แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก

Manpower for export logistics

แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก

คงฤทธิ์ จันทริก

สภาผู้ส่งออกฯ (สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย)

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมส่งออกส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพราะก่อให้เกิดการจ้างงานและการหมุนเวียนของการใช้จ่ายของแรงงานในการซื้อสินค้าในประเทศ โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี 2554 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 6,866,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 65.14% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ส่งออกของไทยในปี 2555 กลับอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าตัวเลขการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี (มกราคม – เมษายน) มีมูลค่ารวม 71,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลง 3.86% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะสามารถรักษาเป้าหมายการขยายตัวของการส่งออกในปี 2555 ไว้ที่ 15% ได้หรือไม่ เนื่องจากมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านแรงงาน และโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ซึ่งกลายเป็นต้นทุนละอุปสรรคสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการค้าของไทย

ผลกระทบจากมหาอุทกภัยในปี 2554 ส่งผลให้โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมเสียหายเป็นจำนวนมากซึ่งข้อมูลในเดือนพฤษภาคมพบว่าสามารถฟื้นตัวได้เพียง 75% จากทั้งหมด ในขณะที่โรงงานนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหาย สามารถฟื้นตัวได้ 97% อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในเบื้องต้น พบว่าหลายโรงงานตัดสินใจเลิกกิจการอย่างถาวร เนื่องจากการลงทุนใหม่อาจไม่คุ้มค่า และยังมีความเสี่ยงจากการถูกน้ำท่วมซ้ำในอนาคต ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากหันไปสู่ภาคการเกษตรหรือประกอบอาชีพอิสระอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นจากนโยบายการรับจำนำของรัฐบาล ทั้งนี้ สามารถยืนยันได้จากตัวเลขการว่างงานของกระทรวงแรงงานที่ระบุว่าปัจจุบันมีอัตราว่างงานเฉลี่ยเพียง 0.7% เท่านั้น

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยทั้งหมดต้องการแรงงานเข้ามาเพิ่มเติมประมาณ 500,000 – 600,000 คน เป็นอย่างน้อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบนำเข้า อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศของพม่าทำให้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มวิตกกังวลในการจัดหาแรงงานจากพม่าในอนาคต เนื่องจากการเข้าไปลงทุนในพม่าของประเทศต่างๆ จะทำให้ค่าจ้างแรงงานภายในประเทศพม่ามีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และเชื่อกันว่าหากแรงงานพม่าได้รับรายได้ประมาณ 60% ของการทำงานในประเทศไทย จะทำให้แรงงานพม่าหันกลับไปทำงานในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมากยิ่งขึ้น

ปัญหาแรงงานขาดแคลนสำหรับภาคอุตสาหกรรมเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณาความเหมาะสมสำหรับการสนับสนุนการลงทุนในประเทศไทยว่าจำเป็นต้องมีการคัดเลือกเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในเทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่และใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้มากขึ้น แทนที่การสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก เพราะปัจจัยการผลิตในปัจจุบันได้เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากในอดีต

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหม่สำหรับภาคการส่งออกคือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 และนโยบายการขึ้นเงินเดือนข้าราชการเป็น 15,000 บาท ได้ส่งผลโดยตรงทั้งต่อต้นทุนการผลิตภายในสถานประกอบการที่ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ทั้งในส่วนของแรงงานมีฝีมือและแรงงานมีฝีมือ ซึ่งสถานประกอบการบางแห่งต้องจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างรายวันเพิ่มขึ้นเป็น 600-700 บาทต่อวัน และมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 50  ล้านบาทต่อเดือน (แรงงานประมาณ 4,000-5,000 คน) เนื่องจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะกระทบต่อค่าล่วงเวลาและอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับแรงงาน ในขณะที่การเพิ่มราคาสินค้าแทบจะเป็นไปไม่ได้ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะงักงันเพราะผลกระทบจากปัญหาหนี้สินในสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศลดปริมาณการซื้อและให้ความสำคัญกับราคาสินค้าที่จะซื้อเป็นอย่างมาก

การใช้บริการโลจิสติกส์จากผู้ให้บริการภายนอก (Logistics Service Provider: LSPs) ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าแรงขั้นต่ำด้วยเช่นกัน โดยการให้บริการในส่วนที่ต้องใช้แรงงานหรือพนักงานจะมีการปรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาทิ

  1. ผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD ลาดกระบัง) บางรายมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อาทิ

1.1.   ค่าตรวจเช็คตู้คอนเทนเนอร์ (Inspection Charge for Container) ในอัตรา 20 บาทต่อตู้ 20 ฟุต และ 40 บาทต่อตู้ 40 ฟุต และ 45 ฟุต

1.2.   ค่าจัดการสำหรับสินค้าที่ทำการขนถ่าย บรรจุในโรงพักสินค้า และลานตู้คอนเทนเนอร์ (Admin Charge for LCL, FCL Cargo in Warehouse and Yard) ในอัตรา 10 บาทต่อคันต่อเที่ยว

  1. ผู้ประกอบการสายเรือและตัวแทนเรือ มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการให้บริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

2.1.   ค่าบรรจุสินค้า (CFS Stuffing Charge) จาก 1,615 บาท เป็น 2,100 บาท สำหรับตู้ 20 ฟุต และจาก  3,230 บาท เป็น 4,200 บาท สำหรับตู้ 40 ฟุต

2.2.   ค่าผนึกสินค้า (Seal Fee) จาก 100 บาท เป็น 120 บาท

2.3.   ค่าเอกสาร (Bill of Lading and Delivery Order) ที่ให้บริการในระบบ Manual จะปรับขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 1,200 บาทต่อชุด แต่จะปรับขึ้นบริการเพียงเล็กน้อยหากมีการจองระวางเรือหรือใช้บริการผ่านระบบ e-commerce ซึ่งมีการให้บริการในบางสายเรือ

ทั้งนี้ ต้นทุนที่เกิดขึ้นใน ICD ลาดกระบังข้างต้น มิใช่ต้นทุนที่สามารถเรียกเก็บได้ตามสัญญาสัมปทานระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบการ ICD และการขอปรับขึ้นค่าใช้จ่ายใดๆ ระบุให้ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามสัญญาสัมปทานดังกล่าว แต่เนื่องจากสัญญาสัมปทาน หมดสิ้นลงตั้งแต่ปี 2554 ทำให้ผู้ประกอบการอ้างเหตุผลในการปรับขึ้นค่าใช้จ่ายโดยไม่มีการขออนุมัติจากการรถไฟฯ แต่จากการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ต้องแบกรับต้นทุนคือผู้ส่งออก-นำเข้าที่ต้องใช้บริการ ICD ลาดกระบัง และตกอยู่ในสภาพที่กลายเป็น “ผู้เคราะห์ร้าย” จากนโยบายค่าแรงและความล่าช้าในการดำเนินงานของภาครัฐ

นอกจากนี้ การปรับขึ้นของต้นทุนแรงงานทั้งในส่วนของโรงงานและการใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากแรงงานและการให้บริการแต่อย่างใด ซึ่งในภาพรวมแล้วจะยิ่งทำให้แรงงานรู้สึกว่าสามารถเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องพัฒนาศักยภาพหรือต้องเพิ่ม Productivity ของตนเอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มักพบว่าแรงงานโดยส่วนใหญ่ยังมีทักษะการทำงานต่ำกว่าที่ผู้ประกอบการต้องการ อาทิ

  • พนักงานขับรถบรรทุกและรถหัวลากที่นอกจากจะมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ แม้ว่าพนักงานขับรถอาจทำรายได้มากถึง 30,000-40,000 บาทต่อเดือน ทำให้มีปัญหาหัวลากไม่เพียงพอ และทำให้สินค้าตกเรือมากถึง 300-400 ตู้ในบางเที่ยวเรือ ยังมีปัญหาในเรื่องคุณภาพและความมีประสิทธิภาพในการขับขี่อย่างประหยัดและปลอดภัย ทำให้ยังคงพบเห็นการเกิดอุบัติเหตุของรถขนส่งสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก
  • พนักงานประจำสำนักงานทั้งในส่วนของโรงงาน ที่รับผิดชอบงานด้านเอกสารและการจองระวางขนส่งสินค้า และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่รับผิดชอบการให้บริการลูกค้ายังคงมีทักษะด้านภาษา การสื่อสารความรู้ความเข้าใจในธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงาน ทำให้มักพบข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน อาทิ การระบุท่าเรือปลายทางผิดพลาด การกรอกข้อมูลในเอกสารผิดพลาด เป็นต้น และการขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้หลายกรณี ไม่สามารถช่วยให้บริการสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเจรจากับคู่ค้าในต่างประเทศได้ทันสถานการณ์ และกลายเป็นต้นทุนที่ต้องแบกรับโดยไม่จำเป็น อาทิ จำเป็นต้องลากตู้สินค้ากลับประเทศไทย เนื่องจากลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้า เพราะเอกสารผิดพลาด หรือนำส่งผิดท่าเรือ เป็นต้น

เพื่อแก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาอาชีพด้านโลจิสติกส์ ซึ่งปัจจุบันได้นำร่องใน 4 สาขาอาชีพด้านโลจิสติกส์ ประกอบไปด้วย ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง นักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน และ ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า โดยคาดว่าจะมีการขยายไปสู่สาขาอาชีพด้านโลจิสติกส์อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อให้มีมาตรฐานอาชีพด้านโลจิสติกส์ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งมาตรฐานอาชีพจะครอบคลุม ประเด็นสำคัญคือ ความสามารถและเกณฑ์การปฏิบัติงาน ความรู้ที่จำเป็นต้องมี และทัศนคติและคุณลักษณะของบุคลากร ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีเกณฑ์หรือแนวทางในการคัดเลือกบุคลากรและพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีศักยภาพเพียงพอในอนาคต

เมื่อทราบถึงคุณลักษณะที่สำคัญในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์แล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องตระหนักคือ การฝึกอบรมและยกระดับทักษะการทำงานของพนักงานที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น  การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการลงทุนด้านแรงงานเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติโดยเร็ว เนื่องจากการลงทุนด้านบุคลากรจะทำให้บริษัทสามารถใช้แรงงานที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า และทำให้การจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นสามารถเห็นผลลัพธ์ที่ได้กลับมามากขึ้น มิใช่เพียงแค่การปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เหนือสิ่งอื่นใด การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้มีศักยภาพสูงขึ้นจะทำให้การทำงานร่วมกับสมาชิกในโซ่อุปทานมีความผิดพลาดน้อยลง สามารถคิดค้นวิธีการปฏิบัติงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดต้นทุนให้น้อยลง สามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนในเทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

โดยสรุปแล้ว การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือน รวมถึงสวัสดิการพนักงาน เป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ส่งออกในขณะที่การหาแรงงานใหม่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ทางรอดเพียงอย่างเดียวของผู้ส่งออกและประเทศไทยคือการพัฒนาแรงงานให้มีมาตรฐานและศักยภาพสูงขึ้นตลอดโซ่อุปทาน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ โดยการฝึกอบรมและจูงใจให้พนักงานเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก.

You can leave a response, or trackback from your own site.

17 Responses to “แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก”

  1. Roland says:

    retracted@sanitaire.obe” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  2. Hugh says:

    sulkily@intently.abyssinians” rel=”nofollow”>.…

    good….

  3. darryl says:

    boyish@choked.heavier” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!!…

  4. Harry says:

    goyette@arid.eloped” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information….

  5. Jack says:

    encomiums@spear.mozarts” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  6. ron says:

    sharks@offsaddled.rumford” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  7. Fred says:

    strasny@batchelder.lowered” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  8. Chris says:

    snobbishly@alva.judeo” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  9. nathan says:

    achieve@seagoville.sallies” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  10. daniel says:

    actuality@shred.biblical” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  11. Willard says:

    read@finishes.pounds” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  12. oliver says:

    morrow@restrained.falsifying” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  13. แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buy Usa Proxies…

    I found a great……

  14. แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Resell Proxies…

    I found a great……

  15. แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Anonymous Proxy…

    I found a great……

  16. แรงงานโลจิสติกส์การส่งออก | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Archie Cardoni…

    I found a great……

Leave a Reply