แผนยุทธศาสตร์ ก.คมนาคม สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์

Guru Vision

2nd Strategic plan of Ministry of Transport

to support Thailand’s  logistics system development

กรอบแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2556 – 2560)

ดร.จุฬา สุขมานพ.

ผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

จากแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ. 2551 – 2554 จะเห็นได้ว่าเป็นการเน้นการพัฒนาระดับกายภาพตามแนวพื้นที่การขนส่ง (Transport Corridor) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายที่มีระยะทางและเวลาที่สั้นลง รวมถึงมีความสะดวกเพิ่มขึ้น แต่ในแผนฯ ฉบับที่ 2 นี้จะเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม (Single market and production base) เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีและทำให้เกิดการขนส่งข้ามแดนเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจะมีการต้องเตรียมพร้อมรองรับการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเร่งรัดพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้ประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมเพื่อการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศในแผนฯ ฉบับที่ 2
จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (Hardware) ควบคู่กับการพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ และบุคลากร (Software) และสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยเฉพาะการใช้การขนส่งทางรางและน้ำซึ่งเป็นรูปแบบที่ประหยัดพลังงาน รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศที่เชื่อมโยงไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศเพื่อรองรับการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ
ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยสามารถเห็นทิศทางการพัฒนา
จากแผนฯ ฉบับที่ 1 ไปสู่ ฉบับที่ 2 ได้ดังนี้

จาก เป็น

Transport Corridor Multimodal Transport Corridor และ Logistics Corridor

Single Mode โดยเฉพาะทางถนน Multi Mode โดยเน้นระบบรางและทางน้ำ

พัฒนาโครงข่ายการขนส่งภายในประเทศ (Domestic Logistics) พัฒนาโครงข่ายในประเทศที่เชื่อมโยงกับประตูการค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า

Quantity & Hardware Focus Quality & Software Focus & พัฒนาบุคลากร

แผนฯ ฉบับที่ 1                                                                       แผนฯ ฉบับที่ 2

มีระบบโลจิสติกส์การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ของประเทศจากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการทั้งเครือข่ายภายในและ
การเชื่อมต่อไปสู่ต่างประเทศ

มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1.1 พัฒนาประสิทธิภาพของประตูการขนส่ง

1) ประตูการค้าหลัก (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบัง)

(1) ปรับปรุงการให้บริการและอำนวยความสะดวกในเขตปลอดอากร (Cargo Free Zone: CFZ) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้มีกระบวนการที่ง่าย และเป็นระบบอัตโนมัติ

(2) เร่งรัดพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงการให้บริการยกขนตู้ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อให้เพิ่มสัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟให้เพิ่มมากขึ้น

2) ประตูการค้าชายแดน 9 แห่ง ประกอบด้วย ด่านเชียงแสน (ท่าเทียบเรือพาณิชย์เชียงแสน) ด่านเชียงของ (สะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 4) ด่านหนองคาย ด่านนครพนม ด่านมุกดาหาร ด่านอรัญ ด่านสะเดา ด่านแม่สอด และ ด่านบ้านพุน้ำร้อน (ด่านชั่วคราว)

(1) ปรับปรุงโครงข่ายเชื่อมโยงประตูการค้าชายแดนที่มีศักยภาพและเป็นประตูที่มีปริมาณสินค้าเข้า-ออกมากพอที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรอบ

(2) เพิ่มขีดความสามารถโครงข่ายโดยรอบและบริเวณใกล้เคียงประตูการค้าชายแดน (ระบบถนน ราง และน้ำ) ให้เกิดการเชื่อมโยงหลายรูปแบบและจุดเชื่อมต่อการขนส่ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไปสู่การขนส่งภายในประเทศ

(3) เร่งรัดพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณประตูการค้าชายแดน เช่น พัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าบริเวณชายแดน/สถานีขนส่งสินค้าชายแดน เป็นต้น รวมทั้งให้มีการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่สามารถดำเนินพิธีการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว เกิดการแยก
จุดตรวจการผ่านแดนของคนและสินค้าออกจากกัน

1.2 พัฒนาโครงข่ายการขนส่งเพื่อเชื่อมโยงระหว่างประตูการขนส่งต่างๆ โดยการ

1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางถนนและทางรถไฟที่จะเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิตไปสู่ประตูการขนส่งหลักและชายแดน โดยไม่มีช่องโหว่ (Missing Link) หรือ คอขวด (Bottle Neck)

2) พัฒนาระบบการรวบรวมและกระจายสินค้า (Hub and Spoke) บนแนวเส้นทางเชื่อมโยง (Logistics Corridor) รวมถึงศูนย์กระจายสินค้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เกิด
การจัดการระบบโลจิสติกส์ในเขตเมือง (City Logistics) ที่มีประสิทธิภาพ

1.3 เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนส่งไทยที่จะให้บริการระหว่างประตูการขนส่งภายในประเทศและการให้บริการต่อเนื่องไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยการ

1) จัดระเบียบผู้ประกอบการต่างประเทศที่จะเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการไทย และยกระดับมาตรฐานคุณภาพการให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุกโดยให้มีการบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพทั้งผู้ประกอบไทยและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าทางบก และพัฒนาพฤติกรรมคนขับรถบรรทุกให้ได้มาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย

2) ส่งเสริมภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายและเขตอุตสาหกรรมบริการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Freight Village) เพื่อตรงกับความต้องการของภาคเอกชนและธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจนั้นๆ เช่น ศูนย์กระจายสินค้า (DC) จุดพักรถบรรทุก ลานตู้เปล่า และลานบรรจุสินค้า

3) การให้ความรู้และการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการไทย เพื่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันระหว่างประเทศ

4) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาการขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกลไกกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐาน/จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคเอกชนด้วยกันเอง รวมถึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

5) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการขนส่งทุกรูปแบบอย่างบูรณาการให้มีการแบ่งส่วนนโยบาย การกำกับดูแล และการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ด้วยการเร่งผลักดันการออกพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. …. ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว

กลยุทธ์หลักที่ 2 สนับสนุนการใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำเพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนการขนส่งของประเทศ

มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

2.1 พัฒนาโครงข่ายและจุดรวบรวมและกระจายสินค้าทางรถไฟและทางน้ำ โดยการ

1) พัฒนา/ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรถไฟ เช่น การพัฒนาทางคู่บนเส้นทางขนส่งที่หนาแน่น รวมถึงพัฒนาระบบการให้บริการขนส่งทางรถไฟและบริการยกขน ด้วยการจัดหาหัวรถจักร/แคร่
ให้เพียงพอกับความต้องการและเพิ่มบทบาทเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ

2) พัฒนา/ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและร่องน้ำเพื่อการขนส่งทางลำน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและ
แม่น้ำป่าสัก รวมถึงพัฒนาท่าเรือชายฝั่งทะเล (Feeder Port)

3) พัฒนาระบบรวบรวมและกระจายสินค้าทางรถไฟและทางน้ำในบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรม

2.2  พัฒนากฎระเบียบและมาตรการเพื่อลดต้นทุนการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการขนส่งทางรถไฟ โดยการ

1) การปรับโครงสร้างอัตราค่าภาระท่าเรือภายในประเทศและค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่ของรัฐ
ในการประกอบการท่าเรือ สถานีขนส่ง CY หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับการขนส่งทางถนนได้

2) ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการขนส่งทางรถไฟ โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกำกับดูแลการประกอบกิจการรถไฟ โดยเปิดให้มีการแข่งขันการให้บริการขนส่งสินค้า

3) ปรับปรุง/แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นปัญหาและอุปสรรคการขนส่งชายฝั่ง

2.3 ส่งเสริมการใช้ระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อลดข้อจำกัดของการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ โดยการ

1) การพัฒนาระบบการขนส่งทางถนนเชื่อมโยงสถานีรถไฟ CY ท่าเรือ

2) ผลักดันมาตรการการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีการใช้การขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ

3) นำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transport System) มาใช้ในการให้บริการขนส่ง

กลยุทธ์หลักที่ 3 พัฒนาประตูการขนส่งด้านทะเลอันดามันเพื่อเหนี่ยวนำการพัฒนาพื้นที่ในภาคใต้ และรองรับการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศจีน – อาเซียน และอาเซียน – อินเดีย

แนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

3.1 พัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราและระบบขนส่งเชื่อมโยง

พัฒนาท่าเรือฝั่งอันดามัน (ท่าเรือน้ำลึกปากบารา) ให้เป็นประตูการค้าที่สำคัญของประเทศ

3.2 พัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Landbridge) เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือน้ำลึก
ปากบารากับท่าเรือฝั่งอ่าวไทยด้วยการขนส่งทางรถไฟ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ทางบกและทางราง) เพื่อให้มีการเชื่อมโยงในลักษณะสะพานเศรษฐกิจ (Landbridge)

You can leave a response, or trackback from your own site.

3 Responses to “แผนยุทธศาสตร์ ก.คมนาคม สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์”

  1. แผนยุทธศาสตร์ ก.คมนาคม สนับสนุนการพัฒนาระบบ says:

    Nanci Olgin…

    I found a great……

  2. แผนยุทธศาสตร์ ก.คมนาคม สนับสนุนการพัฒนาระบบ says:

    Buyproxy…

    I found a great……

  3. แผนยุทธศาสตร์ ก.คมนาคม สนับสนุนการพัฒนาระบบ says:

    Best Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply