วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนจบ)

 

China’s Challenge: Threat or Opportunity in Thailand?

วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนจบ)

ผศ.วรินทร์ วงษ์มณี ดร.รวินกานต์ ศรีนนท์และ ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์

                   กรณีในประเทศลาว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนจีนมีลูกจ้างเป็นคนลาว ศูนย์การค้าแห่งนี้จะทำการค้าขายทั้งขายปลีกและขายส่ง ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในลาว เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่พึ่งพาการเกษตร ไม่มีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ดังนั้นศูนย์การค้าดังกล่าวเกิดขึ้นกลับเป็นผลดีของผู้บริโภคในลาวที่มีโอกาสเลือกซื้อหรือบริโภคสินค้าได้หลากหลายและราคาถูก

  • โครงการสร้างศูนย์ค้าส่งในรัสเซียโดยใช้โมเดลอี้อูนั้นปัจจุบันมีความเป็นไปได้ของกลุ่มทุนจีนที่เข้าไปลงทุนอยู่ 3 โครงการในกรุงมอสโค โดยโครงการแรกได้ถูกเปิดเผยโดยสำนักข่าวซินหัว เมื่อ 17 กันยายน 2553 ว่ามีความร่วมมือระหว่างทุนจีนและทุนรัสเซียเพื่อจัดตั้งตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ใกล้กับ the Moscow Ring Road มีชื่อว่า Russian Home โดยขายสินค้าจากจีนเป็นหลัก เช่น รองเท้า ออโต้พาร์ท เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น โดยอำนวยความสะดวกนักธุรกิจจีนในเรื่องของ พิธีการศุลกากร ภาษี การกระจายสินค้าและด้านการเงิน นอกนักธุรกิจจีนแล้วยังเปิดโอกาสสำหรับนักธุรกิจชาติอื่น เช่น เวียดนาม อาเซอไบจัน อามาเนีย และรัสเซีย ตลาดค้าส่งแห่งนี้ตั้งอยู่นอกเมืองมอสโคบนพื้นที่ขนาด 70 เฮคต้า รองรับธุรกิจที่ได้มากกว่า 1100 ยูนิตและรองรับผู้ผลิตจีนมากกว่า 500 ร้านค้า

โครงการที่สอง ได้ถูกเปิดเผยจากข่าวด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัสเซียเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2553 ว่ามี กลุ่มทุน Chinese state corporation Chentun ได้เข้าซื้อ สถานที่จัดแสดงสินค้านานาชาติและคอมเพลกสำนักงาน ชื่อ Greenwood ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 74 ของถนนวงแหวนระหว่างถนน Leningrad และ Volokolamsk 350 ล้านเหรียญสหรัฐ มีพื้นที่จัดแสดงสินค้าและประชุมขนาด 14,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ส่วนสำนักงานมากกว่า 23,000 ตารางเมตร โดยจะมุ่งเน้นสำหรับการตั้งสำนักงานและส่วนแสดงสินค้าของผู้จัดหาและโรงงานของสินค้าจากจีน

                        โครงการที่สาม ได้ถูกเปิดเผยจากสำนักข่าวซินหัวเมื่อวันที่  17 กุมภาพันธ์ 2554 กลุ่มทุน China Chengtong Development Group ได้มีโครงการจัดตั้ง Greenwood International Trade Center ในกรุงมอสโค โดยได้รับการสนับสนุนจากหอการค้าจีนในรัสเซีย โครงการดำเนินเสร็จแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 200,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ตัวอาคาร 132,600 ตารางเมตร โดยศูนย์การค้าดังกล่าวเป็นรูปแบบการค้าสินค้าจีน ที่เป็น  “Made in China” เป็นหลัก กรณีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรัสเซียจะมีลักษณะคล้ายกับกรณี Dragon Mart ของดูไบที่เป็นการตัดช่องทางเทรดเดอร์ของผู้ประกอบการในชาติ โดยเปิดให้คนจีนเข้ามาขายสินค้าจีน หากผู้ประกอบการรัสเซียจะทำธุรกิจค้าขายต่างประเทศ ต้องแสวงหาสินค้าใหม่จากประเทศอื่นที่ไม่ใช่สินค้าจีน ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า

  • China Industrial Zone เป็นช่องทางการกระจายสินค้าจีนในประเทศสเปน ส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยตรงจากประเทศจีนผ่านทางท่าเรือที่เมืองบาร์เซโลนา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรม (Industrial Zone) ของจีนที่ขายส่งและขายปลีกซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยการสร้างและส่งเสริมของบริษัท Li Tie & Yong Pin, S.L. ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายของประเทศสเปน ตั้งอยู่ที่ Pol. Industrial   Cobo Calleja 28947 Fuenlabrada  Madrid โดยพื้นที่ส่วนแรก ใช้ทุนสร้าง 43ล้านยูโร ด้วยพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร ส่วนที่สองนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและใช้เงินทุน 21 ล้านยูโร ซึ่งจะรวมโรงแรมหรูหรา ศูนย์การค้าแห่งนี้มีการจ้างงานประมาณ 1,000 คน ดำเนินกิจการมาแล้วเป็นระยะเวลาประมาณสามปี

เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวประกอบด้วยร้านค้าประมาณ 200 ร้านค้า ร้านที่ใหญ่ที่สุดคือ China Center และ Merca China ร้านค้าส่วนใหญ่คือร้านจีนเล็กๆ ซึ่งมีสินค้าทุกประเภทที่ทำในประเทศจีน อาทิ เสื้อผ้า เครื่องประดับเพชรพลอยเทียม รองเท้า เครื่องหนัง เครื่องเขียน ของใช้ในบ้าน ฯลฯ ศูนย์นี้ราวร้อยละ 80 เป็นสินค้าจีน และจะส่งสินค้าให้แก่ร้านค้าที่ขายปลีกในประเทศสเปน ซึ่งลูกค้าหรือผู้ค้าปลีกจะต้องเดินทางไปซื้อด้วยตนเอง และชำระราคาด้วยเงินสดเท่านั้น ทั้งนี้ ตามปกติไม่เปิดขายทั่วไปแก่บุคคลภายนอก แต่ในวันอาทิตย์ อาจมีการขายให้แก่บุคคลทั่วไป ในศูนย์มีร้านอาหารจีนที่มีราคาอย่างต่ำตั้งแต่ 3.5 ยูโรต่อมื้อ นอกจากนี้ ภายในศูนย์จะไม่อนุญาตให้ขายสินค้าปลอมหรือสินค้าลอกเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย

ข้อดีของศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้คือทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าที่นำเข้าจากจีนที่มีราคาถูก นอกจากนี้การสร้างศูนย์ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน ส่วนข้อเสียคือ สเปนอาจไม่สามารถแข่งขันสินค้าที่มีราคาถูกกว่าจากจีนได้ ผู้นำเข้าสเปนที่นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนจะสูญเสียลูกค้าซึ่งหันไปซื้อสินค้าโดยตรงจากศูนย์ดังกล่าวแทน เนื่องจากสินค้าที่มาจากศูนย์จะมีราคาถูกกว่า

  • Singapore International Product Wholesale Mart (SIPWM) เนื่องจากกลุ่มทุนจีนได้พยายามที่จะเข้าไปจัดตั้งศูนย์ค้าส่งโดยใช้โมเดลอี้อู แต่ทางรัฐบาลสิงค์โปรได้ศึกษาและเกรงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค จึงปฏิเสธและไม่อนุญาตการเข้ามาจัดตั้งโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว แต่ทางกลุ่มทุนจีนได้ร่วมมือกับทุนสิงค์โปร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าและค้าส่งโมเดลอี้อูมาเป็นรูปแบบการจัดแสดงสินค้าโดยเช่าพื้นที่ Asia-Singapore International EXPO ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 2 ปี โดยคัดเลือกผู้ประกอบการจีน 6000 รายจาก 20,000 บริษัทเข้าร่วมค้าในศูนย์แห่งนี้ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ

ระยะแรก จัดเป็นศูนย์แสดงสินค้าด้วยพื้นที่ 20,000 ตารางเมตรใน อาคาร 8 ของ Asia-Singapore International

EXPO ซึ่งเปิดดำเนินการตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2554 ถึง 31 สิงหาคม 2556 เป็นตลาดค้าส่งแบบ “One stop” สำหรับ purchaser, retailer and wholesaler รองรับการจอดรถได้ 2,500 คัน มีการให้บริการศูนย์ข้อมูลการค้า แลกเปลี่ยนเงินตรา ห้างสรรพสินค้า ร้านดอกไม้ ถ่ายรูป ศูนย์อาหาร ATM บริการคอมพิวเตอร์กราฟฟิก เป็นต้น สินค้าที่มีการจำหน่ายเช่น อุปกรณ์สร้างและตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ออโต้พาร์ทและเครื่องจักรเครื่องยนต์ เป็นต้น แสดงโครงการดังรูปที่ 3

ระยะที่สองของโครงการเป็นการย้ายผู้ประกอบการในระยะแรกไปค้าขายใน International commodity city ที่จะจัดตั้งและเปิดดำเนินการในปี 2556 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือสิงค์โปร มีพื้นที่ดำเนินการ 180,000 ตารางเมตร

                กรณีสิงค์โปรจะมีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเทรดเดอร์สินค้าจีนโดยตรงเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ ส่วนในภาคการผลิตไม่มีผลกระทบเนื่องจากสิงค์โปรไม่มีการผลิต แต่สิ่งหนึ่งที่สิงค์โปรได้รับอย่างเป็นรูปธรรมคือภาคบริการและโลจิสติกส์ซึ่งมีความชำนาญอย่างยิ่ง ยากที่กลุ่มทุนจีนจะแทรกเข้ามาแข่งขันได้ ในมุมมองผู้บริโภค มีสินค้าให้เลือกหลากหลายและราคาถูก แต่โดยทั่วไปคนสิงค์โปรไม่นิยมใช้สินค้าจากจีน

  • อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปิน (ไม่ให้เข้า เหตุผลเรื่องความแตกต่างทางศาสนา)
  • Thai-China International City หรือ China City Complex เป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยกับกลุ่มทุนจีน

รายใหญ่ นำโดยบริษัท Yunan-based Ashima Cultural Industry Group Investment.Co.Ltd เป็นการพัฒนาเพื่อเปิดประตูการค้าวงแหวนเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไทย-อาเซียน โครงการดังกล่าวจะก่อตั้งบนที่ดินบนถนนบางนา-ตราด ก.ม.ที่ 8-9 ในพื้นที่ประมาณ 64 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 6,200 ล้านหยวน เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้าแห่งที่ 2 ภายใต้ “อี้อู โมเดล” (Yi Wu Model) ซึ่งมีเทคโนโลยีโนว์ฮาวทางการค้าส่งเชื่อมโยงกับทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศจีน

ทั้งนี้ แผนพัฒนาการลงทุน China City Complex จะแบ่งโครงการออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสที่ 1 ใช้เงินลงทุน

ประมาณ 1,500 ล้านหยวน นำร่องก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้าพื้นที่ขนาด 500,000-700,000 ตารางเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2554 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2555 โดยจะเปิดให้ร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมกว่า 10,000 ร้านค้า แบ่งสัดส่วนร้านสินค้าไทย 30% และจีน 70% มีการคัดเลือกสินค้าหลักพร้อมส่งออกเข้ามาวางขาย 7 หมวด ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ อะไหล่รถยนต์ ของตกแต่งบ้าน ของเล่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ อาหารและสินค้าแปรรูปแสดงโครงการดังรูปที่ 4

ส่วนเฟสที่ 2 จะเริ่มขยายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานเฟสแรกประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จากนั้นกลุ่มทุนใหญ่ในจีน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทธุรกิจภาคเอกชนจีน ภายใต้สมาคม ASEAN-CHINA Economic and Trade Promotion Association เตรียมจะย้ายฐานโรงงานผลิตค้าหมวดต่างๆ เข้ามาอยู่ใน China City Complex ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ไทยเป็นฐานการส่งออกสินค้าของจีนไปยังประเทศที่ 3 ต่อไป ซึ่งจีนสามารถส่งสินค้ามาทาง R3/R8/R12 ใช้เวลาเพียง 3 วันถึงประเทศไทย ขณะที่ถ้าขนส่งทางทะเลใช้เวลาประมาณ 15 วัน ดังนั้น จีนจึงเห็นไทยเป็น Distribution Hub ของอาเซียน

4. ผลกระทบต่อประเทศไทย

จากผลการศึกษาเบื้องต้น โดยใช้แบบจำลองคำนวณจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต(Input-Output Table) ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าหากโครงการไชน่าซิตี้ฯ โดยใช้อี้อูโมเดลมาตั้งในไทย จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ 8 กลุ่มอุตสาหกรรม รวม 20 รายการ ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องจักรกล,โรงงานในกลุ่มอาหาร,ร้านอาหารและโรงแรม ขนส่งและการศึกษา บริการทางการแพทย์ และอนามัยอื่นๆอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเครื่องประดับ เครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมเคมี คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 365,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อาจสรุปผลกระทบในมุมมองมิติต่างๆ ได้ ดังนี้

                มิติด้านการค้า จีนทุ่มสร้างเมืองพาณิชย์มูลค่า 4.5 หมื่นล้านบาท ในไทยเพื่อใช้เป็นศูนย์นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกหรือ Re Export นอกจากผู้ส่งออกจีนจะได้รับโอกาสทางธุรกิจในไทยแล้ว ยังสามารถใช้โครงการนี้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการค้าไปยังตลาดที่พัฒนาแล้ว อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐ เนื่องจากที่ผ่านมาจีนได้รับผลกระทบจากการปฎิเสธคำสั่งซื้อจากปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้า 

ดังนั้น ประเทศไทยต้องมีการใช้กฎระเบียบ ต่างๆ มาควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นการออกเอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือ  CO (Certificate of origin) มิเช่นนั้นแล้วจะเกิดผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยจากการสวมสิทธิเปลี่ยนเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย หรือทำการผลิตหรือเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แล้วเปลี่ยนเป็นสินค้า Made in THAILAND ซึ่งทำให้ธุรกิจไทยเกิดความเสียหายต่อสายตาชาวโลก ซึ่งมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ ดังนั้น ประเทศไทยควรมีมาตรการดำเนินธุรกิจหรือจัดทำมาตรฐานสินค้าเพื่อปกป้องธุรกิจไทยให้อยู่รอด

                มิติด้านการผลิต เมื่อศูนย์ดังกล่าวเปิดจะมีสินค้าหลักๆ จากจีนเข้ามาหลายอุตสาหกรรมเช่นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ ของที่ระลึก ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาหารกระป๋อง ซึ่งไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าจีนอยู่แล้วไม่ว่าจะด้านวัตถุดิบหรือค่าแรง นอกจากนั้นจีนยังได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องการผลิตและการรุกตลาดต่างประเทศ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ความสามารถทางการแข่งขันของไทยด้อยกว่าจีนอย่างเห็นได้ชัด ผู้ประกอบการไทยต้องมีการปรับตัวหรือกลยุทธ์ในการแข่งขันใหม่เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโดย ปรับปรุงในเรื่องของคุณภาพสินค้าที่มีอยู่ให้สูงขึ้น หรือมีการออกแบบพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ยากต่อการลอกเลียนแบบและทำให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ หากไม่สามารถปรับตัวหรือแข่งขันกับสินค้าจีนได้ก็คงมีการเลิกกิจการเหมือนผู้ประกอบการในประเทศที่กล่าวมาข้างต้น

                มิติด้านโลจิสติกส์ ประเทศไทยในฐานะเป็น Regional HUB รวมถึงเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงโลจิสติกส์ของภูมิภาค ภายใต้การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไทยจะเป็นช่องทางผ่านและเข้าถึงของสินค้าจากอาเซียน ซึ่งสินค้าหลักคือสินค้าจากจีน ซึ่งวางบริบทไทยเป็นประตูการค้าสู่ตลาดอาเซียน รวมถึงยุโรปและอเมริกา ด้วยความพร้อมของการขนส่งทางถนน ที่สามารถขนส่งจากศูนย์กระจายสินค้าของจีนที่เมืองคุนหมิงผ่านเส้นทาง เข้าสู่เชียงของส่งเข้าสู่โครงการ china city complex ได้ภายใน 3 วัน ซึ่งกระจายสินค้าให้ร้านค้าย่อยในโครงการกว่า 15,000 แห่ง หรือขนส่งทางทะเลที่ได้รับสิทธิพิเศษจาก FTA และสิทธิพิเศษในศูนย์การค้า China City Complex ซึ่งประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์คลังสินค้า Free Zone และ Cold storage ของกรมศุลกากร ได้ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาค

ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญมองว่าผู้ประกอบการขนส่งทางบกอาจได้รับประโยชน์ในระยะสั้น เพราะในระยะแรกผู้ประกอบการค้าส่ง ค้าปลีกของจีนที่เข้ามาทำธุรกิจภายในศูนย์อาจใช้บริการขนส่ง หรือโลจิสติกส์จากบริษัทผู้ให้บริการไทย แต่ตามธรรมชาติของผู้ประกอบการจีนที่มักทำธุรกิจแบบครบวงจรเชื่อว่าในระยะกลางและระยะยาวเขาจะนำผู้ให้บริการขนส่งของจีนเข้ามาให้บริการเอง รวมถึงให้บริการแก่ผู้ประกอบการชาติอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการไทยทันที

มิติด้านผู้บริโภค ผลกระทบในภาคผู้บริโภคซึ่งมองว่าสินค้าจากจีนส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำและราคาถูก ผู้บริโภคของจะได้ประโยชน์คือได้บริโภคของที่มีราคาถูก แต่เมื่อมองไปในเรื่องของคุณภาพและอายุการใช้งาน ผู้บริโภคจะได้บริโภคของที่คุณภาพต่ำ รวมไปถึงขยะที่เกิดจากสินค้าที่มีอายุการใช้งานสั้น โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีปัญหาเรื่องขยะอิเล็กโทรนิกส์ รวมไปถึงสินค้าอาหาร ที่หลายประเทศได้ปฎิเสธสินค้าด้านอาหารบางประเภทจากจีน เนื่องจากปัญหาเรื่องสารตกค้าง ซึ่งในเรื่องนี้กลไกของรัฐที่มีดีอยู่แล้วแต่ต้องทำงานอย่างเข้มแข็งและเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

 

5. บทสรุป

เราคงไม่มีทางต้านกระแสทุนต่างชาติโดยเฉพาะจีนได้ด้วยช่องทางการค้าที่อาศัยการค้าเสรีของโลกยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการค้าภายใต้  WTO หรือผลจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ อาฟต้า(Asian Free Trade Area : AFTA) หรือแม้กระทั่งการจะเปิด  AEC  Asean Economic Community ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีสามารถดำเนินการผลิตในประเทศต่างในประชาคมโดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศได้ โดย China City Complex เป็นอีกรูปแบบธุรกิจหนึ่งจากผลพวงของการเปิดเสรีทางการค้าดังกล่าว ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยทั้งภาคการผลิต การให้บริการตลอดจนผู้บริโภค อุตสาหกรรมไทยที่จะได้รับผลกระทบมีค่อนข้างมาก คืออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีความอ่อนแอเรื่องการบริหารจัดการและการตลาดและยังขาดความสนใจ รับรู้ และไม่ตื่นตัวกับผลกระทบดังกล่าว รวมทั้งขาดความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปิดตลาด เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในหลายประเทศ

ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ภาครัฐควรมีปกป้อง ใช้กลไกกฎระเบียบที่มีอยู่ อย่างเต็มประสิทธิภาพและปิดช่องโหว่ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในขณะนี้  โดยนำกฎระเบียบมาบังคับใช้ในเรื่องของการควบคุมคุณภาพสินค้า มาตรฐานสินค้า ให้ได้โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้บริโภคหรือ End User ของไทยเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรป ออกข้อกำหนดเรื่อง Reach เพื่อรองรับมาตรฐานของสินค้าต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคในประเทศของตน รวมไปถึงการต่อต้านสินค้าลิขสิทธิ์ ที่จีนมีการก๊อปปี้สินค้าสูงมาก เมื่อ EU พยายามที่จะต่อสู้กับจีนในเรื่องนี้ เมื่อไม่ได้ผล ก็กำหนดเลยว่าห้ามนำสินค้าลอกเลียนแบบเข้าไปใน EU แม้กระทั่งกระเป๋าแบรนด์เนมปลอมต่างๆ ผู้ใช้จะไม่สามารถผ่านสนามบินเข้าไปได้ ถ้านำเข้าไปจะถูกยึดที่สนามบินและนำไปทำลายต่อสาธารณชนในสนามบินทันที เห็นได้ว่าเป็นการประจานประเทศที่ลอกเลียนแบบสินค้า

ดังนั้น ประเทศไทยนอกจากจะต้องใช้กฎระเบียบหรือกฎหมาย มาตรฐานที่มีอยู่ให้บังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องกำหนดมาตรฐานหรือมาตการที่เป็น NTBs เพื่อปกป้องผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจะเข้ามาดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศต้องผ่านการรับรองจากสถาบันหรือสมาคมประกอบวิชาชีพ การผลิตในประเทศไทยต้องมีวัตถุดิบในประเทศอย่างน้อย 70% หรือต้องใช้แรงงานภายในประเทศอย่างน้อย 50% หรือมาตรการตรวจมาตรฐานสินค้าที่หน้าร้านหลังจากการนำเข้ามา (Post market measure) และลงโทษอย่างรุนแรงทั้งปรับและจำคุกหากสินค้าที่จำหน่ายไม่ได้คุณภาพหรือมาตรฐาน เป็นต้น

ตกลงแล้วจะเป็นวิกฤตหรือโอกาสของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับมุมมอง ผลกระทบ และใครได้ประโยชน์จากกลุ่มทุน !!!!!!!

You can leave a response, or trackback from your own site.

11 Responses to “วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนจบ)”

  1. brett says:

    wiping@candidacy.conant” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  2. kevin says:

    indicating@caron.forwarding” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  3. jonathan says:

    interns@decades.dominican” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  4. Perry says:

    lillian@rumford.advances” rel=”nofollow”>.…

    hello!…

  5. rodney says:

    falls@powdered.buoyancy” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  6. ted says:

    bw@moscone.terramycin” rel=”nofollow”>.…

    thank you….

  7. วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    Buy Proxies…

    I found a great……

  8. วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    My Proxies…

    I found a great……

  9. วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    Cheap Proxies Servers…

    I found a great……

  10. วิกฤตหรือโอกาสของไทย:จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    Private Proxy…

    I found a great……

Leave a Reply