คนไทยอยู่อย่างไรในเวทีประชาคมอาเซียน

How Can Thailand Survive the Aec?

คนไทยอยู่อย่างไรในเวทีประชาคมอาเซียน

อาจารย์นงลักษณ์ นิมิตรภูวดล

หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

 

ท่ามกลางกระแสการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐบาลที่เร่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและการสร้างความตระหนักรู้ของคนในชาติ เพื่อนับถอยหลังพาประชาชนไทยเข้าการมีส่วนร่วมกับการสร้างประชาคมอาเซียนและสามารถใช้โอกาสจากประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มที่

ลองตั้งคำถามย้อนกลับมาถามว่าแล้วประชาชนไทย เข้าใจถึงสาระในเรื่องนี้กี่เปอร์เซ็นต์ ผู้เขียนคิดว่าคงมีเปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่ทราบข้อมูลและสาระสำคัญในเรื่องประชาคมอาเซียนนี้อยู่เป็นจำนวนมาก จึงนำมาสู่ประเด็นของบทความนี้ โดยขอเริ่มทำความเข้าใจจากจุดเริ่มต้นว่าประชาคมอาเซียน คืออะไร ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ก็คือการรวมตัวของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยเริ่มจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา

เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้กฎบัตรอาเซียน หรือธรรมนูญอาเซียน กฎบัตรอาเซียนเป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่กำหนดกรอบโครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกที่สำคัญต่างๆ ของอาเซียน และให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยการรวมตัวนี้นำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558  การสร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น

ประชาคมอาเซียนได้กำหนดทิศทางความชัดเจนของกรอบความร่วมมือที่จะต้องเดินทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ร่วมกันภายในปี 2558 ทั้งนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นถือเป็นเพียงหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีกสองเสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)

การผนึกกำลังในเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ ประเทศไทยและคนไทยจะได้รับโอกาสอย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่ประเทศไทยได้รับคือการร่วมมือทางเศรษฐกิจจากประเทศสมาชิกหลายประเทศเพื่อนบ้าน ในพรมแดนที่ติดกัน วัฒนธรรมคล้ายกัน มีสินค้าและบริการที่สามารถเสริมซึ่งกันและกัน สร้างความแข็งแกร่งร่วมกันและมีอำนาจต่อรองที่ช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า

ประการที่สองการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ ทำให้เกิดตลาดที่หลอมรวมกันเป็นตลาดภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่และผสมผสานจุดแข็งของแต่ละประเทศสมาชิกเข้าร่วมกันเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประเทศสมาชิก ประการที่สามเกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนของไทย โดยการที่ประเทศสมาชิกช่วยกันลดอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นภาษีหรือมาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่มิใช่ภาษีการเอื้ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ประการที่สี่ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อใช้โอกาสอย่างเต็มที่จากทางการค้าโดยมุ่งสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีที่สูงขึ้น ประการสุดท้ายเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในชาติให้ดีขึ้นโดยลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

หากมองถึงผลกระทบในเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้นกับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ แน่นอนเมื่อลดอัตราภาษีเป็นศูนย์แล้ว การแข่งขันภายในตลาดภูมิภาคอาเซียนย่อมต้องมีความรุนแรงตามมา ผู้ประกอบการไทยต้องสร้างความแข็งแกร่งในเรื่องของมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการของตนเอง คือเมื่อพูดถึงชื่อ Made in Thailand แล้ว ย่อมเป็นที่รู้จักของตลาดอาเซียนและตลาดทั่วโลก ดังนั้นการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการของประเทศไทยย่อมมีความสำคัญในลำดับต้นๆ ที่รัฐบาลต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งในเรื่องนี้

ประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานบวกกับประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทย และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัย อาจเป็นอุปสรรคต่อนักลงทุนชาวต่างประเทศ ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศกลุ่มสมาชิกอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่า เช่น เวียดนาม ลาว พม่า

การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานไทยสมองไหลไปสู่ประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ขณะเดียวกันแรงงานต่างด้าวจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยเนื่องมาจากมีค่าจ้างถูกกว่าจ้างแรงงานไทย อีกปัญหาหนึ่งที่มิควรมองข้ามคือด้วยนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าวโดยใช้สิทธิแทนคนไทย เช่น การศึกษาเล่าเรียน การรักษาพยาบาล เป็นต้น

หากมีสินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น โดยที่รัฐบาลยังไม่วางกลไกป้องกันในเรื่องนี้ ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้ เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตสินค้าได้

การปรับตัวเพื่ออยู่รอดภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แน่นอนเราก็ต้องรู้เขา รู้เรา ผู้ประกอบการต้องศึกษาความต้องการของลูกค้ามิใช่ประชาชนไทยเพียง 67 ล้านคนแล้ว แต่ต้องศึกษาความต้องการจากประชากร 10 ประเทศสมาชิก จำนวน 600 ล้านคนในตลาดอาเซียนนี้ เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การเสาะหาแหล่งวัตถุดิบในอาเซียนที่มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ รวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ในการย้ายฐานผลิตไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหมาะสมกว่าการตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย และควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ASEAN Niche Market Mapping (CLMV) เป็นฐานการส่งออกไปนอกกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อใช้ประโยชน์จากสถานะ Least Developed Countries (LDCs) ที่ได้รับสิทธิพิเศษในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดอื่นๆ

ในอนาคตอีก 3 ปี ข้างหน้าเป็นความท้าทายของรัฐบาลและประชาชนไทยที่จะต้องปรับตัวเข้าสู่การเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนนี้ ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ หรือการความเตรียมพร้อมคนในชาติจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมและสนับสนุนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะนำพาประชาชนไทยและประเทศไทยไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยความเท่าเทียมและอย่างเสมอภาคทั่วกัน

You can leave a response, or trackback from your own site.

6 Responses to “คนไทยอยู่อย่างไรในเวทีประชาคมอาเซียน”

  1. Eugene says:

    ransacked@monroe.repeat” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  2. peter says:

    includes@mellow.optimistic” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  3. alfonso says:

    unlike@underlie.amplified” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  4. คนไทยอยู่อย่างไรในเวทีประชาคมอาเซียน | Especially of Logistic says:

    Eusebio Magierski…

    I found a great……

  5. คนไทยอยู่อย่างไรในเวทีประชาคมอาเซียน | Especially of Logistic says:

    Romaine Dubbin…

    I found a great……

Leave a Reply