กรมศุลกากรก้าวไกลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Customs Department to prepare for AEC

กรมศุลกากรก้าวไกลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมศุลกากร

ประเทศไทยมีความพร้อมเต็มที่เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการค้าที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากการจัดอันดับ Doing business ในปี 2554 ของ World Bank ประเทศไทยอยู่อันดับต้นๆ อันดับที่ 17 จาก 183 ประเทศทั่วโลก ทั้งด้านความง่ายในการทำธุรกรรมและด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่ภาคธุรกิจส่งออก-นำเข้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กรมศุลกากรได้ดำเนินการตามแผนพิมพ์เขียว AEC Blueprint มาโดยตลอด และยังจะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ต่อไป  

แนวทางในการทำงานของกรมศุลกากร เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำเป็นต้องมองการทำงานในหลายมิติ ทั้งในด้านคน กฎหมายและเทคโนโลยีใหม่ๆ ภายใต้แนวทาง “คนมีคุณภาพ กฎหมายทันสมัย และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อก้าวไปสู่ AEC 2015” โดยในเรื่องคนมีคุณภาพ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างๆ เนื่องจากกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานที่ต้องให้บริการแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ดังนั้น เพื่อรองรับ AEC กรมศุลกากรจึงจำเป็นต้องพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศ โดยเป็นการเตรียมพร้อมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และทัศนคติ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กฎระเบียบปฏิบัติ และความตกลงระหว่างประเทศ อีกด้วย โดยกรมศุลกากรกำลังดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของกรมศุลกากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยมีวงเงินกว่า 60 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี (2555-2557) นอกจากนี้ ในเรื่องการประเมินราคาสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีอากรก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีทักษะ กรมศุลกากรจึงอยู่ในช่วงดำเนินการเพื่อจัดอบรมบุคลากรในเรื่องการประเมินราคา GATT เพื่อให้บุคลากรมีความรู้มากขึ้นและพัฒนาการประเมินราคาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการค้าระหว่างประเทศ ทำให้กรมศุลกากรจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย โดยเฉพาะในการลดอุปสรรคพิธีการในการนำเข้า การส่งออกและการดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุน โดยการแก้ไขกฎหมายที่สำคัญๆ ได้แก่ (1) พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เป็นการปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์อาเซียน (the ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะส่งผลทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ใช้พิกัดอัตราแบบเดียวกันและง่ายต่อการทำธุรกรรมระหว่างประเทศสมาชิก (2) อยู่ในช่วงการยกร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ….. โดยจะกำหนดให้หักจ่ายเงินสินบนไม่เกิน 10 ล้านบาท หักจ่ายเป็นเงินรางวัลได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ทั้งนี้ พรก. ดังกล่าวจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานของเจ้าหน้าที่และภาคธุรกิจได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น (3) อยู่ในช่วงการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ….. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษ จำนวนเงินในการงดการเรียกเก็บและจำนวนเงินเพิ่มที่เรียกเก็บ โดยโทษตามมาตรา 27 เดิมกำหนดให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แก้ไขเป็นจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ และโทษตามมาตรา 27 ทวิ เดิมกำหนดให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ แก้ไขเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยกฎหมายดังกล่าว อยู่ระหว่างรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ขณะที่ เทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยในการลดระยะเวลาของการผ่านพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนด้านเอกสาร นอกจากนี้ ยังจะช่วยทำให้บุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น เพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade facilitation) (1) กรมศุลกากรได้นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น e-Customs e-import e-export e-Freezone e-Warehousing และ e-payment เป็นต้น ทำให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็ว ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ได้ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและลดจำนวนเอกสาร (2) กรมศุลกากรอยู่ในช่วงดำเนินการจัดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window: NSW) ซึ่งเป็นระบบบูรณาการ การนำเข้า-ส่งออก และโลจิสติกส์ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบรับรอง ใบอนุญาต ข้อมูลการอนุญาตยกเว้นภาษี เป็นต้น โดยมีทั้งหมด 38 หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการและ 8 หน่วยงานได้ใช้งานจริงแล้ว ซึ่งมีงบประมาณทั้งสิ้น 370.8 ล้านบาท จากปี 2552 ถึง 2555 และหาก NSW ประสบความสำเร็จ กรมศุลกากร ก็จะพัฒนาไปสู่ ASEAN Single Window (ASW) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (3) หนึ่งในเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศอาเซียนคือการมีแหล่งกำเนิดสินค้ามาจากประเทศสมาชิกอาเซียน

และเพื่อให้เกิดความง่ายในการออกใบรับรอง กรมศุลกากรจึงได้จัดทำโครงการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออก (Self-Certification) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์ มาใช้เพื่อลดขั้นตอนในการขอสิทธิและต้นทุนด้านเอกสารและเวลาให้กับผู้ประกอบการ ในด้านการป้องกันและปราบปราม ยังคงมีความจำเป็นต่อเนื่อง โดยกรมศุลกากรได้นำอุปกรณ์อันทันสมัยมาใช้เพื่อการตรวจสอบ ได้แก่ (1) การนำระบบ X-ray มาช่วยในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออกที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์โดยไม่ต้องเปิดตรวจสินค้า นอกจากนี้ ยังมีเครื่องเอ็กซเรย์ชนิด Mobile X-ray ซึ่งสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปตามด่านที่มีความจำเป็นและมีการค้าที่หนาแน่น และ (2) ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System: CCTV System) ซึ่งโครงการมีวงเงินกว่า 740 ล้านบาท โดยมีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อใช้ในการตรวจสอบการลักลอบและหลีกเลี่ยงต่างๆ

นอกจากนี้ ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของด่านศุลกากรก็จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นประตูสู่ประเทศไทย และกรมศุลกากรคาดว่าการค้าชายแดนจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นหลังจากกรมศุลกากรได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าในอนาคต (Distribution Center หรือ Inland Container Depot) โดยจำเป็นต้องเน้นการปรับปรุงบทบาทหน้าที่ของด่านศุลกากรให้สามารถเป็น Gate Way ในการอำนวยความสะดวกให้การเคลื่อนย้ายสินค้า ณ บริเวณพรมแดน รวมถึงการปรับปรุงบทบาทในการตรวจร่วมกับศุลกากรประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณ Common Control Area :CCA นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้อยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้างด่านใหม่ๆ 4 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรบูเก๊ะตา ด่านศุลกากรเชียงของแห่งใหม่ ด่านศุลกากรเชียงแสนแห่งที่ 2 ด่านพรมแดนบ้านประกอบ และในปีหน้า กรมศุลกากรก็จะทำการปรับปรุงด่านพรมแดนสะเดา เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของการค้าขายชายแดน

สำหรับรายได้จัดเก็บของกรมศุลกากรในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2555 จัดเก็บได้ 2 หมื่น 7 พันล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 276.7 ล้านบาท เป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้รายได้จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้ามากในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม รายได้จัดเก็บมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยจัดเก็บได้ 1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ กรมศุลกากรคาดว่ารายได้จัดเก็บของทั้งปีงบประมาณ 55 จะยังคงจัดเก็บได้ตามเป้าที่ 105,500 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะกลับมาฟื้นตัวได้ดีตามที่หลายหน่วยงานได้คาดการณ์ ทำให้มีการเร่งการนำเข้าสินค้าเพื่อนำมาผลิตและรองรับการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังน้ำลด ส่งผลทำให้รายได้ที่กรมศุลกากร จัดเก็บจะกลับมา  

เดือน เก็บได้สุทธิ เก็บได้สุทธิ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ประมาณการ เปรียบเทียบกับประมาณการ
  ปีนี้ ปีที่แล้ว แตกต่าง (%) 2555 ปีปัจจุบัน
        แตกต่าง         (%)
ตุลาคม          7,748.282           7,641.683 106.599 1.39         9,100.000 -1,351.718 -14.85
พฤศจิกายน          9,189.391           9,056.698 132.693 1.47         9,350.000 -160.609 -1.72
ธันวาคม        10,285.619           8,702.059 1,583.560 18.20         9,050.000 1,235.619 13.65
รวม        27,223.292         25,400.440 1,822.852 7.18        27,500.000 -276.708 -1.01
หมายเหตุ: แก้ไขข้อมูลถึง 4 มกราคม 2555      

 

You can leave a response, or trackback from your own site.

7 Responses to “กรมศุลกากรก้าวไกลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

  1. julio says:

    preface@fading.surfaced” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  2. Eugene says:

    reputed@adaptations.peacock” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  3. jimmie says:

    transferring@deduce.oops” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  4. rafael says:

    vincent@roos.essentially” rel=”nofollow”>.…

    thank you!!…

  5. jorge says:

    soeren@faulty.verplancks” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  6. กรมศุลกากรก้าวไกลสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียà says:

    Buy Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply