พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเรือกรุงเทพ สู่ HUB เชื่อมโยงขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรับ AEC

Sea port development ready for a hub of logistics and AEC

พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเรือกรุงเทพ สู่ HUB เชื่อมโยงขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรับ AEC

สถานการณ์ การขนส่งสินค้าของประเทศในปี 2555 นโยบายภาครัฐขาดความชัดเจนและต่อเนื่อง เหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและผู้บริหารประเทศบ่อยครั้ง   การขนส่งสินค้ากว่า 80 % ยังพึ่งการขนส่งทางถนน เมื่อปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นร่วมกับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนบุคคลอีก 200,000 คันในปี 2556 ย่อมส่งผลให้การจราจรติดคัดและเพิ่มต้นทุนการขนส่งเพราะจะต้องใช้เวลาการเดินทางเพิ่มขึ้นพร้อมกับการใช้น้ำมันมากขึ้น   ขณะที่การขนส่งระบบรางยังต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากในการปรับปรุง

ด้วยเหตุนี้ การขนส่งทางน้ำถือเป็นทางเลือกที่สามารถร่องรับปริมาณขนส่งที่เพิ่มขึ้นได้ในทันที ผลจากการพัฒนาตลอดระยะเวลา 6 ปี ผู้ประกอบการเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงในแม่ ได้สร้างเส้นทางการขนส่งทางน้ำประจำขึ้นหลายเส้นทาง อธิเช่น กรุงเทพ – แหลมฉบัง , สุราษฎร์ธานี – แหลมฉบัง , อยุธยา – แหลมฉบัง , กรุงเทพ – แม่กลอง เป็นต้น  อย่างไรก็ตามปริมาณการขนส่งทางชายฝั่งและเรือลำเลียง สามารถเพิ่มขึ้นอีกกว่า 50 % หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการเปิดบริการท่าเรือชายฝั่งเฉพาะทั้งที่การท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง โดยท่าต้องรับสินค้าขาเข้า,ขาออก และสินค้าภายในกระเทศได้ในที่เดียวกัน

ซึ่งจากการศึกษามีความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงท่าเรือชายฝั่งโกดัง 1,2 ของท่าเรือกรุงเทพให้รองรับได้ทั้งสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศได้  ดังนี้

รูปแบบที่ 1 แยกโกดัง 2 เป็นพื้นที่รับตู้สินค้าขาเข้าแต่คงโกดัง 1 ให้รับสินค้าขาออกและสินค้าภายในประเทศ

โครงสร้างของหน้าท่าโกดัง 2

ด้วยความยาวหน้าท่าโกดัง 2 มากว่า 150 เมตร สามารถรองรับเรือชายฝั่งขนาด 50 เมตรได้ 2 ลำในเวลาเดียวกัน  ด้านหลังท่ามีพื้นที่กองตู้ประมาณ 100-200 ใบ ทำให้มีความเป็นได้ในการปรับปรุงเป็นพื้นกองเก็บและเป็นที่ปล่อยตู้สินค้าขาเข้าที่มากับเรือชายฝั่ง ภายในโกดัง 2 มีสำนักงานของศุลกากรเดิมและโรงพักสินค้าประมาณ  4000 ตารางเมตร พร้อมรองรับสินค้าที่ต้องแกะเข้าโกดังได้เช่นกัน

ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

สายเรือใช้เอกสารและเดินพิธีการเช่นเดิม แต่จะง่ายขึ้นในการติดต่อประสานงาน เพราะจะแจ้งานกับทางเจ้าหน้าที่ท่าเรือและศุลกากรที่ประจำท่าโกดัง 2 จุดเดียว   ส่วนตัวของผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเรือชายฝั่งจะมีตารางเวลาเทียบท่าที่แน่นอน หลังจากที่เสียค่าภาระแล้วสามารถมารอรับสินค้าที่ ท่าโกดัง 2 ที่จุดเดียวได้เลย การขนย้ายตู้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะตัวท่าติดกับประตูทางออก ซึ่งจะไม่ประสบปัญหาการจราจรภายในเขตท่า

การคิดอัตราค่าภาระ อาจพิจารณาได้ 2แนวทาง ใช้อัตราภาระของท่าเรือชายฝั่งในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและลดค่าใช้จ่ายการขนส่งให้กับผู้ใช้บริการ   หรือกำหนดอัตราค่าภาระขาเข้าใหม่สำหรับตู้ขาเข้าที่มากับเรือชายฝั่ง

ข้อดีรูปแบบที่ 1

1) ใช้ พื้น, บุคลากร, และเครื่องมือของการท่าเรืออย่างเต็มประสิทธิภาพ

2) แก้ปัญหาการจราจรและความแออัดของการท่าเรือเขื่อนตัวออก ที่ขาดพื้นที่ในการกองเก็บตู้สินค้า

3) เพิ่มปริมาณเที่ยวเรือของเรือชายฝั่ง หากไม่ต้องเสียเวลาคอยเทียบท่าเขื่อนตะวันออกดังปัจจุบัน เรือชายฝั่งสามารถทำรอบได้ถึงวันละ 2 เที่ยวต่อลำเรือ ทำให้ประสิทธิภาพในการขนส่งทางเรือชายฝั่งเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

4) สร้างความเชื่อมั่นของสายเรือและผู้ใช้บริการ ต่อระบบการขนส่งด้วยเรือชายฝั่ง เพราะมีเวลาการขาออกของเรือที่ชัดเจน ไม่ต้องเสียเวลาคอยตู้ 3-7 วันยังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

รูปแบบที่ 2 อนุญาตให้ใช้ท่าเรือชายฝั่งโกดัง 1 ,2 ท่าขนถ่ายตู้สินค้าขาเข้า เพื่อผ่านไปในเขตรั้ว

ลักษณะแตกต่างจากรูปแบบที่ 1 ตรงที่ตู้สินค้าขาเข้าจะไม่มีการกองเก็บที่ท่า แต่หลังจากที่ยกขึ้นจากเรือชายฝั่งตู้สินค้าจะถูกย้ายเข้าไปที่ CY track หรือโกดังพิธีการเช่นเดียวกับการให้บริการในเขื่อนตะวันออก

ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ทางพิธีการศุลกากรได้มีการหารือขั้นต้น ซึ่งอาจสามารถอนุโลมได้เพราะสินค้ายกขึ้นจากเรือและวิ่งผ่านเข้าท่าเรือโดยตรง และการขนถ่ายดำเนินการด้วยเครื่องมือของการท่าเรือทั้งหมด  ขณะที่ผู้ใช้บริการสายเรือหรือผู้นำเข้ายังคงทำพิธีการเหมือนเดิม

อัตราค่าภาระ คงใช้อัตราเดิมแบบการนำตู้เข้าทางเขื่อนตะวันออก

ข้อดีของรูปแบบที่ 2

1) แก้ปัญหาความแออัดของท่าเรือและเพิ่มประสิทธิภาพของเรือชายฝั่งเช่นเดียวกับแบบที่ 1

2) มีพื้นที่ทั้งโกดัง 1,2 เพื่อรองรับการขนส่งภายในประเทศและการขนส่งขาออกในอนาคต ต่อไป

การเชื่อมโยงการขนส่งเรือชายฝั่งของท่าเรือกรุงเทพกับท่าเรืออื่นในประเทศไทย

หากท่าเรือชายฝั่งของท่าเรือกรุงเทพ สามารถให้บริการท่าเรือได้เต็มรูปแบบ ย่อมทำให้เรือชายฝั่งที่ขยายเส้นทางบริการออกไปได้ทุกทิศทาง เช่น สินค้าขาออกมาทางน้ำจากท่าเรืออยุธยาจะนำตู้ขาออกมาขึ้นที่ท่าเรือชายฝั่ง และใช้รถของท่าเรือนำส่งไปยังเขื่อนตะวันออก เพื่อรอขึ้นเรือออกต่างประเทศ  ขณะสินค้าวัตถุดิบขาเข้าในท่าเรือกรุงเทพสามารถย้ายออกจาก cy ในเขื่อนตะวันออก ใช้รถของท่าเรือนำตู้มาลงเรือชายฝั่ง เพื่อส่งไปที่ท่าเรืออยุธยาได้  ขณะที่สินค้าจากฝั่งตะวันออกมาบตาพุดหรือท่าเรือแหลมฉบัง จะส่งลงนครศรีธรรมราช , หาดใหญ่ หรือ สุราษฏร์ธานี   มาขึ้นท่าที่ท่าเรือชายฝั่งและส่งต่อด้วยรถไฟออกจากท่าเรือกรุงเทพ เพื่อขนส่งสินค้าลงใต้ได้เช่นกัน

นอกจากการเชื่อมโยงในรูปแบบของตู้สินค้า ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกิจการรมขนส่งต่อเนื่อง เช่น การนำสินค้ามาเก็บที่โกดังสินค้ารอบรรจุเข้าตู้ หรือการนำสินค้าออกจากตู้ขาเข้าเพื่อรอพักในโกดังรอการกระจายสินค้า แม้กระทั้งสินค้าทีผลิตแล้วของภายในประเทศ และใช้โกดังเพื่อรอส่งต่อให้กับผู้ซื้อต่อไป

ประโยชน์ของท่าเรือชายฝั่งเฉพาะ

ระบบขนส่งเรือชายฝั่งต้องรวมถึงท่าเรือที่ให้บริการสำหรับเรือชายฝั่งด้วย ซึ่งการใช้ท่าร่วมกับเรือต่างประเทศที่ทำอยู่ในปัจจุบัน  ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20,000 ทีอียูทุกปีของตู้ที่ใช้ระบบเรือชายฝั่ง ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้ายังคงดำเนินการตามรูปแบบเดิม ท่าเรือต่างประเทศจะประสบปัญหาการจัดการที่ต้องรองรับการเพิ่มจำนวนตู้ของเรือต่างประเทศไปพร้อมกับการเพิ่มของปริมาณตู้และเที่ยวเรือของระบบเรือชายฝั่ง ความแออัดของท่าเรือจะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งทางเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังที่เป็นท่าเรือหลักของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   หลังจากเปิด AEC 2015 น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้การหลั่งไหลเข้าออกของตู้สินค้าสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว

แต่หากเกิดท่าเรือชายฝั่งเฉพาะทั้งท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง  จะทำให้เกิดจาก SHIFT MODE จากทางถนนมาทางน้ำเพิ่มขึ้น เพราะระบบเรือชายฝั่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นใน ดังนี้

1)      เรือทำรอบได้ 2 เที่ยวต่อวัน

2)      ตารางเวลาที่แน่นอนของเวลาเข้าและออกของเรือแต่ละเที่ยว

3)      ใช้อัตราค่าภาระที่ต่างกับอัตราค่าภาระต่างประเทศ ทำให้ไม่มีการเพิ่มต้นทุนในการขนส่งทางน้ำ

4)      ขนาดของเรือชายฝั่งอาจเพิ่มเป็น 100 -300 ทีอียู ทำต้นทุนการดำเนินการต่อตู้ต่ำกว่าการใช้เรือชายฝั่งขนาด 60 ทีอียูในปัจจุบัน

5)      ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านเอกสารในการนำตู้เข้าและออก

กล่าวได้ว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเรือชายฝั่ง จะนำมาซึ่งผลดีต่อระบบ Logistics ของประเทศโดยรวม เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การขนส่งตู้สินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศกระทำได้อย่างตรงเวลาพร้อมกับค่าขนส่งที่ควบคุมได้ ขณะการขนส่งตู้สินค้าขาออกจากโรงงานไปต่อเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง ผู้ส่งออกใช้บริการได้ตามปริมาณของตู้สินค้าที่มีโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนมากหรือน้อย ที่สำคัญลดความเสี่ยงทางการขนส่งและปัญหาขาดแครนรถรับขนส่งตู้ในช่วงที่ความต้องการสูง เช่น ก่อนวันหยุดเทศกาลหรือก่อนสิ้นปี  เป็นต้น

อีกทั้งระบบเรือชายฝั่งยังต่อยอดในการปรับระบบการขนส่งภายในประเทศให้เป็นระบบตู้คอนเทเนอร์ ซึ่งทำให้ขนส่งค้าได้ตลอดทั้งปี ลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเก็บ stock ของสินค้าและความเสียหายระหว่างการขนส่ง

ที่สำคัญด้วยระบบเรือชายฝั่งที่สามารถขนส่งตู้สินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบังได้รวดเร็วและได้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น  จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีสายเรือใหม่ตัดสินใจนำเรือเข้าท่าแหลมฉบัง ขณะที่สายเรือที่ใช้บริการอยู่ปัจจุบันก็จะมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขนาดเรือที่ใหญ่ขึ้นจาก 2500 เป็น 5000 – 7000 ทีอียู

ด้วยการจัดการระบบการขนส่งที่ดีขึ้น ผลดีย่อมส่งถึงประเทศโดยรวม เริ่มตั้งแต่ การลดปริมาณการใช้น้ำมันในภาคการขนส่ง, การลดมวลภาวะในอากาศ, การสร้างความแข็งเกรงของกองเรือไทย, การเพิ่มตำแหน่งใหม่ทางภาคธุรกิจ และ สร้างโอกาสที่ประเทศไทยจะกลายเป็น HUB Logistics ของ ASEAN อย่างแท้จริง

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

แผนผังท่าเรือชายฝั่งที่ท่าเรือกรุงเทพ

You can leave a response, or trackback from your own site.

11 Responses to “พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเรือกรุงเทพ สู่ HUB เชื่อมโยงขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบรับ AEC”

  1. danny says:

    pimples@weldwood.disorderliness” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  2. mario says:

    swarming@christine.delenda” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  3. Alberto says:

    schedules@deeply.selflessness” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  4. kelly says:

    aware@praised.pedagogical” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  5. leo says:

    pbs@packing.nutrient” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!!…

  6. Anthony says:

    peptizing@huts.prosecutors” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  7. Hugh says:

    magic@dialects.pretty” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  8. พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเà says:

    Dedicated Private Proxies…

    I found a great……

  9. พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเà says:

    Clement Hysong…

    I found a great……

  10. พัฒนาท่าเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเà says:

    American Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply