การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง

Safety Enhancement in Logistics
การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety)
ในการเดินทางและการขนส่ง
ดร.จุฬา สุขมานพ

ในสองฉบับที่ผ่านมา ผมได้เล่าถึงแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจรที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2563 ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน” และได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าประสงค์ในด้านการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hubs for Connectivity) และในด้านการมีระบบขนส่งและการจราจรที่มีประสิทธิภาพ และระดับการให้บริการที่ดีเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน (Accessibility)
ในการมีการขนส่งที่ยั่งยืน แผนหลักได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาในเชิงสังคม โดยเน้นที่การเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากการยกระดับการให้บริการที่ดีเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน แผนหลักยังได้กำหนดเป้าประสงค์ที่ 3 โดยปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง
ผลการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุพบว่า อุบัติเหตุทางถนนมีมากกว่าการขนส่งสาขาอื่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99 อัตราการเสียชีวิต จากมาตรฐานทางสถิติของสากล อุบัติเหตุทางถนนโดยทั่วไปไม่ควรเกินปีละ 14.15 คนต่อประชากร 100,000 คน ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของประชากรด้วยอุบัติเหตุทางถนนอยู่ที่ 18.23 คน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก มูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุของไทยในแต่ละปีประมาณ 243,000 ล้านบาท ผลการศึกษามูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สรุปได้ว่ามีความสูญเสียเท่ากับ 6 ล้านบาทต่อคน หรือประมาณร้อยละ 2.8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีมูลค่าความสูญเสียประมาณร้อยละ 1-2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2552 ซึ่งรวบรวมโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม พบว่า จำนวนการเกิดอุบัติเหตุและจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บมีแนวโน้มลดลงทุกปี เฉลี่ยร้อยละ 8.3 โดยจำนวนผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เฉลี่ยร้อยละ 4.2 ต่อปี ประมาณ 12,000 คนต่อปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคตหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อลดอุบัติเหตุด้านการขนส่งก็จะไม่มีทางลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้มากไปกว่านี้
เมื่อพิจารณาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของการขนส่งรูปแบบต่างๆ พบว่า อุบัติเหตุจากการขนส่ง
ทางถนนส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจากคน เช่น ความประมาท การฝ่าฝืนกฎจราจร การหลับใน นอกนั้น มีสาเหตุจากสภาพตัวรถ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ สภาพถนน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับอุบัติเหตุจากการขนส่งทางรถไฟ เกิดจากยานพาหนะชนกับเครื่องกั้นที่จุดตัดกับทางรถไฟมากที่สุด รองลงมาในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ รถไฟชนกับยานพาหนะและรถไฟชนคน ขณะที่การขนส่งทางน้ำ นอกจากอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการคนมากที่สุดแล้ว สาเหตุของอุบัติเหตุที่เหลือมักเกิดจากเครื่องมืออุปกรณ์และสภาพแวดล้อม ซึ่งเรือประเภทโดยสารมีอุบัติเหตุมากที่สุด รองลงมาเป็นเรือบรรทุกสินค้า และเรือลำเลียงในแม่น้ำ
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์นี้ ได้กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทาง การขนส่ง และการจราจร เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุและจำนวนผู้เสียชีวิตจากการขนส่ง ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยครอบคลุมถึง การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานยานพาหนะ และสภาพแวดล้อม ให้มีคุณภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง นอกจากนั้น ยังมุ่งไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก และทักษะเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่ง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คาดว่าจำนวนอุบัติเหตุจากการขนส่งจะลดลง จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขนส่งจะลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลทำให้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมลดลง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ มีแนวทางในการดำเนินงาน อาทิเช่น
• การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการประชาสัมพันธ์ในเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางถนนเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
• การแก้ไขอุบัติภัยทางถนน เพื่อลดผลกระทบของอุบัติภัย ป้องกันเหตุการณ์ซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการขนส่งทางถนนที่ปลอดภัย
• การปรับปรุงและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ให้พร้อมอยู่ในสภาพการใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยการปรับปรุงสภาพทาง ระบบอาณัติสัญญาณ และการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ
• การพัฒนาการจัดการเดินรถเพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานและทักษะการควบคุมรถในสถานการณ์คับขัน
• สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากจุดตัดทางรถไฟ และบังคับใช้มาตรการควบคุมและตรวจตราการลักลอบสร้างทางลักผ่านจุดตัดทางรถไฟ
• การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางน้ำ
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งทางน้ำ
• การกำหนดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัย (Safety and Security) ของการขนส่งทางอากาศทั้งในส่วนท่าอากาศยานและอากาศยาน
• การกำหนดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการที่ท่าอากาศยาน โดยเฉพาะในเรื่องการสาธารณสุข
ดังนั้น ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยให้จำนวนอุบัติเหตุและจำนวนผู้เสียชีวิตจากการขนส่งลดลง ส่งผลทำให้
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมลดลง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากการเดินทางและการขนส่งมีความปลอดภัย ได้แก่
1. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานยานพาหนะ และสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง
โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ให้พร้อมอยู่ในสภาพการใช้งานได้
อย่างปลอดภัย โดยการปรับปรุงสภาพทาง ระบบอาณัติสัญญาณ และการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ รวมทั้งการตรวจสอบมาตรฐานยานพาหนะ และสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและ
การขนส่ง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการขนส่งทางถนนที่ปลอดภัย
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และทักษะเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่ง
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และ
การประชาสัมพันธ์ปลูกฝังจิตสำนึก และทักษะเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่งแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง การสร้าง
การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากจุดตัดทางรถไฟ และบังคับใช้มาตรการควบคุม
และตรวจตราการลักลอบสร้างทางลักผ่านจุดตัดทางรถไฟ

เป้าประสงค์/ยุทธศาสตร์ โครงการ/มาตรการที่สำคัญ
เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง
1 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานยานพาหนะ และสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และทักษะเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่ง การขนส่งทางถนน
โครงการสำคัญ
• โครงข่ายทางหลวงมีความปลอดภัย (ทล.)
• โครงการก่อสร้างจุดพักรถสำหรับรถขนาดใหญ่บนทางหลวงสายประธาน (ทล.)
• โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ มีทั้งหมด 31 แห่ง (ทช.)
• โครงการติดตั้งเครื่องกั้นพร้อมสัญญาณไฟวาบอัตโนมัติ (ทช.)
• โครงการพัฒนาปรับปรุงระบบตรวจสภาพรถ 5 ระบบ (ขบ.)
• โครงการก่อสร้างศูนย์สอนขับรถ บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ (ขบ.)
มาตรการสำคัญ
• มาตรการบังคับใช้การจำกัดความเร็ว (Speed Management) อย่างเป็นรูปธรรม (ทล.)
• การกำหนดมาตรฐานการขนส่งและบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดให้ผู้ขับขี่รถโดยสารและรถบรรทุกจัดทำสมุดคู่มือการขับรถ (Log book) (ทล.)
• มาตรการบังคับใช้กฏจราจร และ การลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรอย่างเคร่งครัด (ทล.)
• มาตรการกวดขันน้ำหนักรถบรรทุกให้เป็นไปตามมาตรฐาน (ทล.)
• มาตรการบังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะ และผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ
ให้เข้มงวดมากขึ้น (ทล.)
• มาตรการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การแจ้งเหตุและสารสนเทศด้านความปลอดภัย (ทล.)
• มาตรการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย/คาดเข็มขัดนิรภัย (ขบ.)

การขนส่งทางราง
โครงการสำคัญ
• โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย ระยะทาง 2,406 กิโลเมตร (รฟท.)
• โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ (เครื่องกั้นใหม่) (รฟท.)
• โครงการจัดหาและปรับปรุงเครื่องกั้น (รฟท.)
• โครงการติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ (รฟท.)
มาตรการสำคัญ
• มาตรการส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันภัยและการชดเชยค่าเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ (รฟท.)
• มาตรการการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสภาพร่างกายและจิตใจของพนักงานรถจักรและปฏิบัติตามขั้นตอนการควบคุมรถ และเสริมทักษะการควบคุมรถในสถานการณ์คับขัน (รฟท.)
• มาตรการควบคุมระยะเวลาปฏิบัติงานและเพิ่มจำนวนผู้ปฏิบัติงานให้เพียงพอ (รฟท.)
• มาตรการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานของรัฐเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากจุดตัดทางรถไฟ โดยการควบคุมและตรวจตราการลักลอบสร้างทางลักผ่านจุดตัดทางรถไฟ
ของชุมชนอย่างเคร่งครัด (รฟท.)

การขนส่งทางน้ำ
โครงการสำคัญ
• โครงการจัดหาระบบติดตาม แสดงสถานะเรือ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์วงจรปิดเพื่อดูแลรักษา
ความปลอดภัยในคลองแสนแสบ (จท.)
• โครงการติดตั้งระบบแจ้งเตือนเครื่องช่วยความปลอดภัยประจำท่าเรือสาธารณะและระบบ
แผนที่อิเล็กทรอนิกส์ในแม่น้ำเจ้าพระยา (จท.)
• โครงการจัดหาและติดตั้งระบบติดตามและควบคุมเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา
แบบเรียลไทม์ (จท.)
• โครงการจัดหาระบบติดตามเรือสินค้าและเรือโดยสารในเขตท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย (จท.)

มาตรการสำคัญ
• มาตรการตรวจตรา และช่วยเหลืออุบัติเหตุทางน้ำ โดยการจัดตั้งศูนย์กู้ภัยทางลำน้ำและชายฝั่ง (จท.)
• มาตรการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยโดยการจัดฝึกอบรม ทดสอบ แก่ผู้ขับเรือและผู้ใช้บริการ (จท.)
• มาตรการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย โดยการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษที่เคร่งครัด (จท.)

You can leave a response, or trackback from your own site.

10 Responses to “การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง”

  1. gabriel says:

    doltish@everett.crimean” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  2. marshall says:

    departures@balaguers.aleck” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info….

  3. louis says:

    bibles@klauber.cautioned” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  4. Carl says:

    sweetheart@catchy.soak” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  5. Dave says:

    deliver@lorena.sagami” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!!…

  6. Kevin says:

    sombre@infinite.zamiatins” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ….

  7. การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดิน says:

    Private Proxies…

    I found a great……

  8. การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดิน says:

    Youtube Proxies…

    I found a great……

  9. การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดิน says:

    Private Proxy Service Free…

    I found a great……

  10. การปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดิน says:

    Buy Best Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply