อทร.ใหม่ วิสัยทัศน์สู่ AEC

New PAT DG, Directions towards AEC

อทร.ใหม่ วิสัยทัศน์สู่ AEC

 

ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้ง เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่การเปิดเสรีทางการค้า AEC ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยคนใหม่ ได้เสนอแนวทางและนโยบายในการบริหารการท่าเรือฯ ดังนี้

วิสัยทัศน์

ผมมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการท่าเรือฯ ให้เป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีความรับผิดชอบทั้งต่อผู้ใช้บริการ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จะต้องมีการบริหารจัดการที่มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ และเตรียมความพร้อมสนับสนุนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องมีการใช้ระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการ

รวมถึงมุ่งการใช้ประโยชน์จากที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวขององค์กร ด้านบุคลากร ก็จะต้องมีการวางแผนการจัดการสายอาชีพ เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเหมาะสมกับทิศทางขององค์กร นอกจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้ารวมถึงลดขั้นตอนและเวลาการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาเร่งด่วน

โครงการที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนา ส่วนใหญ่เป็นโครงการในท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของไทย อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใช้เวลาศึกษาและดำเนินการค่อนข้างนาน โครงการต่างๆ จึงไม่สามารถเสร็จได้ในช่วงข้ามคืน แต่การท่าเรือฯ ก็ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาต่างๆ เสร็จทันรองรับปริมาณสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

โดยโครงการเร่งด่วน ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 การท่าเรือฯ จะต้องเร่งขั้นตอนการดำเนิน งานจ้างที่ปรึกษาฯ เพื่อออกแบบก่อสร้าง ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างท่าเทียบเรือ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มชาวบ้าน เพื่อแก้ไขเรื่องร้องเรียนต่างๆ ซึ่งโครงการนี้มีแผนที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการท่าแรกได้ในปี 2562 เพื่อรองรับกับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าที่คาดว่าจะสูงเกือบ 10 ล้าน ทีอียู นับตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเกินขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 1 และ 2 ในปัจจุบันอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนมาระบบราง และลดค่าใช้จ่ายของการขนส่งโดยรวม รวมถึงลดอุบัติเหตุ แก้ไขปัญหาจราจรทางถนน และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเห็นชอบผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการโดยกระทรวงคมนาคม แล้วจึงนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเพื่ออนุมัติงบประมาณลงทุนต่อไป

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่นำมาใช้เสริมการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง บริเวณก้นแอ่งจอดเรือที่ 1 ระหว่างท่าเทียบเรือโดยสาร A1 และ ท่าเทียบเรือชายฝั่งอเนกประสงค์ A0 โดยปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยกระทรวงคมนาคมเช่นเดียวกัน แล้วจึงนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเพื่ออนุมัติงบประมาณลงทุน

การเตรียมพร้อมรองรับ AEC

นอกจากโครงการเร่งด่วนที่ได้กล่าวไปแล้วการท่าเรือฯ ได้พัฒนาท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งของไทย เช่น การพัฒนาท่าเรือกรุงเทพให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับกับเรือที่ใช้ในเส้นทางขนส่งระยะสั้น สอดคล้องกับแนวโน้มการขนส่งในอาเซียนที่จะเป็นแบบ Hub and Spokes ทำให้คาดว่าจะมีความต้องการใช้เรือ Feeder มากขึ้น รวมถึงพัฒนารูปแบบบริการของท่าเรือให้เป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้การท่าเรือฯ ยังได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น สถานีขนส่งทางลำน้ำ และศูนย์เปลี่ยนถ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกกับการขนส่งในส่วนภูมิภาคและการค้าชายแดนที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

สำหรับมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวก และลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค การท่าเรือฯ ได้เตรียมศึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจใหม่ เช่น การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษรวมถึงการให้สิทธิพิเศษอื่นๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุน รวมทั้งเตรียมแผนการศึกษาจัดทำ Benchmarking อัตราค่าภาระท่าเรือต่างๆ ในอาเซียน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานะคู่แข่งขัน

แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือฯ

ตามแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ของการท่าเรือฯ พ.ศ. 2551 นั้น ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนตามสภาพและทำเลที่ตั้ง โดยการท่าเรือฯ ก็ได้ดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการได้นำเสนอ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้การท่าเรือฯ ได้นำเสนอโครงการทั้งหมดให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบแล้ว และในขณะที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้ส่งเรื่องกลับมาให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือฯ เพื่อให้พิจารณาทบทวนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลนี้ ทั้งนี้ การท่าเรือฯ ได้พิจารณาทบทวนโครงการอีกครั้ง และได้นำเสนอให้คณะกรรมการการท่าเรือฯ พิจารณา ซึ่งมีมติให้การท่าเรือฯ นำเสนอเพื่อพิจารณาคราวละ 1 โครงการ แทนการนำเสนอโครงการทั้งหมดในคราวเดียว

โดยได้เลือกพื้นที่ 1 เป็นลำดับแรก เรียกว่าเป็น โครงการ Quick Win เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมสูงสุดปราศจากผู้บุกรุก และไม่ติดสัญญาการเช่า จึงสามารถพัฒนาได้ทันทีและเห็นผลในระยะเวลาสั้น ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่เหลือสำหรับการพัฒนาพื้นที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้เชิญเจ้าหน้าที่การท่าเรือฯ พร้อมทีมที่ปรึกษา เข้าพบเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา

โดยได้มีความเห็นให้การท่าเรือฯ ปรับปรุงผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการพื้นที่ 1 ให้ข้อมูลมีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งให้จัดทำหัวข้อเพิ่มเติม เช่น วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) และการวิเคราะห์งบการเงินของการท่าเรือฯ ในระยะยาว เป็นต้น

ในระหว่างที่นำเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่ 1 ให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังเห็นชอบ การท่าเรือฯก็จะสรรหาบริษัทที่ปรึกษา เพื่อจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คู่ขนานไปด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่าง TOR

You can leave a response, or trackback from your own site.

8 Responses to “อทร.ใหม่ วิสัยทัศน์สู่ AEC”

  1. Marc says:

    gassing@roach.unmurmuring” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  2. manuel says:

    piquant@bikinis.label” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  3. Stephen says:

    uninvolved@saturation.broom” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  4. Hector says:

    terrified@brooken.lasts” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  5. อทร.ใหม่ วิสัยทัศน์สู่ AEC | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Anonymous Proxies…

    I found a great……

  6. อทร.ใหม่ วิสัยทัศน์สู่ AEC | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Fast Private Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply