ปรับแนวคิด เปลี่ยนระบบ พัฒนาโลจิสติกส์ บุก AEC

DPIM’s Talk

ปรับแนวคิด เปลี่ยนระบบ พัฒนาโลจิสติกส์ บุก AEC

เป้าหมายของผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรมไม่หนีประเด็น การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ การลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลกำไรในขณะที่ยังสามารถรักษาระดับคุณภาพที่แข่งขันได้ แน่นอนว่ามีหลากหลายวิธีเพื่อให้ได้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว แต่ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขสำคัญคือ ความซับซ้อนของกระบวนการและระยะเวลาซึ่งกว่าจะเห็นความสำเร็จและสะท้อนออกมาเป็นผลกำไรในที่สุด ซึ่งมีคำถามที่เกิดกับผู้ประกอบการหลายรายว่าแล้วอะไรคือ สิ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันทีและเห็นผลลัพธ์เร็วที่สุด

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. จึงได้ดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันให้กับผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ซึ่งเห็นผลได้ชัดเจนจากต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม นี่ไม่ใช่แค่ต้นทุนการขนส่ง แต่กินความรวมถึงระบบโลจิสติกส์ทั้งหมด ตั้งแต่การวางแผน สั่งซื้อ ขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนถึงการส่งมอบสินค้า โดยการดำเนินงานมุ่งลดต้นทุนที่สามารถปรับปรุงได้ทันที และส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรฐานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการก่อนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC

ในปี 2556 สำนักโลจิสติกส์ กพร. มีแผนดำเนินการตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 – 2559 ด้วยวิสัยทัศน์ให้อุตสาหกรรมไทยมีระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ และมีความร่วมมือทางธุรกิจที่เข้มแข็งให้เกิดโซ่คุณค่า สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระดับสากลโดยมี เป้าหมายสำคัญ คือ 1. ต้องลดต้นทุนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมต่อจีดีพี 15% ภายในปี 2559 2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ทั้ง 3 มิติ ด้านต้นทุน เวลา และคุณภาพ 10% ภายในปี 2559 ด้วยการถอดรายละเอียดจาก 3 ยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทออกมาเป็น 30 โครงการสำคัญที่จะดำเนินการตลอดทั้งปี

ทั้ง 30 โครงการ จะมุ่งเน้นดำเนินงานกับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการยกระดับการประสิทธิภาพบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ขององค์กร โดยครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังสูงเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังจัดเป็นต้นทุนหลักประการหนึ่งของต้นทุนโลจิสติกส์ นอกจากนั้นการดำเนินงานยังต้องครอบคลุมในเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะอยู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ หรือกลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจชายแดน ก็มีโครงการรองรับในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

โดยผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ http://logistics.dpim.go.th ซึ่งในภาพรวมเบื้องต้น ผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรมและวางแผนงาน โดยสำนักโลจิสติกส์ กพร. มีการจัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในแต่ละอุตสาหกรรม เข้าร่วมวางแผนและให้คำปรึกษาเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบงานให้มีประสิทธิภาพลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม

ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนหลายร้อยรายเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการมาก่อน และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แม้จะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะทำให้ได้ครบถ้วนในทุกมิติและทุกกิจกรรม ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลและปรับปรุงระบบงาน  และจากโครงการที่ได้ออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการมีอยู่เป็นจำนวนมาก องค์กรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถเลือกเข้าโครงการที่ตรงตามความประสงค์และความเร่งด่วนได้อย่างเฉพาะเจาะจง

และนี่คือเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

** ล้อมกรอบ**

คุณเฉลี่ยว พุกเจริญ ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์

บริษัท โกลด์สตาร์ เมทัล จำกัด

ผู้ผลิตอลูมิเนียมเส้นหน้าตัด (Aluminium Extrusion) และชุบผิวด้วยวิธีอโนไดซ์ (Anodize)

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของ สำนักโลจิสติกส์ กพร. มีประโยชน์มาก ด้วยระยะเวลาเพียง 3 เดือน ทางบริษัทได้เลือก 3 โครงการมาดำเนินการ คือ การลดต้นทุนการจัดเก็บวัตถุดิบคงคลัง การลดสินค้าคงคลัง และการลดต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบ ซึ่งในโครงการแรก จากเดิมที่มีคลังวัตถุดิบประมาณ 600 ตัน เพราะกังวลเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบ จึงได้ทดลองลดวัตถุดิบคงคลัง พร้อมกับการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ซึ่งส่งมอบวัตถุดิบ สุดท้ายสามารถลดวัตถุดิบคงคลังเหลือ 300 ตัน ที่เพียงพอกับการใช้ในกระบวนการผลิตได้ 7 วัน สอดคล้องกับการส่งวัตถุดิบของซัพพลายเออร์ ทำให้ประหยัดพื้นที่เก็บกอง 43% คิดเป็นมูลค่ารวม 17.7 ล้านบาท

อีกสองโครงการคือ การลดสินค้าคงคลังนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปกติสั่งสินค้าเข้ามาเดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 139 ตัน ผลที่ตามมาคือใช้เวลาในการขนส่งนาน ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก พนักงานทำงานหนักในช่วงเดียว และมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยประมาณ 46,000 บาทต่อเดือน จากการเข้าร่วมโครงการจึงคำนวณต้นทุนในทุกกิจกรรมและขั้นตอนใหม่ ทำให้มีการปรับเป็น นำเข้าสินค้า 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งละ 68.5 ตัน เสียค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดเหลือ 21,452 บาท แต่เสียค่าธรรมเนียมศุลกากรเพิ่ม 6,200 บาท สรุปคือโดยรวมสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 18,316 บาท และยังสามารถลดพื้นที่จัดเก็บสินค้าคงคลัง พนักงานกระจายการทำงานทั้งเดือน ลดการจัดเก็บสินค้าคงคลังลงได้มาก เบ็ดเสร็จจากการร่วมโครงการ ลดต้นทุนเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท

จากการเข้าร่วมโครงการเห็นผลชัดเจนว่าสามารถช่วยลดต้นทุน นำเงินไปใช้ในการลงทุนด้านอื่นของบริษัทได้อีกมาก ยิ่งในสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง หากบริษัทใดอยู่เฉย หรือปรับเปลี่ยนหรือเดินช้า ในขณะที่บริษัทอื่นวิ่งกันหมด ก็เท่ากับว่าล้าหลัง หากต้องการให้ธุรกิจมีกำไร สามารถอยู่รอดได้ ก็ต้องมีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนและรักษาคุณภาพไว้ ซึ่งการเข้าร่วมโครงการของ กพร. สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด

สิ่งที่เห็นได้จากการเข้าร่วมโครงการอีกประการคือ เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นในบริษัท มีการเก็บข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น และเมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน จะมีการร่วมมือกันแก้ไข โดยทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือจากทีมที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีข้อมูลและคำแนะนำอย่างดี โดยหากสามารถขยายเวลาโครงการเป็นอย่างน้อย 6 – 12 เดือน จะมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่านี้

เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ อาจช่วยจุดประกายความสนใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของสำนักโลจิสติกส์ กพร. ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ http://logistic.dpim.go.th อีกทั้งสามารถ Download ใบสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ได้ทันทีจากเว็บไซต์ดังกล่าว หรือสามารถติดต่อได้ที่ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0-2202-3648 โทรสาร.0-2644-4355

You can leave a response, or trackback from your own site.

14 Responses to “ปรับแนวคิด เปลี่ยนระบบ พัฒนาโลจิสติกส์ บุก AEC”

  1. jaime says:

    interconnectedness@minber.heels” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  2. evan says:

    sinfonie@delta.presence” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  3. edwin says:

    infantrymen@wadded.immature” rel=”nofollow”>.…

    thanks!!…

  4. jerry says:

    super@lews.uninominal” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  5. Homer says:

    comparisons@draperies.montage” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  6. Edward says:

    gentlemanly@scalded.clocked” rel=”nofollow”>.…

    thanks!!…

  7. Jared says:

    shiny@tacitly.portago” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  8. Byron says:

    frescoed@worries.anthony” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  9. Mario says:

    frankness@fabrication.gunplay” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!!…

  10. gary says:

    interfered@banister.irrevocable” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  11. Ross says:

    idiot@galt.dishearten” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  12. Juan says:

    heave@resignations.dictate” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  13. ปรับแนวคิด เปลี่ยนระบบ พัฒนาโลจิสติกส์ บุก AEC | says:

    Perry Helseth…

    I found a great……

Leave a Reply