โอกาสหรืออุปสรรคของนักธุรกิจไทยในพม่า

Threat or opportunity for Thai businessmen in Myanmar

โอกาสหรืออุปสรรคของนักธุรกิจไทยในพม่า

หลายคนอาจเข้าใจว่าประเทศพม่าเป็นประเทศเล็ก เป็นประเทศปิด แต่จริงๆแล้วกลับเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่กำลังจะมองหาโอกาสในการลงทุน หลายคนอาจจะบอกว่าน่าไปทำที่อื่นจะดีกว่า ความเสี่ยงน้อยกว่า  ณ วันนี้พม่ากลายเป็นหลุมทองก้อนใหญ่ของหลายประเทศที่จะเข้าไปลงทุน  เพื่อให้นักลงทุนคลายความกังวลผมจะบอกถึงโอกาสที่เป็นไปได้ครับ

สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในสหภาพพม่า

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1988 พม่าประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (The Union of Myanmar Foreign Investment Law: FIL) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศและดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่ามากขึ้น ทั้งนี้ภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับนี้ รัฐบาลพม่าได้ให้สิทธิประโยชน์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่นักลงทุนต่างชาติมากมาย ดังนี้

(a)     นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในพม่าได้ทั้งในรูปแบบที่ต่างชาติเป็นเจ้าของ 100% (100% Foreign Owned) หรือในรูปของการร่วมลงทุน (Joint Venture) กับนักลงทุนท้องถิ่น

(b)     นักลงทุนต่างชาติจะต้องร่วมทุนอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 35 ของ Equity Capital ทั้งหมด นักลงทุนต่างชาติจะต้องลงทุนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) และ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับธุรกิจบริการ (services)

(c)     สิทธิประโยชน์ด้านภาษี อาทิเช่น

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Tax Holiday) ในช่วง 3 ปีแรกของการประกอบธุรกิจ
  • ยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรสะสมที่นำกลับมาลงทุนใหม่อีกครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่มีกำไรเกิดขึ้นธุรกิจ
  • ธุรกิจส่งออกจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% ของผลกำไรที่ได้จากการส่งออก
  • สิทธิในการชำระภาษีเงินได้สำหรับแรงงานชาวต่างชาติในอัตราเดียวกับผู้ปฏิบัติงานสัญชาติพม่า
  • สิทธิในการชำระภาษีเงินได้ในฐานะของผู้ใช้แรงงานต่างชาติและนำไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้
  • สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสินค้า (R&D)
  • สิทธิในการบันทึกค่าเสื่อมราคาสะสมในระบบบัญชี
  • สิทธิในการจัดตั้งบัญชีขาดทุนสะสมนาน 3 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่มีสภาพการขาดทุนเกิดขึ้นต่อกิจการ
  • ยกเว้นภาษีศุลกากร สำหรับนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสำนักงาน
  • ยกเว้นศุลกากร สำหรับนำเข้าวัตถุดิบเป็นระยะเวลา 3 ปีแรกในการดำเนินกิจการ

(d)     สิทธิในที่ดิน

  • นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่สามารถเช่า (Lease) ที่ดินได้ในระยะเวลานานถึง 30 ปี หรือนานกว่านั้น ตามการพิจารณาของ MIC และรัฐบาล
  • ตามกฎหมาย Transfer of Immovable Property Restriction Law (1987) นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากภาคเอกชนได้นานเกิน 1 ปี
  • นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าพื้นที่ดำเนินการระยะยาว (Long Term Lease) ได้จากรัฐบาลพม่า โดยค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่อุตสาหกรรม (Industrial Zone) ของรัฐบาล อยู่ในอัตรา 3 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตารางเมตรต่อปี

(e)     ธุรกิจต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในพม่าภายใต้กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศจะไม่ถูกยึดกิจการมาเป็นของพม่า (shall not be nationalized) ทั้งนี้ พม่าอนุญาตให้จัดส่งเงินทุน (Capital) และผลกำไรสุทธิ (Net Profit) กลับไปยังประเทศแม่ได้

(f)       รัฐบาลพม่าให้ความคุ้มครองนักลงทุนชาวต่างชาติตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติโอนเงินทุนและผลกำไรกลับประเทศได้ และให้การรับรองว่ากิจการของนักลงทุนต่างชาติจะไม่ถูกยึดหรือถูกโอนไปเป็นของรัฐบาลในช่วงระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุน หรือช่วงที่ขยายเวลาในการลงทุนออกไป (ถ้ามี) ยกเว้น เป็นการกระทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะได้รับเงินชดเชยตามความเหมาะสม

สถาบันการเงินของสหภาพพม่า

ในปัจจุบันระบบการธนาคารของพม่า ประกอบด้วย  ธนาคารกลาง ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ จำนวน 4 แห่ง  ธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่าประมาณ 8 แห่ง  และสำนักงานตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติประมาณ 11 แห่ง  ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงาน  ดังนี้

ก. ธนาคารกลางแห่งสหภาพพม่า   (The Central Bank of Myanmar) ทำหน้าที่ควบคุมสถาบันการเงินทั้งหมด กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากอัตราส่วนของสินทรัพย์และหนี้สิน  อัตราแลกเปลี่ยนและออกธนบัตร

ข. ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ ได้แก่

-     The Myanmar Economic Bank (MEB) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านสินเชื้อแก่รัฐ  และเอกชนในพม่าพร้อมทั้งบริการรับฝากผ่านสาขา 259 แห่งทั่วประเทศ  โดยมี  Myanmar Small Loans Enterprise ซึ่งเป็น สาขาของ Myanmar Economic Bank ดูแลสถานธนานุเคราะห์

-     The Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) ทำหน้าที่ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและธุรกิจการธนาคารระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกของพม่า ธนาคารนี้ไม่รับฝากสะสมทรัพย์     มีแต่บัญชีเดินสะพัด  และให้กู้เป็นเงินตราต่างประเทศ  ภายใต้การอนุมัติของรัฐในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน

-     The Myanmar Agriculture and Rural Development Bank (MARDB) ทำหน้าที่ให้บริการด้านการเงินแก่ภาคเกษตรกรรมภายในประเทศ เช่น การให้เงินกู้แก่เกษตรกร  โดยผ่านธนาคารในท้องถิ่น (Village Bank) ให้เงินกู้สหกรณ์และธุรกิจที่ประกอบกิจการทางด้านการเกษตร และปศุสัตว์

-     The Myanmar Investment and Commercial Bank (MICB) ทำหน้าที่ให้บริการด้านสินเชื่อแก่หน่วยธุรกิจที่ลงทุนในสหภาพพม่า รับฝากเงินระยะสั้น และระยะยาว  โดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนการจัดหาเงินกู้เพื่ออสังหาริมทรัพย์และการลงทุน

ค. ธนาคารพาณิชย์เอกชน ธนาคารพาณิชย์เอกชนของสหภาพพม่าได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ  (Domestic Business) เท่านั้น ไม่สามารถทำธุรกิจด้านต่างประเทศได้ (Foreign Transaction)  ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เอกชนของสหภาพพม่ามี 8 แห่ง  ได้แก่

-               The Myanmar Citizen Bank  เป็นธนาคารเอกชนรายแรก  เป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท Joint Venture Corporation Limited และรัฐบาลพม่า

-               The Yangon City Bank

-               The First Private Bank

-               The Myawaddy Bank

-               The Co-operative Bank

-               The Yoma Bank

-               The Yadanarbon Bank

-               The East Oriented Bank

ง. ธนาคารต่างประเทศ  (สำนักงานตัวแทน)

ภายใต้กฎหมายธนาคารกลางของพม่าที่เรียกว่า Central Bank of Myanmar Law and the Financial Institutions of Myanmar Law กำหนดให้ธนาคารต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสำนักงานตัวแทน (Representative Office)  ได้เท่านั้นและดำเนินธุรกิจได้เพียงการเป็นสำนักงานติดต่อประสานงาน (Liaison)  ในปัจจุบันสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสำนักงานและดำเนินการแล้ว  มีธนาคารพาณิชย์ของไทย 6 ธนาคาร และอีก 5 แห่งเป็นธนาคารของประเทศสิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ดังนี้

-                    ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

-                    ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

-                    ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

-                    ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

-                    ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

-                    ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

-                    The Banque Indosuez

-                    The Development Bank of Singapore

-                    The United Overseas Bank Singapore

-                    The Overseas Chinese Bank Corporation

-                    The Kepple Bank of Singapore

การลงทุนจากต่างประเทศในสหภาพพม่า

ตั้งแต่พม่าเปิดประเทศในปี 1988 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2549 คณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุนแห่งสหภาพพม่า (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 398 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 7,785.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากประเทศผู้ลงทุนทั้งหมด 27 ประเทศ ประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนสะสมในพม่ามากที่สุด คือ สหราชอาณาจักร รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ และไทย ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 1 ประเภทธุรกิจที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด คือ การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและการท่องเที่ยว และเหมืองแร่ ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 2 อย่างไรก็ตามในปี 2553 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในสหภาพพม่าเป็นอันดับที่ 1 โดยภาคเอกชนไทยลงทุนในสหภาพพม่ารวมทั้งสิ้น 61 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี 2531-2553 คิดเป็นมูลค่า 9,568.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 30 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด ส่วนประเทศที่ลงทุนในพม่าเป็นอันดับที่ 2 คือ จีน และอันดับที่ 3 คือ ฮ่องกง การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ สาขาพลังงาน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ สาขาอุตสาหกรรม ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ปศุสัตว์และประมง การแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม และสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว ตามลำดับ

ตารางที่ 1: การลงทุนจากต่างประเทศสะสมที่ได้รับการอนุมัติจากทางการพม่า

(ตั้งแต่ปี 1988 – 31 มกราคม 2010) จำแนกตามประเทศผู้ลงทุน

ประเทศผู้ลงทุน จำนวน (โครงการ) เงินลงทุน
ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน (%)
  1. 1. สหราชอาณาจักร*
40 1,569.5 20.2
  1. 2. สิงคโปร์
70 1,432.2 18.4
  1. 3. ไทย
56 1,345.6 17.3
  1. 4. มาเลเซีย
33 660.7 8.5
  1. 5. ฮ่องกง
31 504.2 6.5
  1. 6. ฝรั่งเศส
3 470.4 6.0
  1. 7. สหรัฐอเมริกา
15 243.6 3.1
  1. 8. อินโดนีเซีย
12 241.5 3.1
  1. 9. เนเธอร์แลนด์
5 238.8 3.1
10. ญี่ปุ่น 23 215.3 2.8
11. อื่นๆ 110 862.1 11.0
รวม 398 7,785.9 100

หมายเหตุ: * = Inclusive of enterprises incorporated in British Virgin Islands, Bermuda Islands and Cayman Islands.

ที่มา : Myanmar Investment Commission (MIC)

ตารางที่ 2: การลงทุนจากต่างประเทศสะสมที่ได้รับการอนุมัติจากทางการพม่า

(ตั้งแต่ปี 1988 – 31 มกราคม 2010) จำแนกตามประเภทธุรกิจ

ประเภทธุรกิจ จำนวน (โครงการ) เงินลงทุน
ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วน (%)
  1. 1. การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
71 2,634.9 33.8
  1. 2. อุตสาหกรรมการผลิต
152 1,610.4 20.7
  1. 3. อสังหาริมทรัพย์
19 1,056.5 13.6
  1. 4. โรงแรมและการท่องเที่ยว
43 1,034.6 13.3
  1. 5. เหมืองแร่
58 534.9 6.9
  1. 6. การขนส่งและการคมนาคม
16 313.3 4.0
  1. 7. ปศุสัตว์และประมง
24 312.4 4.0
  1. 8. นิคมอุตสาหกรรม
3 193.1 2.5
  1. 9. การก่อสร้าง
2 37.8 0.5
10. เกษตรกรรม 4 34.3 0.4
11. บริการอื่น ๆ 6 23.7 0.3
รวม 398 7,785.9 100.0

ที่มา : Myanmar Investment Commission (MIC)

โครงการลงทุนที่สำคัญจากต่างประเทศ

(1)     โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเส้นทางรถไฟ

บริษัทของจีนเข้าไปลงทุนท่าเรือน้ำลึกและคลัง เก็บน้ำมันดิบที่เมืองเจียวเพียว (Kyaukpyu)  รัฐอาระกัน (Arakan State)  บริเวณอ่าวเบงกอลในทะเลอันดามัน  และก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและแอฟริกาและท่อขนส่งก๊าซ ธรรมชาติคู่ขนานผ่านดินแดนพม่าระยะทาง 800 กิโลเมตรตามเส้นทางเจียวเพียว-มัฆฑะเลย์-ลาโช-มูเซ และต่อไปที่เมืองรุ่ยลี่ของจีน คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2556  ซึ่งจะทำให้จีนลดการพึ่งพาการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านช่องแคบมะละกา ที่เสี่ยงต่อการถูกปิดกั้นในสภาวะสงคราม นอกจากนี้ จีนยังพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองเจียวเพียว ไปสู่ชายแดนเมืองรุ่ยลี่ในมณทลยูนนานของจีนอีกด้วย

(2)     โครงการพัฒนาท่าเรือซิตตะเว (Sittewe)

รัฐบาลอินเดียได้มีโครงการร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับรัฐบาลพม่าในการพัฒนาท่าเรือชิตตะเว ในอ่าวเบงกอล ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ที่ไม่มีทางออกทะเลสามารถออกทางอ่าวเบงกอลได้ โครงการนี้คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2555

(3)     โครงการพัฒนาท่าเรือทวาย (Dawei) หรือทวายโปรเจค (Dawei Project)

รัฐบาลไทยได้ลงนามความร่วมมือครั้งแรกกับ รัฐบาลพม่าในการก่อสร้างท่าเรือทวายเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2551 ต่อมาได้ลงนามในเอกสารเพิ่มเติม ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จัดขึ้นที่หัวหินเมื่อเดือนตุลาคม 2552 เพื่อยกระดับโครงการนี้เป็นยุทธศาสตร์ประเทศ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

-                    โครงการ นี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดทวายของพม่า มีมูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 4 แสนล้านบาท หรือกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งยังจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับพม่าอีกไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท

-                    เป็นโครงข่าย Westgate Landbridge หรือเส้นทางเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลตะวันตก-ทวาย หรือ Dawei (พม่า)- บ้านพุน้ำร้อน (ไทย)-กาญจนบุรี-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง  และเป็นลักษณะ Port City อันประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก ที่เรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ  3 แสนเดทเวทตัน สามารถเข้าไปจอดในระยะห่างจากท่าเรือ 5-10 กิโลเมตรได้  อู่ต่อเรือขนาดใหญ่  เขตนิคมอุตสาหกรรม ที่จะมีโรงงานผลิตปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน  โรงไฟฟ้า โรงงานเหล็ก ที่พักอาศัย พื้นที่ส่วนราชการเพื่อดูแลการบริหารจัดการ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นฐานการผลิตและประตูการขนส่งด้านฝั่งทะเลตะวันตกของ ไทย ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากทะเลจีนใต้มายังทะเลอันดามัน หรือจากเวียดนามมายังพม่าเพียง 6 วัน จากปัจจุบันที่ต้องใช้เวลาในการขนส่งนานถึง 16-18 วัน

-                    บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ร่วมลงนามใน Framework Agreement กับ Myanmar Port Authority, Ministry of Transport ของสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เพื่อรับสัมปทานในการดำเนินการพัฒนาโครงการนี้ทั้งหมด โดย ITD จะได้เชิญนักลงทุนที่มีความชำนาญในแต่ละประเภทธุรกิจเข้ามาร่วมลงทุนใน โครงการดังกล่าว โดยสัญญาฉบับนี้มีอายุ 60 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุสัญญาได้อีกตามที่จะตกลงในอนาคต สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างโครงการประมาณ 10 ปี แบ่งเป็นช่วงเวลา (Phasing) ดังนี้

  • Phase 1 ระยะเวลา 5 ปี (1 มกราคม 2554 – 31 ธันวาคม 2558) ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โครงข่ายถนนหลักภายในโครงการและสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักของนิคมฯ และเส้นทางเชื่อมต่อโครงการไปยังประเทศไทย ใน Phase 1 นี้จะสร้างท่าเรือและถนนไปพร้อมกัน ระยะแรกจะเป็นถนนมาตรฐาน 4 เลน และขยายเป็น 8 เลนในระยะ 10 ปี โดยจะเก็บค่าผ่านทางจากทวายถึงบ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 160 กิโลเมตร ในส่วนของไทยโดยกรมทางหลวงจึงต้องเตรียมถนนมอเตอร์เวย์จากบางใหญ่มาที่ กาญจนบุรี ระยะทาง 97 กิโลเมตร และจากกาญจนบุรีมาที่บ้านพุน้ำร้อน 60 -70 กิโลเมตร (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1)
  • Phase 2 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจาก Phase ที่ 1 เริ่มไปได้ 3 ปี (1 มกราคม 2556 – 31 ธันวาคม 2561) ประกอบด้วยโครงข่ายถนนภายในโครงการระยะที่ 2 และระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติมของโครงการรวมทั้งศูนย์การค้าและศูนย์ราชการ (ดังแสดงในแผนภาพที่ 2)
  • Phase 3 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจาก Phase 1 แล้วเสร็จ (1 มกราคม 2559-31 ธันวาคม 2563) ประกอบด้วยท่าเรือ น้ำลึกส่วนที่ 2 พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงข่ายถนนภายในโครงการเต็มรูปแบบ รวมทั้งทางรถไฟ Standard Gauge รางกว้าง 1.435 เมตร จากโครงการถึงประเทศไทย ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จากโรงไฟฟ้าในพื้นที่โครงการถึงประเทศไทย และระบบท่อส่งน้ำมัน และก๊าซจากโครงการถึงประเทศไทย(ดังแสดงในแผนภาพที่ 3)

แผนภาพที่ 1: เส้นทางก่อสร้างถนนโครงการก่อสร้างท่าเรือทวายในส่วนของประเทศไทยจากบางใหญ่-บ้านพุน้ำร้อน

แผนภาพที่ 2: โครงการก่อสร้างท่าเรือทวายใน Phase 2 และ 3

-                    โครงการท่าเรือทวาย สหภาพพม่าให้สิทธิพิเศษเป็นเขตเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone: DSEZ)  ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของสหภาพพม่าและน่าจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะได้รับสิทธิพิเศษในการขออนุมัติด้านต่าง ๆ อาทิ สิทธิพิเศษนำเข้าเครื่องจักร คนงาน วัสดุ ฯลฯ หากผลิตในเขตเศรษฐกิจพิเศษ DSEZ จะได้รับยกเว้นภาษี โดยแผนภาพที่ 1.11 แสดงสิทธิประโยชน์ในด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้

แผนภาพที่ 3: สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (DSEZ)

โอกาสในการลงทุนและลู่ทางในการทำการค้า

สหภาพพม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุน เพื่อผลิตสินค้ารองรับการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก แม้ว่าสหภาพพม่าจะเปิดให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาทุน สหภาพพม่ายังคงจำกัดการลงทุนจากต่างชาติให้สามารถลงทุนได้ในบางประเภทอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องธุรกิจภายในประเทศ โดยธุรกิจที่สำคัญ เช่น การเพาะปลูกและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ แปรรูปเนื้อสัตว์ ประมงและการแปรรูปอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการรักษาสัตว์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสินค้าไทยที่มีศักยภาพและมีลู่ทางในการขยายตลาดในพม่า ได้แก่

  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสหภาพพม่าไม่สามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคได้เพียงพอกับความต้องการบริโภค และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคของสหภาพพม่ายังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำให้ต้องการสินค้าในหมวดนี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ประกอบการและผู้ส่งออกของไทย ควรเพิ่มการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าไปสู่ตลาดพม่าให้มากขึ้น และใช้สหภาพพม่าเป็นฐานในการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคไปสู่ตลาดเอเซียใต้ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ และจีนได้
  • สินค้าวัตถุดิบและอะไหล่สำหรับอุตสาหกรรม สหภาพพม่าต้องการส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ทำให้มีการขยายตัวด้านการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อการส่งออกส่งผลให้สหภาพพม่ามีความต้องการสินค้าประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ผู้ส่งออกของไทยควรเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ให้มากขึ้น
  • สินค้าประเภททุน ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากจากตลาดสหภาพพม่า เนื่องจากสหภาพพม่ายังต้องพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศอยู่หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสาธารณูปโภค และเส้นทางคมนาคมการขนส่งทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศอีกหลายเส้นทาง ดังนั้นการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าจากกลุ่มประเทศเอเซียทำให้สหภาพพม่าต้องนำเข้าสินค้าในหมวดนี้มาก ผู้ส่งออกของไทยควรเร่งติดต่อผู้นำเข้าที่มีศักยภาพของสินค้าในหมวดนี้

และเนื่องด้วยสหภาพพม่าเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ และสหภาพพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะแก่การเป็นฐานทางด้านวัตถุดิบ รวมทั้งรัฐบาลพม่าได้ให้การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก กิจการที่ควรลงทุนในสหภาพพม่ามีดังต่อไปนี้

  • การประมง สหภาพพม่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลอยู่มาก และรัฐบาลพม่าได้ให้สัมปทานการประมงแก่บริษัทต่างชาติ โดยกำหนดให้เป็นการร่วมลงทุนเท่านั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนของไทย ที่จะเข้าไปร่วมลงทุนทำการประมง นอกจากนี้การลงทุนในกิจการต่อเนื่องทางด้านการประมง ก็เป็นลู่ทางการลงทุนที่น่าสนใจมาก และรัฐบาลพม่าเองก็สนับสนุนธุรกิจการประมงแบบครบวงจร
  • การทำเหมืองแร่ สหภาพพม่ามีแร่ธาตุและอัญมณีอยู่ตามรัฐต่างๆ ประมาณ 16 รัฐ ซึ่งการทำเหมืองแร่ในปัจจุบันสหภาพพม่ายังใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย รัฐบาลพม่าต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อนำเทคโนโลยีและเงินลงทุนเข้ามาพัฒนาการทำเหมืองแร่ในสหภาพพม่าจึงเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนไทย ที่จะเข้าไปลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในพม่า
  • อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ สหภาพพม่ามีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณร้อยละ 42.30 ของพื้นที่ทั้งหมด และป่าไม้ที่มีส่วนใหญ่จะเป็นไม้สัก ปัจจุบันรัฐบาลพม่ากำหนดให้เอกชนพม่าเป็นผู้ทำไม้เท่านั้น และมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป
    • อุตสาหกรรมการเกษตร สหภาพพม่าสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีเทคโนโลยีและเงินลงทุนในการสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร
    • ธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสหภาพพม่าในด้านต่างๆ และรองรับการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการในสหภาพพม่า
    • ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว สหภาพพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการลงทุนในธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวนี้ จึงเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นักธุรกิจไทยน่าจะเข้าไปลงทุน

You can leave a response, or trackback from your own site.

11 Responses to “โอกาสหรืออุปสรรคของนักธุรกิจไทยในพม่า”

  1. Vincent says:

    create@nahce.choosy” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  2. arturo says:

    jot@rummy.forces” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  3. Homer says:

    fertilizers@compete.pliers” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  4. brad says:

    krauts@side.ingratitoode” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  5. kenny says:

    younguh@thudding.anomaly” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  6. Derrick says:

    stage@arteriolar.dour” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  7. wallace says:

    unwittingly@conspired.workpiece” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  8. luther says:

    foursome@expectancy.swathed” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  9. Jacob says:

    vallee@sliding.eats” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  10. โอกาสหรืออุปสรรคของนักธุรกิจไทยในพม่า | Especially of Logisti says:

    Fastest Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply