ปัญหาจราจรกับการสร้างเส้นทางพิเศษ

New road construction leads to more traffic

ปัญหาจราจรกับการสร้างเส้นทางพิเศษ

ดร. วิจิตรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

          ปัญหาการจราจรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมเมืองของกรุงเทพมหานครมาอย่างยาวนาน เนื่องด้วยเป็นเพราะการเจริญเติบโตของเมืองหลวงอย่างไม่เคารพผังเมือง ปริมาณพื้นที่ท้องถนนมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของยานยนต์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี อีกทั้งการแก้ปัญหาจราจรก็เป็นการตัดสินใจแบบคนที่นั่งอยู่หลังพวงมาลัย ไม่ว่าจะเป็นการขยายถนน การย้ายป้ายรถประจำทาง หรือการสร้างสะพานข้ามแยกที่มีการจราจรหนาแน่น ผู้เขียนจำได้ว่าสะพานข้ามแยกแห่งแรกของบ้านเราคือสะพานมิตรภาพไทย-เบลเยียม หลังจากนั้นก็มีการสร้างสะพานข้ามแยกในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ

          สะพานข้ามแยกหลายๆ จุดแบ่งเบาภาระของการจราจรได้มาก แต่หลายๆ แห่ง นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ยังจะเหมือนเป็นตัวสร้างปัญหาด้วย การสร้างเส้นทางพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาบางครั้งไม่ได้เป็นการแบ่งเบาภาวะการจราจรติดขัด อาจจะเนื่องมาจากสองปรากฏการณ์กล่าวคือ “Braess’s paradox” และ “Lewis–Mogridge Position” ปรากฎการณ์ “Braess’s paradox” คือการสร้างเส้นทางพิเศษหรือขยายขนาดเส้นทางขึ้นมาใหม่ แต่กลับทำให้การจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ “Dietrich Braess” ในปี 1968 ได้เสนอปรากฎการณ์นี้ขึ้นมา ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อโครงข่ายการเดินทางที่มีการจราจรติดขัดอยู่แล้ว การเพิ่มเส้นทางการเดินทางขึ้นมาใหม่อาจจะทำให้การจราจรติดขัดมากกว่าเดิม ในทางตรงกันข้ามการปิดเส้นทางบางเส้นทางลงอาจจะเพิ่มให้การจราจรคล่องตัวขึ้น อย่างไรก็ตามโอกาสของการเกิด Braess’s paradox จะเท่ากับโอกาสที่จะไม่เกิดปรากฎการณ์นี้

กรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับหลายประเทศ ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในปี 1990 มีการปิดถนนเส้นที่ 42 กลางเกาะเมืองแมนฮัตตัน ชาวเมืองต่างกังวลกันมากว่าจะเกิดความโกลาหลด้านการจราจร แต่เมื่อปิดถนนเส้นที่ 42 การจราจรกับคล่องตัวมากกาว่าที่คาดการณ์เอาไว้ หรือประเทศเกาหลีใต้ที่เริ่มโครงการซองเกซอน (Cheonggyecheon) โดยทำการปิดเส้นทางพิเศษกลางเมืองหลวงขนาด 6 ช่องจราจรลง แล้วทำการสร้างแม่น้ำและเส้นทางเดินเท้าขึ้นใหม่ นอกจากการจราจรจะไม่ติดขัดแล้ว ปริมาณรถยนต์ยังลดลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามการปิดเส้นทางการจราจรในเกาหลีอาศัยการสร้างแบบจำลองเพื่อคาดคะเนปริมาณการจราจรและมีการวางแผนอย่างรัดกุม สำหรับกรณีการสร้างเส้นทางพิเศษขึ้นมาแล้วกลับทำให้การจราจรติดขัดหนักกว่าเดิม อาทิเช่น ประเทศเยอรมัน เมืองสตุ๊ตการ์ท ในปี 1969 ทางพิเศษที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ทำให้สภาพการจราจรดีขึ้น จนกระทั่งต้องมีการปิดเส้นทางดังกล่าวลงไป

อีกปรากฎการณ์เรียกว่า “Lewis–Mogridge Position” คือ การสังเกตการณ์ของนักวิชาการแล้วพบว่า เมื่อทำการสร้างเส้นทางใหม่ขึ้นมาเพื่อลดการจราจรที่ติดขัด แต่กลับกลายเป็นว่า การจราจรที่ตัดขัดเคลื่อนที่ไปอยู่อีกแยกการจราจรอื่น ดังนั้นความคล่องตัวของการจราจรจะหายไปในเวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือไม่กี่สัปดาห์ ปรากฎการณ์ที่ให้นักวิชาการเข้าใจถึงสภาพการจราจรของรถยนต์ส่วนบุคคลที่หนาแน่นในเขตเมืองหรือเส้นทางมอเตอร์เวย์ได้ดี และยังช่วยอธิบายถึงความสำเร็จของการเก็บภาษีรถยนต์ที่วิ่งเข้าเมืองชั้นในของมหานครลอนดอน ซึ่งบางประเทศเริ่มมีผู้เสนอแนวความคิดการเก็บภาษีนี้ขึ้นมา (สำหรับผู้ที่สนใจในทั้งสองปรากฎการณ์นี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิง)

สำหรับประเทศไทยเรา นอกเหนือจากถนนให้มีมากขึ้นแล้ว การสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ สำหรับการขนส่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับการเติบโตของประเทศ การพึ่งพาการขนส่งเพียงรูปแบบเดียวสร้างปัญหาให้กับบ้านเรามาช้านาน การสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน/บนดิน หรือการสร้างทางเลือกในการขนส่งแบบอื่นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อ้างอิง

[1]      Gina Kolata, What if They Closed 42d Street and Nobody Noticed?, The New York Times, December 25, 1990.

[2]      Linda Baker, Removing Roads and Traffic Lights Speeds Urban Travel, Scientific American, January 28, 2009.

[3]      John Vidal, Heart and Soul of The City, The Guardian, November 1, 2006.

[4]      Braess’s paradox. In Wikipedia. Retrieved August 30, 2012, from http://en.wikipedia.org/wiki/Braess%27_paradox

[5]        Lewis–Mogridge Position. In Wikipedia. Retrieved August 30, 2012, from http://en.wikipedia.org/wiki/Lewis%E2%80%93Mogridge_Position

You can leave a response, or trackback from your own site.

12 Responses to “ปัญหาจราจรกับการสร้างเส้นทางพิเศษ”

  1. stuart says:

    pint@surf.reformism” rel=”nofollow”>.…

    спасибо за инфу!…

  2. Maurice says:

    parasitic@motet.recreating” rel=”nofollow”>.…

    сэнкс за инфу!!…

  3. hugh says:

    portfolio@multiplied.books” rel=”nofollow”>.…

    tnx….

  4. Nicholas says:

    policemens@chousin.fromms” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  5. earl says:

    goodwill@grapes.kimbell” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  6. Eddie says:

    advantage@humid.worded” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  7. timothy says:

    cortlandt@terraces.lustful” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!…

  8. eugene says:

    direct@painteresque.boasting” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  9. Scott says:

    unbelieving@national.compensate” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  10. ปัญหาจราจรกับการสร้างเส้นทางพิเศษ | Especially of Logistics Supply Chains and Tra says:

    Anonymous Private Proxies…

    I found a great……

  11. ปัญหาจราจรกับการสร้างเส้นทางพิเศษ | Especially of Logistics Supply Chains and Tra says:

    Buyprivateproxies…

    I found a great……

Leave a Reply