โซ่อุปทานพลังงาน (น้ำมันสำเร็จรูปและไฟฟ้า) ของอาเซียน

Need to Know 1

Supply chain of energy (petroleum and electricity) in ASEAN

โซ่อุปทานพลังงาน (น้ำมันสำเร็จรูปและไฟฟ้า) ของอาเซียน

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากฉบับที่ผ่านมาผมนำเสนอแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเทศของกลุ่มอาเซียน ที่อาจารย์และนักวิจัยของวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินโครงการวิจัย “การวิเคราะห์โซอุปทานพลังงานเพื่อกำหนดนโยบายด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” สำหรับฉบับนี้ผมขอนำเสนอในส่วนของโซ่อุปทานพลังงานน้ำมันสำเร็จรูปและพลังงานไฟฟ้า ตามกรอบการวิจัย

โซ่อุปทานพลังงานน้ำมันสำเร็จรูปของอาเซียน

กระบวนการตั้งแต่ “ต้นน้ำถึงปลายน้ำ” หมายถึงกระบวนการเริ่มต้น จนถึงสิ้นสุด หากนำมาใช้กับพลังงานน้ำมัน ก็จะมีหลักใหญ่ใจความหลักอยู่ 4 ส่วนคือ การจัดหาหรือการนำเข้า เมื่อนำเข้ามาแล้วจำเป็นต้องผ่านกระบวนการกลั่นโดยโรงกลั่น จนถึงการจัดเก็บ เพื่อที่จะรอกระจายสู่ผู้บริโภค

1. การนำเข้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

การนำเข้าน้ำมันในที่นี้ หมายถึง การที่ประเทศนั้นๆ มีแหล่งน้ำมันดิบไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ หรือคุณภาพน้ำมันดิบที่มีอยู่ไม่เหมาะสมต่อโรงกลั่นที่มี หรืออาจไม่มีวัตถุดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเลย เหล่านี้อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลากหลายด้าน

ตารางที่ 1 สรุปการนำเข้าน้ำมันของประเทศสมาชิกอาเซียน

จากตารางจะเห็นว่า 3 ใน 10 ประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศสิงคโปร์ไม่พบการนำเข้าวัตถุดิบที่ผลิตน้ำมัน แต่ที่น่าสนใจคือประเทศอินโดนีเซียมีตัวเลขที่บอกถึงการนำเข้าวัตถุดิบเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน (ปี 2011) รองลงมาคือ ประเทศมาเลเซีย ซึ่ง 2 ประเทศนี้มีพลังงานน้ำมันสำรองคิดเป็นร้อยละ 90 ของโลก

2. โรงกลั่นน้้ามันของประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 10 ประเทศ มีจำนวนโรงกลั่นทั้งหมดมากกว่า 29 โรงกลั่น แต่ในจำนวนนี้ยังไม่รวมของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่ง 2 ประเทศแรกไม่มีโรงกลั่นน้ำมัน ส่วนประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีโรงกลั่น 3 แห่งแต่กำลังการผลิตยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด ซึ่งจำนวนโรงกลั่นและกำลังการผลิตของประเทศ(ไม่รวม 3 ประเทศ) ปรากฏดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 สรุปรวมโรงกลั่นและกำลังการผลิตของแต่ละประเทศ

3. การจัดเก็บน้ำมันของอาเซียน

จากรายงานการประชุม Development of Oil Stockpiling Roadmap for ASEAN+3 ซึ่งประกอบไปด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอีก 3 ประเทศคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี โดยสามารถสรุปการสำรองน้ำมันของภาครัฐและเอกชน ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ตารางสรุปรวมการส้ารองน้้ามันของภาครัฐและเอกชน

สรุปสถานการณ์การสำรองน้ำมัน ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดในอาเซียนจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันของประเทศขึ้น แต่ 6 ประเทศจากในกลุ่มอาเซียนได้มีภาครัฐและภาคเอกชน กำลังร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสำรองน้ำมัน คือ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

4. ระบบการกระจายน้ำมันในอาเซียน

จากภาพข้างล่างนี้แสดงเส้นทางการกระจายและการขนส่งน้ำมันของโลก ซึ่งในโซนสีส้มจะแสดงถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนทั้งหมดและจะเห็นได้ว่าจุดศูนย์กลางของการเริ่มต้นการเดินทางถึง 4 จุดภายในภูมิภาคเอเซียน

รูปที่ 1 ระบบการกระจายน้ำมันในอาเซียน

ที่มา: BP Statistical Review of World Energy June 2012

โซ่อุปทานพลังงานไฟฟ้าของอาเซียน

โซ่อุปทานพลังงานไฟฟ้าที่จะนำเสนอประกอบด้วย การผลิตไฟฟ้าของประเทศอาเซียน การนำเข้า/ส่งออกไฟฟ้าของประเทศอาเซียน และโครงการการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน

1. การผลิตไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียน (Power Plant)

จากการคาดการณ์จาก  The  second  and  The  third  ASEAN  Energy  Demand Outlook โดย The Energy Data and Modeling Center, The Institute of Energy Economics, Japan, The ASEAN Center for Energy และ The National ESSPA Project Teams พบว่า แต่ละประเทศมีข้อมูลการผลิตไฟฟ้า ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 สรุปภาพรวมการผลิตไฟฟ้าของแต่ละประเทศ

ลำดับ ประเทศ ภาพรวมการผลิตไฟฟ้า
1 บรูไน (Brunei) ส่วนใหญ่แล้วประเทศบรูไน จะใช้ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า จะมีการใช้น้ำมันดีเซล (Diesel)  ผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น
2 กัมพูชา (Cambodia) กัมพูชา มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 385 เมกะวัตต์ ซึ่งน้ ามันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าดีเซล มีก าลังผลิตติดตั้ง 353 เมกะวัตต์ และส่วนที่เหลือเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ า 12 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) 15 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล ไม้และอื่นๆ 5 เมกะวัตต์
3 อินโดนีเซีย (Indonesia) อินโดนีเซีย มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 185,110 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้พลังงานความร้อน เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังความร้อน มีกำลังผลิตติดตั้ง151,877 เมกะวัตต์ รองลงมา คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 16,936 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ 16,118 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นๆ 179 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
4 ลาว (Laos) ในปี 2010 ประเทศลาวมีก าลังการผลิตติดตั้ง รวมทั้งหมด 1,471.74 เมกะวัตต์ (MW) สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด 3,539.12 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งในปัจจุบัน ลาวมีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 167  แห่ง ทั้งที่ดำเนินการผลิตอยู่และกำลังสร้าง
5 มาเลเซีย  (Malaysia) มาเลเซีย มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 24,681.9 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ มีกำลังผลิตติดตั้ง 12,622 เมกะวัตต์ รองลงมา คือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 8,435 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2,966 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าน้ำมันดีเซล และโรงไฟฟ้าชีวมวล 80.9 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
6 พม่า (Myanmar) พม่า มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 2,013.5 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลัง

น้ำ ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้ง 714.9 เมกะวัตต์ รองลงมา คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ 4,384 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 120 เมกะวัตต์ ตามลำดับ

7 ฟิลิปปินส์  (Philippines) ฟิลิปปินส์ มีการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 16,359 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,687 เมกะวัตต์ รองลงมาคือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3,400  เมกะวัตต์  โรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิง 3,193 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 2,861  เมกะวัตต์   โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ 1,966 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 39 เมกะวัตต์  นอกจากนี้ ยังผลิตไฟฟ้าจากลม 33 เมกะวัตต์ และผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  1 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
8 สิงคโปร์  (Singapore) สิงคโปร์ ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 8,510.8 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 6,133.5 เมกะวัตต์ รองลงมาคือ โรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิง 1,253.6 เมกะวัตต์  และผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นๆ 564.3 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
9 ไทย (Thailand) ปี 2010 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผ่านระบบสายส่งของประเทศรวมทั้งสิ้น 149,320 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าของประเทศรวม 31,485 เมกะวัตต์
10 เวียดนาม  (Vietnam) ในปี 2010 เวียดนามมีการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 97,250 GWh ซึ่งมีการไฟฟ้าเวียดนามเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นโรงไฟฟ้าท้องถิ่นและโรงไฟฟ้าจากต่างชาติ (รวม 27 IPPs)

2. การนำเข้าและการส่งออกไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียน (Demand)

ตารางที่ 5 การนำเข้าพลังงานไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียน (Billion Kilowatthours)

ตารางที่ 6 การส่งออกพลังงานไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียน (Billion Kilowatthours)

จากตารางที่ 5 และ 6 จะเห็นได้ว่า โดยภาพรวมแล้วของสถานการณ์การนำเข้าและส่งออกพลังงานไฟฟ้า ในปี 2010  นี้ ประเทศที่มีการนำเข้าและส่งออกพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ลาว มาเลเซีย กัมพูชา ไทยและเวียดนาม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดินทั้งนั้น ดังนั้น การจะนำเข้าและส่งออก หรือซื้อขายพลังงานไฟฟ้านั้น จึงถูกจ ากัดด้วย ข้อจำกัดของสายส่งไฟฟ้า ซึ่งในอนาคต อาเซียนเองก็มีโครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน เพื่อให้ทุกประเทศในอาเซียนสามารถซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศได้

3. โครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid)

การเชื่อมโยงพลังงานภายในอาเซียนจะช่วยลดปัญหาการซื้อเชื้อเพลิงจากกลุ่มประเทศนอกอาเซียนเพราะอาเซียนมีทรัพยากรพลังงานที่หลากหลายอยู่แล้ว ในอนาคตมีแผนจะเชื่อมโยงพลังงานเพิ่มขึ้น พบว่ามี 16 โครงการคือ

รูปที่ 2 สถานการณ์พัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน

1. โครงการมาเลเซีย-สิงคโปร์ เนื่องจากสายเดิมมีขนาดเล็กเกินไป จะเพิ่มขนาดสายเริ่มในปี 2018

2. โครงการไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันเชื่อมโยงกันด้วยสายไฟ DC 300 เมกะวัตต์ โดยเฟสที่หนึ่งกำลังด าเนินการ และจะเพิ่มระดับในเฟสที่สองเริ่มในปี 2016

3. โครงการมาเลเซียบนคาบสมุทรจะเชื่อมโยงกับซาราวัก ถือเป็นการเชื่อมภายในประเทศมาเลเซีย

4. โครงการมาเลเซียจะเชื่อมโยงกับอินโดนีเซีย เนื่องจากเกาะสุมาตรามีแหล่งพลังงานมาก ขนาดประมาณ 600 เมกะวัตต์ เริ่มในปี 2017

5. โครงการอินโดนีเซีย (เกาะบาทัมเป็นเกาะที่มีขนาดเล็ก: Batam Island) และสิงคโปร์ ในปี 2015-2017

6. โครงการมาเลเซีย-อินโดนีเซีย ระหว่างซาราวักx(Sarawak)xกับเวสต์กลิมันตัน (West Kalimantan)

7. โครงการฟิลิปปินส์-มาเลเซีย บริเวณรัฐซาบาห์ซึ่งอยู่ใกล้กัน ฟิลิปปินส์จะใช้พลังงาน จากรัฐซาบาห์ เพราะฟิลิปปินส์มีแหล่งพลังงานไม่มากนัก

8. โครงการซาราวัก-บรูไน เริ่มในปี 2016

9. โครงการไทย-ลาว จะเชื่อมกันอีกหลายจุด แต่จุดใหญ่ๆ คือ ลิกไนต์ที่หงสา (Hongsa) ในปี 2015 โดยจะตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าลิกไนต์ที่ลาวแล้วส่งมาไทย ส่วนไชยบุรีจะโอนไฟมามากขึ้นในปี 2019

10.  โครงการลาว-เวียดนาม

11.  โครงการไทย-พม่า ในปี 2016 โดยไทยจะช่วยพัฒนาเขื่อนที่พม่าบริเวณแม่สอด แล้วขายไฟกลับเข้ามาในไทย

12.  โครงการเวียดนาม-กัมพูชามากกว่า 200 เมกะวัตต์ เริ่มในปี 2017

13.  โครงการลาว-กัมพูชา

14.  โครงการไทย-กัมพูชา บริเวณปราจีนบุรี-พระตะบอง

15.  โครงการรัฐซาบาห์-อีสต์กลิมันตัน

16.  โครงการสิงคโปร์-อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา)

จากโซ่อุปทานทั้งพลังงานน้ำมันสำเร็จรูป และพลังงานไฟฟ้าข้างต้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งพลังงาน สร้างระบบการจัดการความเสี่ยงของการสำรองพลังงาน สร้างความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมพลังงานทดแทนที่มีวัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศ

You can leave a response, or trackback from your own site.

7 Responses to “โซ่อุปทานพลังงาน (น้ำมันสำเร็จรูปและไฟฟ้า) ของอาเซียน”

  1. Kyle says:

    truer@wallop.dislodge” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  2. craig says:

    jesse@soundness.sealing” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  3. guy says:

    salutaris@psychosomatic.relic” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  4. alejandro says:

    compulsively@alger.recordings” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  5. Leroy says:

    hodgkin@pleasantness.marketing” rel=”nofollow”>.…

    hello….

  6. dennis says:

    sycophants@nonservice.carefree” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

Leave a Reply