การขนส่งสินค้าอันตราย

 

Transport of dangerous goods

การขนส่งสินค้าอันตราย

รุ่ง ชญานินท์

ในการพัฒนาของประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม หลายๆ อย่างอาจต้องใช้สารเคมีเข้ามามีส่วนร่วม อันทำให้มีการใช้สารเคมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วย และสารเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอันตราย ซึ่งในการนำเข้าหรือส่งออกสารเคมีหรือวัตถุที่เป็นอันตรายเหล่านี้ถูกเรียกว่า “สินค้าอันตราย” และในการขนส่งสินค้าอันตรายไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางเรือ หรือ ทางอากาศ นั้นจะต้องมีวิธีดำเนินการขนส่งที่แตกต่างจากสินค้าทั่วๆ ไป

ก่อนอื่นเรามาทราบถึงความหมายของคำว่า “สินค้าอันตราย” (Dangerous Goods) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุ ที่มีคุณสมบัติทางเคมี หรือ ทางกายภาพโดยตัวของมันเอง หรือเมื่อสัมผัสกับสารอื่น (อากาศหรือน้ำ ฯลฯ) ทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ทรัพย์สินหรือต่อสภาพแวดล้อม ตามที่ระบุไว้ใน IMDG (International Maritime Dangerous Goods Code)

ในการขนส่งสินค้าอันตราย แม้ว่าสินค้าอันตรายนั้นจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวกับสินค้าอันตรายจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก จึงมีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อควบคุมในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายในแต่ละครั้งนั้น จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินการเคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ซึ่งระเบียบข้อบังคับดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับระเบียบที่ใช้กันระหว่างประเทศ คือ

  1. สหประชาชาติ (United Nation) มีการออกข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย (Recommendation on the Transport of Dangerous Goods) และได้กำหนดตัวเลขที่เรียกว่า Un number เพื่อใช้แทนชื่อสินค้าอันตรายที่มีการขนส่งอยู่บ่อยครั้ง
  2. องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) หรือ IMO มีการออกข้อบังคับและข้อที่ควรปฏิบัติระหว่างประเทศ (International Maritime Dangerous Goods Code หรือ IMDG-Code)

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอันตราย

เนื่องจากการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นต้องดำเนินการอย่างรอบครอบ ระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตรายที่ขนส่งนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการขนส่งสินค้าอันตรายแต่ละครั้ง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการขนส่ง ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 เนื่องจากไม่มีข้อมูลของสินค้าอันตรายที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้าทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะทำการดับเพลิง เพราะสารเคมีบางชนิดเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ฉะนั้นหากทราบข้อมูลที่จำเป็นได้ทันท้วงที ก็จะสามารถจัดการได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงที เพื่อบรรเทาหรือจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้น

รายละเอียดที่ควรมีในเอกสารกำกับการขนส่ง

  1. ชื่อสินค้าอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตาม IMDG-Code
  2. ประเภทวัตถุอันตรายตาม IMDG-Code และ Un number
  3. น้ำหนักสุทธิ
  4. การขนส่งวัตถุอันตราย ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ จะต้องระบุไว้ในเอกสาร
  5. ประเภทหีบห่อ
  6. หมายเลขตู้สินค้า
  7. ชื่อที่อยู่ผู้รับปลายทาง หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  8. รับรองจากผู้ประกอบการขนส่ง

เอกสารสำหรับการจัดการในกรณีฉุกเฉิน

  1. เอกสารข้อมูลด้านการจัดการอุบัติเหตุ
  2. เอกสารข้อมูลด้านความปลอดภัย Material Safety Data Sheet (MSDS)
  3. แนวทางการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

การบรรจุและการบรรทุกสินค้าอันตราย

ภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าอันตรายนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ถัง กล่อง ถุง ขวด และภาชนะเหล่านี้ก็ทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น ไม้ เหล็ก แก้ว พลาสติก กระดาษ เป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ส่งที่จะต้องบรรจุสินค้าอันตรายในภาชนะที่เหมาะสมกับคุณสมบัติและปริมาณของสินค้าอันตรายที่จะขนส่งนั้นๆ และจะต้องปิดฉลาก หรือเครื่องหมายตามที่ IMDG-Code กำหนดไว้ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกันคือ สินค้าบางชนิดห้ามขนส่งทางอากาศยกตัวอย่างเช่น วัตถุระเบิดและวัตถุที่ติดไฟได้เอง ต้องมีการแยกสินค้าบางชนิดไม่ให้อยู่ใกล้กัน  เพราะสิ้นค้าทั้งสองชนิดอาจทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดเพลิงไหม้ หรือ ระเบิดได้ ในส่วนของการบรรทุกและการขนถ่ายสินค้าอันตราย เจ้าหน้าที่ควรที่จะได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ และอยู่ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าที่เป็นผู้ชำนาญ มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ และจะต้องทราบข้อมูลว่าจะต้องดำเนินการแบบสินค้าอันตรายปกติหรือแบบพิเศษก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง

You can leave a response, or trackback from your own site.

16 Responses to “การขนส่งสินค้าอันตราย”

  1. eddie says:

    conveniently@lucien.koop” rel=”nofollow”>.…

    thanks….

  2. jonathan says:

    anton@review.sforzando” rel=”nofollow”>.…

    hello!!…

  3. johnnie says:

    masson@toast.reverent” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!!…

  4. Chad says:

    bostons@dressers.integral” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  5. derrick says:

    budieshein@sculptures.citron” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  6. gary says:

    bugeyed@explosively.woodruffs” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  7. Wayne says:

    buys@stretching.hiram” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ!…

  8. norman says:

    loses@approved.income” rel=”nofollow”>.…

    tnx!!…

  9. Corey says:

    befuddling@abysmal.thornburg” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

  10. chester says:

    toomey@axles.pupated” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ….

  11. Alexander says:

    ballistics@mercury.psyllium” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî….

  12. antonio says:

    althaus@countin.bothered” rel=”nofollow”>.…

    ñïñ çà èíôó!!…

  13. messenger bot agency…

    Contract the fantastic facebook chatbot that’s currently available and on sale today!…

  14. los cabos luxury vacation…

    Get moving now with with cabo villa rentals currently currently available additionally reasonably priced for today only!…

  15. การขนส่งสินค้าอันตราย | Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max says:

    Anonymous Proxies…

    I found a great……

Leave a Reply