การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย

Logistics Knowledge

How to evaluate effectiveness of supply chain in motor part industry in Thailand 

การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย 

สุรสา บุญทา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและปรับปรุงสายโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 4 มุมมองตามหลักการของแนวคิด Balanced Scorecard ได้แก่ มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา มุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านลูกค้า และมุมมองด้านการเงิน ดำเนินการวิจัยโดยเริ่มจากการประเมินระดับความสัมพันธ์ภายในสายโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์

ภาพที่ 1 แผนที่กลยุทธ์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

                        จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน์ในเชิงเหตุและผลของการดำเนินการในด้านต่างๆ ภายใต้มุมมองของ Balanced Scorecard จะเห็นได้ว่าทักษะความรู้ของบุคลากรมีผลกระทบและเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินการต่างๆ ภายในองค์กร และผลการดำเนินการจากกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร ก็มีผลต่อความพึงพอใจในด้านต่างๆ ของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า ก็มีผลกระทบต่อไปยังผลประกอบการขององค์กรในที่สุด

จากการประเมินระดับความสัมพันธ์ภายในสายโซ่อุปทาน พบว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์มีความสัมพันธ์กันในระดับ Collaboration ซึ่งใช้เวลายาวนานในการพัฒนาความสัมพันธ์ และการธุรกิจจะดำเนินไปภายใต้สัญชาติของธุรกิจเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีลักษณะความสัมพันธ์จากการศึกษาในครั้งนี้นั้น มีดังนี้

  1. มีการใช้ระบบสารสนเทศและแบ่งปันหรือใช้เทคโนโลยีร่วมกัน
  2. มีการวางแผนการดำเนินงานและปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน
  3. มีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันหรือใช้เทคโนโลยีร่วมกัน
  4. มีการทำสัญญาซื้อขายในระยะยาว
  5. ประสานงานร่วมกันจากหลายแผนกอย่างเป็นไปอย่างมีระบบ

ผลจากการมีระดับความสัมพันธ์กันในระดับ Collaboration และลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลการดำเนินงานในมุมมองทั้ง 4 ดังนี้

มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา

ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีการดำเนินการเพื่อเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากร โดยกิจกรรมเพื่อเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากร เช่น การปฐมนิเทศน์ การสัมมนา การฝึกปฏิบัติงาน การศึกษาต่อ การสอนงาน การดูงาน การประชุมชี้แจง Self-Learning/E-Learning การสับเปลี่ยนหน้าที่หรือการโยกย้ายงาน การอบรมหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ การเผยแพร่บทความที่เป็นประโยชน์ให้กับบุคลากร และการเก็บรวบรวมความรู้และเอื้อให้บุคลากรได้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

ในส่วนของข้อกำหนดในการทำงานนั้น จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อคนต่อสัปดาห์ เท่ากับ 40 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานไทย แต่หากบุคลากรต้องทำงานล่วงเวลา ก็จะได้รับค่าจ้างเพิ่ม ซึ่งถือเป็นสวัสดิการหนึ่งที่องค์กรผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เสนอให้กับบุคลากร นอกจากนี้ สวัสดิการอื่นๆ ที่เสนอให้กับบุคลากร ได้แก่ โบนัสประจำปี ค่ารักษาพยาบาล (นอกเหนือจากประกันสังคม) ประกันสังคม รถรับส่งพนักงาน เครื่องแบบพนักงาน การจัดเที่ยวประจำปี การจัดงานปีใหม่ อาหารกลางวัน ความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ ซึ่งบุคลากรมีความพึงพอใจมากในสวัสดิการที่ได้รับ

นอกจากนี้ ความชัดเจนของเป้าหมายและนโยบายของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อยู่ในระดับดี โดยเมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายองค์กรแล้ว จะประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทราบโดยใช้สื่อกระจายเสียง การติดประกาศในพื้นที่ขององค์กร การส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ และการแจกแผ่นพับ

สำหรับการทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์กร จะสะท้อนออกมาในรูปของการจัดการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาหรือค้นหาการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและบุคลากร โดยความถี่ของการจัดการประชุมร่วมกันจะอยู่ที่ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม บุคลากรมีความรู้สึกถึงก้าวหน้าในอาชีพการงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นส่วนที่องค์กรต้องมีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้บุคลากรมีความรู้สึกที่ดีขึ้น เพราะหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เลยแล้ว บุคลากรอาจจะมีความรู้สึกที่แย่ลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน

นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ก็คือ การได้รับการรับรองคุณภาพจากระบบบริหารคุณภาพต่างๆ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทุกรายได้รับมาตรฐานการรับรอง ISO/TS 16949 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งการที่จะได้รับมาตรฐานการรับรองนี้ได้นั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องมีการให้ความสำคัญกับลูกค้า ร่วมกับบุคลากรต้องมีส่วนร่วมในการบริหารเชิงกระบวนการที่เป็นระบบ และองค์กรต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (www.qatthailand.coml, 2012 : online) เนื่องจากระบบการดำเนินงานต่างๆ ในองค์กรไม่สามารถรักษาได้ด้วยผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ทุกๆ คนในองค์กรต้องช่วยกัน

ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดี ถึงบทบาทและความสำคัญของการมีส่วนร่วมต่อการดูแลรักษาระบบการดำเนินงานในองค์กร ทิศทางขององค์กรผ่านทางนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพ รวมถึงการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรในทุกระดับจะต้องมีความเข้าใจและตั้งใจที่จะปฏิบัติด้วย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างสิ่งเหล่านี้ ก็คือกระบวนการในการสร้างแรงจูงใจกับพนักงาน ให้เห็นถึงความสำคัญและผลที่จะได้เมื่อมีการปฏิบัติตาม รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อองค์กรและพนักงานเอง เมื่อลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบไป (ISO/TS 16949 QMS for Automotive Industry, 2008 : online) ดังนั้น ระบบมาตรฐาน ISO/TS 16949 จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีต่อผู้ประกอบยานยนต์และบุคลากรขององค์กรเอง

มุมมองด้านกระบวนการภายใน

ปัจจัยด้านกระบวนการนำเข้าที่มีผลการดำเนินงานต่ำที่สุดคือ ความถูกต้องของการพยากรณ์ปริมาณชิ้นส่วนยานยนน์ที่ต้องทำการผลิต ซึ่งการพยากรณ์จำนวนชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องทำการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบยานยนต์นั้นยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง โดยสาเหตุเกิดจากความต้องการที่ไม่แน่นอนของผู้ประกอบยานยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น กรณีภัยธรรมชาติ หรือการเกิดจราจล เป็นต้น

            ปัจจัยด้านกระบวนการนำเข้าที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดคือ การรับข้อมูลจากลูกค้าเพื่อดำเนินการผลิต โดยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก วิธีการรับข้อมูลจากลูกค้าเพื่อดำเนินการผลิตนั้นได้แก่ โทรสาร โทรศัพท์ จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ระบบ EDI เป็นต้น

ปัจจัยด้านกระบวนการผลิตนั้น จะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสินค้า โดยคุณภาพของชิ้นส่วนยานยนต์ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุด เพราะชิ้นส่วนยานยนต์ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภคขั้นสุดท้าย หากชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ได้คุณภาพแต่ไม่มีการตรวจสอบและจำหน่ายให้กับผู้ประกอบยานยนต์เพื่อนำไปใช้งานแล้วนั้น นั่นหมายถึง ผู้ใช้รถยนต์เกิดความเสี่ยงอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้ เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลที่ไม่สามารถประมาณการได้

ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงต้องตรวจสอบชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้วทุกครั้ง วิธีการตรวจสอบชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้วแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร เช่น การตรวจชิ้นส่วนยานยนต์ชิ้นแรกและชิ้นสุดท้ายที่ผลิต การสุ่มตรวจชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตเสร็จโดยไม่ระบุลำดับที่ที่ผลิตเสร็จ หรือการตรวจสอบทุกชิ้นส่วนที่ผลิตเสร็จ เป็นต้น สำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในการดำเนินการผลิตนั้นต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานที่ปลอดภัย และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตออกมาได้มาตรฐานตามไปด้วย

สำหรับกระบวนการนำออกนั้น เป็นสิ่งที่กระทบต่อลูกค้าโดยตรง และจากระดับคะแนนของปัจจัยด้านกระบวนการนำออก จะสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับผู้ประกอบยานยนต์ในฐานะลูกค้า เพราะระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

การจัดการสายโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการจัดส่งสินค้าที่ตรงเวลา ไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง ในจำนวนที่ถูกต้องและตรงเวลาด้วยสภาพเดิมในต้นทุนที่ยอมรับได้ ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงตระหนักถึงปัจจัยข้อนี้ และดำเนินการให้บรรลุตามผลตามที่ผู้ประกอบยานยนต์กำหนดไว้

มุมมองด้านลูกค้า

เมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีกระบวนการการดำเนินงานเพื่อเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้ประกอบยานยนต์ ความมีประสิทธิภาพของกระบวนการดังกล่าวสามารถประเมินได้จากความพึงพอใจของลูกค้า

คุณภาพของสินค้าและบริการนั้น เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ลูกค้าทุกคนต้องการ การได้รับสินค้าที่ถูกต้องและต้องเวลาจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของธุรกิจ ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็ได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับปัจจัยข้อนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงดำเนินการได้ตามที่ผู้ประกอบยานยนต์ได้กำหนดไว้ ซึ่งจากลักษณะของความสัมพันธ์ระดับ Collaboration นั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทราบความต้องการของผู้ประกอบยานยนต์และดำเนินการตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้เป็นอย่างดี

ด้านราคา ปัจจัยที่ใช้ในการสอบถามถึงระดับความสำคัญและความพึงพอใจของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ ราคาของชิ้นส่วนยานยนต์อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการเสนอส่วนลดจากปริมาณการสั่งซื้อ และความเหมาะสมของช่วงเวลาการให้สินเชื่อเพื่อชำระเงิน ในภาพรวมนั้น ผู้ประกอบยานยนต์ให้ความสำคัญของปัจจัยในด้านราคาในระดับความสำคัญมาก และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็อยู่ในระดับพึงพอใจมากเช่นเดียวกัน

การให้ระดับความสำคัญด้านราคาในภาพรวมในระดับความสำคัญมาก เพราะ ลูกค้าทุกคนต้องการสินค้าที่มีราคาต่ำ ได้ส่วนลด หรือได้เครดิตจากการซื้อสินค้า แต่ราคาก็เป็นสิ่งที่สามารถต่อรองได้ ไม่มีการผูกขาดในตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องด้วยจำนวนผูเผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในอุตสาหกรรมมีจำนวนมาก แต่จากข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น โซ่ข้อต่อไปของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มักจะมีสัญชาติเดียวกับผู้ประกอบยานยนต์ และจากการดำเนินธุรกิจร่วมกันมานาน ทำให้การกำหนดราคาในบางครั้งแม้ว่าผู้ประกอบยานยนต์จะเห็นว่าสูงเกินไป หรือในบางครั้งที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เห็นว่าต่ำเกินไป การดำเนินการค้ากันก็ต้องเกิดขึ้น

ภาพลักษณ์ของผู้ประกอบยานยนต์เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การแสดงให้เห็นถึงความมีคุณภาพทั้งในด้านการปฏิบัติงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และการร่วมกันพัฒนาความสัมพันธ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต โดยจากผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งให้ผลลัพธ์ด้านภาพลักษณ์ที่ดีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาการประกอบธุรกิจอยู่ในช่วง 11 – 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับผู้ประกอบยานยนต์ส่วนใหญ่ประกอบกิจการ ในด้านเงินลงทุนของผู้ประกอบยานยนต์ที่ใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้

เมื่อผู้ประกอบยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีการดำเนินการเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาที่ดี ก่อให้เกิดการดำเนินการภายในองค์เป็นระบบที่ดี และสามารถนำเสนอสอนค้าและบริการต่อผู้ประกอบยานยนต์ได้ตามที่ผู้ประกอบยานยนต์คาดหวังไว้ ดังนั้น เมื่อกระบวนการในมุมมองด้านต่างๆ อยู่ในระดับที่ จึงสะท้อนออกมาในรูปของผลประกอบการของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์ที่ดีตามไปด้วย

มุมมองด้านการเงิน

อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนของทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และแสดงสัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนที่มากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมทั้ง 2 ส่วนนั้น มีสภาพคล่องหรือมีความคล่องตัวในการบริหารงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และดีขึ้นทุกปี อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า องค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมการประกอบยานยนต์ทั้งนั้นมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วมากกว่าหนี้สินระยะสั้น ดังนั้น จึงมีความสามารถในการชำระหนี้สินที่จะถึงกำหนดเร็วได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขอสินเชื่อของกิจการ หากต้องการขยายการลงทุน

อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้

                        อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ อัตราส่วนลดลงเรื่อยๆ ทุกๆ ปี แต่สัดส่วนของหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นของทั้ง 2 อุตสาหกรรมนั้นต่างกัน ดังนี้

                        ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีสัดส่วนของหนี้สินรวมน้อยกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งหมายความว่า องค์กรได้รับเงินลงทุนมาจากส่วนของเจ้าของมากกว่าการกู้ยืม และจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนของหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีแนวโน้มลดลง ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงด้านการเงินต่ำ และค่อนข้างมีเสถียรภาพในระบบการเงินระยะยาว

                        ผู้ประกอบยานยนต์มีสัดส่วนหนี้สินรวมมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งหมายความว่า องค์กรได้รับเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมมากกว่าการใช้เงินลงทุนที่มาจากส่วนของผู้ถือหุ้น เนื่องจากองค์กรมีการเจริญเติบโตสูง ต้องการการลงทุนสูง ซึ่งทำให้กิจการมีความเสี่ยงสูงในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น แต่องค์กรก็มีผลกำไรสูงพอที่จะรองรับภาระดอกเบี้ยได้ และในขณะเดียวกัน การใช้เงินลงทุนจากการกู้ยืมก็สามารถช่วยเพิ่มกำไรหรือประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เพราะหนี้สินมีต้นทุนถูกกว่าต้นทุนจากส่วนของเจ้าของ และช่วยประหยัดภาษีจากส่วนของดอกเบี้ยจ่าย ดังนั้น การเพิ่มหนี้สินย่อมมีส่วนดีที่จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น ตลอดจนช่วยพัฒนาศักยภาพการเติบโตที่ดีได้

อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ความสามารถในการใช้สินทรัพย์

                        อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ อัตราส่วนในปี พ.ศ.2552 ลดลงจากปี พ.ศ.2551 และเริ่มสูงขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา

                        สาเหตุที่อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมในปีพ.ศ. 2552 ลดลงนั้น อันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เราเรียกกันว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งทำให้ยอดขายยานยนต์ลดลง และส่งผลกระทบไปยังยอดขายของชิ้นส่วนยานยนต์ที่อยู่ต้นน้ำซึ่งลดลงเช่นกัน

                        อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนยังมีค่ามากกว่า 1 เท่า หมายความว่า องค์กรยังมีการใช้สินทรัพย์ได้อย่างคุ้มค่าเพราะสามารถสร้างรายได้ได้คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไป และแสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งอัตราส่วนมีแนวโน้มสูงขึ้น ถือเป็นสัญญานที่ดีต่อองค์กรเช่นกัน

อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร

อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อยอดขายของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มีอัตราส่วนที่สูงกว่า

            การที่อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อยอดขายมีค่าเพิ่มขึ้นทุกปี บ่งบอกว่ากิจการมีการดำเนินงานที่ดีและดีขึ้นทุกปี ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร ว่าสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้และสะท้อนถึงผลการบริหารจัดการขององค์กรว่าดีขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทุกปี

                                จากการประเมินประสิทธิภาพของทั้ง 4 มุมมอง ตามแนวคิด Balance Scorecard ภายใต้ความสัมพันธ์ระดับ Collaboration แล้วนั้น พบว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์จะมีการดำเนินงานร่วมกันในหลายๆ ด้าน เช่น มีการวางแผนการดำเนินงาน และปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศร่วมกัน มีการประสานงานระหว่างแผนกร่วมกัน

                        ซึ่งการดำเนินกิจกรรมร่วมกันดังกล่าว จะเป็นการแสดงถึงความต้องการของผู้ประกอบยานยนต์ทางอ้อม เพราะการปรับปรุงการดำเนินงานนั้น ก็เพื่อให้ผู้ประกอบยานยนต์เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ในขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เองก็มีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตาม นอกจากนี้ การที่องค์กรมีการจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคคลากรอยู่เป็นประจำ มีการเสนอสิ่งจูงใจที่เหมาะสม มีการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ระบบการดำเนินการภายในมีประสิทธิภาพนั้น ส่งผลให้บุคคลากรเกิดความพึงพอใจในงาน

                        ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถวัดได้จากความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่างๆ เช่น ในด้านการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้องตรงเวลา และถูกต้องตามประเภทที่สั่งซื้อ และเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจแล้ว ก็จะผลลัพธ์ก็จะออกมาในรูปของผลกำไรของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมีผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถนำเม็ดเงินเหล่านั้นมาใช้ดำเนินการในการพัฒนาและการเรียนรู้ นำมาลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อให้การผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงเกิดความเชื่อมโยงมุมมองทั้ง 4 ดังภาพ

ภาพที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ของมุมมองทั้ง 4

You can leave a response, or trackback from your own site.

15 Responses to “การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย”

  1. Louis says:

    woke@mudwagon.frivolous” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  2. shawn says:

    shuffled@rigid.differs” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  3. Wayne says:

    gerby@enact.jail” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  4. curtis says:

    grenades@exoneration.minh” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  5. Luke says:

    fields@tien.polemics” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  6. Fred says:

    factness@devey.destroying” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  7. Shane says:

    papers@louisville.sr” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!!…

  8. Douglas says:

    schwarzkopf@encomiums.composers” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  9. Lonnie says:

    delon@topics.attesting” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  10. George says:

    counterchallenge@stabs.fallible” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!!…

  11. Alberto says:

    barton@johansen.inaugurating” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  12. การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกภsays:

    Oxylabs.io…

    I found a great……

  13. การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกภsays:

    Paid Proxies…

    I found a great……

  14. การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกภsays:

    Youtube Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply