บรูไน

บรูไน  

(State of Brunei Darussalam)

บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม เป็นประเทศทีมีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ มีประชากรเพียง 380,000 คน (น้อยกว่าสิงคโปร์ราว 12 เท่า) ซึ่งเกือบร้อยละ 70 นับถือศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อหัวของชาวบรูไนสูงถึงเกือบ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี สูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย เนื่องจากบรูไนมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นสินค้าส่งออกหลักซึ่งสร้างรายได้กว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด สะท้อนศักยภาพของบรูไนฐานะตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นตลาดที่นักลงทุนและผู้ส่งออกไทยไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะตลาดสินค้าฮาลาล บรูไน (Brunei) หรือรัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) (มาเลย์: Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วย รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ดังแผนภาพที่ 1.1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพที่ 1.1: บรูไนดารุสซาลามและอาณาเขตติดต่อ

ประเทศบรูไนตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียวในทะเลจีนใต้ มีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่าเขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมดโดยมีดินแดนอาณาเขตรวม 381 กิโลเมตร และมีอาณาเขตชายฝั่ง 161 กิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาทางทิศตะวันตก บันดาร์เสรีเบกาวัน (ภาษาอังกฤษ : Bandar Seri Begawan) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน

ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน ปัจจุบันกรุงบันดาเสรีเบกาวันเป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน

บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น 4 เขต คือ

(1)     Belait

เป็นเขตที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน เป็นฐานผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีเนื้อที่ 2,727 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 59,600 คน อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Kuala Belait เมืองอื่นๆที่มีชื่อเช่น Badas, Kerangan, Nyatan, Labi, Lumut, Seria, Sukang และ Talingan เขตนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกติดกับอำเภอ Tutang และทางทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย

(2)     Brunei และ Muara

เป็นเขตชุมชมเมืองที่เล็กที่สุดของประเทศบรูไน โดยมีเนื้อที่ 570 ตารางกิโลเมตร แต่เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดถึง 247,200 คน ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ มีเมืองเอกชื่อว่า บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบรูไนด้วย เมืองที่สำคัญมีเมือง Muara เขตนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนไต้ ทางทิศตะวันออกติดกับแหลมหรือ อ่าวบรูไน ทางทิศใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย และทิศตะวันตกติดกับ Tutong และที่อ่าวบรูไนซึ่งมีเกาะอีกหลายเกาะตั้งอยู่

(3)     Temburong

เป็นเขตพื้นป่าธรรมชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศบรูไน มีเนื้อที่ 1,306 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 9,400 คน เขต Temburong เป็นเขตที่ตัดขาดจากดินแดนของประเทศบรูไนโดยมีเพียงอ่าวบรูไนเท่านั้น เป็นตัวเชื่อมระหว่างเขตTemburong กับส่วนอื่นๆของประเทศบรูไน ดังนั้นเมื่อประชาชนประเทศบรูไนจากเขต Temburong จะเดินทางไปยังเขตอื่นๆของประเทศบรูไน จึงมีทางเดียวเท่านั้นที่เป็นดินแดนเดียวกัน นั้นคือการเดินทางทางทะเล โดยผ่านอ่าวบรูไน ส่วนการเดินทางทางบกนั้นจำเป็นต้องผ่านดินแดนของประเทศมาเลเซียส่วนที่เรียก ว่า Limbang ดังนั้นประชาชนชาวบรูไนจากg-9 Temburong ที่ต้องการเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของบรูไนโดยผ่าน Limbang จึงต้องใช้พาสปอร์ตในการเดินทางดังกล่าว

(4)     Tutong

เป็นเขตหนึ่งของประเทศบรูไน ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองดั้งเดิม มีเนื้อที่ 1,166 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 41,600 คน มีเมืองเอกชื่อว่า Tutong ส่วนเมืองที่สำคัญอื่นๆเช่น Kuala Abang , Lamunin, Melit, Penanjong และTelisai เขตนี้มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกกับอำเภอBrunei และMuara รวมทั้งประเทศมาเลเซีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับอำเภอ Belait

  1. 1.          โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศบรูไน

เนื่องประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยจึงมีการพัฒนาระบบการขนส่งที่ดี ชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในประเทศบรูไนมีตัวเลือกที่ในใช้บริการการขนส่งมากมาย อันได้แก่

1.1 ทางบก

ประเทศบรูไนมีทางหลวงสายหลักสายเดียวคือ Muara – Jerudong – Tutong มีความยาวประมาณ 1,712 กิโลเมตร การให้บริการรถเช่าในประเทศบรูไนมีราคาที่เหมาะสม รถเช่าเป็นบริการการขนส่งที่ดีที่สุดในประเทศบรูไน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำสะดวกและสามารถใช้บริการได้ตลอดเวลา  นอกจากนี้รถประจำทางมีราคาถูกและเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุดของการขนส่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีการบริการรถบัส 12 ชั่วโมง/วัน 06:00 – 18:00 น. สามารถใช้บริการได้อย่างง่ายดาย ส่วยรถแท็กซี่จะมีราคาแพงมากและมีอยู่เป็นจำนวนมาก  การขนส่งผู้โดยสารสามารถเรียกใช้ได้ตามความต้องการ ส่วนการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟจะไม่เป็นที่นิยมใช้ในการเดินทางประเภทนี้

1.2 ทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ในบรูไนเริ่มขึ้นในปี 1953 เที่ยวบินแรกไปยังประเทศมาเลเซียได้ทำเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจาก Labuan ในซาบาห์และ Lutong ในซาราวัก ปี 1970 การ เดินทางทางอากาศได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการสร้างสนามบินใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของ จำนวนผู้ใช้ ที่เพิ่มสูงขึ้น สนามบินใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในเมือง Mukim Berakas และเปิดใช้งานในปี 1974 ปัจจุบันประเทศบรูไนมีสายการบินพาณิชย์หนึ่ง คือ สายการบินรอยัลบรูไน ซึ่งสายการบินแห่งชาติบรูไนก่อตั้งเมื่อ 18 พฤศจิกายน 1974 บริษัทเอกชนจะเป็นผู้ถือหุ้นเองทั้งหมด รอยัล บรูไนสายการบินที่มีเที่ยวบินตรงจาก Bandar Seri Begawan ไปยังจุดหมายปลายทางหลายแห่งทั่วโลก และยังเชื่อมต่อไปยังจุดที่สำคัญในเกาะบอร์เนียวเช่น Kuching, Gunung Mulu National Park เนื่องจากรอยัลบรูไนเป็นสายการบินมุสลิม จึงไม่สามารถรองรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเที่ยวบินได้

1.3 ทางน้ำ

ประเทศบรูไนมีท่าเรือที่ขนถ่ายสินค้าอยู่ทั้งหมด 6 แห่ง โดยแบ่งเป็นของภาครัฐ 3 แห่งและภาคเอกชน 3 แห่ง ท่าเรือทั้ง 3 ท่าที่เป็นของรัฐบาลบรูไน ได้แก่

(1) ท่าเรือมัวรา

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองหลวง 27 กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีความลึก 10 เมตร กว้าง 611 เมตร สามารถนำเรือขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าได้

(2) ท่าเรือบันดาร์เสรเบกาวัน

เป็นท่าเรือเก่าแก่ ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รับเฉพาะเรือที่มีความยาวไม่เกิน 30 เมตร และมีความลึกไม่เกิน 5 เมตร

(3) ท่าเรือกัวลาบือเลต

ตั้งอยู่ที่แม่น้ำบือเลต รับเฉพาะเรือที่มีความยาว 60 เมตร เพราะท่าเรือยาว 61 เมตร โดยมากเรือที่เข้าเทียบท่ามักจะเป็นเรือจากประเทศเพื่อนบ้าน

ส่วนท่าเรือเอกชนของบรูไนมีอีก 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือซีเรีย ท่าเรือลูมูต และท่าเรือตันหยงลีรัง โดยท่าเรือเอกชนสองแห่งแรกมีบริษัทเชลล์บรูไนเป็นผู้ดูแล ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน ส่วนท่าเรือตันหยงลีรัง เป็นท่าเรือเพื่อใช้การส่งออกไม้ซุง

นอกจากนี้การคมนาคมทางน้ำภายในประเทศบรูไนใช้ทั้งเรือหางยาว แท็กซี่น้ำ ซึ่งใช้ในการติดต่อไปมาของชาวบรูไนกับชาวหมู่บ้านน้ำ (Water Village)

  1. 2.       ข้อมูลเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

                ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา 

                อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเพียงเท่านี้ไม่ได้ แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่ยังคงมีมากมายอาทิเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน โดยมีการตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง

                การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิต เพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้งความหวังว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่ อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย

                เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซียและออสเตรเลีย ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศไทย ตามลำดับ โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้

  • ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

ประเทศบรูไนมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีภายใต้การดูแลของรัฐที่พึ่งพาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นหลัก รายได้ของประเทศจึงเป็นไปตามราคาน้ำมันของตลาดโลก โดยมีรัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางและนโยบายการลงทุนของประเทศ อย่างไรก็ตามบรูไนฯกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลักไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น ในปี 2553 ประเทศบรูไนจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 4.1 ดังแสดงในตารางที่ 1.1 โดยอยู่ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2550-2555) ซึ่งอาศัยจุดแข็งด้านแหล่งพลังงานและทรัพยากรก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ   โดยเน้นอุตสาหกรรมฮาลาล และส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนจากต่างชาติ

     ตารางที่ 1.1 ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศบรูไน

  หน่วย 2549 2550 2551 2552 2553
GDP(ปัจจุบัน) พันล้าน USD 11.5 12.2 14.4 10.7 13
อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ

(GDP growth)

% 4.4 0.2 -1.9 -1.8 4.1
อัตราเงินเฟ้อ % 0.2 1.0 2.1 1.0 0.5
อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี Br$:US$ 1.59 1.51 1.42 1.45 1.36
การส่งออก ล้าน USD 13,072.4 12,524.6 15,971.4 11,362.4 n.a.
การนำเข้า ล้าน USD 4,595.9 5,149.5 5,632.8 5,587.2 n.a.
ดุลการค้า ล้าน USD 8,476.5 7,375.1 10,338.6 5,775.2 n.a.

ที่มา: Country Report March 2011: The Economist Intelligence Unit Limited 2011

        Country Report No. 11/140, June 2011: International Monetary Fund

จากตารางที่ 1.1 พบว่าดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของบรูไน ลดลง 1.9 % ในปี 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงและการส่งออกก๊าซธรรมชาติได้น้อยลง เนื่องจากประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพิงอยู่กับการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็น อย่างมาก จึงทำให้ดัชนีของการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากความต้องการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม คาดว่า จีดีพีจะฟื้นตัวได้ในปี 2553 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของพลังงานธรรมชาติในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แถลงว่า ในระยะยาวการเติบโตทางเศรษฐกิจของบรูไนจะขึ้นอยู่กับการเพิ่มน้ำมันสำรอง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน และความสำเร็จในการกระจายความหลากหลายของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่า การเติบโตของจีดีพีจะเพิ่มขึ้นอีก 1.75 % ในปี 2556 จากสมมุติฐานว่าการผลิตพลังงานจะยังคงที่

 

  • ภาคเกษตรกรรม

สินค้าเกษตรกรรมหลักของประเทศบรูไนได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ ไก่ โค กระบือ แพะ และไข่ โดยประเทศบรูไนมีพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ประมาณ 13,000 เฮคตาร์ หรือ คิดเป็นประมาณ 2.5 % ของพื้นที่ประเทศ จากสถิติของ FAO (1995) ได้มีการทำการเพาะปลูกเพียง 7,000 เอกตาร์หรือร้อยละ 54 ของพื้นที่ ซึ่งพืชหลักได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง กล้วย และ สับปะรด ส่วนสัตว์ได้แก่ ไก่ไข่ ไก่ และ แกะ รายได้จากภาคเกษตรต่อ GDP ประมาณร้อยละ 3 และมีประชากรน้อยกว่าร้อยละ 2 ที่ทำอาชีพเกษตรกรรม สำหรับด้านบรูไนต้องนำเข้าสินค้าอาหารและเกษตรคิดเป็นปริมาณ 80 %

โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนมีพระราชประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบรูไนกับประเทศไทยและนานาชาติในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ การพัฒนาการปลูกข้าวของบรูไนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 8 (2001-2005) กรมวิชาการเกษตรของบรูไนได้ตั้งเป้าที่จะผลิตข้าวให้ได้มากกว่า 1.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรปฐมภูมิได้เปิดตัวโครงการ “Towards Self-Sufficiency in Rice Production in Brunei Darussalam” โดยกล่าวว่าในปี 2007-2008 บรูไนสามารถผลิตข้าวได้ 443.55 ตัน หรือ 32% ของผลผลิตข้าวที่บรูไนสามารถผลิตได้

ทั้งนี้พื้นที่ปลูกข้าวในเขต Lekium/Perdayan และ Senukoh และSelapon มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 300 และ 80 เฮกแตร์ และจะขยายไปถึง 700 และ 150 แฮกแตร์ในอนาคต ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวในอนาคตและมีระบบการปลูกที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งต่อปี และจะมีการแนะนำระบบการเพาะปลูกใหม่แก่ชาวนาพื้นเมือง ทั้งนี้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของบรูไนได้แก่ พันธุ์ Pusu, Adan, Bario และพันธุ์ปรับปรุง ได้แก่สายพันธุ์ Laila ส่วนในเรื่องของการประมงของบรูไนนั้น การประมงทะเลของบรูไน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของประเทศที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ปัจจุบันบรูไนมีชาวประมงเพียง 925 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวประมงขนาดเล็กในขณะที่ส่งเสริมให้มีการทำประมง รัฐบาลก็มีการควบคุมไม่ให้การทำประมงเกินศักย์สูงสุดที่มีอยู่ จึงอนุญาตให้ทำการประมงได้เพียงร้อยละ 80 ของศักย์การผลิตสูงสุด หรือประมาณ 21,300 ตันต่อปี แบ่งออกเป็นปลาหน้าดิน 12,500 ตัน และปลาผิวน้ำ 8,800 ตัน คนบรูไนรับประทานปลาสูงเฉลี่ยถึงคนละ 45 กิโลกรัมต่อปี ทำให้บรูไนต้องนำเข้าอาหารทะเลเพื่อการบริโภคปีละ 7,750 ตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการบริโภคปลาทั้งหมด 15,500 ตัน นอกจากนี้น่านน้ำของบรูไนยังเป็นเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของปลาทูน่าด้วย บรูไนได้วางแผนการสำรวจ และการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้

บรูไนมีการเชิญชวนให้ต่างชาติไป ลงทุนจับปลาในบรูไน โดยการทำประมงในน่านน้ำบรูไนจะต้องดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน(Joint Venture) หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ประกอบการบรูไนสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติ (chartering) พร้อมลูกเรือเข้าไปทำการประมงในบรูไน โดยเรือต่างชาติเหล่านี้จะต้องทำการประมงในเขต 3 หรือระยะ 20 ไมล์ทะเลออกไป และต้องใช้อวนลากปลาที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 38 มิลลิเมตรและจะต้องนำปลาไปขึ้นที่ท่าที่กำหนดก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเป็นที่ต้องการของตลาด อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญได้แก่ การเลี้ยงปลาในกระชัง (Cage culture of marine fish) และการเลี้ยงกุ้งในบ่อ (Pond culture of marine shrimp)

  • ภาคอุตสาหกรรม

ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรีภายใต้ความดูแลของรัฐ รายได้หลักของบรูไนมาจากน้ำมันร้อยละ 48 และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 43 ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน นับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับที่ 4 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย และผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG ได้เป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซของบรูไน นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน ประเทศบรูไนยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย อาทิเช่น การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรปและอเมริกา

ทั้งนี้รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งทอ เครื่องเรือนจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ การผลิตแก้วเพื่อใช้ทำกระจกรถยนต์ นอกจากนี้ประเทศบรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศและมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่างๆ จากกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศด้วย

นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไน มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของ โครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei-Indonesia- Malaysia-Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA) อย่างไรก็ดีประเทศบรูไนยังคงประสบกับอุปสรรคต่างๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิเช่น การขาดแคลนช่างฝีมือ และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับบรูไนไม่มีแรงงานในประเทศเพียงพอ และต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก

  • ภาคบริการ

สำหรับภาคบริการที่ประเทศบรูไน ได้พัฒนาอย่างจริงจังในปี 2548 คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2548 ไว้แล้วจำนวน 1.6 ล้านดอลลาร์บรูไน หลังจากที่ผลประกอบการด้านการท่องเที่ยวในปี 2547 มีการเติบโตเป็นที่น่าพอใจ มีนักท่องเที่ยวเยือนบรูไน มากกว่า 100,000 คน โดยรัฐบาลบรูไน จะเน้นการเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัยเป็นจุดขาย

ขณะนี้กระแส AEC ค่อนข้างแรงผมควรจะเกาะกระแส AEC เช่นเดียวกันแต่ผมเข้าใจว่าไม่ค่อยมีใครพูดถึงบรูไนเพราะอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยค่อนข้างมาก แต่มีสิ่งที่น่าสนใจมากเช่นเดียวกัน ครั้งหน้าผมจะพาท่านไปดูเรื่องการลงทุนที่ประเทศบรูไนต่อไปครับ

 

 

You can leave a response, or trackback from your own site.

5 Responses to “บรูไน”

  1. Anonymous says:

    http://www.paydayloansnocreditchecksuper.co.uk/...

    At That Place is no dearth of citizenry who in reality find faults with for these loans simply from your comfort place or authority….

  2. บรูไน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Private Proxy Browsing…

    I found a great……

  3. บรูไน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buy Best Private Proxies…

    I found a great……

  4. บรูไน | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Private Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply