การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับ FTA

การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับ FTA

ในการดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมักจะมีคำถามว่าผู้นำเข้ามีทางเลือกที่จะเสียภาษีศุลกากรให้ต่ำลงอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร หนทางหนึ่งที่จะทำได้ก็คือ  ผู้นำเข้าควรจะต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนจะนำเข้าได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีทางศุลกากรภายใต้การตกลงเขตการค้าเสรีหรือไม่

การเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) เป็นการที่ไทยได้ไปเจรจาทำความตกลงเปิดตลาดสินค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อลดหรือยกเว้นอากรศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราอากรนำเข้าปกติโดยทั่วไป แต่สินค้านั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศที่ไทยได้ทำความตกลงกันไว้

ประเทศไทยได้ทำความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี ในการเจราจาลดหรือยกเว้นอากรศุลกากร กับประเทศต่างๆ แล้ว รวม 10 FTA ดังนี้

1.  เขตการค้าเสรีอาเซียน มี 2 ความตกลง คือ ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT-AFTA) และความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับแทน CEPT-AFTA  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป

  1. เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน                                 3.  เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย
  2. เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย                          5.  เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์
  3. ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น              7.  ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
  4. เขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี                             9.  เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย

10.  เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

เมื่อมีการนำเข้าสินค้าและมีความประสงค์ขอใช้สิทธิฯ  ตาม FTA ต่างๆ  เพื่อที่จะลดหรือยกเว้นอากรศุลกากร ขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

1.   ตรวจสอบว่าสินค้าที่จะนำเข้าอยู่ในพิกัดศุลกากรใด

2. ตรวจสอบว่าสินค้าที่จะนำเข้านั้นมาจากประเทศที่ได้รับสิทธิการลดหรือยกเว้นอากรหรือไม่ โดยดูได้จากประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับของแต่ละ FTA

3. หากสินค้านั้นนำเข้ามาจากประเทศที่ได้รับสิทธิแล้ว ให้ตรวจสอบต่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิการลด หรือยกเว้นอากร หรือไม่ และในอัตราอากรเท่าใด จากเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ของแต่ละ FTA

4. กรณีที่สินค้านำเข้ามาจากประเทศที่อยู่ภายใต้กรอบการเจรจามากกว่า 1 ความตกลง  ผู้นำเข้าสามารถพิจารณาเลือกใช้สิทธิลดหรือยกเว้นอากรตามความเหมาะสมและเมื่อเลือกใช้สิทธิใดจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามความตกลง FTA  นั้นๆ

5.  ให้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามประกาศกรมศุลกากรของแต่ละ FTA

สินค้านำเข้าที่จะได้รับการลดหรือยกเว้นอากรตามความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

1. เป็นสินค้าที่มีการตกลงให้ลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากร  ซึ่งตรวจสอบได้จากประกาศกระทรวงการคลังของความตกลง FTA นั้นๆ

2.  เป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของแต่ละ FTA ซึ่งมีเอกสารในการรับรอง คือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ยกเว้นความตกลงไทย-นิวซีแลนด์ ที่ให้ใช้อินวอยซ์หรือเอกสารอื่นใด โดยผู้ส่งออกแทนหนังสือรับรอง

3. เป็นสินค้าที่ส่งตรงจากประเทศผู้ผลิตมายังประเทศผู้ซื้อหรือส่งผ่านประเทศที่ 3 ก็ได้  แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การส่งผ่านประเทศที่ 3 ที่กำหนดไว้ในความตกลงของแต่ละ FTA

ทั้งนี้ผู้นำของเข้าควรตรวจสอบรายละเอียดของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O)  ว่าถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรหรือไม่ ถ้าพบว่า C/O มีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ให้ผู้นำเข้า C/O กลับไปแก้ไขยังประเทศผู้ออก C/O  ก่อนไปปฏิบัติพิธีการนำเข้า  แต่หากมีความจำเป็นที่ต้องออกของก่อน  โดยในขณะนั้นยังไม่ได้รับใย C/O หรืออยู่ระหว่างส่งใบ C/O ไปแก้ไข  ให้ผู้นำเข้าปฏิบัติพิธีการโดยแจ้งความจำนงขอสงวนสิทธิและเสียภาษีไปก่อน  เพื่อขอคืนภาษีอากรในภายหลัง  กลังจากนั้นต้องนำ C/O ฉบับจริงมายื่นพร้อมคำร้องขอคืนเงินอากรจากกรมศุลกากรก่อนวันที่ C/O หมดอายุและภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรของแต่ละ FTA

ผู้นำเข้าพึงระวังว่าความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ไม่ให้สิทธิลด/ยกเว้นอากรศุลกากรหรือนอกคู่ภาคีก็ตาม  การนำเข้าโดยใช้สิทธิฯ สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน  และเขตการค้าเสรีไทย-อินเดียทำไม่ได้ (ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ถือเป็นประเทศที่ 3 ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน)

การนำเข้าโดยใช้สิทธิพิเศษภายใต้เขตการค้าเสรี เป็นการให้สิทธิในเรื่องของอัตราภาษีศุลกากรเท่านั้น  ถ้าสินค้าที่นำเข้านั้นเป็นของต้องห้าม  ของต้องกำกัดของควบคุม  หรือของต้องดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติอื่นใดตาม การนำเข้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ว่าด้วยของนั้นๆ

ผู้ที่มีความสนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก  ประกาศกรมศุลกากร  ประกาศกระทรวงการคลังที่ www.customs.go.th   หัวข้อ กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

———————–

ข้อมูลโดย : คณะทำงานจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรมศุลกากร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-249-9017 หรือ www.customs.go.th หัวข้อ สอบถามปัญหา

You can leave a response, or trackback from your own site.

16 Responses to “การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับ FTA”

  1. edward says:

    baptists@lafe.cage” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  2. herman says:

    excellency@exploding.deviate” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!…

  3. Raymond says:

    ogden@relay.blinds” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  4. shane says:

    prelude@stamp.busboy” rel=”nofollow”>.…

    good….

  5. jon says:

    heuvelmans@goethe.mixer” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  6. Jerry says:

    seigner@campuses.existentialist” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  7. paul says:

    verdi@wasnt.combatants” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  8. george says:

    americas@archaic.ot” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  9. todd says:

    again@sacramento.siren” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  10. jorge says:

    soeren@faulty.verplancks” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  11. Louis says:

    charmingly@coccidioidomycosis.beccaria” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  12. bill says:

    shuffling@exceptionally.mailer” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  13. Jim says:

    obscurity@smudged.crashes” rel=”nofollow”>.…

    tnx!…

  14. Luke says:

    edged@raf.defied” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  15. Jacob says:

    vallee@sliding.eats” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  16. การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับ FTA | Especially of says:

    Cheap Usa Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply