ทิศทางและรูปแบบโลจิสติกส์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงกับการปรับตัวของภาคธุรกิจของไทย

Change in world logistics and how Thai business adjust itself 

ทิศทางและรูปแบบโลจิสติกส์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงกับการปรับตัวของภาคธุรกิจของไทย

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโลจิสติกส์และการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทนำ

                แม้ว่าจะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลจิสติกส์มาหลายปีพอสมควร แต่ก็มีหลายคนยังสับสนเกี่ยวกับความหมายของโลจิสติกส์ระดับโลกและการจัดการโลจิสติกส์ระดับโลก ซึ่งมีหลายแนวทางในการกำหนดความหมายเกี่ยวกับโลจิสติกส์ โดยเมื่อรูปแบบของโลจิสติกส์ระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศหรือผู้นำเข้าส่งออกของไทยอย่างไร

โดยในบทความฉบับนี้ได้กำหนดความหมายของโลจิสติกส์ คือ กระบวนการไหลหรือเคลื่อนย้าย (Flow) ของพัสดุและข้อมูลสารสนเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งในมิติของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับการจัดหา การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและสินค้าคงคลัง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ (และยังเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล) ไปทั่วองค์กรและช่องทางการตลาดในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งสามารถเพิ่มกำไรทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต โดยใช้การควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ

                ระบบโลจิสติกส์เกิดขึ้นทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน และตลอดทั่วปี โดยระบบดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการนำสินค้าไป ณ ที่ที่มีความต้องการและตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ การนำสินค้าไป ณ ที่ที่มีความต้องการจำเป็นต้องมีการบูรณาการ (Integration) ด้านข้อมูลข่าวสาร การขนส่ง สินค้าคงคลัง คลังสินค้า การเคลื่อนย้ายวัสดุ การบรรจุหีบห่อ เป็นกระบวนการที่ประสานกัน เพื่อจะให้สินค้าหรือวัตถุดิบตั้งแต่การจัดหา การเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังมีต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ รวมทั้งสร้างและปรับปรุงระดับความพึงพอใจของลูกค้า

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของระบบโลจิสติกส์ คือ

  • การลดกฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับต่างๆ
  • การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
  • ความต้องการของลูกค้ามีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
  • การพัฒนาและการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพิ่มมากขึ้น
  • การกลายเป็นโลกาภิวัตน์หรือโกลบอลไลเซชั่นของธุรกิจ

 

เมื่อพิจารณาระบบโลจิสติกส์ว่าเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

อย่างไร ทั้งนี้ จะพบว่าการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำเอาระบบโลจิสติกส์มาใช้ได้ระดับโลก โดยเฉพาะจะพบว่าการธุรกิจต่างๆ จะมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ไม่ว่ากับธุรกิจภายในประเทศหรือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติที่จะเข้ามาเปิดตลาดภายในประเทศ ความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่มีความต้องการที่ซับซ้อนและเพิ่มมากขึ้น เช่นต้องการสินค้าที่มีให้เลือกหลากหลายมากขึ้นและต้องการการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วมากขึ้นแต่มีต้นทุนที่ลดต่ำลง นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Agreement; FTA) ซึ่งถือว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญอีกประการหนึ่ง

                จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งในอันที่จะช่วยเจ้าของธุรกิจในการที่ลดต้นทุนและเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าโดยผ่านการวางแผน การจัดการกระบวนการไหลของวัตถุดิบหรือสินค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ในหลายๆ กรณีอาจจะต้องมีการนำสินค้ากลับสู่ผู้ผลิตต้นทาง เช่น การนำกลับมาทำลายหรือการนำกลับมารีไซเคิล เป็นต้น

ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

                หัวใจหลักๆ ของบทนี้จะอยู่ที่ว่า การจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถที่จะช่วยองค์กรในการชิงความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างไร เหตุผลประการแรกคือ ความสามารถที่จะช่วยให้องค์กรอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าคู่แข่ง ทั้งในแง่ของการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าโดยการใช้กระบวนการของโลจิสติกส์เข้าร่วมในกิจกรรมอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า มีปัจจัยพื้นฐานสำหรับความสำเร็จในตลาดที่เป็นรูปแบบง่ายๆ จะอยู่ในลักษณะของการเชื่อมโยงกันเป็นสามเหลี่ยม นั่นก็คือ บริษัท (Company) ลูกค้า (Customer) และคู่แข่ง (Competitor) หรือเราเรียกสั้นๆ ว่า “3C”

สิ่งที่จะทำให้องค์กรสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมักจะเกิดจากความสามารถของ องค์กรในการทำให้ลูกค้ามี

รูปที่ 1 ความสามารถในการแข่งขันและ “3C”

ความรู้สึกว่าสินค้าหรือบริการขององค์กรมีความแตกต่างจากองค์กรคู่แข่งและประการที่สองก็คือการดำเนินงานที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและมีความสามารถในการทำกำไรได้มากกว่าคู่แข่งอื่นๆ เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแล้ว ผู้จัดการทุกๆ คนจะต้องตื่นตัวกับกา เปลี่ยนแปลงของตลาด ขณะที่มันเป็นการยากที่จะยอมรับแนวคิดเก่าๆ ที่ว่าสินค้าที่ดีเยี่ยมมักจะมีจุดขายในตัวของมันเอง หรือความสำเร็จในวันนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในวันพรุ่งนี้

                สำหรับการพิจารณาความสำเร็จในแง่ของการแข่งขัน องค์ประกอบส่วนใหญ่ของความสำเร็จในการแข่งขันมักเกิดจากความได้เปรียบในด้านต้นทุนหรือความได้เปรียบในด้านมูลค่า หรืออาจจะมาจากทั้งสองด้าน เห็นได้ง่ายๆ จากคู่แข่งที่มีกำไรส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมต่างก็มุ่งที่จะเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุดหรือผู้จัดส่งสินค้าหรือซัพพลายเออร์ที่มีการจัดหาสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่ามีมูลค่าที่ดีเยี่ยม ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากผู้จัดส่งสินค้ารายอื่นๆ

                พูดง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จมักจะมีความได้เปรียบในด้านความสามารถในการผลิตหรือมีความได้เปรียบในด้านคุณค่า หรือมีความได้เปรียบทั้งสองด้านรวมกัน ทั้งนี้ การสร้างความได้เปรียบด้านผลิตภัณฑ์หรือความสามารถในการผลิตมักจะอยู่ในรูปของการที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง และการได้เปรียบด้านคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอว่ามีการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร

                แนวคิดในเรื่องของการจัดการห่วงโซ่อุปทานค่อนข้างจะเป็นของใหม่ ขณะที่การจัดการโลจิสติกส์จะมีความเกี่ยวข้องสำหรับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและข้อมูลภายในองค์กร ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีการยอมรับกันว่าการรวมแบบบูรณการภายในเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ 

                ดังนั้น การจัดการโลจิสติกส์จะเป็นการวางแผนและกรอบการทำงานซึ่งจะสร้างแผนในการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลของธุรกิจ การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเป็นการจัดกรอบการทำงานและพยายามที่จะทำให้บรรลุผล โดยการเชื่อมและการประสานระหว่างกิจกรรมและกระบวนการต่างๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตัวอย่างหนึ่ง คือ เป้าหมายของการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อที่จะขจัดหรือลดภาระที่เกิดขึ้นจากสินค้าคงคลัง ซึ่งที่จะต้องมีระหว่างองค์กรต่างๆ ในโซ่อุปทานโดยผ่านการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความต้องการและระดับสต๊อกที่มีอยู่ในปัจจุบันร่วมกันระหว่างบริษัทลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่าเป็นแนวคิดในการร่วมกันบริหารวัสดุคงคลัง (Co-Managed Inventory; CMI)                

จะเห็นได้ชัดว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเน้นบนความร่วมมือ ความไว้ใจและการยอมรับซึ่งกันและกันท่ามกลางกิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                บทความนี้ได้กำหนดความหมายของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ไว้ดังต่อไปนี้ คือการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาสินค้าและลูกค้า เพื่อทำการส่งสินค้าและบริการที่มีคุณค่าที่เหนือกว่าคู่แข่ง โดยมีต้นทุนที่น้อยต่ำกว่าในทุกๆ กิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น การเน้นในการจัดการห่วงโซ่อุปทานจะอยู่บนการจัดการความสัมพันธ์เพื่อที่จะบรรลุผลลัพท์ที่สามารถที่จะสร้างกำไร ให้กับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  

                คำว่า “การจัดการห่วงโซ่อุปทาน” มักจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยหลายๆ คนอาจจะแย้งขึ้นมาว่า มันควรจะมีการใช้คำว่า ”การจัดการห่วงโซ่อุปสงค์” เพื่อที่จะสะท้อนความจริงที่ว่าห่วงโซ่ควรจะถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการของตลาด ไม่ใช่ผู้จัดส่งสินค้าต่างๆ คำว่า “ห่วงโซ่” ควรจะมีการเปลี่ยนไปใช้คำว่า ”เครือข่าย” มากกว่าเนื่องจากมีจำนวนผู้จัดหาสินค้าเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากมายและยังมีผู้จัดส่งสินค้าที่ทำการจัดส่งให้ผู้จัดส่งสินค้าอื่นๆ เช่นเดียวกับลูกค้าที่มีความหลากหลายที่อยู่ในระบบทั้งหมด 

ขณะที่พลวัฒน์การเปลี่ยนแปลงกำลังสะท้อนให้เห็นว่าโลกกำลังกลายเป็นโลกาภิวัตน์ โดยองค์กรในประเทศต่างสามารถติดต่อถึงกันได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้คำกล่าวข้างต้นได้กลายเป็นความจริงและบริษัทต่างๆ เริ่มพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในยุคที่โลกไร้พรมแดน รวมทั้งบริษัทก็พยายามกำหนดกลยุทธ์การผลิต กลยุทธ์การกระจายสินค้า และกลยุทธ์การตลาดเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการยุคสมัยมากขึ้น  

                แบรนด์ชื่อดังของโลกและบริษัทข้ามชาติได้เข้ามาครอบครองและมีบทบาทเด่นๆ ในตลาดใหญ่ๆ ของโลก ตลอดยี่สิบทศวรรตที่ผ่านมาการเข้ามาครอบครองตลาดของแบรนด์หรือบริษัทข้ามชาติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโคคา-โคล่า หรือบุหรี่มาโบโร่ ไอบีเอ็ม หรือ โตโยต้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติเหล่านี้เองก็มีการทบทวนกลยุทธ์ของตนเองโดยหันมาเน้นการทำการตลาดในตลาดท้องถิ่น การผลิตและการจำหน่ายสินค้าในตลาดแต่ละประเทศ รวมถึงการหาแหล่งทรัพยากรบนพื้นฐานของแหล่งกำเนิดของส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ จากแหล่งผลิตในหลายๆ แห่งทั่วโลกเพื่อใช้สำหรับการผลิตแบบโลกาภิวัตน์ 

                เหตุผลหลักๆ ของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้คือ บริษัทพยายามหาทางที่ขยายธุรกิจโดยขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันบริษัทก็หาวิธีการเพื่อลดต้นทุนโดยใช้การผลิตแบบประหยัดหรือเน้นการจัดซื้อและการผลิตเป็นปริมาณมากๆ เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง

                อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเหตุผลที่สนับสนุนการเปลี่ยนรูปแบบเป็นโลกาภิวัตน์ แต่เราต้องยอมรับว่าสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารหรือผู้จัดการบริษัทยุคใหม่ เหตุผลประการแรกเพราะว่าลูกค้าต่างๆ ทั่วโลกมีความต้องการที่แตกต่างหรือไม่เหมือนกัน ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องจัดสินค้าหรือบริการที่หลากหลายและมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตน ประการที่สอง ถ้าไม่มีระบบการประสานงานที่ดีเยี่ยมแล้ว กระบวนการสำหรับการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อนตลอดห่วงโซ่อุปทานโลก จะทำให้บริษัทมีต้นทุนที่สูงมาก

 

บทสรุป

ทั้งนี้ สรุปได้ว่า ความท้าทายสองประการนี้มีความสัมพันธ์กัน คำถามหลักๆ คือเรามีวิธีการที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายให้กับลูกค้าในตลาดท้องถิ่นได้อย่างไร โดยที่บริษัทสามารถรักษาหรือยังคงสร้างความได้เปรียบจากการใช้กลยุทธ์การผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก รวมทั้งบริษัทจะมีการจัดการอย่างไรเพื่อที่จะเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การหาวัตถุดิบไล่ไปจนถึงการจัดส่งวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต แล้วทำการจัดส่งไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้ายประเด็นที่สำคัญคือบริษัทข้ามชาติต่างๆ กำลังหาวิธีหรือกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage) ซึ่งถือว่าเป็นมุมมองที่แคบเกินไปเมื่อพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวกับต้นทุน โดยเฉพาะบริษัทมักจะเน้นวิธีการลดต้นทุนเท่านั้น

อย่างไรก็ตามบริษัทอาจจะบรรลุเป้าหมายโดยสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว การลดต้นทุน ณ กิจกรรมหนึ่งอาจจะนำไปสู่การเพิ่มต้นทุนในอีกกิจกรรมหนึ่ง โดยบริษัทควรจะพิจารณาการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่อุปทานมากกว่าที่จะลดต้นทุนในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ฉบับนี้ผมได้ปูพื้นฐานเพื่อจะอธิบายต่อไปในฉบับต่อไป โดยผมจะอธิบายทิศทางและรูปแบบโลจิสติกส์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงกับการปรับตัวของภาคธุรกิจของไทยครับ

You can leave a response, or trackback from your own site.

9 Responses to “ทิศทางและรูปแบบโลจิสติกส์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงกับการปรับตัวของภาคธุรกิจของไทย”

  1. nick says:

    highways@revise.pilgrimages” rel=”nofollow”>.…

    hello!!…

  2. rodney says:

    stimulatory@ringing.custer” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  3. stephen says:

    prelude@blinding.miniscule” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  4. bobby says:

    adversely@lackadaisical.baldrige” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí!!…

  5. Brent says:

    boy@feare.modifies” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  6. Jeremy says:

    protein@stropped.tchalo” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  7. Johnnie says:

    quirt@lounges.policemans” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  8. nick says:

    belligerence@checking.storing” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

Leave a Reply