วิกฤตหรือโอกาสของไทย: จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนที่ 1)

Chinese Investment in Thailand -A Threat or Opportunity?

วิกฤตหรือโอกาสของไทย: จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนที่ 1)

ผศ.วรินทร์ วงษ์มณี ดร.รวินกานต์ ศรีนนท์และ ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์

1. บทนำ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ถูกกำหนดให้เกิดเป็นรูปธรรมภายในปี 2558 เพื่อทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานที่มีทักษะและเงินทุนได้อย่างเสรี ประเทศในประชาคมฯต่างมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและเลือกใช้ทรัพยากรทั้งวัตถุดิบและแรงงานในประเทศสมาชิกได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสามารถแข่งขันได้

นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาร่วมกับข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าระหว่างอาเซียนและจีนที่ครอบคลุมประชากร 1,900 ล้านคน เป็นเขตเสรีทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งในด้านมูลค่าการค้าและจำนวนประชากร โดยมี GDP รวมของเขตการค้าเสรีดังกล่าวสูงถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีสินค้ากว่า 7,000  รายการหรือร้อยละ90 ของสินค้าที่มีการค้าระหว่างกันจะมีอัตราภาษีศุลกากรลดลง  โดยอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของสินค้าที่จีนนำเข้าจากอาเซียนจะลดลงจากร้อยละ 9.8 เป็นร้อยละ 0.1  และสินค้าที่อาเซียนนำเข้าจากจีน จะมีอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยลดลงจากร้อยละ 12.8 เป็นร้อยละ 0.6

ทั้งนี้ปัจจุบันจีนกำลังกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมของเอเชีย ที่สามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคได้ในราคาถูกแทบทุกชนิดและมีการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากออกมาเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคนี้อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมของประเทศก็คงประสบปัญหาและไม่มีทางแข่งขันได้ อีกด้านหนึ่งจีนก็มีศักยภาพที่จะเป็นตลาดซื้อสินค้าส่งออกจากกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างไม่จำกัด เนื่องจากรายได้ของประชากรจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนั้นในด้านการลงทุน จีนได้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ที่จะขยายอิทธิพลทางการค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจำนวน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับจีนและสนับสนุนสินเชื่อ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ภายในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งจัดทำแผนสร้างเครือข่ายธุรกิจและเชื่อมโยงระบบการขนส่งทางเรือ ตลอดจนขยายการลงทุนของจีนไปยังตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบของโลก ทำให้อิทธิพลทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางของประเทศที่พัฒนาแล้วลดลง  ทำให้จีนและอาเซียนกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีอำนาจต่อรองทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

ประเทศไทยเป็นหนึ่งของสมาชิกในประชาคมซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์และสถานที่ตั้งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้า การลงทุนและเส้นทางการคมนาคมขนส่งของอาเซียนหรือเป็น  ASEAN HUB สามารถเชื่อมโยงการผลิตไทยสู่ภูมิภาคและสามารถสร้างหรือเชื่อมต่อโซ่อุปทานได้ครบวงจร จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้จีนสนใจศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าในภูมิภาคและเป็นประตูสู่ประชาคมและทวีปอื่น ด้วยเหตุนี้สินค้าจากประเทศจีนจะถูกส่งเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสินค้าหลายรายการที่นำเข้าเป็นสินค้าที่ด้อยคุณภาพ เป็นอันตรายต่อการใช้งานและการบริโภค ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศยังขาดความระมัดระวังและตะหนักถึง

เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นมีแรงจูงใจทางด้านราคาซึ่งเป็นสินค้าราคาถูกแต่ด้อยคุณภาพ กลายเป็นการนำเข้าขยะพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และของเล่นเด็ก โดยสินค้าจีนเข้ามาจำหน่ายที่ประเทศไทยในปัจจุบันนั้นมาทางช่องทางเทรดเดอร์และการค้าชายแดนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตลาดแม่สาย ตลาดอินโดจีนที่นครพนม หนองคายและมุดาหาร ตลาดโรงเกลือที่สระแก้ว รวมถึงตลาดย่าน สำเพ็ง พาหุรัด โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ เป็นต้น โดยเป็นการค้าส่วนใหญ่เป็นร้านค้าปลีก ค้าส่งและโชว์ห่วย ซึ่งมีทั้งสินค้าที่เป็นคู่แข่งขันกับสินค้าไทยและสินค้าเลียนแบบยี่ห้อดัง พ่อค้าคนกลางส่วนใหญ่นำสินค้าจีนมาจาก Yiwu International Trade City เมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นเมืองค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่รัฐบาลสนับสนุนและกำหนดให้เป็นเมืองยุทธศาสตร์ เป็น Supermarket ของโลกและเป็นโมเดลเชิงรุกด้านยุทธศาสตร์การค้าของจีนซึ่งได้รับการผลักดันจากรัฐบาลจีนให้ไปเปิดในหลายประเทศ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ผู้ลงทุนจีนจะนำโมเดลดังกล่าวมาใช้ โดยได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวอภิมหาโปรเจคต์ศูนย์แสดงสินค้าและกระจายสินค้าขนาดใหญ่ของจีนในเมืองหลวงของไทย ที่มีชื่อว่า “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์” ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ต่างมีความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพราะในปัจจุบันแม้ว่าจีนจะยังไม่ได้เข้ามาตั้งศูนย์กระจายสินค้าในประเทศ ผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยต่างก็ได้รับผลกระทบต่อธุรกิจจากสินค้าจีนที่เข้ามาแข่งกับสินค้าที่ผลิตหรือจำหน่ายภายในประเทศ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มีเพียงผู้นำเข้าจากจีนเท่านั้น แต่ถ้าศูนย์การค้าของจีนดังกล่าวเข้ามาตั้งในประเทศจะเป็นการตัดวงจรผู้นำเข้าสินค้าจีน ทำให้ผู้ประกอบการไทยจำนวนมากได้รับผลกระทบจนอาจต้องเลิกกิจการ ดังนั้นบทความนี้จะนำเสนอ ศักยภาพและลักษณะธุรกิจของเมืองอี้อู ลักษณะการเข้าไปเปิดในต่างประเทศ ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการเมื่อรูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้น

2. ศักยภาพและลักษณะธุรกิจของเมืองอี้อู

อี้อู เป็นเมืองขนาดเล็กตั้งอยู่ตอนกลางของมณฑลเจ้อเจียงมีความพร้อมในทุกด้านทั้งด้านการผลิต การบริการ การท่องเที่ยว รวมถึงความพร้อมของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ครอบคลุมพื้นที่ 45 ตารางกิโลเมตรใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ผ่านเมืองเพียง 30 นาที ทางตะวันออกของเมืองอี้อูอยู่ห่างจาก ท่าเรือหนิงโบ ประมาณ 150 กิโลเมตร ทางตอนเหนืออยู่ห่างจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ประมาณ 300 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหังโจวประมาณ 120 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงด้วยโครงข่ายคมนาคมได้หลายเส้นทางทั้งทางบก โดยใช้ Highway และ Express way ทางรถไฟ ทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งมีเที่ยวบินมากกว่า 20 เที่ยวบินจาก Yiwu ถึง Beijing, Guangzhou, Shanghai, Qingdao, Xiamen, Shenzhen, Shantou เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางตลาดขายส่งและกระจายสินค้าเบ็ดเตล็ดนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในจีนและในโลก โดยการรับรอง จากองค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลกและมอร์แกนแสตนลีย์

โดยมีพื้นที่ในศูนย์ขายส่งรวมกว่า 4 ล้านตารางเมตร มีร้านค้าส่งมากกว่า 7 หมื่นร้านค้า มีสินค้ามากมายกว่า 2 ล้านชนิด จนได้ชื่อว่าเป็น “ซุปเปอร์มาเก็ตของโลก (World Supermarket)” ใช้เงินลงทุนกว่า 700 ล้านหยวน ทำให้อี้อูเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าครบวงจร มีศูนย์รวมข่าวสารและฐานการส่งออกสินค้าของประเทศจีน เพื่อสร้างทางเลือกใหม่สำหรับผู้ลงทุนและผู้บริโภคที่พรั่งพร้อมไปด้วยการบริการทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บสินค้า การขนส่ง การบริการด้านภาษี การเงินและการประกันภัย เป็นต้น เป็นเมืองที่ดึงดูดนักธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 215 ประเทศ เข้าไปทำการค้าขายสินค้าจากเมืองนี้และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกวันละกว่า 2,000 คอนเทนเนอร์ ยอดปริมาณการซื้อขายของตลาดอี้อูถูกจัดอยู่อันดับต้นๆ ของจีนต่อเนื่องกันนานถึง 14 ปี โดยมีการค้าผ่านทาง Yiwu International Trade City ซึ่งเป็นศักยภาพที่เป็นจุดแข็งของเมืองแห่งนี้ การติดต่อค้าขายจะต้องซื้อสินค้าเป็นโหลๆ และมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ คอยให้บริการขนส่งสินค้ากลับประเทศ ภายในศูนย์การค้าแห่งนี้จะมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่โชว์รูมและห้องเจรจาการค้าของร้านค้าส่ง ร้านค้าจะถูกจัดแบ่งเป็นโซน เช่น โซนนาฬิกา โซนเครื่องใช้ไฟฟ้า โซนเครื่องมือช่าง โซนไอที โซนกระเป๋า เครื่องประดับ โซนของกิ๊ฟต์ชอป เป็นต้น

ภายในพื้นที่บริเวณ International Trade Mart จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ Specialized Markets และ Specialized Commerce Streets โดย Specialized Markets จะประกอบไปด้วย International Trade Mart, ตลาดหวงหยวน (Huangyuan)  ตลาดปินหวัง (Binwang) ตลาดเครื่องสำอางค์ (Cosmetics Market) และตลาดถุงเท้า (Socks Market) แสดงรูปและแผนผังของ Yiwu International Trade Mart 

ศูนย์กลางการค้าส่งอี้อูหรือ Yiwu Model นับว่าเป็นรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างเหนือความคาดหมายของประเทศจีนและจีนเองได้พยายามนำรูปแบบธุรกิจนี้เป็นต้นแบบ (Best Practice) ในการรุกคืบสู่ตลาดต่างๆ ในอาเซียนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลกต่อไป โดยการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะ Yiwu Model ของจีน ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศหลายประเทศมาแล้ว เช่น ดูไบ รัสเซีย สเปน และลาว เป็นต้น และมีอีกหลายประเทศที่ต่างปฏิเสธรูปแบบธุรกิจนี้ เนื่องจากเกรงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการในประเทศ ภาคผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี (SMEs) สำหรับประเทศไทยเมื่อมีการเปิดตัวโครงการนี้ขึ้นมา ทำให้เป็นที่วิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆทั้งเอกชนและภาครัฐ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเพื่อรู้เท่าทันถึงผลดี ผลเสีย ของรูปแบบธุรกิจดังกล่าว

 

3. Yiwu Model ในต่างประเทศ

ลักษณะการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะ Yiwu Model ของจีน ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น ดูไบ รัสเซีย สเปน และลาว เป็นต้น และมีอีกหลายประเทศซึ่งปฏิเสธรูปแบบดังกล่าว เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียและสิงค์โปร เป็นต้น ซึ่งการเกิดขึ้นในต่างประเทศมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว มีทั้งเปลี่ยนรูปแบบหรือใช้เทคนิคการค้าเพื่อเข้าไปดำเนินการจัดตั้งแต่วัตถุประสงค์ที่เหมือนกับ Yiwu Model เช่น สิงค์โปร เป็นต้น

  • Dubai Dragon Mart เปิดบริการในปี 2547 เป็นศูนย์กระจายสินค้าของจีนตั้งอยู่นอกประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นเขตการค้าพิเศษ (Free Zone) โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าจีนไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางและอัฟริกาตอนเหนือ รัฐบาลจีนเป็นผู้คัดเลือกบริษัทจากประเทศจีนเข้าร่วมโครงการ รัฐบาลดูไบให้การสนับสนุนโดยคิดค่าเช่าราคาต่ำและให้สิทธิพิเศษทางภาษี โดยปกติดูไบเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกือบทุกชนิด 5% และต้องมีผู้ถือหุ้นชาวพื้นเมือง 51% แต่ผู้ประกอบการที่มาเปิดร้านใน Dragon Mart ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า 5 % และชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นในกิจการ (Ownership) ได้ 100% ศูนย์การค้าแห่งนี้มีพื้นที่ 240,000 ตารางเมตรด้วยมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 20,000 ล้านบาท ตัวอาคารเป็นรูปมังกรความยาว 1.2 กิโลเมตร มีจำนวนร้านค้าทั้งขายปลีกและขายส่งรวม 3,950 ร้าน ที่จอดรถรองรับได้ 2,500 คัน มีอาคารที่พัก 22 อาคารและโกดังเก็บสินค้า บริเวณใกล้เคียงกันมีคลังสินค้าพื้นที่รวม 30,000 ตารางเมตร มีศูนย์บริการอาหารและจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ สินค้าที่จำหน่ายได้แก่ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อาหาร เครื่องใช้ในบ้าน รองเท้าและเครื่องหนัง ของขวัญและของตกแต่ง อุปกรณ์ก่อสร้าง สุขภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องกีฬาและออกกำลัง ผลิตภัณฑ์เคมี เครื่องใช้ไฟฟ้า ซูปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและ food court ลูกค้าชาวดูไบจะมาเดินซื้อสินค้าหนาแน่นในช่วงวันศุกร์-เสาร์ที่เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ นอกจากนั้นยังมีลูกค้าจากประเทศใกล้เคียง อาทิเช่น โอมานซึ่งมีเขตแดนติดกับดูไบ ประเทศกาตาร์ คูเวต บาห์เรน อิรัค อิหร่าน และกลุ่มประเทศอัฟริกาตอนเหนือ นอกจากนี้ Dragon Mart ยังเป็น Tourist destination ของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  

พิจารณาผลกระทบของดูไบซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้าเหมือนประเทศไทย จึงจะมีผลกระทบต่อบริษัทที่ทำเทรดเดอร์ ซึ่งแต่เดิมผู้ประกอบการต้องหาสินค้าในหลายประเทศมาขาย พอมี Dubai Dragon Mart บรรดาเทรดเดอร์ทั้งหลายต้องตัดส่วนของสินค้าจีนออกไป เนื่องจากแข่งด้านราคาไมได้ ต้องหันไปหาสินค้าใหม่ที่แตกต่างจากสินค้าจีนถึงจะขายได้ ทำให้มีต้นทุนในการ sourcing สูง

  •  SanJiang Shopping Mall หรือศูนย์การค้าสากลซังเจียง ตั้งขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่แถวบ้านอุโมงค์เหนือ ตำบลศรีโคตะบอง กรุงเวียงจันทน์ โครงการเปิดเมื่อปี 2550 มีร้านค้านับพันร้าน มีที่จอดรถสำหรับรถ 800 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ 5 พันคัน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้ามาจากประเทศจีน ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ ของที่ระลึก และอาหารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องแวะไปชมเพื่อหาซื้อสินค้าราคาถูกจากจีน
You can leave a response, or trackback from your own site.

6 Responses to “วิกฤตหรือโอกาสของไทย: จากการรุกคืบของกลุ่มจีน (ตอนที่ 1)”

  1. carlton says:

    blatz@renews.dovetail” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  2. howard says:

    concordance@buttoned.mall” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  3. Raymond says:

    unmoved@casanova.practiced” rel=”nofollow”>.…

    tnx!!…

  4. Darryl says:

    rafer@fondness.bondsmans” rel=”nofollow”>.…

    good!!…

  5. วิกฤตหรือโอกาสของไทย: จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    Quality Proxies…

    I found a great……

  6. วิกฤตหรือโอกาสของไทย: จากการรุกคืบของกลุ่มภsays:

    Buy Socks5 Proxy Server…

    I found a great……

Leave a Reply