกผมก็รอดจากวิกฤตณ์ดังกล่าวแต่ต้อง รักษาการพื้นตัวจากความทรงจำที่ถูกกระทบจากโรคดังกล่าว ดังนั้นบทบาทของโลจิสติกส์ มีความสำคัญมากในทุกๆ ส่วนและทุกๆ กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ได้กล่าวมาแล้ว บทบาทของโลจิสติกส์ต่อทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม  เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ยานยนต์ ท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ เป็นต้น  ทุกๆ องค์กรสามารถประยุกต์โลจิสติกส์ใช้ได้กับทุกกิจกรรม นอกจากนี้ โลจิสติกส์ยังเป็นอุตหกรรมโลจิสติกส์  LSPs : Logistics Service Provider ที่มีความต้องการอยู่สูงมากเพื่อให้บริการกับองค์ธุรกิจ แต่การเติบโตของธุรกิจทำให้ขาดบุคลากรในสาขาโลจิสติกส์เป็นอย่างมาก ดังนั้นสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต คณะทำงานทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ถือว่าเป็นภาระกิจหลักที่จะต้องร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันและพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ

ขอบเขตและกระบวนการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต โดยคณะทำงานทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ HRL & PSAL

สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต TLAPS โดยคณะทำงานทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ HRL&PSAL มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างวิทยากรฝึกอบรมสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสู่มืออาชีพ  ซึ่งได้กำหนดความร่วมมือหลายองค์กรทุกภาคส่วน ตั้งแต่ ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ สมาคมวิชาชีพ โดยกำหนดแนวทางของเนื้อหาและกระบวนการฝึกอบรมร่วมกันที่จะปั้นวิทยากรฝึกอบรมสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสู่มืออาชีพ โดยใช้แนวทางวิชาชีพครูประยุกต์(ป.บัณฑิต) เพื่อที่จะสร้างวิทยากร ครู อาจารย์ และผู้ที่อยู่ในภาคธุรกิจทุกอุตสาหกรรมให้เข้ามามีส่วนร่วมในภาคการศึกษา ร่วมกันพัฒนานักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่จะออกสู่ตลาดแรงงาน  สู่โลกธุรกิจสามารถทำงานได้ตรงตามต้องการของภาคธุรกิจ   ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญในสายงานวิชาชีพต้องการพัฒนาวิทยากรนักฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานวิชาชีพเช่นเดียวกัน จากประเด็นดังกล่าวจึงได้จัดทำ     โครงการวิทยากรนักฝึกอบรมสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเช่นสู่มืออาชีพ  โดยคณะทำงานทรัพยากรบุคคลและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ สมาคมไทยโลจิสติกส์ละการผลิต  เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการโครงการ    ผู้ผ่านการอบรมได้รับ “Certificate of Education Professional Trainer in Logistics and Supply Chain Management”

วัตถุประสงค์ของโครงการวิทยากรฝึกอบรมสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

  • เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสายวิชาชีพได้เรียนรู้กระบวนการและเทคนิค การเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  • เพื่อเรียนรู้กระบวนการเป็นครูวิชาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการทดสอบตามรูปแบบการประยุกต์ของ ป. บัณฑิตและรับวุฒิบัตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • เพื่อเรียนรู้กระบวนการประมวลผลการเรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์การประเมินผลและหลักจิตวิทยาในการสื่อสารอันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถของผู้ที่เข้ารับการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นการฝึกภาคปฏิบัติและการทดสอบการเป็นอาจารย์ฝึกอบรมให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและเปิดโอกาสให้สามารถเป็นอาจารย์บรรยายในมหาวิทยาลัยเมื่อผ่านหลักคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
  • เพื่อขึ้นทะเบียนทำเนียบ ผู้เชียวชาญด้านการเป็นวิทยากรในแต่ละสาขาที่  เพื่อเป็นวิทยากรให้สมาคม สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน หรือเครื่อข่ายองค์กรของสมาคม และมีความพร้อมที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือต่อสังคมต่อไป

ขอเล่าต่อในตอนที่ 2 ของโครงการ วิทยากรฝึกอบรมสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สู่ มืออาชีพ

โดย อาจารย์จำเรียง วัยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซเพรส เน็ทเวิร์ค เซอร์วิส จำกัด

รองนายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต

ประธานคณะทำงานทรัพยกรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ HRL & PSAL

ประธานยกร่างมารตฐานฝีมือแรงสาขาโลจิสติกส์และอนุกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาโลจิสติกส์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

You can leave a response, or trackback from your own site.

7 Responses to “โลจิสติกส์มีความสำคัญแค่ไหน ?”

  1. ronald says:

    gagarin@pvt.enhancing” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!!…

  2. Victor says:

    pi@royce.explosion” rel=”nofollow”>.…

    good!!…

  3. vernon says:

    fanciful@mechanistic.faked” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!…

  4. james says:

    comico@disassembly.endangered” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  5. Salvador says:

    didentite@whatd.orphanage” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  6. Paul says:

    sits@phonetic.borates” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  7. โลจิสติกส์มีความสำคัญแค่ไหน ? | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Premium Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply