Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพื่อสนับสนุนการขยายขนาดกองเรือ ของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ

Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide

ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพื่อสนับสนุนการขยายขนาดกองเรือ 

ของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ

ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและสามารถส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ ตั้งแต่ระดับกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย (Segment of industries) จนถึงกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ (Core Industrial) และระดับสินค้า (Products) ที่จะมุ่งเน้นให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่มูลค่า (Value Chains) รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงกับภาคบริการให้เป็นไปในทิศทางที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน อาทิเช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมสีและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร รวมถึงในด้านการเงิน การประกันภัย

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือยังอำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจการเดินเรือขนส่ง และกิจการการค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและสามารถประหยัดค่าขนส่งมากกว่าทางบก ดังนั้น หากประเทศไทยมีการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือให้มีทิศทางที่เหมาะสมแล้ว จะสามารถสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ เช่น ทำให้เกิดการจ้างงานทั้งในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดการว่าจ้างต่อเรือและซ่อมเรือภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการสงวนเงินตรา อำนวยความสะดวกแก่เรือขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการตรวจเช็คสภาพและการซ่อมเรือ รวมถึงการสนับสนุนการส่งออกของประเทศไทย และให้สามารถลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของผู้ส่งออกไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือในต่างประเทศเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมหาศาล ในประเทศสหรัฐอเมริกาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือได้สร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ทำให้เกิดการจ้างงานถึง 31,283 คน

Professor Michael E. Porter ได้นำเสนอรายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของประเทศเกาหลีใต้ผ่านทาง Harvard Business School: Microeconomics of Competitiveness ในหัวข้อ “Shipbuilding  Cluster in the Republic of Korea” โดยชี้ให้เห็นว่า ประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านอุตสาหกรรมต่อเรือ (ซึ่งประเทศญี่ปุ่นและจีน อยู่ในอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ) เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากและทำรายได้เข้าประเทศถึง 27.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งมีสัดส่วนถึง 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และมีสัดส่วนถึง 25% ของตลาด Marine Equipment ของโลก ดังแสดงใน รูปที่ 1 และทำรายได้มากกว่าอุตสาหกรรม ประกอบรถยนต์ และ อุตสาหกรรมเหล็ก ที่ทำรายได้เพียงแค่ 2% ของผลิตภัณฑ์ส่งออกภายในประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือนั้นยังเป็นปัจจัยสนับในอุตสาหกรรมส่งออกอื่นๆ ของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรม Transportation & Logistics และอุตสาหกรรมส่งออกอื่นๆ อีกเช่นเดียวกัน

 ที่มา: Institute for Strategy and Competitiveness, 2010

รูปที่ 1 สัดส่วนของรายได้ส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศเกาหลีใต้

หากวิเคราะห์ถึงประเทศอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือที่เกิดใหม่ในโลก ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านผู้ซึ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในลำดับที่ 150 และเป็นคู่แข่งของประเทศไทย มุ่งหวังที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยอาศัยศักยภาพของการมีชายฝั่งตลอดแนวของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยอาศัยการส่งเสริมจากภาครัฐและความร่วมมือด้านการลงทุนจากต่างประเทศ

รัฐบาลเวียดนามได้เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญ และสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศและยังสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเพื่อการนำเข้าและส่งออก และอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการส่งออกสินค้า แม้กระทั่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) อุตสาหกรรมด้านการศึกษา และการท่องเที่ยว

ปัจจัยเหล่านี้ยังสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศซึ่ง Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้นำเสนอรายงานการการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่อเรือของเวียดนามในเดือน พฤษภาคม 2008 ได้นำเสนออัตราการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) อันเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือที่เพิ่มขึ้นจากปี 2000 ถึงปี 2006 กว่า 10,000 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2009 Net Flow Inward FDI per GDP ของเวียดนามมีสัดส่วนถึง 8% ดังแสดงใน รูปที่ 2  และเม็ดเงินลงทุนจำนวนดังกล่าวได้กระจายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม 45% อสังหาริมทรัพย์ 26% Hotel & Tourism 11% ดังแสดงใน รูปที่ 3 และส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมส่งออกของประเทศอีกด้วย

สำหรับสัดส่วนของภาคการผลิต ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามพุ่งขึ้น 16 อันดับแต่ในทางกลับกันไทยลดลง 10 อันดับ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลเวียดนามเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงมีการลงทุนและร่วมทุนกับประเทศผู้ต่อเรือในนาม VINASHIN ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตด้านการต่อเรือที่สูงนับตั้งแต่ปี 2000 – ปัจจุบัน สำหรับยอดการสั่งต่อเรือจนถึงมกราคม 2010 เวียดนามมียอดการรับจองการสั่งต่อเรือในเดทเวทตัน (DWT) เป็นอันดับ 5 รองจาก จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ โดยมีจำนวนถึง 6,000,000 เดทเวทตัน และสามารถต่อเรือที่มีระวางได้มากกว่า 60,000 เดทเวทตันและกำลังพัฒนากำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 100,000 เดทเวทตัน ในอนาคต ดังแสดงในรูปที่ 4

ที่มา: Economist Intelligent Unit 2010

รูปที่ 2 เปรียบที่สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศ

 ที่มา: OECD 2009

รูปที่ 3 อัตราการลงทุนจากต่างประเทศ

 ที่มา: CSL and Willis Presentation in Veitship 2010

รูปที่ 4 ยอดสั่งต่อเรือของประเทศเวียดนาม เดือน มกราคม  2010

แต่สำหรับประเทศไทยแล้วรัฐบาลยังมิได้ให้ความสำคัญในการพัฒนากิจการต่อเรือและซ่อมเรือเพื่อการแข่งขันกับประเทศต่างๆ มีเพียงกรอบแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งเน้นให้ผลสัมฤทธิ์กับการพัฒนาภายในประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในช่วงระยะแรกรัฐบาลเริ่มมีการปรับโครงสร้างการบริหารราชการโดยการตัดสินใจปรับปรุงหน่วยราชการและได้ยุบรวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมพาณิชยนาวีและกรมเจ้าท่าเข้าด้วยกัน และตั้งชื่อใหม่ว่า กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จนถึงกลางปี 2552 จึงได้เปลี่ยนกลับมาเป็น “กรมเจ้าท่า” การรวมหน่วยงานดังกล่าวทำให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ส่วนมากต้องหยุดชะงักในภารกิจต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นภาพรวมของการพัฒนาและส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวีจึงเกิดความล่าช้าเป็นลำดับ

ผลสรุปแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาดำเนินการโดยไม่สอดคล้องกันกับภาพรวมของยุทธศาสตร์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามผลการศึกษาส่วนใหญ่ที่สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาตามกรอบยุทธศาสตร์ยังคงสอดคล้องกัน ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2544 ยุทธศาสตร์เหล่านี้อยู่ในแผนพัฒนาการขนส่งทางน้ำอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการขนส่งของประเทศ ซึ่งยุทธศาสตร์การการพัฒนาอู่ต่อและซ่อมเรือ ได้ถูกนำเข้าไปเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์หลักของกรมเจ้าท่า สำหรับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2553 กรมเจ้าท่ายังไม่มีการสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวีด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรืออย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ จึงไม่ควรจะมีเพียงแค่การวางยุทธศาสตร์ในกรอบของอู่ต่อเรือและซ่อมเรือเท่านั้น แต่ต้องมีการวางยุทธ์ ในลักษณะของ “Clustering Integration Supply Chain of Shipbuilding Industry” ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งแนวทางนี้ได้นำมาใช้ในประเทศเกาหลีใต้ ดังแสดงในรูปที่ 5 ที่เป็นผู้นำด้านการต่อเรือของโลก และประเทศอุตสาหกรรมต่อเรือใหม่ดังเช่นเวียดนาม

 ที่มา Shipbuilding Cluster in the Republic of Korea[1]

รูปที่ 5 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือในลักษณะ Clustering Integration Supply Chain

มาตรการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอู่เรือ ควรต้องมีการวางยุทธศาสตร์ทั้งในระดับนโยบาย และภาคปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกัน ด้วยปัจจัยด้านการตลาด ทั้งอุปสงค์ และอุปทาน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศ เพื่อที่จะนำมาวางแนวทางของยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอู่ต่อเรือและการซ่อมเรือของประเทศไทยทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางพาณิชยนาวีของประเทศ ซึ่งผมจะกล่าวในฉบับหน้าต่อไป

You can leave a response, or trackback from your own site.

12 Responses to “Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพื่อสนับสนุนการขยายขนาดกองเรือ ของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ”

  1. glen says:

    closeted@rehabilitation.epitomize” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  2. joel says:

    aims@nap.elsinore” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  3. Darryl says:

    roadster@foolhardy.bedazzlement” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  4. Clarence says:

    resigning@parachutes.comrade” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  5. charles says:

    reveal@hanford.micrometeorites” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  6. matt says:

    mandated@cadre.environment” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  7. nicholas says:

    exalted@crowding.darkling” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  8. bot says:

    bot…

    Get Services From the wonderful sales chatbot currently now available in addition on sale today!…

  9. Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพภsays:

    Buy Proxy Lists By Country…

    I found a great……

  10. Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพภsays:

    Buying Proxy…

    I found a great……

  11. Shipping and Port Development Strategies for Port and Habour Expansion nationwide ยุทธศาสตร์การพัฒนาอู่เรือเพภsays:

    Cheap Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply