บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ AEC

Thai Customs Roles under AEC
บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ
AEC : ASEAN Economic Community

ในการดำเนินการไปสู่ยุทธศาสตร์ด้านการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันนั้น พันธกิจหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทศุลกากรคือ พันธกิจด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี ภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ได้คำนึงถึงการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกเป็นหลัก โดยในการเปิดเสรีเน้นการลดอุปสรรคด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี การยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าภายในอาเซียนจะถูกยกเลิกให้สอดคล้องกับกรอบเวลาและพันธกรณีที่ระบุไว้ภายใต้ความตกลง CEPT และความตกลงหรือพิธีสารอื่นที่เกี่ยวข้อง การยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBS) อาเซียนได้จัดทำหลักเกณฑ์ (criteria) การจำแนกมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิกแล้ว ซึ่งใช้พื้นฐานหลักเกณฑ์การจำแนกตาม WTO และได้เห็นชอบแผนงานการขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (Work Programme on elimination of NTBS)
ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 5 ประเทศ มีกำหนดที่จะขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษีทั้งหมดภายในปี 2010 สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ภายในปี 2012 และประเทศ CLMV ภายในปี 2015 ส่วนในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า มีการพัฒนามาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น การบูรณาการด้านพิธีการศุลกากร การจัดตั้งระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของอาเซียน และการส่งเสริมกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ CEPT อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงระเบียบพิธีการในทางปฏิบัติภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และการปรับประสานมาตรฐานและความสอดคล้องในด้านพิธีการ เป็นต้น

การดำเนินงานของกรมศุลกากร
1. การลดอุปสรรคด้านภาษี
1.1 การลดหรือยกเว้นอากรขาเข้าให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area : ความตกลง CEPT)
1.2 การออกกฎหมายเพื่อให้สัตยาบันให้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA)

2. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า
2.1 การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง
2.2 การปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส

3. ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature
ระบบการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรที่ชัดเจนและเป็นรูปแบบเดียวกันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรมีความเรียบง่าย ก่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
การปรับปรุงระบบอาร์โมไนซ์ข้างต้น มีผลทำให้สมาชิกอาเซียนต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข AHTN ให้สอดคล้องกับ HS 2012 และดำเนินการทบทวนแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการร่วมกันของสมาชิกอาเซียน โดยมุ่งหมายให้ระบบการแบ่งกลุ่มสินค้าง่ายขึ้น เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งปัจจุบันกรมศุลกากรอยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับอาเซียนโดยกำหนดเป้าหมายให้สามารถนำมาใช้ได้ทันพร้อมกับ HS 2012 คือ วันที่ 1 มกราคม 2555

4. Develop the advance ruling systems
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้สามารถผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้าได้อย่างถูกต้อง สร้างความชัดเจนในการชำระค่าภาษีอากร และสามารถเลือกใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีได้อย่างถูกต้อง กรมศุลกากรจึงจัดให้มีบริการให้คำวินิจฉัยล่วงหน้า ได้แก่

4.1 Advanced Ruling On Tariff Classification
การให้บริการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า เป็นการให้บริการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรแก่ผู้นำเข้าที่ต้องการทราบประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าก่อนที่จะมีการนำเข้าตามที่ได้ร้องขอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2553 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับคือ ทำให้เกิดความแน่นอนและคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับสินค้าที่มีปัญหาได้ ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการจำแนกพิกัดสินค้าที่เหมือนกันไปในแนวทางเดียวกัน สะดวกรวดเร็ว ลดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถวางแผนการดำเนินงานกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้า ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ในปี 2551 (ก.ค.-ก.ย.) จำนวน 27 คำร้อง ปี 2552 จำนวน 88 คำร้อง และในปี 2553 (ต.ค. 52-มิ.ย. 53) จำนวน 106 คำร้อง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

4.2 การวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้า
เป็นการให้บริการวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้าแก่ผู้ที่มีความประสงค์จะนำของเข้ามาจากประเทศที่มีพันธกรณีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกัน ที่ต้องการทราบถิ่นกำเนิดของสินค้าก่อนที่จะมีการนำเข้าตามที่ได้ร้องขอ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศกรมที่ 7/2553 และคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2553 ลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ปัจจุบันยังไม่มีผู้ขอใช้บริการ
4.3 Advance Ruling on Valuation
การให้บริการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พัฒนาระบบพิธีการและราคาศุลกากร ด้วยการรับคำร้องขอให้วินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้าตามประกาศกรมศุลกากรที่ 67/2552 และปฏิบัติงานตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 18/2552 ในปีที่ผ่านมามีผู้สนใจยื่นคำร้องขอดังกล่าวจำนวนหนึ่ง ส่วนในปีงบประมาณ 2554 นี้ กรมฯ ได้มีการพัฒนาการให้บริการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการยื่นคำร้องของผู้ประกอบการให้มากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์ กำหนดรูปแบบงาน เพื่อออกแบบระบบให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่

5. ASEAN Customs Declaration Document : ACDD
การใช้เอกสารใบขนสินค้าอาเซียน ในการประชุมผู้เชี่ยวชาญศุลกากรอาเซียน (ECCM) ครั้งที่ 11 (กันยายน 2546) สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำเสนอแนวคิดที่จะให้ประเทศสมาชิกใช้ใบขนสินค้าที่มีรูปแบบเหมือนกัน เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและลดเอกสารในการผ่านพิธีการ จึงได้กำหนดจำนวนรายการ (items) ของข้อมูลที่จำเป็นในใบขนสินค้าอาเซียนขึ้นมา เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำมาใช้ผ่านพิธีการศุลกากร สำหรับการนำเข้า/ส่งออก และผ่านแดนภายในอาเซียน

6. การใช้ระบบ ASEAN Single Window

การพัฒนาระบบ Single Window ขององค์การสหประชาชาติ และความตกลงอาเซียนสำหรับการพัฒนา ASEAN Single Window กล่าวถึงการค้าระหว่างประเทศในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ จะต้องจัดเตรียมและส่งข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ จำนวนหลายชุดให้กับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบและควบคุม การนำเข้า การส่งออก และการขนส่งตามข้อกำหนดและความต้องการของแต่ละหน่วยงาน และบ่อยครั้งที่ข้อมูลเอกสารคำขอและเอกสารแนบต่างๆ ต้องถูกจัดส่งไปยังหลายหน่วยงาน เพื่อยื่นแสดงการขออนุมัติต่างๆ ในขณะที่หน่วยงานแต่ละแห่งมีระบบการทำงานแตกต่างกัน ข้อกำหนดและความต้องการที่แตกต่างกันของหลายหน่วยงานเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้า และเป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนในระยะยาว

7. ASEAN Cargo Processing Model
การนำแบบจำลองการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าอาเซียน (ASEAN Cargo Processing Model) มาใช้กับงานด้านศุลกากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย (ASEAN-Australia Development Cooperation Program : AADCP) โดยมีการลงนามระหว่างประเทศสมาชิกในความตกลงว่าด้วยเรื่องศุลกากร (ASEAN Agreement on Customs) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการด้านความสอดคล้อง (Consistency) เรียบง่าย (Simplicity) โปร่งใส (Transparency) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) รวมถึงการจัดให้มีกลไกที่เหมาะสมในการอุทธรณ์ในการบริหารงานด้านศุลกากรด้วย

8. การบริหารจัดการชายแดน
กรมศุลกากรมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการชายแดนเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและบุคคลข้ามแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการดำเนินการตามความตกลงร่วมกันในประเด็นที่สำคัญ อาทิเช่น การอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งข้ามแดน การข้ามแดนของบุคคล การนำเข้ารถยนต์ชั่วคราว และการให้บริการอื่นๆ เป็นต้น การจัดตั้งระบบผ่านแดนของศุลกากรอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปภายใต้โครงการ ASEAN-EU Program for Regional Integration Support Phase II โดยการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความช่วยเหลือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนในการพัฒนาระบบผ่านแดนของศุลกากร

9. Authorized Economic Operators: AEOs
การเปิดรับสมัครผู้ส่งของออกเพื่อคัดเลือกให้เป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต จากการที่กรมศุลกากรได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตนารมณ์ (Letter of Intent) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ในการนำ WCO Framework of Standard มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นให้ศุลกากร และภาคเอกชนตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน กรมฯ ได้มีคำสั่งกรมฯ ที่ 410/2550 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 จัดตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการนำร่อง Authorized Economic Operators (AEOs Program) เพื่อทำการศึกษาและกำหนดรูปแบบ AEOs รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการนำ AEOs มาใช้ในงานศุลกากร

You can leave a response, or trackback from your own site.

13 Responses to “บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ AEC”

  1. harold says:

    clue@thets.katangan” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  2. anthony says:

    refractory@sustaining.latent” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!!…

  3. Jackie says:

    hubies@numerals.velvet” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!…

  4. brandon says:

    baltimore@socks.sorted” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó!!…

  5. Otis says:

    enunciate@tikopia.electricity” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî!!…

  6. brett says:

    pulpits@rimanelli.constrained” rel=”nofollow”>.…

    ñýíêñ çà èíôó….

  7. Dennis says:

    presidents@mortality.unwired” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  8. edward says:

    coke@typographic.illegitimacy” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  9. lynn says:

    physician@installations.tallow” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ….

  10. บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ AEC | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    My Proxies…

    I found a great……

  11. บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ AEC | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Cheap Usa Proxy…

    I found a great……

  12. บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ AEC | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Buy Cheap Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply