มุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่ค้าสำคัญ กับการเตรียมความพร้อมของไทยต่อ AEC 2015

Views of state run and private organizations and their partners on Thai readiness to join AEC 2015

มุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่ค้าสำคัญ กับการเตรียมความพร้อมของไทยต่อ AEC 2015

คงฤทธิ์ จันทริก (สภาผู้ส่งออกฯ)

ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงด้านกฎระเบียบ ระบบภาษี มาตรฐานภายในประเทศ การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านภาษาและทักษะ ในขณะที่ภาคเอกชนต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำธุรกิจ (Paradigm Shift) เพื่อรองรับและใช้ประโยชน์จาก AEC

ในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งออกฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน CEO Forum ในหัวข้อ Perspective on AEC & Thailand Competitiveness มุ่งหวังให้สมาชิกและผู้ประกอบการโดยทั่วไป ได้รับทราบถึงมุมมองของ AEC และความสามารถในการแข่งขันของไทยในสายตาของประเทศคู่ค้าหลัก และพันธมิตรที่สำคัญของไทย สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมของธุรกิจไทย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและต่างประเทศ ประกอบไปด้วย Mr. Willy Lin (Managing Director of Milo’s Knitwear (International) Ltd. and Chairman of Logistics Advisory Committee of Hong Kong Trade Development Council), Mr. Moo Han Kim (Senior Executive Managing Director of Korean Shippers’ Council), คุณศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, คุณสุรพล ว่องวัฒนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสุรพลฟู้ดจำกัด (มหาชน) และคุณกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานบริษัท Siam Agro-food Industry PLC. ซึ่งได้ร่วมนำเสนอมุมมองที่สำคัญซึ่งผู้เขียนจะสรุปให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบ ดังต่อไปนี้

ในสภาวะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังคงตกต่ำ และการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในหลายด้านของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะความสำคัญของเอเชียและอาเซียนในเวทีการค้าโลก ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศสมาชิก AEC ซึ่งจะมีการเปิดเสรีในปลายปี 2015 รวมถึงจะมีการต่อยอดไปสู่กรอบเจรจา ASEAN+10 หรือ Regional Corporation Economics Partnership (RCEP) นั้น ประเทศสมาชิกจะต้องเร่งรัดเตรียมความพร้อมของตนเอง อาทิ ประเทศไทยจะต้องมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่สำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่จำเป็น อาทิ การขุดลอกร่องน้ำสำคัญสำหรับการเดินเรือในลำน้ำ การก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งและเชื่อมโยงไปสู่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังเพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าจากภาคใต้ไปยังตลาดเป้าหมายโดยไม่ต้องใช้การขนส่งทางถนน การพัฒนาระบบการขนส่งทางรางโดยยกระดับการให้บริการของสถานีบรรจุสินค้ากล่องที่ลาดกระบัง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่และการจัดซื้อหัวรถจักรเพิ่มเติม เพื่อทำให้สามารถเพิ่มความถี่และความตรงต่อเวลาในการให้บริการขนถ่ายสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังให้มากขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงมี ‘ความแตกต่าง’ และ ‘ความหลากหลาย’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘มาตรฐาน’ ในด้านต่างๆ อาทิ กฎหมายและกฎระเบียบ วินัยทางการเงินการคลัง และธรรมาภิบาลทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ เป็นต้น ซึ่งทำให้การบังคับใช้ AEC อาจไม่เห็นผลได้ในทันที โดยแต่ละประเทศมีความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานภายในประเทศ และสนับสนุนให้มีมาตรฐานร่วมกันในอาเซียน ซึ่งมาตรฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ มาตรฐานการให้บริการด้านโลจิสติกส์ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดมีการผลักดันอย่างจริงจังและครบถ้วนในทุกกิจกรรม อาทิ ประเทศไทยมีมาตรฐานการให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุก โดยกรมการขนส่งทางบก แต่ยังไม่มีมาตรฐานการให้บริการสำหรับผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งหากต้องการให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสามารถแข่งขันได้ และเป็นการป้องกันผู้ให้บริการโลจิสติกส์ด้อยคุณภาพจากภายนอก ประเทศไทยควรผลักดันให้มีมาตรฐานบริการขนส่งสินค้าในทุกรูปแบบการขนส่ง และรวมถึงกิจกรรมโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ

สำหรับผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องสนใจในเรื่องของแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และในส่วนของภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงระบบโลจิสติกส์เป็นสำคัญ เนื่องจากภายหลังการเปิด AEC จะทำให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญคือภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ภาษาของประเทศสมาชิกในอาเซียนให้เป็น ‘ภาษาที่สาม’ ในการทำธุรกิจภายในอาเซียน ซึ่งจะทำให้ลดช่องว่างในการติดต่อสื่อสารลงไปได้เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงสภาพที่เปลี่ยนแปลงของตลาดในอาเซียน อาทิ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ประชากร ขนาดของครอบครัว การขยายตัวของชุมชนเมือง และการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อของคนในภูมิภาค ซึ่งเมื่อรวมกับสถานการณ์วัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ประชากรให้ความสำคัญกับ ‘ราคาสินค้า’ ควบคู่ไปกับ ‘กระบวนการผลิต’ มากขึ้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในอนาคตจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเป้าหมายการทำธุรกิจจาก ‘การทำกำไรสูงสุด’ (Maximize Profit) ไปสู่ ‘การทำกำไรที่สมเหตุสมผล’ (Reasonable Profit) ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ทั้งนี้ หากจะมองในส่วนของการลงทุนใน AEC สิ่งสำคัญที่ภาครัฐของไทยต้องพิจารณาคือ ‘อัตราภาษี’ สำหรับการทำธุรกิจและการนำรายได้นำกลับประเทศต้องอยู่ในระดับที่สามารถดึงดูดทั้งนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และสามารถผลักดันให้นักลงทุนไทยออกไปใช้สิทธิประโยชน์ในประเทศคู่เจรจาได้มากขึ้น อาทิ การยกเว้นการเรียกเก็บภาษีส่วนต่างจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศเรื่องภาษีซ้อน ตลอดจน ‘การสนับสนุนด้านเงินทุน’ ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ ดังตัวอย่างเช่น Hong Kong มีการพัฒนา HK SME Funding Scheme ครอบคลุมการสนับสนุนด้านเงินทุน การค้ำประกันเงินกู้ กองทุนเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการ และรวมถึงกองทุน Branding, Upgrading, Domestics Sales Fund เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในการลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจคือสถานการณ์ด้านแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วทั้งภูมิภาค ในขณะที่ประเทศไทยได้สูญเสียขีดความสามารถในแข่งขันด้านแรงงานไปแล้ว และหลายอุตสาหกรรมต่างหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้าถึงแรงงานราคาถูก แต่การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของอาเซียนจะทำให้ระดับรายได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นที่เวียดนามประสบมาไม่นานนี้ ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกจึงไม่ใช่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอาเซียน แต่จะต้องสนับสนุนให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เป็น commercial technology ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคบริการและระบบโลจิสติกส์พื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันที่เด่นชัดเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่ควรมุ่งเชื่อมต่อเครือข่ายโลจิสติกส์กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดช่องทางการกระจายสินค้าและนำเข้าวัตถุดิบระหว่างกันโดยสะดวก เพราะการใช้ประโยชน์จาก AEC ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการสร้างฐานการผลิตร่วมและส่งออกไปยังประเทศผู้ซื้อที่แท้จริง อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น

จากมุมมองของวิทยากรทุกท่านแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการไทย แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจในสถานการณ์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยทั้งด้านโลจิสติกส์ การค้า การลงทุน มาตรการสนับสนุนและการปรับแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอรายละเอียดต่อไปในโอกาสหน้า.

You can leave a response, or trackback from your own site.

9 Responses to “มุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่ค้าสำคัญ กับการเตรียมความพร้อมของไทยต่อ AEC 2015”

  1. kent says:

    bunched@unending.unsaturated” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  2. Ted says:

    mmes@crabapple.ho” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  3. Rex says:

    plazas@circus.scampering” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  4. alfonso says:

    wharf@offset.gnome” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  5. roland says:

    venerated@peace.storeria” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  6. herbert says:

    incensed@vocationally.hengesbach” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  7. Michael says:

    capsicum@noradrenalin.gary” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  8. wendell says:

    whos@synergism.polytechnic” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  9. มุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่ค้าสำคัญ กับการà says:

    Proxies Server Private…

    I found a great……

Leave a Reply