โลจิสติกส์กับมุมมองของนายกสมาคมฯ TLAPS

โลจิสติกส์กับมุมมองของนายกสมาคมฯ TLAPS

 ผมในนามสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) ต้องขอขอบคุณ FREIGHT Max ที่ให้โอกาสกับสมาคมฯ เขียนบทความด้านการบริหารระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการบริหารการผลิต TLAPS ได้ก่อตั้งถึงปัจจุบันครบ 19 ปี ประกอบด้วย กรรมการบริหารสมาคมฯ ที่มีอาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการผลิตทั้งหมด ล้วนมีประสบการณ์ตั้งแต่ 10 ถึง 30 ปี รวมถึงนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ที่ปรึกษาของสมาคมฯ ล้วนแต่เป็นกูรูทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งสิ้น ประกอบกับสมาคมฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้ให้ความรู้และทำการทดสอบองค์ความรู้ของสถาบัน APICS (The American Production and Inventory control Society) USA ขณะนี้สมาคมฯ ได้จัดสอบ 2 หลักสูตร คือ CPIM (Certified in Production and Inventory Management) และ CSCP (Certificate Supply Chain Professional) ซึ่งเป็นหลักสูตรวัดความรู้และความสามารถขององค์ความรู้ดังกล่าว และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

นอกจากกิจกรรมดังกล่าวที่สมาคมฯ ได้ดำเนินการมายาวนานแล้ว สมาคมฯ มีภารกิจสำคัญๆ ดังนี้ TLAPS เป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านการบริหารโลจิสติกส์ซัพพลายเชน และการผลิต ฉะนั้น TLAPS มีความมุ่งมั่นที่พัฒนาและยกขีดความสามารถของบุคลากร ที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันทั้งในภาคผลิต และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Manufacturing Logistics และ Logistics Service Provider) รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคการศึกษาที่ผลิตบุคลากรใหม่เพื่อสร้างองค์ความรู้จาก Best Practices ต่างๆ มาขยายผล เสริมสร้างความรู้และประสบการณ์หรือเตรียมความพร้อมที่จะเข้าปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในกลุ่มงานโลจิสติกส์ (Logistics Industry) ซึ่งจะนำมาเรียนให้ทุกท่านทราบในโอกาสต่อไป

จากวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ดังกล่าว จึงได้จัดตั้งคณะทำงานทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Human Resources Logistics & Professional Standard Accreditation) โดยมอบหมายให้คุณจำเรียง วัยวัฒน์ รองนายกสมาคมฯ รับผิดชอบโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์และดำเนินการเรื่องสำคัญๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของสมาคมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ หัวหน้างาน และระดับผู้จัดการ ตลอดถึงผู้บริหารระดับสูง รวมถึงการสร้างกูรูเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน โดยใช้ Model การขับเคลื่อน TLAPS Strategic Move โดยนำองค์ความรู้จาก APICS เป็นศูนย์กลางรวมถึงการจัดกลุ่มงานการสัมมนา Human Resources Workforce Development Plan มี 6 หมวดวิชาและ 10 องค์ความรู้ต่อหมวด

ในโอกาสที่ผมรับผิดชอบในตำแหน่งนายกสมาคมฯ (ระหว่างปี 2554-2555) และมีประสบการณ์ในด้านการบริหารโลจิสติกส์ซัพพลายเชน และการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมระยะเวลา 36 ปี จาก 2 บริษัทฯ ในประเทศไทย จึงขออนุญาตผู้อ่านแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็นจากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ดังนี้

จากความเห็นส่วนตัว โลจิสติกส์ ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรแต่มีมาพร้อมกับอุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องมีการรับสินค้า (วัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิต) มาจัดเก็บ ควบคุมให้มีความพร้อมในการผลิต และการขายพร้อมจัดส่งและกระจายส่งมอบให้ลูกค้า หรือเรียกง่ายๆ ว่าการไหลของสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปถึงจุดผู้บริโภค ยกตัวอย่าง การผลิตเครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่ ชาวไร่อ้อยปลูกอ้อย จนถึงรถซาเล้งเก็บขวด กระป๋องเปล่าแล้วไปขายให้โรงงานผลิต เช่นผลิตขวดแก้ว หรือโรงงานผลิต ถัง กะละมัง ขันน้ำ จากตัวอย่างดังกล่าวมีให้เราเห็นมานานแล้ว หรือพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีในโลกนี้

ทำไมเรา (ประเทศเรา) ได้เริ่มเขียนนโยบายในระดับประเทศ ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนได้นำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้บริหารจัดการ มานานแล้ว โดยเฉพาะบริษัทฯ ต่างชาติ รวมถึงขณะนี้สถานศึกษา ได้เปิดสอนวิชาทางด้าน โลจิสติกส์ ตั้งแต่ระดับ ปวช, ปวส, ปริญาตรี, โท และเอก ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ มือสองหรือมือสาม จากต่างประเทศมาสอนในภาคการศึกษาในบ้านเรา เนื่องจากเรายังขาดความสนใจอย่างจริงจัง ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ยังมีน้อยและยังไม่มากพอ จึงทำให้เห็นว่าในรอบ 15 ปี ทำให้เรื่องของโลจิสติกส์ซัพพลายเชนเป็นที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

ผมยังยืนยันคำพูดเดิมว่าโลจิสติกส์ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วทำไมขณะนี้บ้านเราพูดกันมาก เรียนกันมากทั้งในภาครัฐและเอกชน จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวพอสรุปได้ดังนี้

  1. ธุรกิจทั้งภาคผลิต บริการ มีการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศสูงมาก และสูงขึ้นเรื่อย เช่น กรณีในปี 2558 เริ่ม เกิด AEC เต็มรูปแบบ
  2. ความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าต่อสินค้าและบริการสูงมากและเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
  3. ในโลกของการแข่งขัน นอกจากต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ต้องมีราคาที่ยอมรับได้ (สมเหตุสมผล) และส่งมอบอย่างรวดเร็วและทุกที่ภายในโลกนี้
  4. จากปัจจัย 3 ประการดังกล่าว การจะปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการเป็นเรื่องที่ยากมาก ฉะนั้น ถ้าธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องหันมาดูแลเรื่องการบริหารต้นทุนการผลิต ต้นทุนการบริหารจัดการในทุกกระบวนการภายในองค์กร ในอดีตเราจะแข่งขันกันระหว่างตราสินค้าหรือยี่ห้อ แต่ปัจจุบันเราแข่งขันกันระหว่างองค์กร กับองค์กรครับ

องค์กรที่จะอยู่รอดได้ ไม่ใช่ขายเก่งอย่างเดียว (ขายแล้วไม่มีกำไร เก็บเงินไม่ได้) แต่ต้องเก่งเรื่องการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เช่นขณะนี้จะมีการเรียนการสอนและพูดกันมากเรื่อง TPS (Toyota Productions System) หรือ Lean Management ก็เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กรนั่นเอง

                เมื่อมีปัจจัยหรือผลกระทบกับโลกของการแข่งขันทางธุรกิจดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีมิติในการปรับปรุงพัฒนา องค์การในด้านต่างๆ เช่น

  1. คุณภาพสินค้า (Quality)
  2. ค่าใช้จ่ายต่างๆ (Cost)
  3. การส่งมอบ (Delivery)

จากแผนภาพดังกล่าว หากเรายังบริหารจัดการแบบเดิม (Silo Management) และยังไม่สามารถตอบสนองความตองการของลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่งและยังมีความสูญเปล่าในกระบวนการต่างๆ เช่น การส่งมอบ และเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งภายในและนอกองค์กร อีกด้วย

จากการทำงานและบริหารระบบโลจิสติกส์แบบเดิมๆ จึงต้องนำแนวคิดแบบบูรณาการ (Integration) นั่นเอง เนื้อแท้แล้วกิจกรรมโลจิสติกส์แต่ละกิจกรรมจะมีความขัดแย้งกันในตัวเองอยู่แล้ว เช่น

  1. คนจัดซื้อต้องซื้อครั้งละมากๆ เพื่อราคาต่อหน่วยจะถูกลง
  2. คนผลิตต้องผลิต Lot Size ใหญ่ๆ ครั้งละมากๆ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง
  3. คนขนส่งสินค้า ต้องขนส่งคราวละมาก ๆ ต้นทุนขนส่งต่อหน่วยถูกลง
  4. คนคลังสินค้า ต้องการควบคุมจัดเก็บสินค้าในปริมาณที่น้อยๆ ลดการสูญเสีย และCarrying Cost  Warehouse Costลง
  5. ในขณะเดียวกันลูกค้าต้องการสินค้าครั้งละน้อยๆ และให้ส่งบ่อยๆ สั่งช่วงเช้าต้องการสินค้าตอนเย็น

จากสิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมดรวมถึงปัจจัย 5 ประการ ของการบริหารระบบโลจิสติกส์ ที่ขัดกันในตัวเอง การบริหารโลจิสติกส์จึงต้องมองภาพรวม หากเป็นค่าใช้จ่ายก็ต้องมองหรือพิจารณาในมิติ Total Cost ฉะนั้นการบูรณาการจากปัจจัยต่างให้เกิดความสมดุลจึงเป็นความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร และการแข่งขันของประเทศ ครับ

You can leave a response, or trackback from your own site.

5 Responses to “โลจิสติกส์กับมุมมองของนายกสมาคมฯ TLAPS”

  1. Troy says:

    book@carmichael.interned” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  2. dustin says:

    rechartering@brannon.suspiciously” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó….

  3. David says:

    tarred@jennies.quantitatively” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  4. Paul says:

    mastering@embroiled.arsines” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  5. โลจิสติกส์กับมุมมองของนายกสมาคมฯ TLAPS | Especially of Logistics Supply Chains and Tradi says:

    Cheap Private Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply