“ก้าวอีกขั้น…ศุลกากรไทย ดันวาระช่วยผู้ส่งออกในเวทีศุลกากรโลก ให้ตีความพิกัดฯ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก”

One more step of Thai Customs Department to support Thai exporters with its international standard.

“ก้าวอีกขั้น…ศุลกากรไทย ดันวาระช่วยผู้ส่งออกในเวทีศุลกากรโลก ให้ตีความพิกัดฯ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

คุณกิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์

สำนักพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากร

สินค้าส่งออก นับเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมูลค่าส่งออกในไตรมาสแรกปี 2555 สูงถึงกว่า 1.69 ล้านล้านบาท1 มูลค่าตลาดโดยรวมสูงขึ้นและเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี และด้วยความหลากหลายของสินค้าที่มีมากขึ้น จากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต กลยุทธ์ทางธุรกิจ พฤติกรรมและความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทำให้เกิดปัญหา “การตีความพิกัดศุลกากรสินค้าแตกต่างกัน”

แม้เกือบทุกประเทศทั่วโลกจะใช้พิกัดศุลกากรระบบเดียวกัน คือ ระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) ในการจัดแบ่งกลุ่มประเภทของสินค้าเพื่อการกำหนดอัตราศุลกากรและการจัดเก็บสถิติการค้าระหว่างประเทศก็ตาม ผู้ที่ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ อาจต้องประสบปัญหาจากการที่ศุลกากรของแต่ละประเทศนั้นตีความพิกัดฯ สินค้าชนิดเดียวกันแตกต่างกันออกไป

ถึงแม้ว่าศุลกากรในหลายประเทศ จะได้นำบริการศุลกากรที่เรียกว่า การให้บริการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้ามาใช้ ช่วยให้ทราบพิกัดศุลกากรและอัตราอากรของสินค้านำเข้าล่วงหน้า ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าภาระภาษีได้ แต่ผลการวินิจฉัยฯ ล่วงหน้าก็มีข้อจำกัดที่ผลนั้นจะผูกพันเฉพาะกับศุลกากรของประเทศที่ออกคำวินิจฉัยเท่านั้น

องค์การศุลกากรโลก หรือ World Customs Organization (WCO) ผู้พัฒนาพิกัดศุลกากรระบบ ฮาร์โมไนซ์ขึ้นใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิก มีคณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System Committee) ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขพิกัดฯ สินค้าให้มีความทันสมัย และวินิจฉัยประเภทพิกัดฯ สินค้าให้กับประเทศสมาชิก รวมทั้งยังทำหน้าที่เสมือนเป็นศาลสำหรับตัดสินพิกัดศุลกากรสินค้าเมื่อเกิดข้อพิพาทในการตีความขึ้นระหว่างสมาชิก

เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกโดยการลดอุปสรรคทางการค้าเกี่ยวกับการตีความพิกัดฯ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ กรมศุลกากรได้นำเสนอประเด็นสินค้าเกี๊ยวกุ้งต่อองค์การศุลกากรโลกขอให้คณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์ วินิจฉัยพิกัดศุลกากรสินค้าดังกล่าวพร้อมเหตุผลสนับสนุนคำวินิจฉัยของไทย จากนั้น ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์ ครั้งที่ 48 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2554 เพื่อชี้แจง ให้ข้อมูล แสดงความเห็น และตอบข้อซักถามที่ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าและวิธีการบริโภคเกี๊ยวกุ้ง ก่อนพิจารณาตัดสิน ณ สำนักงานองค์การศุลกากรโลก

กรณีตัวอย่างปัญหาการส่งออกสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการตีความพิกัดศุลกากรสินค้าแตกต่างกัน : สินค้าเกี๊ยวกุ้ง

ลักษณะสินค้า

สินค้าชนิดที่ 1 เกี๊ยวกุ้งขาวต้มสุกแช่แข็งในน้ำซุปเข้มข้น บรรจุในถ้วยพลาสติก บริโภคโดยการเติมน้ำลงไปในถ้วยแล้วอุ่นในเครื่องไมโครเวฟ

สินค้าชนิดที่ 2 เกี๊ยวกุ้งขาวดิบแช่แข็ง บรรจุในกล่องกระดาษพร้อมกับผงปรุงน้ำซุปในซองขนาดเล็ก บริโภคโดยการต้มเกี้ยวกุ้งขาวดิบในน้ำร้อนเป็นเวลา 3 นาทีก่อนใส่ในผงปรุงน้ำซุปที่ละลายแล้ว

ปัญหาการตีความพิกัดฯ สินค้า

ผู้ส่งออกสินค้าไทยประสบปัญหาการส่งออกในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากสินค้าดังกล่าวถูกตีความพิกัดฯ สินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น

ศุลกากรอเมริกา เห็นว่า เกี๊ยวกุ้งจัดเป็น สินค้าประเภทกุ้งปรุงแต่ง ในประเภท 16.05 เนื่องจากมีปริมาณกุ้งเกินกว่าร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก
ศุลกากรฝรั่งเศส เห็นว่า เกี๊ยวกุ้งจัดเป็น สินค้าประเภทพาสต้ายัดไส้ ในประเภท 19.02 เนื่องจากสินค้ามีลักษณะอย่างเดียวกับพาสต้า
ศุลกากรแคนาดา เห็นว่า เกี๊ยวกุ้งจัดเป็น สินค้าประเภทซุป ในประเภท 21.04 เนื่องจากผู้บริโภคจะบริโภคเกี๊ยว (ซุป) ก่อนอาหารจานหลัก (Main dish) ในลักษณะเดียวกันกับการบริโภคซุป และชื่อสินค้าคือ Wonton Soup บ่งบอกชัดเจนว่าสินค้านี้จัดเป็นซุป
แม้ว่าศุลกากรไทย จะได้แจ้งผลการวินิจฉัยว่า เกี๊ยวกุ้งจัดเป็นสินค้าประเภทพาสต้ายัดไส้ ในประเภท 19.02 ให้ผู้ส่งออกสินค้าทราบเป็นหนังสือ แต่ก็ไม่อาจนำผลการวินิจฉัยไปใช้อ้างอิงกับประเทศอื่น

ความเห็นของที่ประชุมฯ และมติของคณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์

ที่ประชุมมีความเห็นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 เห็นว่าเกี๊ยวกุ้งทั้งสองชนิดจัดอยู่ในกลุ่มของกุ้งปรุงแต่ง (ประเภท 16.05) เนื่องจากทางการค้าไม่ได้จัดให้เกี๊ยวอยู่ในกลุ่มเดียวกับพาสต้า และไม่อาจใช้เกี๊ยวทดแทนพาสต้า

กลุ่มที่ 2 เห็นว่าเกี๊ยวกุ้งในน้ำซุปเข้มข้นถูกบริโภคในลักษณะอย่างเดียวกับซุปอื่นๆ และเห็นว่าซุปก็สามารถมีชิ้นเนื้อหรือผักปนอยู่ได้ จึงควรจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับซุป (ประเภท 21.04)

กลุ่มที่ 3 เห็นว่าเกี๊ยวกุ้งมีลักษณะและวิธีการบริโภคอย่างเดียวกับพาสต้า (ประเภท 19.02) และระบบฮาร์โมไนซ์ตามพิกัดฯ ดังกล่าวไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับปริมาณกุ้งในตัวเกี๊ยว

คณะกรรมการฯ มีมติ ด้วยเสียงส่วนใหญ่ เห็นชอบให้เกี๊ยวกุ้งทั้งสองชนิดจัดอยู่ในกลุ่มของพาสต้า และผลคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรหรือองค์การศุลกากรโลกให้สินค้าดังกล่าวจัดอยู่ในประเภท 19.02 (ประเภทย่อย 1902.20) ในฐานะเป็น พาสต้ายัดไส้

ในที่สุดก็ได้พิกัดฯ ที่แน่นอนของ “เกี๊ยวกุ้ง” นั่นคือ ประเภท 19.02 (ประเภทย่อย 1902.20) ในฐานะเป็นพาสต้ายัดไส้ ไม่ใช่ซุป ไม่ใช่กุ้งปรุงแต่งอีกต่อไป…

ปัจจุบัน องค์การศุลกากรโลกเผยแพร่คำวินิจฉัย “พิกัดศุลกากรสินค้าเกี๊ยวกุ้ง (Classification Decisions of “Shrimp wonton” product)” ทางเว็บไซต์ www.wcoomd.org และเผยแพร่ในเอกสารสรุปคำวินิจฉัยพิกัดฯ ระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก (Compendium of Classification Opinions) เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศได้ใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงพิกัดศุลกากรได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ปัญหาทำนองเดียวกันยังเกิดขึ้นกับสินค้าอาหารแช่แข็งส่งออกของไทยอีกหลายชนิด เช่น ผัดไทย อาหารสำเร็จรูปชนิดต่างๆ การแก้ไขปัญหาการส่งออกข้างต้นเป็นตัวอย่างการใช้เวทีระหว่างประเทศภาครัฐมาช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออกให้กับภาคเอกชนที่ประสบปัญหาการตีความสินค้าที่แตกต่างระหว่างศุลกากรแต่ละประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจพิจารณาใช้กลไกระหว่างประเทศผลักดันให้สินค้าไทยบรรจุอยู่ในพิกัดศุลกากร ซึ่งในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยการกำหนดรายการสินค้าเข้าไว้ใน ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature หรือ AHTN ส่วนในระดับสากล โดยการกำหนดรายการสินค้าเข้าไว้ใน Harmonized System หรือ HS

เศรษฐกิจของประเทศไทยพึ่งพาการส่งออก และกรมศุลกากรเป็นกลไกหนึ่งของรัฐที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมการส่งออกตามนโยบายของรัฐบาลในอันที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกให้กับผู้ประกอบการด้านการส่งออก การแก้ไขปัญหาศุลกากรในตลาดต่างประเทศให้กับภาคเอกชน ยังก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อันจะทำให้กรมศุลกากรได้รับทราบปัญหาอุปสรรคที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น และเป็นโอกาสให้กรมศุลกากรได้รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงพิกัดศุลกากรเชิงรุก และมีประสิทธิภาพ สามารถลดข้อขัดแย้งในการจำแนกประเภทพิกัดสินค้า ลดภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า เสริมสร้างโอกาสในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการแข่งขันทางการค้าของประเทศและของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต

1.อ้างอิงจาก Thai Trading Rep

You can leave a response, or trackback from your own site.

18 Responses to ““ก้าวอีกขั้น…ศุลกากรไทย ดันวาระช่วยผู้ส่งออกในเวทีศุลกากรโลก ให้ตีความพิกัดฯ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก””

  1. roy says:

    precious@ills.coalescence” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  2. terrence says:

    assaults@causes.calculable” rel=”nofollow”>.…

    спасибо за инфу!!…

  3. Marion says:

    prosodic@takings.tornadoes” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  4. jon says:

    boal@exhumations.balloons” rel=”nofollow”>.…

    спасибо за инфу….

  5. joshua says:

    rossoff@carbondale.redeem” rel=”nofollow”>.…

    tnx….

  6. James says:

    rioters@plymouth.require” rel=”nofollow”>.…

    tnx!!…

  7. Glenn says:

    seas@automotive.tends” rel=”nofollow”>.…

    tnx!!…

  8. ben says:

    revrend@sulamite.decreases” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  9. Carlos says:

    annie@outposts.funeral” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  10. Nelson says:

    scepticism@kizzie.rome” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  11. corey says:

    nanook@demi.dealt” rel=”nofollow”>.…

    good info!!…

  12. walter says:

    corrette@procrastinate.genial” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  13. alfred says:

    sequenced@exteriors.replied” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  14. terrance says:

    braver@thynne.mindedly” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  15. randy says:

    unmindful@denuded.princes” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  16. Gregory says:

    clowns@daydreamed.majestys” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  17. Greg says:

    chillier@shun.matching” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

Leave a Reply