Logistics Strategies in line with AEC ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ตามระเบียงเศรษฐกิจ ภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Logistics Strategies in line with AEC

ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ตามระเบียงเศรษฐกิจ

ภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

                  ความสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน (Sustainability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจไปในระดับหนึ่งแล้ว เนื่องจากประสบการณ์ของประเทศเหล่านั้นที่ได้ประสบกับปัญหาในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงมิติในด้านความยั่งยืนของการพัฒนา ถึงแม้แนวคิดในเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืนได้ถูกเสนอขึ้นมาในช่วงประมาณสามสิบปีก่อนหน้านี้ แต่การรับรู้และความตื่นตัวของสังคมเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ที่ผ่านมานี้เอง ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือความหมายที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้ว่า “เป็นการพัฒนาที่สามารถจะตอบสนองความต้องการของประชากรมนุษย์ในรุ่นพวกเขาเองในอนาคต” 

ตามความหมายนี้ การพัฒนาทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องพิจารณาถึงความสำคัญของการพัฒนาและอนุรักษ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปด้วยกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สามเสาหลักของการพัฒนาแบบยั่งยืน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีตัวอย่างหลายกรณีที่เกิดขึ้นในบางเขตเศรษฐกิจที่ประชากรมีรายได้ที่สูงขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการค้าไปอย่างมาก หากแต่สภาพแวดล้อมหรือสังคมในประชาคมที่อยู่นั้นเสื่อมถอยลง ตัวอย่างเช่น ระเบียงเศรษฐกิจหลายแห่งที่เกิดขึ้นในยุโรปและสหรัฐอเมริกา (สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ www.unglobalcompact.org) ประกอบกับปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่ทำให้ความเชื่อมโยงของพื้นที่ประเทศต่างๆ ในโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีอยู่และจะเกิดเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้การเคลื่อนย้ายของทรัพยากร สินค้า คน ความรู้ และเงินทุน เกิดขึ้นมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมีความรวดเร็วมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหมายความว่า ถ้าไม่มีการพิจารณาถึงการพัฒนาในอีกสองเสาหลักควบคู่ไปด้วย คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาคมก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสร้างให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนด้วยเช่นกัน

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ผู้นำอาเซียนยืนยันพันธกรณีที่จะเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 จากเดิมที่ระบุไว้ในปี 2020 ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 โดยการลงนามแถลงการณ์เซบู เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 ในด้านเศรษฐกิจ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบที่จะเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี 2015 และเปลี่ยนแปลงอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น โดยคุณลักษณะและองค์ประกอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบไปด้วย

1) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามที่ระบุไว้ภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ซึ่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประสานผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกโดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในเชิงลึกและกว้างขวางมากขึ้น ผ่านความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบันและแผนการดำเนินงานใหม่ภายใต้กรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามหลักการที่จะส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเปิด มองบริบทภายนอก และส่งเสริมกลไกตลาด ซึ่งสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ในกรอบพหุภาคี และยึดมั่นในระบบกฎเกณฑ์ เพื่อความสอดคล้องของการปฏิบัติตามพันธกรณีในด้านเศรษฐกิจ

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน สร้างอาเซียนให้มี พลวัตรและขีดความสามารถมากขึ้น ด้วยกลไกและมาตรการใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมความแข็งแกร่งของการปฏิบัติตามแผนงานด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสาขาสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักธุรกิจ แรงงานฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านกลไกสถาบันของอาเซียน โดยก้าวแรกของการมุ่งไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2

3) ในขณะเดียวกัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างการพัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการแผนงานกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) และแผนงานในกรอบภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานแผนความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น การพัฒนาบุคลากรและการส่งเสริมขีดความสามารถ การยอมรับคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ การหารือที่ใกล้ชิดมากขึ้นในเรื่องเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายทางการเงิน มาตรการทางการค้าและการเงิน การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงในการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN) การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการจัดซื้อในภูมิภาค และส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4) ด้วยพื้นฐานข้างต้น และคำนึงถึงความสำคัญของการค้าภายนอกที่มีต่ออาเซียน และความจำเป็นของประชาคมอาเซียนที่จะต้องคำนึงถึงบริบทภายนอก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีคุณลักษณะที่สำคัญตามพิมพ์เขียว (ASEAN Economic Community Blueprint) คือ

(1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

(2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

(3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

(4) การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์

คุณสมบัติเหล่านี้ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันและส่งผลเกื้อกูลกัน การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ ของคุณสมบัติเหล่านี้ ไว้ภายใต้แผนงานนี้จะสร้างให้เกิดความสอดคล้องและสอดประสานขององค์ประกอบต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติตามแผนงานและการประสานงานระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม

สำหรับแนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC เพื่อเปิดเสรีการค้าสินค้า และการบริการสำคัญ 12 สาขา ในการนำร่อง และส่งเสริมการ Outsourcing หรือ การผลิตสินค้า โดยใช้วัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียน ซึ่งเป็นไป ตามแผนดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้รับมอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่ รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้

                                พม่า                        สาขา      ผลิตภัณฑ์เกษตร ประมง

                                มาเลเซีย                 สาขา      ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ

                                อินโดนีเซีย             สาขา      ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้

                                ฟิลิปปินส์               สาขา      อิเล็กทรอนิกส์

                                สิงคโปร์                  สาขา      เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ

                                ไทย                         สาขา      การท่องเที่ยว การบิน

                                เวียดนาม               สาขา      โลจิสติกส์

โดยกรอบของแผนการดำเนินงาน (Road map) ใน 12 สาขาสำคัญ มีดังนี้

1) การเร่งลดภาษีสินค้าให้เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA อาเซียน – 6 ระหว่าง พ.ศ.2550 – 2553 และอาเซียนใหม่ (CLMV) ระหว่าง พ.ศ.2555 – 2558 (CLMV หมายถึง Cambodia, Laos, Malaysia, Vietnam)

2) การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTB) เพื่อนำไปสู่การลด / เลิก มาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า

3) การปรับปรุงกฎว่าด้วยด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส มาตรฐานที่เป็นสากล และอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชนมากขึ้น

4) เปิดเสรีการค้า บริการอย่างชัดเจน และพัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน รวมทั้งส่งเสริมการร่วมลงทุนของอาเซียนไปยังประเทศที่สาม

5) เปิดเสรีการลงทุน โดยการลดหรือยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนต่างๆ ส่งเสริมการร่วมลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายด้านการลงทุนของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ

6) การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการด้านศุลกากร และพัฒนาระบบพิธีการศุลกากร Single Window รวมทั้งพัฒนาเอกสารให้มีความเรียบง่าย และสอดคล้องกัน

7) การพัฒนามาตรฐาน และความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ พัฒนาการยอมรับมาตรฐานซึ่งกันและกัน (MRA) ให้มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น

8) การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักธุรกิจ

นอกจากมาตรการข้างต้นแล้ว ยังมีเรื่องของการพัฒนาระบบข้อมูลหรือสถิติการค้า และการลงทุนภายในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในอาเซียนอีกด้วย

ทั้งนี้ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น กุญแจสำคัญอย่างหนึ่งคือการพัฒนาความร่วมมือภายในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยภายใต้โครงการความร่วมมือภายในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตามโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) อันประกอบด้วยประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และ จีนเฉพาะมณฑลยูนานและมณฑลกว่างสี ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ได้มีการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจจำนวนทั้งสิ้น 10 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยง 6 ประเทศ ในกลุ่ม GMS เข้าด้วยกัน โดยอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจ 3 แนว ได้แก่

1) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC)

2) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) และ

3) ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

ซึ่งการพัฒนานี้มุ่งหวังที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาสาขาที่มีศักยภาพร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมถึงการค้าผ่านแดน การลงทุน การขนส่ง และการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการก่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างมั่นคงในกลุ่มประเทศอาเซียนแบบไร้พรมแดน

โดยระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ มีเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทางหลักอันประกอบไปด้วย (ADB, 2010)

1) ระเบียงย่อยตะวันตก (Western Subcorridor) คือ เส้นทางคุนหมิง เชียงราย กรุงเทพฯ โดยผ่านสปป.ลาว หรือ พม่า

2) ระเบียงย่อยกลาง (Central Subcorridor) คือ เส้นทางคุนหมิง ฮานอย ไฮฟอง

3) ระเบียงย่อยตะวันออก (Eastern Subcorridor) คือ เส้นทางนานนิง ฮานอย ผ่านยูยี หรือ ฟางเชง ดงชิง มงไค

ในปัจจุบันระเบียงย่อยตะวันตกได้มีการพัฒนาเส้นทาง R3E และ R3W อันเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงการขนส่งทางบกระหว่างนครคุนหมิงกับกรุงเทพฯ และขณะนี้เส้นทาง R3E ก่อสร้างเสร็จแล้ว และประเทศสมาชิกทั้ง 6 ประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ประกอบด้วย ไทย สปป.ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ ได้ร่วมกันเปิดเส้นทาง R3E อย่างเป็นทางการในช่วงการประชุมผู้นำ GMS ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ณ สปป.ลาว เส้นทาง R3E ช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างนครคุนหมิง-กรุงเทพฯ จาก 48 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง ในขณะเดียวกัน เส้นทางเชื่อมต่อ ระเบียงย่อยกลาง และ ระเบียงย่อยตะวันออก ก็กำลังอยู่ในการพัฒนา

จากการพัฒนาเส้นทางต่างๆ ในการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ก็จะทำให้เกิดเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญระหว่างจีน ประเทศไทย และประตูที่สำคัญระหว่างจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของกลุ่มประเทศอาเซียน และข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างจีนและอาเซียน เริ่มมีการดำเนินการ

โดยการพัฒนาในขั้นต้น สามประเทศบนเส้นทาง R3E อันได้แก่ จีน สปป.ลาว และไทย ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจจากเส้นทางดังกล่าว โดยไทยได้กำหนดการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงราย และการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน ส่วนสปป.ลาวอยู่ระหว่างการจัดเตรียมการพัฒนาพื้นที่จุดแวะพัก (Rest areas) บนเส้นทางที่แขวงบ่อแก้วและหลวงน้ำทา โดยขอการสนับสนุนทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) และจีนได้กำหนดนโยบายมุ่งใช้ประโยชน์จากเส้นทาง R3E เพื่อกระจายสินค้าจากจีนตอนใต้ ลำเลียงวัตถุดิบ (ทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าเกษตร) และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยว ในภูมิภาค GMS ไปสู่การพัฒนามณฑลยูนนานเป็นประตูทางออกสู่อาเซียนและเอเชียใต้ รวมทั้งได้มีการสนับสนุนการขนส่งสินค้าบนเส้นทางดังกล่าวยัง ซึ่งการพัฒนาในขั้นต้นดังกล่าวก็เป็นสัญญาณที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการใช้ประโยชน์ระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมในโครงข่ายโซ่อุปทานระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและจีน ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ การขนส่ง และรวมถึงการท่องเที่ยว โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่จะเชื่อมต่อไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ และระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ จะเชื่อมต่อกับ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่จังหวัดพิษณุโลกและตาก

ภาพแสดงเส้นทางเศรษฐกิจต่างๆ

ทีมา: ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 3-วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2554 หน้า 15

 ศักยภาพดังกล่าวในการใช้ประโยชน์ระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ อันเป็นผลมาจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ก่อให้เกิดโอกาสในเชิงเศรษฐกิจต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง แต่กระนั้นผลกระทบต่อความยั่งยืน อันได้แก่ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยรายงานของ ADB (2010) ได้ระบุถึงข้อกังวลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้

• การเปลี่ยนแปลงถิ่นฐานของชุมชนและชนกลุ่มน้อย

• โรคติดต่อ

• การค้ามนุษย์ และสิ่งผิดกฎหมาย

• ราคาที่ดินที่สูงขึ้น

• อุบัติเหตุต่างๆ

• การทำลายพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีววิทยา

• การเสื่อมถอยด้านสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากแรงกดดันด้านความยั่งยืนดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การพัฒนาต่างๆ จากการใช้ประโยชน์ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้อันเป็นผลมาจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงความยั่งยืน และการศึกษานี้ก็ต้องการที่จะเข้าใจผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ต่อประเทศไทยในประเด็นด้านความยั่งยืน อันนำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติและนำเสนอนโยบายเพื่อการส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนของประเทศ

                ที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละพื้นที่ต้องพัฒนายุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ขึ้นมา เพื่อไม่ทำให้การดำเนินการไร้ทิศทาง และขาดการเชื่อมโยงศักยภาพต่างๆ ถึงเวลาแล้วครับที่จะต้องมียุทธศาสตร์โลจิสติกส์ระดับพื้นที่ (จังหวัด) ตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภา

You can leave a response, or trackback from your own site.

5 Responses to “Logistics Strategies in line with AEC ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ตามระเบียงเศรษฐกิจ ภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

  1. jimmie says:

    considerable@quelling.preliterate” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  2. jorge says:

    acetone@slickers.mantles” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ….

  3. shannon says:

    ferraro@slumped.later” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  4. Ernesto says:

    tolubeyev@deficit.irrigating” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  5. Adam says:

    kepler@harshly.simmons” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

Leave a Reply