แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเทศ

 

 

Trend in energy demand in each country

แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเทศ 

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ 

ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 

มหาวิทยาลัยนเรศวร 

                ช่วงนี้ผมและนักวิจัยของวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ระหว่างการทำวิจัย “การวิเคราะห์โซ่อุปทานพลังงานเพื่อกำหนดนโยบายด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ดังนั้นฉบับนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลด้านพลังงานของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ในประเด็นแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเทศ โดยมุ่งไปที่พลังงาน 2 ประเภท พลังงานน้ำมันสำเร็จรูป และพลังงานไฟฟ้า

 

รูปที่ 1 แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป (MTOE) 

 

ตารางที่ 1 แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป (MTOE)

ประเทศ ปี
2533 2543 2548 2549 2558 2573
บูรไน 0.3 0.5 0.6 0.5 0.7 0.9
กัมพูชา 0.4 0.6 0.9 1.0 1.8 4.3
อินโดนีเซีย 27.6 47.2 52.4 48.7 66.1 109.2
ลาว 0.2 0.2 0.3 0.2 0.7 1.5
มาเลเซีย 10.0 19.6 23.0 22.9 31.0 52.3
พม่า 0.6 1.5 1.8 1.7 3.0 6.8
ฟิลิปปินส์ 7.3 13.6 12.7 12.0 14.7 21.2
สิงคโปร์ 5.7 7.9 12.9 13.4 15.7 18.9
ไทย 16.7 30.2 38.8 39.1 46.0 74.0
เวียดนาม 2.4 6.8 12.0 11.9 21.5 54.7

 

รูปที่ 2 แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า (TWh)

 

ตารางที่ 2 แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า (TWh)

ประเทศ ปี
2533 2543 2548 2549 2558 2573
บูรไน 1.2 2.5 3.3 3.3 3.8 4.5
กัมพูชา 0.2 0.5 0.9 1.2 1.4 8.0
อินโดนีเซีย 33.3 92.6 127.4 133.1 193.9 318.4
ลาว 0.8 3.4 3.5 3.6 26.8 60.4
มาเลเซีย 23.0 69.3 84.8 91.6 141.6 265.3
พม่า 2.5 5.1 6.0 6.2 17.7 56.2
ฟิลิปปินส์ 25.2 45.3 56.5 56.7 91.4 165.5
สิงคโปร์ 15.7 31.7 38.2 39.4 56.9 104.9
ไทย 44.2 96.0 132.2 138.7 188.6 400.5
เวียดนาม 8.7 26.6 53.5 56.5 96.1 234.8

 

รูปที่ 3 แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า (MTOE)

 

ตารางที่ 3 แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า (MTOE)

ประเทศ ปี
2533 2543 2548 2549 2558 2573
บูรไน 0.5 0.9 1.1 1.2 1.2 1.3
กัมพูชา 0.1 0.3 0.3 0.4 0.2 1.0
อินโดนีเซีย 6.5 17.2 25.7 26.0 39.1 63.3
ลาว 0.0 0.0 0.0 0.0 3.1 3.1
มาเลเซีย 5.0 14.2 19.4 21.0 25.2 45.9
พม่า 0.5 0.9 0.9 0.9 0.9 0.9
ฟิลิปปินส์ 3.3 6.2 8.5 7.5 15.0 27.7
สิงคโปร์ 4.4 6.9 8.1 8.3 11.3 19.4
ไทย 8.9 19.2 25.8 25.9 35.7 78.0
เวียดนาม 1.3 3.6 7.6 7.8 14.1 31.2

 

         จากตารางที่ 1-3 และรูปที่ 1-3 เป็นแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป (Oil Demand) แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า (Power Generation Output) และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า (Power Generation Input) ระหว่างปี 2533-2573 ซึ่งจำแนกแต่ละประเทศ ดังนี้

 

  1. 1.       เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (บูรไน)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศบูรไน มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่าง ปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโต   ของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 2.0 % และ 1.8 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศบูรไน มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 1.4 % และ 1.2 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศบูรไน เท่ากับ 0.9 % และ 99.1 % ตามลำดับ และในปี 2573 สัดส่วนการใช้น้ำมันและน้ำผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 90.8 % โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำมัน และน้ำ เท่ากับ 1.0 % และ 8.2 % ตามลำดับ

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศบูรไน มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า  ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 1.1 % และ 0.4 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 0.6 % และ 99.4 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดต่ำลง และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 0.9 % และ 99.1 % ตามลำดับ

  1. 2.       ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศกัมพูชา มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่าง ปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโต   ของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 2.8 % และ 7.0 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศกัมพูชา มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 4.5 % และ 12.5 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศกัมพูชา เท่ากับ 100.0 % ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 54.1 % และ 45.9 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศกัมพูชา มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 พบว่า ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการลดลงของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ -4.9 % ต่อปี และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 11.2 % ต่อปี หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 และปี 2573 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน เท่ากับ 100.0 %

  1. 3.       สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศอินโดนีเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่าง ปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโต   ของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 2.3 % และ 3.4 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าประเทศอินโดนีเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 4.3 % และ 3.4 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ น้ำ และแหล่งพลังงานอื่นๆ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศอินโดนีเซีย เท่ากับ 31.5 % 42.7 % 2.3 % 20.2 % และ 3.3 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ เท่ากับ 62.8 % 19.8 % และ 11.9 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศอินโดนีเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 4.3 % และ 3.3 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 36.0 % 59.1 % และ 4.9 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 80.4 % และ 18.3 % ตามลำดับ

  1. 4.       สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศลาว มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 7.3 % และ 5.6 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศลาวมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 22.5 % และ 5.6 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศลาวเท่ากับ 100.0 % ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่าน เท่ากับ 79.1 %

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศลาว มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มคงที่ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 ประเทศลาวไม่มีการนำเข้าพลังงานไฟฟ้า และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน เท่ากับ 100.0 %

  1. 5.       มาเลเซีย

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศมาเลเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 2.8 % และ 7.0 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศมาเลเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 5.3 % และ 4.3 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศมาเลเซีย เท่ากับ 12.3 % 48.4 % 22.0 % และ 17.3 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 37.0 % และ 51.6 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศมาเลเซีย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 2.7 % และ 4.1 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 12.5 % 60.2 % และ 27.3 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 0.1 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 46.1 % และ 53.7 % ตามลำดับ

  1. 6.       สหภาพพม่า (พม่า)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศพม่า มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 5.6 % และ 5.5 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศพม่า มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 11.4 % และ 8.0 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศพม่า เท่ากับ 1.6 % 10.9 % 39.3 % และ 48.1 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้น้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำ เท่ากับ 94.6 %

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานของประเทศพม่า มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 0.1 % ต่อปี และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มคงที่จึงทำให้ไม่มีการเติบโตของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 2.4 % 12.5 % และ 85.1 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้ถ่านหินผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้สัดส่วนการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 16.8 % และ 83.2 % ตามลำดับ

  1. 7.       สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศฟิลิปปินส์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 1.5 % และ 2.5 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศฟิลิปปินส์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 4.9 % และ 4.0 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน น้ำ และแหล่งพลังงานอื่นๆ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศฟิลิปปินส์ เท่ากับ 1.9 % 11.8 % 6.1 % และ 5.5 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 2.1 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ เท่ากับ 37.3 % 41.7 % และ 11.7 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานของประเทศฟิลิปปินส์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 5.8 % และ 4.2 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และน้ำมัน เท่ากับ 13.9 % และ 86.1 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 2.7 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 52.8 % และ 44.5 % ตามลำดับ

  1. 8.       สาธารณรัฐสิงคโปร์ (สิงคโปร์)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศสิงคโปร์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 2.0 % และ 1.2 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 3.4 % และ 3.6 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์ เท่ากับ 100.0 % ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 10.2 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ เท่ากับ 86.2 % และ 3.6 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานของประเทศสิงคโปร์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 3.4 % และ 3.6 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้น้ำมัน เท่ากับ 100.0 %  ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียงx16.7x%xจึงทำให้สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นxและในปีx2573xจะมีสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 83.3 %

  1. 9.       ราชอาณาจักรไทย (ไทย)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 1.7 % และ 3.2 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 3.6 % และ 5.1 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เท่ากับ 25.0 % 23.5 % 40.2 % และ 11.3 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันและน้ำผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 0.5 % และ 2.3 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแหล่งพลังงานอื่นๆ เท่ากับ 27.4 % 67.7 % และ 2.1 % ตามลำดับ 

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 3.3 % และ 5.3 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 28.6 % 28.6 % และ 42.8 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 0.6 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 32.1 % และ 67.3 % ตามลำดับ

  1. 10.    สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม)

1)    แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศเวียดนาม มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่า ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป ประมาณ 6.0 % และ 6.4 % ต่อปี ตามลำดับ

2)    แนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 6.0 % และ 6.1 % ต่อปี ตามลำดับ หากแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และน้ำ ผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม เท่ากับ 23.1 % 15.0 % และ 61.9 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันและน้ำ ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 0.8 % และ 22.4 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ และแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ และแหล่งพลังงานอื่นๆ เท่ากับ 31.3 % 31.6 % 12.7 % และ 1.3 % ตามลำดับ  

3)    แนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระหว่างปี 2548-2558 และระหว่างปี 2558-2573 พบว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ประมาณ 6.4 % และ 5.4 % ต่อปีตามลำดับ หากแบ่งตามชนิดเชื้อเพลิงที่นำเข้า (Import) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า  พบว่า ในปี 2533 มีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และน้ำมัน เท่ากับ 69.9 % และ 30.1 % ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการใช้น้ำมันผลิตพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มลดต่ำลง เหลือเพียง 1.5 % จึงทำให้สัดส่วนการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และในปี 2573 จะมีสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เท่ากับ 51.0 % และ 47.5 % ตามลำดับ

                            จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าปริมาณความต้องการใช้พลังงานทั้งน้ำมันสำเร็จรูปและไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่แหล่งทรัพยากรด้านพลังงานมีจำกัด จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญในการจัดการพลังงานของอาเซียนให้เกิดความยั่งยืน

You can leave a response, or trackback from your own site.

13 Responses to “แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเทศ”

  1. william says:

    municipalitys@ruins.expenses” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  2. Freddie says:

    jilted@grinders.lull” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  3. otis says:

    rediscovers@rude.culte” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  4. steve says:

    mollycoddle@bonn.roped” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  5. Gilbert says:

    undertook@unachievable.toonker” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  6. Jay says:

    superhuman@impaling.unemotional” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  7. richard says:

    wilsonian@womanly.contamination” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  8. edward says:

    plays@sporadic.aventino” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!!…

  9. neil says:

    repaired@jena.meters” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  10. แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเภsays:

    Best Private Proxies…

    I found a great……

  11. แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเภsays:

    Where To Buy Proxies…

    I found a great……

  12. แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในแต่ละประเภsays:

    Cheapest Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply